Get Adobe Flash player

เกร็ดความรู้

Hits: 7918

เข้าสู่หน้าหลัก ฟิวเจอร์ซี 

 

คลิกที่นี่ค่ะ

…………………………………………..

………………………………………..

 IMG_7925 FU For Post 1

   
เข้าใจจีน ผ่าน วัฒนธรรมจีน

  中国文化  Chinese Culture

   เป็นอะไรที่ชาวจีนทั่วโลกและชาวต่างชาติสนใจศึกษา

   เพื่อความ “เข้าใจจีน”   为了 “了解中国”

  เป็นศาสตร์และศิลป์ที่มีความล้ำลึกและน่าสนใจอย่างยิ่ง 

  มันทั้งสะท้อนจิตวิญญาณ ทัศนคติในการดำเนินชีวิต  หลักปรัชญา  แพทย์แผนโบราณที่ล้ำลึก   โหราศาสตร์ที่เร้นลับ  อารยธรรมที่น่าทึ่ง ฯลฯ และอะไรอีกหลายอย่างของชาวจีนที่มีมาหลายพันปี

การเรียนภาษาจีน โดยไม่เข้าใจวัฒนธรรมจีน  เป็นการเรียนที่ไม่สามารถเข้าถึงจิตวิญญาณของความเป็นจีนได้ !

บทความต่างๆ ที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมจีน  อาหารจีน และ เรื่องจีนๆ  ในเว็บไซต์นี้  

ดิฉันพยายามเขียนรวบรวมขึ้นและจะมาเขียนเพิ่มเรื่อยๆ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้  “เข้าใจจีน” (了解中国)ซึ่งขณะนี้กำลังเป็นกระแสหลักของโลกที่ต้องการติดต่อกับจีน

มีหลายเรื่องเคยโพสต์ใน

OKnation Blog  และ Google Blog  ที่เอื้อเฟื้อพื้นที่ในการเผยแพร่แบ่งปันความรู้ประสบการณ์

ขอขอบคุณทั้งสองบล็อก มา ณ โอกาสนี้

สุวรรณา สนเที่ยง

2014 – 07 – 09

……………………………………………………………………………………

 ขอขอบคุณท่านที่กรุณาร่วมแสดงความคิดเห็น  และร่วมแบ่งปันความรู้ประสบการณ์ของท่าน  ผ่านทางช่องแสดงความคิดเห็นในเว็บนี้  ทั้งที่ช่องแสดงความเห็นใต้บทความ  และผ่านช่องทาง Facebook Fanpage : Suwanna Future C 

Flag Counter

เพื่อนของเรา

HIso Kids shop                          AK Office supply

เสื้อเด็กแบรนด์เนม                             พริ้นเตอร์ทุกชนิด  ถนนจันทร์ 51

Websitehttp://www.hisokidshop.com            http://www.ak2000.com  

   

Sound INTER              Sound Hunter

Sound INTER                                                  Sound Hunter   

Film เครื่องเสียง กันขโมย ไฟแต่ง  สาขาบางบัวทอง สาขาถนนเพชรเกษม วัดท่าพระ

Phone 02-8918577 , 02-4724074 , 081-7349785
Email blueart@mail.com
Website http://www.soundhunter.ran4u.com

Share Button

ภาษาไทยกับภาษาจีน มีอะไรที่เหมือนกันบ้าง ?

Hits: 16559
Rating:

ทำไมถึงคิดว่า ภาษาไทยกับภาษาจีนเป็นภาษาตระกูลเดียวกัน

ภาษาไทยกับภาษาจีน มีอะไรที่เหมือนกันบ้าง ?

ทำไมเราจึงเรียนภาษาจีนได้เป็นเร็วกว่าคนชาติอื่น

ที่ว่าตระกูลภาษาฮั่น – ธิเบต  เป็นรากภาษาไทยนั้น เป็นอย่างไร จริงหรือไม่ (ชาวฮั่น ก็คือ ชาวจีน)

สำนวนไทย มีหลายคำ สร้างขึ้นจากสำนวนจีน

เช่น คำว่า

ดุจปลาได้น้ำ” มาจาก 如鱼得水 ซึ่งเป็นคำพูดของเล่าปี่ ตอนที่ได้ ขงเบ้งมาช่วย (สามก๊ก)

เพื่อนๆ ว่าใช่หรือไม่ ?   มีที่มาอย่างไร ?

คำพังเพยไทย ที่มาจากภาษาจีน ก็มีหลายคำมาก

เช่น 百闻不如一见 ( ฟังคนพูดร้อยครั้งไม่เท่ากับเห็นกับตาตัวเองหนึ่งครั้ง)

เราก็มีคำพัง้เพยไทยที่คล้ายกันมาก  เราใช้คำว่า ” สิบปากว่าไม่เท่าหนึ่งตาเห็น “

จากเอนทรี่ก่อนหน้านี้ เรื่อง ภาษาไทยกับภาษาจีน มีอะไรที่เหมือนกันหรือไม่ ?

เอนทรี่นี้  อยากจะเขียนเปรียบเทียบความคล้ายด้านออกเสียงตัวเลขไทยกับตัวเลขจีน

1 – 10 ภาษาไทยกับจีน มีเลขไหนที่เสียงคล้ายกันบ้าง?

เดือนที่แล้ว  มีนักศึกษาชาวมาเลย์เชื้อสายจีนสองคนมาเที่ยวเมืองไทย  และดิฉันพาเขาไปติดต่อลงทะเบียนเข้าพัก

พนักงานขอเบอร์ติดต่อ  ดิฉันก็บอกเป็นภาษาไทยไปว่า 084 936 7256 (เบอร์สมมุติ)

นักศึกษาสองคนนั้นสนใจขึ้นมาทันที เขาถามว่า เมื่อกี้เหล่าซือพูดตัวเลขภาษาไทยเหรอ

ผมเดาได้หลายตัวเลย (ทั้งที่สองคนนี้ไม่มีความรู้ภาษาไทยมาก่อน)

เพราะอะไร ?

เพราะการออกเสียงตัวเลข 1 – 10 ของไทยมีส่วนที่คล้ายกับเสียงในภาษาจีนกลาง จีนแคะ จีนกวางตุ้ง และ จีนแต้จิ๋วนั่นเอง

ตัวเลขในภาษาจีนออกเสียงกันอย่างไรบ้าง เชิญคลิกเข้าไปฟังเสียงเหล่าซือว่าพอจะทนฟังได้ไหม
เทียบ 4 สำเนียง ไทย-จีนกลาง-จีนแคะ-จีนแต้จิ๋ว (เกือบจะแถมสำเนียงกวางตุ้งอีกหนึ่ง)

ฟังคลิปนี้ อาจช่วยให้คุณพูดตัวเลขภาษาจีนได้ 3 สำเนียงในเวลา 6 นาที  ส่วนคนจีนที่มาฟังก็จะพูดตัวเลขไทยได้ด้วย

เขียนเรื่องการออกเสียง ก็ต้องมีคลิปเสียงประกอบ

YouTube Preview Image

(คลิปนี้เหล่าซือทำขึ้นเอง และเป็นเสียงของตัวเอง)

ไม่ได้มีฝีมือในการทำวีดีโอ  ขออภัยที่ออกมาไม่ค่อยดี   แต่อยากเอามาฝาก

พอจะฟังได้ว่า  เลข 3  คำไทยออกเสียงคล้ายภาษาจีนกลาง (ซ้าน) จีนแคะ (ซาม) และจีนกวางตุ้ง (ซ้าม)

เลข 4  กับเลข 9  คำำไทยออกเสียงเหมือนภาษาแต้จิั๋ว คือ  สี่  และ เก้า

ส่วนคำอื่นๆ ก็มีความคล้ายอยู่ เช่น

เลข  2  ยี่     เลข 6  หลก     เลข 8  ป๊า  ปาด  ปัด  โป่ย      เลข 7  ชี้ ชัด ฉิก       เลข 10  สือ สับ

Continue reading


Share Button
Hits: 59099

หลักไวยากรณ์จีน 

ประโยคที่เรียงผิดบ่อย  

การเรียงประโยคที่มีคำบุพบท

Grammar Prep error sentance

จากประสบการณ์ที่สอนภาษาจีนมา พบว่านักเรียนไทยไม่น้อยยังสับสนหรืองงกับการเรียงลำดับคำของประโยคที่มีคำบุพบท  เนื่องจากมีการเรียงลำดับที่ต่างกับประโยคภาษาไทย 

          คำบุพบทภาษาจีน อาทิ  给、跟、对、向、朝、往、按、从、…….

รูปประโยค บุพบท 1 

รูปประโยคที่มีคำบุพบท

ประธาน + บุพบท + กรรม + ภาคแสดง / กริยา + คำอื่นๆ 

จำแบบนี้จำยากค่ะ   นี่ + นั่น + นี่ + นั่น + นี่ + นั่น +จนงง

เหล่าซือแนะนำให้จำประโยคตัวอย่างไปเลยจะง่ายกว่า

รูปประโยค

   

 ตัวอย่างประโยคแบบนี้ 

      我           跟              他               说过       了。    (ฉันเคยพูดกับเขาแล้วค่ะ)

ประธาน + บุพบท + กรรมที่เป็นเป้าหมาย + กริยา + คำอื่นๆ 

张碧云老师   对    汉语近义词     做了  一个研究 。

จางปี้หวินเหล่าซือได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับคำคล้ายจีนที่มีความหมายใกล้เคียงกัน

     วิธีจำ

        1.  จำประโยคให้ได้สัก 3 ประโยค เช่น  

         我跟他说过了。ฉันเคยบอกกับเขาแล้ว  

             我 ตามด้วย 跟 ตามด้วยกรรม 他 ตามด้วยกริยา+อื่นๆ 说过了

         别忘了给我打电话。อย่าลืมโทรมาหาฉันล่ะ 

               对这件事情的看法。ทัศนะต่อเรื่องนี้ 

     2. คำบุพบท วิธีการเรียงประโยคจะแตกต่างจากภาษาไทย 

     3. เอาบทกรรมมาอยู่ข้างหน้ากริยา

     4. เวลาแปลต้องแปลจากคำกริยาข้างหลังก่อน

           โดย สุวรรณา สนเที่ยง

                   14 กรกฎาคม 2015

Grammar Conj.

 

ลองทำแบบฝึกหัดที่ใช้คำบพบทสัก 3 ข้อที่อยู่ในส่วนของการเขียน ข้อสอบ HSK5 

(ตามภาพสีม่วงด้านบน)

……………………………………………………………………………..

       ประโยคที่พบว่ามีการเรียงผิดบ่อยอีกคำหนึ่ง คือ  

       ประโยคที่มีคำบุพบท  对________感兴趣。(สนใจต่อ …………….. )

       การใช้แบบนี้พบว่าออกสอบบ่อยมาก ทั้งใน HSK และ PAT จีน

       – และก็ทำผิดบ่อยมากด้วย –

       แต่ถ้าทำได้ ก็ได้คะแนนไปแบบสบายๆ  และยังเอาไปใช้งานจริงได้ด้วย

 

       ตัวอย่างการใช้และรูปประโยค  

       我对这个很感兴趣, 但对那个不感兴趣。

       ฉันสนใจต่อสิ่งนี้มากเลย แต่ไม่สนใจอันนั้นเลยล่ะ

       เทคนิคจำ 

       เอาบทกรรม – สิ่งที่เราสนใจ ไว้ ระหว่างคำว่า  对_____感兴趣。

                  对___(กรรม 这个)__感兴趣。

 

       ตัวอย่างการเรียงผิด  X 我很感兴趣这个,但不感兴趣那个。

Tips: 小提示 หลักการจำ 

        ห้ามมีกรรม (ที่เป็นเป้าหมาย) ตามหลังคำว่า 感兴趣 

Grammar Prep Interrested in

        ลองฝึกเรียงประโยคสองข้อตามในภาพสีส้มข้างบนนะคะ

       สังเกตตัวอย่างที่เรียงผิดภาพล่างนี้ค่ะGrammar Prep Interrested in X

     

       แบ่งปันจากคลาสเรียนภาษาจีนขั้นกลาง

       HSK4   HSK5 PAT จีน

       ของห้องเรียนอาจารย์สุวรรณา สนเที่ยง

         ศูนย์ภาษาจีนฟิวเจอร์ซี ใกล้บีทีเอสตลาดพลู

#‎HSK5‬ ‪#‎HSK4‬ ‪#‎เรียนภาษาจีน‬ ‪#‎การใช้บุพบท‬

facebook: Suwanna Future C

www.futurec-cn.com

 

อ่านเรื่องนี้

Flag Counter

 

 

เกร็ดภาษาจีน อ่านเพิ่มเติม คลิกที่นี่

Flag Counter


Share Button
Hits: 23380
มีสุดยอดสำนวนจีนอมตะจำนวนมาก ที่คนไทยคุ้นหู
บางสำนวนก็มีการรับเอามาใช้ในภาษาไทยในความหมายที่คล้ายกัน
 
ส่วนมากจะเป็นคำที่มีความหมายอุปมา ลึกซึ้งกินใจ และมีความเป็นอมตะ เป็นสัจธรรมที่ผ่านการพิสูจน์ด้วยกาลเวลานับพันปี
เหล่าซือชอบสำนวนจีนมาตั้งแต่เด็ก มันติดตรึงอยู่ในความจำตลอด หลายๆ คำก็ใช้เป็นแนวคิดและแนวทางในการดำเนินชีวิตได้  
มีความตั้งใจว่า จะแปลสุดยอดสำนวนจีนที่ตัวเองชื่นชอบด้วยสำนวนภาษาไทยของตัวเองเก็บไว้
แม้ว่าแปลออกมาจะไม่ค่อยสละสลวยนัก แต่ก็อยากแปลเองแบบรักษาเนื้อหา – ความหมายเดิมๆ ของต้นฉบับภาษาจีนโบราณไว้ 
และทยอยนำมาโพสต์ใน
เว็บไซต์  www.futurec-cn.com 
facebook: Suwanna Future C  
http://www.oknation.net/blog/chineseclub  
 
ในเอนทรี่นี้ ขอนำสุดยอดสำนวนจีนอมตะที่เหล่าซือชื่นชอบที่สุดมาฝากสองสำนวนก่อนค่ะ
 
(1) สำนวน 酒逢知己千杯少,话不投机半句多。
 
เหล่าซือขอแปลว่า
” พบคนรู้ใจ ดื่มกันพันจอกยังว่าน้อย 
 คุยไม่ถูกคอ ครึ่งคำก็มากเกิน “
半句 แปลว่า ครึ่งประโยค แต่เหล่าซือขอแปลว่า “ครึ่งคำ” ละกัน
 
อุปมา 
ถ้าเจอคนรู้ใจ คนที่ชอบหรือคิดอะไรคล้ายๆ กัน ก็จะคุยกันสนุกสนานไม่รู้เบื่อ คบหาเป็นมิตรกันต่อไป
แต่ถ้าเจอคนคุยไม่ถูกคอ รสนิยมหรือนิสัยต่างกันมาก คุยแล้วก็ไม่สนุกเลย ก็ไม่อยากจะสานความสัมพันธ์กันต่อไป
ภาพประกอบ
แก้วโค้ก กับ น้ำจิ้มสุกี้หม้อไฟเนื้อแพะ (ที่เหล่าซือถ่ายจากค่ายซัมเมอร์ปักกิ่ง 2011 ) ไม่ใช่ไวน์นะคะ
………………..
 
………………………………………..
 
สุดยอดสำนวนจีนอมตะอีกคำที่เหล่าซือชื่นชอบที่สุด ก็คือคำนี้ค่ะ
(2) 有缘千里来相会,无缘对面不相逢。
      หากมีวาสนาต่อกัน ห่างกันพันลี้ยังพบกัน
     แม้นไร้ซึ่งวาสนา   ใกล้แค่ตรงข้ามไม่เจอกัน
 
มีวาสนาต่อกัน ไม่ได้หมายถึงแค่หนุ่มสาวบรรจบมาเจอกันเท่านั้น
ยังหมายถึงการได้เกิดเป็นครอบครัวเดียวกัน
การได้พบกัลยาณมิตร
การได้พบผู้เกื้อหนุน
เจอครูดี นักเรียนดี
 
ยังลึกซึ้งกินใจรวมไปถึง
ความทุกข์ที่พบแล้วไม่สมหวัง
ในหนังจีน มักจะบอกว่า นั่นคือ การหมดสิ้นวาสนาเพียงเท่านั้น
ภาพประกอบ
เหล่าซือถ่ายจากสวนดอกไม้หมื่นบุปผา อ.เบตง จ.ยะลา

สำนวนจีนอมตะ โดย อาจารย์สุวรรณา
ข้อเขียนนี้สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับแก้ไขปี 2558  

อนุญาตให้แบ่งปันได้  โดยอ้างอิงแหล่งที่มาให้ชัดเจน ไม่ดัดแปลง ไม่ตัดทอนส่วนหนึ่งส่วนใด และไม่เพื่อการค้า

สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์

Flag Counter

#สำนวนจีน #成语 #谚语 #俗语 #熟语

Flag Counter


Share Button
Hits: 17345
ภาษาจีนน่ารู้
ศัพท์จีนอาหาร
 
เอาชืื่ออาหารที่เก็บจากห้องเรียนภาษาจีนของเหล่าซือมาแปะไว้เผื่อผู้สนใจภาษาจีน
 จะจดไว้เผื่อใช้งาน  
หรือร้านอาหารจะนำไปใช้ในเมนูอาหารก็ได้ค่ะ
ส่วนภาพประกอบก็เก็บจากโต๊ะอาหารในโอกาสต่างๆ 
 
ของหวาน 甜品 (Tiánpǐn) Dessert
ร้านอาหารยุคนี้ ต้องเน้นเรื่องจัดให้ดูสวย ดูน่ากิน 
 
เค้กไอศกรีม ภาษาจีนเรียกว่าอะไร ? 
เวลาต้องการจะถามว่า สิ่งนั้นสิ่งนี้เรียกว่าอะไ
ใช้คำนี้ในการถามค่ะ
请问,这个汉语怎么说?
Qǐngwèn, zhège hànyǔ zěnme shuō?
这个叫….. อันนี้เรียกว่า
冰淇淋蛋糕
 
bīngqílín dàngāo 
ประโยคนี้ เป็นประโยคสนทนาพื้นฐานที่ใช้บ่อย ใช้ถามอย่างอื่นๆ ได้ด้วยค่ะ
 
柠檬奶酪派 Níngméng nǎilào pài
 
Lemon cheese pie  เลมอนชีสพาย
ขนมหวานฝรั่ง 
 
 
อุุปกรณ์บนโต๊ะอาหาร จาน ช้อนส้อม 
一个白色的盘子 จานสีขาวหนึ่งใบ 
ช้อนส้อม 1 คู่ 
 
  
ไข่ดาว 煎荷包蛋 Jiān hébāo dàn
典型的早餐 Diǎnxíng de zǎocān
อาหารเช้าทั่วไป A typical breakfast
 
โจ๊กร้อนๆ สักชาม
  
皮蛋粥 Pídàn zhōu โจ๊กไข่เยี่ยวม้า 
อาหารเลิศรสฮ่องกง 
粥 แปลว่า โจ๊ก (ทับศัพท์มาจากสำเนียงจีนแต้จิ๋ว) 
一碗又热又好吃的皮蛋粥
โจ๊กร้อนๆ อร่อยๆ ชามหนึ่ง 
 
  
สะเต๊ะ ภาษาจีนเรียกว่าอะไร ?  
สะเต๊ะ ภาษาจีนใช้คำทับศัพท์เสียงว่า 沙爹 Shā diē  
คำว่า สะเต๊ะ นี้ ไม่ได้มาจากคำว่า สเต็ก ในภาษาอังกฤษ 
แต่มาจากภาษามาเลยู (Malaysian Satay) 
เป็นอาหารเลิศรสอย่างหนึ่งของชาวมาเลย์ 
 
เคยมีร้านอาหารไทยให้คนแปลเมนูอาหารให้ ปรากฎว่า
คำว่า “หมูสะเต๊ะ” ถูกแปลเป็น “牛排” Niú pái ซึ่งหมายถึง “สเต็กเนื้อวัว” 
 
การแปลที่ถูกต้องจึงควรศึกษาให้เข้าใจก่อนแปล ว่า สิ่งที่จะแปลนั้นหมายถึงอะไร 
 
สเต็กหมูพ็อคชอป ภาษาจีนเรียกว่า 猪排 หรือ 猪扒 
 

 

เรื่องและภาพโดย สุวรรณา สนเที่ยง  张碧云
 
 
 
 
สนใจภาษาจีนอื่นๆ คลิกดูเพิ่มเติมได้ที่ 
FB: Suwanna Future C 
ดูคำศัพท์จีนน่ารู้เพิ่มเติม http://www.futurec-cn.com/รวมภาพคำศัพท์จีนน่ารู้/
คำศัพท์ภาษาจีนที่ใช้บ่อยที่สุด และใช้งานจริง 汉语最常用词

 

เกร็ดความรู้ภาษาจีน โดย สุวรรณา สนเที่ยง

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย  อนุญาตให้แบ่งปันได้  โดยอ้างอิงแหล่งที่มาให้ชัดเจน ไม่ดัดแปลง และไม่เพื่อการค้า

สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์

ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย.

#HSK #HSKK

Flag Counter

Flag Counter


Share Button
Hits: 26961

ลูกท้อ และ ดอกท้อ 桃花 (Peach)

เป็นผลไม้และดอกไม้ที่ผูกพันกับคนจีน  ปรากฎชื่ออยู่ในวรรณกรรมจีนมาช้านาน  

เช่น  “เห้งเจีย” ในเรื่อง “ไซอิ๋ว” ไปลักกินลูกท้อพันปีของเจ้าแม่หวังหมู่ จนต้องถูกลงโทษ

ลูกท้อ ถือว่า เป็นผลไม้มงคลอย่างหนึ่ง

หังโจว เป็นถิ่นของดอกท้อ

“กิมย้ง(金庸)” นักวรรณกรรมจีนยุคใหม่ เจ้าของนวนิยายกำลังภายในที่โด่งดังหลายเรื่อง ซึ่งมีบ้านเกิดที่เมืองหังโจว ต่อมาอพยพไปอยู่ฮ่องกง 

ท่านคงรู้สึกผูกพันกับดอกท้อ จึงได้นำเอา “เกาะดอกท้อ (桃花岛)“ ซึ่งเป็นสถานที่แห่งหนึ่งในมณฑลเจ้อเจียง ไปใส่ไว้ในวรรณกรรมของท่าน เรื่อง “มังกรหยก 射雕英雄传”


เกาะดอกท้อ (ตามเรื่องของกิมย้ง) เป็นถิ่นของอึ้งเยียะซือ – มารบูรพา (黄药师 – 东邪)พ่อของ อึ้งย้ง(黄蓉) 

เหล่าซือจำขึ้นใจว่า “桃花开放在春天” (ดอกท้อบานในฤดูใบไม้ผลิ) เพราะชอบร้องเพลงเก่าเพลงหนึ่งที่พรรณาเรื่องชนิดดอกไม้ที่บานในฤดูต่างๆ

เขียนโดย เหล่าซือสุวรรณา

 

เก็บรวบรวมจาก Facebook:  Suwanna Future C

ขอบคุณภาพประกอบจาก  https://www.facebook.com/Hangzhou.China

Cr. photo from : 杭州 HANGZHOU,CHINA)

Thao hua 1

 

ภาพดอกท้อกลางเดือนมีนา 2015

 

TAOHUA 2

 

ภาพดอกท้อต้นเดือนมีนา 2015

 

TAOHUA Meihua in ICE

ภาพดอกไม้ที่หังโจว กลางเดือนกุมภาพันธ์  2015 (ไม่แน่ชัดว่าเป็นดอกเหมยหรือดอกท้อ)

……………………………….

อัพเดท 13 เมษายน 2015

สองภาพหลังนี้ เป็นภาพดอกท้อ เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2015 ที่มณฑลเหอเป่ย 

ภาพจาก Ecns.cn 中新网

ดอกเหมย 2

 

ในขณะที่บ้านเราร้อนมากๆ ทางเหนือของจีนยังเป็นน้ำแข็งอยู่เลย
ดอกท้อในน้ำแข็ง 冰中桃花
ภาพจากเมื่อง จางเจียโข่ว  มณฑลเหอเป่ย ประเทศจีน 中国河北省张家口市
เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2015

Icicles form on peach blossoms amid a sudden drop in temperature in Zhangjiakou, North China’s Hebei province, April 12, 2015.

(Photo: China News Service/Chen Xiaodong)

http://www.ecns.cn/visual/hd/2015/04-13/63280.shtml

 

ดอกท้อ 1

ข้อมูลเพิ่มเติมจาก วิกิพีเดีย

ท้อ  เป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน จัดเป็นไม้พุ่มผลัดใบ อยู่ในสกุล  Prunus  เป็นสกุลเดียวกันกับ ซากุระ, บ๊วย, เชอร์รี่ และ นางพญาเสือโคร่ง 

 

TAOHUA ISLAND

ภาพเกาะดอกท้อ ในมณฑลเจ้อเเจียง ประเทศจีน

ขอบคุณภาพนี้จาก http://news.yooyo.com/domestic-s-2636-1.html

 

………………………………………..

ดอกท้อ 桃花 (Peach) กับ  ดอกเหมย (梅花)

ต่างก็เป็นดอกไม้ที่มีความแนบแน่นกับวัฒนธรรมของชาวจีนเป็นอย่างมาก  

และก็เป็นพันธุ์ดอกไม้ที่คล้ายคลึงกันมาก

 

ภาพต่อจากนี้เป็นภาพของดอกเหมย (梅花)

Mei Hua 1

 

Meihua 5

 

Meihua 3

 

Meihua 6

 

Mei hua 4

 

อ่านเรื่องนี้

 

 

เกร็ดวัฒนธรรมจีน 中国文化点滴

Flag Counter

เพื่อนของเรา


Share Button
Hits: 5472

คนที่พูดภาษาไทยและจีนใช้สมองมากกว่าคนพูดอังกฤษ
จาก http://www.catdumb.com/chinese-is-hard/

 

เป็นงานวิจัยเกี่ยวกับภาษาจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติประเทศจีน  ได้ผลลัพธ์น่าสนใจออกมาว่า

ผู้ที่พูดภาษาที่มีโทนเสียงสูง-ต่ำ (มีวรรณยุกต์) เช่นจีนและไทย ใช้สมองมากกว่าภาษาที่ไม่มีวรรณยุกต์ อย่างเช่น ภาษาอังกฤษ

 

languages-brain

 

ภาพแสดง การใช้สมองขณะที่คนพูดจีนเป็นภาษาแม่กำลังพูด  เปรียบเทียบกับคนพูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่

ซึ่งเห็นได้ชัดว่า

คนพูดจีนใช้สมองถึงสองซีกทำงานร่วมกัน

ส่วนคนพูดอังกฤษนั้นใช้แค่ซีกซ้ายซีกเดียวเป็นหลัก

โดยข้อแตกต่างอยู่ที่วรรณยุกต์ที่มีในภาษาจีนนั้นเอง เพราะสมองซีกขวาที่คนพูดจีนต้องใช้นั้นเกี่ยวข้องโดยตรงกับโทนเสียงดนตรี 

งานวิจัยยังเผยอีกว่าผู้ใช้ภาษาหลากโทนอย่างไทย จีน เวียดนาม ยังมีโอกาสที่จะเป็นมีสกิล Perfect pitch หรือความสามารถในการแยกโน้ตดนตรีได้เพียงแค่ฟังเสียง

ขอบคุณ WWW.CATDUMB.COM

อ่านต่อที่  http://www.catdumb.com/chinese-is-hard/

………………………………………………………….

Study reveals Chinese speakers use more of their brain than English speakers

A study has found that people who speak tonal languages such as Mandarin or Cantonese use both hemispheres of their brain rather than just the left hemisphere, which researchers have long emphasized as being the primary processing center for languages.

Quartz sorts out the report, which was recently published in the in the Proceedings for the National Academy of Science:

gaokao-prep

After analyzing brain imaging data from Mandarin and English speakers listening their respective languages, researchers from Peking University and other universities found that native Mandarin speakers and native English speakers both showed evidence of activity in the brain’s left hemisphere. But Mandarin speakers also saw activation in the right hemisphere, specifically in a region important for processing music, via pitch and tone, that has long been seen as largely unrelated to language comprehension.

Since at least the 1950s, researchers in the field of neurolinguistics have been questioning how languages influence perception, and physiological behavior. This latest study supports one emerging theory, connectionism, that maintains that some languages require interactions across the entire brain. The findings are important for better protecting language-related regions during brain surgery as well as understanding the “constitution of knowledge of language, as well as how it is acquired,” according to the study.

It can be reasonably concluded then that all native speakers of tonal languages, including Vietnamese, Cantonese and Thai, use more of their brain than non-tonal language speakers, Gang Peng, a co-author of the study, told Quartz. Bonus: these speakers are more likely to have perfect pitch.

 

ที่มา Shanghaiist

http://shanghaiist.com/2015/02/27/study_reveals_chinese_speakers_use.php

………………………………………………..

เหล่าซือโชคดีมาก ที่เกิดมาได้ใช้ทั้งภาษาจีนและภาษาไทยมาตั้งแต่เด็ก

 

 


Share Button
Hits: 6129

ตรุษจีน ปี 2015 ปีมะแม

ขอมอบคำอวยพรตรุษจีนปีแพะด้วยหนึ่งในคำยอดฮิตประจำปี  

จาก “เหล่าซือสุวรรณา” และทีม “ฟิวเจอร์ซี” 

喜气洋洋 !(สี่ชี่หยางหยาง )

ขอให้มีความสุขมหาศาลดุจมหาสมุทร 

คำว่า “มะแม” หรือ ” 羊 แพะ ” ภาษาจีนออกเสียงว่า Yáng “หยาง”

(ออกเสียงควบ “หยีเอี๋ยง” หยีก่อนค่อยเอี๋ยง)

คำนี้มาจากคำพ้องเสียง ของ 洋 (มหาสมุทร) กับ 羊 (แพะ) 

 

คลิกชมคลิบเสียงสั้นๆ ที่

  https://www.facebook.com/video.php?v=1013531982012342&l=3114100600315048279

 

 

คลิบนี้ยังไม่สมบูรณ์ ถ่ายตอนน้องๆ ซ้อมพูด

จะมีอีกคลิปหนึ่งตามมาเร็วๆ นี้นะคะ

เดรดิต น้องกวางตุ้ง น้องปิ่น น้องดิว น้องกล น้องรูท

10981616_1017426811622859_3147291214267814353_n

………………………………………

 

วันตรุษจีน  เราเริ่มต้นด้วยการ คิด พูด ทำ ในสิ่งดีๆ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตนะคะ

วันตรุษจีน คนจีนก็จะถือ ไม่ให้พูดเรื่องไม่ดี ไม่เป็นมงคล ไม่พูดคำหยาบค่ะ

ชีวิตจะได้ดีๆ ไปตลอด

 

ความหวังตรุษจีน 2015

ขอทุกครอบครัวมีความอุดมสมบูรณ์ สามัคคีกลมเกลียว หวานชื่นเหมือนพวงองุ่น

มีแต่เรื่องมงคลดีๆ ผ่านเข้ามาค่ะ

ขอให้เพื่อนๆ  สุขภาพแข็งแรง  

การเรียนการงานก้าวหน้า

ขอให้สมหวังตามที่หวัง ( แต่ต้องออกแรงทำด้วย ) 

เฮงเฮง  หวังโชคชะตาอย่างเดียวไม่พอ  ต้องมาจากหนึ่งสมองสองมือสองเท้า

ใครเรียนภาษาจีน ขอให้เรียนสำเร็จ  

ใครกำลังรอผลสอบเอนท์ฯ ขอให้สอบติดคณะที่ต้องการ 

ใครขอทุนขอให้ได้ทุน 

ใครกำลังมีความรัก ขอให้ได้คนที่ใช่

ใครที่กำลังหาประสบการณ์ทำงาน ขอให้ได้งานดีๆ

ใครที่กำลังจะจบโทจบเอก ขอให้ทำวิทยานิพนธ์ออกมาได้ดีเยี่ยม

 

คารวะด้วยความเคารพ

  IMG_6123

เกร็ดวัฒนธรรมจีน

องุ่นพวง สัญลักษณ์ลูกหลานดี สามัคคี

ส้ม พ้องเสียงกับ คำว่า 大吉 สิริมงคล สัญลักษณ์สิริมงคล เฮงเฮง โชคดี

IMG_6107

      IMG_6044

IMG_6085

 

 

บทความนี้เขียนโดย สุวรรณา สนเที่ยง

19 กุมภาพันธ์ 2015

สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์

ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย.

 

………………………….

คำอวยพรยอดฮิตปีมะเมีย (ปีม้า) 2014 马到功成 คลิกดูเรื่องเดิมที่

คำอวยพรยอดฮิตปีม้า 2014 (คลิกที่นี่)

เหล่าซือพาเด็กๆ น่ารักๆ มาอวยพรตรุษจีนค่ะ 年年有余! 马到功成!

http://www.oknation.net/blog/chineseclub/2014/01/30/entry-2

 

เกร็ดวัฒนธรรมจีน
Flag Counter

Flag Counter


Share Button
Hits: 9708

 

กรณีศึกษา

จากการที่ นางซูซาน แครมเมอร์ รัฐมนตรีคมนาคมอังกฤษ ได้มอบนาฬิกาเป็นของขวัญแก่นาย เคอ เหวิน เจ๋อ ( 柯文哲) นายกเทศมนตรีนครไทเป ของไต้หวัน เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2015 ที่ผ่านมา  (เรื่องนี้เกิดที่ไต้หวัน ไม่ใช่เกิดที่จีนแผ่นดินใหญ่)

โดยไม่ทราบว่า การให้นาฬิกาเป็นสิ่งต้องห้ามในธรรมเนียมจีน 

ซึ่งนาย เคอ เหวิน เจ๋อ ( 柯文哲) ถึงกับกล่าวว่า นาฬิกาที่ได้รับมานี้  เขาอาจเอาไปชั่งกิโลขายเป็นเศษเหล็กก็ได้ เพราะว่ามันไม่มีประโยชน์สำหรับเขา

( 柯文哲表示,至於外賓送的懷錶,柯則笑說他會轉送給別人,不然可以拿去破銅爛鐵賣點錢,「因為那個對我來說沒有用」。)

 

จึงกลายเป็นข่าวไปทั่วโลก 

แม้ในเวลาต่อมา นางซูซาน แครมเมอร์  ได้กล่าวขอโทษในความผิดพลาดครั้งนี้ และ นายเคอ เหวิน เจ๋อ ก็ให้สัมภาษณ์ว่า เขาแค่พูดเล่น ไม่ได้จริงจัง เนื่องจากครอบครัวเขาเป็นหมอ ไม่ถือสาเรื่องแบบนี้ และภรรยาของท่านก็บอกว่า ของขวัญนี้เขามอบให้กับนครไทเป ไม่ใช่มอบให้ส่วนบุคคล … 

แต่ก็เป็นอุทาหรณ์บทเรียนด้านกลับสำหรับคนทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้นำประเทศและนักการทูต

เรื่องธรรมเนียม  เรื่องต้องห้ามของแต่ละชาติ  เป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่จำเป็นต้องเรียนรู้  ตั้งแต่ระดับการคบเพื่อนต่างชาติ การติดต่อค้าขาย จนกระทั่งถึงระดับชาติ ระดับประเทศ  ถ้าไม่รู้ก็อาจ “เป็นเรื่อง” ได้ 

เรื่องการมอบนาฬิกาให้ เป็นเรื่องหนึ่งที่ต้องบอกนักเรียนเสมอๆ  เพราะยังมีคนจำนวนมากไม่รู้ว่ามีคนจีนถือเรื่องนี้

เนื่องจากคำว่า  送钟 พ้องเสียงกับ 送终 Sòngzhōng ที่หมายถึง “การที่ลูกหลานน้อมส่งญาติผู้ใหญ่ขณะสิ้นใจ”  ดังนั้น การให้นาฬิกา ในสำนวนไทยๆ ก็อาจคล้ายกับ แช่ง 

ในคลาสของเหล่าซือ  จะเรียนเรื่องวัฒนธรรมควบคู่ไปกับการเรียนภาษา

เพราะการเรียนภาษาอย่างเดียว แต่ไม่รู้ธรรมเนียม ไม่รู้มารยาท

อาจไปทำอะไรที่ขัดใจหรือสร้างความไม่พอใจให้กับอีกฝ่ายโดยไม่รู้ตัวก็ได้ 

 

     

        เหล่าซือเคยทำงานในสถานทูต (ประเทศยุโรปชาติหนึ่ง) มาก่อน ทราบว่าปกตินักการทูตและที่ปรึกษาแต่ละกระทรวงที่จะส่งมาประจำในเมืองไทย ต้องมีการศึกษาวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีไทยก่อนที่จะเดินทางมารับตำแหน่ง 

         และจะมีเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น (คนไทย) คอยให้ข้อมูลด้านต่างๆ  ตอนนั้นเหล่าซือทำหน้าที่เป็นล่ามภาษาจีนและให้ข้อมูลเรื่องวัฒนธรรม แนวคิดและอะไรที่เกี่ยวกับจีนๆ 

         แม้ว่ายุคนี้อาจมีคนจำนวนมากไม่ถือเรื่องต้องห้าม หรือ ความเชื่อเรื่องตัวเลข กันแล้ว 

         แต่อย่างไรก็ตาม  เราก็ยังน่าจะหลีกเลี่ยงสิ่งที่อาจทำให้เกิดความไม่สบายใจได้  เช่น  ตึกและคอนโดในไทยส่วนใหญ่ไม่มีชั้นที่ 13   บางตึกและบางอาคารในจีนไม่มีชั้น 4 ….

         คนไทยถือว่าดอกหน้าวัวเป็นดอกไม้อัปมงคล  ใช้ในงานศพ  ไม่เหมาะที่จะมอบให้ในงานวันเกิด

         แม้ยุคสมัยจะเปลี่ยนไป ดอกหน้าวัวกลายเป็นพืชเศรษฐกิจ  แต่ก็ควรจะหลีกเลี่ยงในการให้ในงานมงคล

………………………….

 

ขออ้างอิงบางตอนจากบทความชิ้นหนึ่งของบีบีซีภาษาไทยหลังเหตุกาณ์มอบนาฬิกา เกิดขึ้นที่ไต้หวัน 

บทความเขียนไว้ว่า


…… นายวิลเลียม แฮนสัน ผู้เชี่ยวชาญด้านมารยาทกล่าวว่าของขวัญทางการทูตนั้น มักจะเป็นที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้าก่อน และไม่ว่าอย่างไรก็ตาม “ควรจะต้องศึกษาธรรมเนียมไว้ล่วงหน้า”

….. ในเกือบทุก ๆ วัฒนธรรม จะมีข้อห้ามที่เกี่ยวข้องกับเรื่องความตาย เลข 4 เป็นสัญลักษณ์ของความโชคร้ายในจีน เพราะคำนี้มีเสียงพ้องกับคำว่าความตาย ขณะที่เลข 8 เป็นสัญลักษณ์ของความโชคดี เพราะมีเสียงที่พ้องกับคำว่าความร่ำรวย

ในอังกฤษ คนมักจะไม่ให้มีดเป็นของขวัญ เพราะถือเป็นลางว่ามิตรภาพจะถูกตัดรอน เช่นเดียวกันกับประเทศญี่ปุ่น ที่การให้มีดแก่เพื่อนร่วมงานอาจถูกตีความได้ว่าแนะนำให้คนนั้นไปฆ่าตัวตายเสีย

……………………………………….

 

ความเห็นส่วนตัวเหล่าซือ

เรื่องการมอบของขวัญที่เป็นทางการต้องแยกเป็น 2 ฝ่าย  คือ ฝ่ายผู้รับ กับ ฝ่ายผู้ให้

ฝ่ายผู้รับ เหล่าซือคิดเองว่าคนจีนส่วนใหญ่คงให้อภัย “ผู้ที่ไม่รู้ธรรมเนียม” แต่ความไม่สบายใจคงจะมี ถ้าในระดับการค้า ก็อาจกระทบต่อการติดต่อค้าขาย กระทบความสัมพันธ์ในอนาคต 

ฝ่ายผู้ให้  ไม่ว่าจะระดับเพื่อนหรือระดับติดต่อธุรกิจ  ก็เป็นเรื่องที่ควรสนใจเรียนรู้ธรรมเนียมของอีกฝ่าย

   

ถึงแม้ที่บ้านเหล่าซือไม่ค่อยได้ถืออะไรมาก  แต่ในคลาสเรียนของเหล่าซือ  จะสอดแทรกวิธีคิด และขนบธรรมเนียมของคนจีนไว้ด้วย  เพื่อความ “เข้าใจจีน”  แต่เหล่าซือไม่ได้เน้นแนวพิธีกรรมไหว้เจ้าอะไรมากมาย

 

บทความนี้เขียนโดย สุวรรณา สนเที่ยง

28 มกราคม 2015

สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์

ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย.

……………….

 

หมายเหตุ

บทความนี้ได้โพสต์ที่  โอเคเนชั่นบล็อก เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2558 (2015)

Posted by เหล่าซือสุวรรณา , ผู้อ่าน : 43973 , 20:07:56 น.

 

ขอขอบคุณ ท่านผู้อ่านที่แชร์และร่วมแสดงความเห็นในเฟชบุ๊คของ Nation Channel เกี่ยวกับบทความนี้

เสียดายที่ดิฉันไม่สามารถตามไปอ่านได้ทุกคอมเมนท์  จึงได้เพิ่มช่องทางให้ท่านแสดงความเห็นผ่านเฟชบุ๊คในบล็อกนี้ไว้ด้วย

………………………………………………

ขอขอบคุณ

กองบรรณาธิการโอเคเนชั่นบล็อก ที่กรุณาแนะนำเรื่องนี้ในหน้าหนึ่ง

 

ขอขอบคุณ

เฟชบุ๊ค Nation Channel ที่กรุณาช่วยเผยแพร่บทความนี้ วันที่ 29 มกราคม 2558

Nation Channel rec 20.00 29 Jan 2015

 

บทความนี้ บางตอนอ้างอิงจากข่าวและภาพประกอบ จาก บีบีซี ภาษาจีน

http://www.bbc.co.uk/zhongwen/simp/china/2015/01/150126_taibei_mayor_gift

 

ข้อเขียนนี้บางตอนอ้างอิงคำให้สัมภาษณ์ของนายเคอเหวินเจ๋อ ใน 苹果时报 ไต้หวัน

http://www.appledaily.com.tw/realtimenews/article/new/20150126/548843/

และ เพจ บีบีซีไทย – BBC Thai https://www.facebook.com/BBCThai?pnref=story

วันที่ 28 มกราคม 2015  08.00

 

#คำพ้องเสียง #谐音字 #送终 #ธรรมเนียมจีน วัฒนธรรมจีน

 

 

อ่านเรื่องเกร็ดภาษาจีน  หวังว่าทุกคลิกของท่านจะได้รับประโยชน์จากบทความเหล่านี้

Flag Counter


Share Button
Hits: 8572

Post แรกของปี 2558  2015

คำพังเพยจีนกล่าวไว้ว่า

一年之计在于春, 一日之计在于晨.
หมายความว่า
“แผนของชีวิต-การงานแต่ละปีเริ่มต้นจากต้นปี แผนของแต่ละวันเริ่มต้นจากตอนเช้า ”
(ในภาษาจีน ใช้คำว่าแผนในหนึ่งปีอยู่ที่ฤดูใบไม้ผลิ แผนในหนึ่งวันอยู่ที่ตอนเช้า)
Make your whole year’s plans in spring,
and your day’s plan early in the morning.

5 มกราคม วันแรกของการเริ่มงานเริ่มเรียนอย่างเป็นทางการของปี 2558 / 2015
วันที่เต็มเปี่ยมไปด้วยพลังชีวิตและความสดใส  อากาศดี ประมาณ 20 องศาในกรุงเทพฯ
หลังสังสรรค์ญาติมิตร – ท่องเที่ยว ชาร์ตแบตกันเต็ม

กลับมาสร้างสรรค์ มุ่งมั่นสู่สิ่งดีๆ ประสบการณ์ใหม่ๆ และความภาคภูมิใจใหม่ๆ

ฟิวเจอร์ซีขออวยพรให้ทุกท่านเริ่มต้นปีใหม่ด้วยความสุขสมหวัง พบแต่สิ่งดีๆ ในชีวิต

สิ่งดีๆ จะมาหาเมื่อเราลงมือทำ

%e4%b8%80%e5%b9%b4%e4%b9%8b%e8%ae%a1

เกร็ดความรู้ภาษาจีน 

เรื่องและภาพโดย สุวรรณา สนเที่ยง

สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย.

 

Flag Counter


Share Button
Hits: 53233
คำศัพท์ภาษาจีนที่ใช้บ่อยและใช้งานจริง (ตามความเห็นของเหล่าซือสุวรรณา)
พร้อมพินอิน คำแปลภาษาไทย อักษรจีนตัวย่อ – ตัวเต็ม 简体字/繁體字
 
จำส่วนนี้ได้หมดก็ใช้งานได้หลายด้านมากแล้ว ขอให้ทุกคนจำไปได้หมดทุกคำ
จะจำไปใช้สั่งอาหารได้ ขายอาหารก็ได้

 

คำศัพท์ภาษาจีนที่ใช้บ่อย  พร้อมพินอิน และ คำแปลภาษาไทย

หมวดอาหารเครื่องดื่ม 95  คำ

หมวดสี  19  คำ 

หมวดอาชีพการงาน   28  คำ

รวม  142  คำ พร้อมพินอิน

 

มีทั้งตัวเต็มตัวย่อ จะไปไต้หวันหรือจีนแผ่นดินใหญ่ อ่านเมนูออกหมด .。。。.

ของหวาน ของคาว เครื่องดื่ม  กุ้งหอยปูปลา  

เปรี้ยวหวานมันเค็ม มีครบทุกรส

ถ้วยไหจานชาม ( ไหไม่มี)  ซีอุ้งซีอิ๊ว

การปรุง การนึ่ง ฯลฯ 

ของหวาน ของคาว เครื่องดื่ม อาหารทะเล  ฯลฯ

ข้าวสวย ข้าวผัด ก๋วยเตี๋ยว เส้นหมี่ บะหมี่  หมูเห็ดเป็ดไก่ห่าน หิว อิ่ม ฯลฯ

สารพัดคำศัพท์เกี่ยวกับ “กิน” 

 

รับไปให้หมด  ห้ามเหลือ ห้ามคืนครู

เพื่อนที่แชร์ไปก็ขอให้รับไปทั้งหมด อย่าตกหล่นตามทาง และไม่รับคืนเหมือนกัน

 

Tips 小提示 ทิป :

ข้อห้าม อย่าจำแต่ศัพท์ข้าวเปล่านะ เดี๋ยวจะได้กินแต่ข้าวเปล่า

เรียนภาษาก็เหมือนกินอาหาร ค่อยๆ กินทีละคำ
แล้วมันจะค่อยๆ ย่อยไปเลี้ยงสมองเราอย่างมีคุณภาพ
ถ้ารอจนจวนเจียนจะใช้งานแล้วค่อยกินแบบอัดๆ เข้าไป ไม่มีเวลาเคี้ยว
ก็อาจจุจนป่วย หรืออาเจียน (สมองสับสน สมองไม่รับ)
…………….

ขออภัยในความผิดพลาดใดๆ ที่อาจมีอยู่  

ผู้พบเห็นข้อผิดพลาดขอความกรุณาช่วยแจ้งให้ทราบ จักขอบพระคุณยิ่ง

…………….

หมวดอาหาร(1)ภาพแรก 33 คำ 

มีตั้งแต่ไม้จิ้มฟัน ….. แต่ไม่ถึง เรือรบ (เพราะเรือรบไม่ใช่อาหาร แต่ได้บรรจุศัพท์คำนี้อยู่ในเล่มด้วย)

汉语最常用词 :食物
从牙签到。。。。

เรียบเรียงโดย 张碧云 (สุวรรณา สนเที่ยง)

คัดจาก พจนานุกรมจีนไทยฉบับนักเรียนนักศึกษา

สำนักพิมพ์เคล็ดไทย พิมพ์เมื่อปี 2005 (หนังสือขายหมดแล้ว)

 

FOOD from Dic

หมวดอาหาร (2)ภาพที่ 2

เพิ่ม 19 คำ

 
มีตั้งแต่ปู ….. ไปถึง วิธีการปรุง นึ่ง ทอด

*ข้อสังเกต  คำว่า 面条 แปลว่า “บะหมี่” ไม่ได้แปลว่า “ก๋วยเตี๋ยว” มีคนเข้าใจผิดกันมาก

#HSK2 #HSK3 #ภาษาจีนน่ารู้

 

IMG_3525 forpost

หมวดอาหาร (3)ภาพที่ 3

เพิ่มอีก 16 คำ  

จากทอดๆ ย่างๆ ….. ไปถึง เครื่องดื่ม 饮料

*ข้อสังเกต  คำว่า 可乐 แปลว่า น้ำ “โคล่า”

ไม่ได้แปลว่า “โค้ก” มีคนเข้าใจผิดกันมาก

“โคล่า” ยังแบ่งตามยี่ห้อ เป็น โค้ก กับ เป๊ปซี่ (ตามในภาพ)

汉语常用词 :食物 / 饮料

IMG_3526 for post

หมวดอาหาร (4)  ภาพที่ 4

เครื่องดื่ม ของหวาน  เพิ่มอีก 14 คำ

汉语常用词 :食物 / 饮料 / 甜品

IMG_3528 for post

 

หมวดอาหาร (5)ภาพที่ 5  อีก 13 คำ

ชื่ออาหารที่มาจากภาษาต่างประเทศ (ทับศัพท์แบบจีนๆ ) 外来语

*ข้อสังเกต  คำว่า “ฮอทด็อก” ภาษาจีนไม่ได้ใช้คำทับศัพท์

แต่เป็นการสร้างคำใหม่ขึ้น คือ 热狗 แปลตรงตัวว่า “หมาร้อน” (ตามในภาพ)

คำว่า “มักกะโรนี” ภาษาจีนใช้คำว่า 空心面条

เป็นการตั้งชื่อเรียกตามลักษณะ ซึ่งแปลได้ว่า “บะหมี่ไส้กลวง”

汉语常用词 :食物 / 外来语

IMG_3529 for post

ภาษาจีนหมวดสี 19 คำ ภาพที่ 6  

 汉语常用 19 个词 :颜色

IMG_3549 for post

 

ศัพท์จีนหมวดอาชีพการงาน  (ภาพที่ 7 – 8 ) 28 คำ

汉语最常用  28 个词 :职业与企业

IMG_3551-for-post

 

*ข้อสังเกต คำว่า CEO ในจีนกับในไต้หวันจะใช้คำต่างกันเล็กน้อย

……………………….

 

IMG_3552 for post

 

 

#ภาษาจีนขั้นต้น  #เก็บจากห้องเรียนภาษาจีนฟิวเจอร์ซี

#ฟิวเจอร์ซีใกล้BTSตลาดพลู

Flag Counter

 


Share Button
Hits: 141862

ข้อสอบ PATจีน 20 เรื่องที่เคยออกสอบและเป็นแนวข้อสอบ

ในส่วนที่เป็นความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับจีน

 

เรียบเรียงโดย สุวรรณา สนเที่ยง

24 พฤศจิกายน 2014 (2557) 

ขออภัยที่ทำได้ไม่ค่อยรอบด้าน

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง 

วิเคราะห์แนวข้อสอบ PAT จีน (คลิกที่นี่)

5 เทคนิคเตรียมตัวสอบ คลิกที่นี่

อัปเดท 7 ธันวาคม 2564

หลักสูตรใหม่ ปี 2564
จัดขึ้นเพื่อนักเรียน ม.6 โดยเฉพาะ
และเหมาะกับท่านที่สนใจทั่วไป
1. คอร์ส “ความรู้เกี่ยวกับจีน” เริ่ม 26 มกราคมนี้
2. คอร์ส “สำนวน-ภาษิตจีน” เริ่ม 23 กุมภาพันธ์นี้
เน้นเรื่องและคำที่ออกสอบแพทจีนบ่อย
พร้อมแนวข้อสอบเก่า และ ข้อสอบจำลองที่ อ.สุวรรณา ทำขึ้นเอง
เลือกสมัครเรียนแยกคอร์สได้ คอร์สละ 1,800 บาท
เรียนสดออนไลน์ Live
….
สอนโดย อ.สุวรรณา สนเที่ยง
ที่มีผลงานติวสอบ HSK/ PAT7.4
มีนักเรียนสอบเข้ามหาวิทยาลัยดังหลายรุ่น
….
PAT จีน 2564 Promote course

pat-%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%97%e0%b8%b1%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b9%84%e0%b8%9b

     

แนวข้อสอบ PAT 7.4

ความรู้ทั่วไป ที่เคยออกสอบ

      –  ชื่อทางการของ 中国  คือ 中华人民共和国 

      –  ปีที่ก่อตั้ง 中华人民共和国  คือ  公元 1949 年 10 月 1 日 

      –  วันชาติจีน 中国国庆日  คือ  10 月1 日 

      –  นายกรัฐมนตรีจีนคนปัจจุบัน 中国现任总理  คือ 李克强

      –  ประธาน/ประธานาธิบดีจีนคนปัจจุบัน 中国现任主席  คือ 习近平

      –  ธงชาติจีน มีดาวสีเหลืองใหญ่ 1 ดวง กับ ดาวสีเหลืองเล็ก 4 ดวง    

          中国国旗  有  一颗大黄星和四颗小黄星

      –  สกุลเงินจีน 中国货币 คือ  人民币

……………..

* ผู้นำสูงสุดของจีน ใช้คำว่า 主席 ซึ่งแปลว่า “ประธาน”

แต่สื่อมวลชนไทยใช้คำว่า “ประธานาธิบดี”  

ซึ่ง ” 主席” คนปัจจุบันของจีนคือ สีจิ้นผิง 习近平

(เมื่อก่อนได้ยินแต่คำว่า ประธาน เช่น ประธานเติ้งเสี่ยวผิง)

คำจีนก็ยังใช้ 主席 เหมือนเดิมไม่ได้เปลี่ยน แต่คำไทยไม่รู้กลายเป็นประธานาธิบดีไปได้อย่างไร?

 

capture-20141124-141505

หัวข้อที่ 3 中国文明摇蓝  อู่อารยธรรมจีน (แหล่งกำเนิดอารยธรรมจีน)

มีการเรียกอีกอย่างว่า 中国文化摇蓝 อู่วัฒนธรรมจีน

ข้อนี้คำตอบคือ 中国文明摇篮 – 黄河与长江

文明 (อารยธรรม) 摇篮 (เปล) แหล่งกำเนิดอารยธรรมจีน

 ข้อสอบแพทจีน เคยออกสอบ 中国文明摇篮 คือที่ไหน ?

 เมื่อก่อน ตอบ แม่น้ำเหลือง 黄河

 ปัจจุบันจีนได้ข้อสรุปใหม่ว่า “ทั้ง 黄河与长江”

  ถ้าตัวเลือกที่ข้อสอบให้มา 黄河 กับ 长江 แยกข้อกัน  ให้ตอบ 黄河

  (เหล่าซือสุวรรณา)

%e0%b8%95%e0%b8%b1%e0%b8%a7%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%aa%e0%b8%ad%e0%b8%9a-%e0%b8%ae%e0%b8%a7%e0%b9%8b%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%ad

ภาพล่างนี้  มาจาก  中国文明网

http://www.chiculture.net/index.php?file=topic_description&old_id=0202

%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%aa%e0%b8%ad%e0%b8%9a-%e0%b8%ae%e0%b8%a7%e0%b9%8b%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%8b%e0%b8%b1%e0%b8%99-%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%9e%e0%b8%88%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b9%80%e0%b8%99
……

 

เพื่อนๆ ทบทวนเตรียมไปสอบนะคะ ทำถูกเพิ่ม 1 ข้อ ได้เพิ่ม 3 แต้มค่ะ

 

♣ ตัวอย่างคำเชื่อมที่ออกข้อสอบทุกปี PATจีน ออกสอบหลายข้อ 
虽然 …….但是 / 可是
不管……. 也 …….
尽管……..也 / 都
无论……. 也…….
连……. 也 / 都 ……….
既然……..就………

เมื่อเข้าใจการใช้คำเชื่อมเหล่านี้ แม้ข้อความในข้อสอบจะต่างออกไป ก็พิชิตข้อสอบได้ไม่ยากค่ะ
พยายามอีกนิด ทำข้อสอบได้เพิ่มอีกสองสามคะแนนก็มีความหมายนะคะ

…………………..

♣  ข้อควรสนใจ
เนื่องจากสอบแพทจีน จะนั่งสอบรวมกับนักเรียนที่สอบแพทภาษาอื่นๆ
ข้อสอบบางภาษา เช่น ภาษาฝรั่งเศส ที่มีบางปีบางข้อให้ตอบได้มากกว่า 1 ข้อเลือก
แต่สอบแพทภาษาจีนที่ผ่านมามีแต่คำตอบที่ถูกต้องเพียง 1 ข้อเลือก (อาจทำให้สับสน)
เคยมีนักเรียนสอบแพทจีนสับสนและฝนคำตอบไปสองข้อเลือก
ข้อนั้นจึงได้ 0 คะแนน
ถ้าไม่เข้าใจ ถามอาจารย์ผู้คุมสอบก่อนทำ

 

Pat paper from P'Dome

#PATจีน #เก็บากห้องเรียนฟิวเจอร์ซี

ดูเพิ่มใน Facebook : Suwanna Future C

…………………………………

ข้อสอบจริง PAT7.4 ที่ออกสอบ เมื่อวันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน 2557 (ครั้งที่ 1/2558) เวลา 13.00 – 16.00

ในส่วนที่เป็นความรู้เกี่ยวกับจีน เท่าที่มีคนมาโพสต์ไว้  รวบรวมได้ประมาณนี้ก่อน จะทยอยโพสต์เมื่อมีข้อมูลเพิ่ม
ดูแล้วปีนี้ข้อสอบแพทจีนไม่ค่อยยาก
♣  ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ Dek-D.com *

中秋节 ตรงกับวันที่และเดือน ตอบ 八月十五
黄山 อยู่ทีไหน ตอบ มณฑลอันฮุย 安徽省
上海 อยู่ส่วนไหนของประเทศจีน ตอบ ตะวันออก 东

屈原 เป็นใคร ตอบ 诗人 นักกวี

计划生育政策 (ถามเรื่องนโยบายการมีบุตรของจีน)  ตอบ 晚婚晚育,少生优生。

ดอกไม้ที่ไม่อยู่ใน 国画四君子 คือ ดอกท้อ 桃花 ( 国画四君子 ในภาพวาดจีน ได้แก่ 兰梅竹菊)

 …….

หลักไวยากรณ์เกี่ยวกับการซ้ำคำคุณศัพท์

ออกคำว่า 漂亮 ต้องซ้ำเป็นรูป AABB 漂漂亮亮

….

 

ศูนย์ภาษาจีนฟิวเจอร์ซี ขอแสดงความยินดีกับนักเรียนทุกคน

ที่สอบติดหลายคณะของมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ เช่น

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ติดนิเทศศาสตร์ รัฐศาสตร์สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะนิติศาสตร์)

มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ฯลฯ 

2561 YIM Post web

 

น้องยิ้ม สอบติดคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ โดยใช้คะแนนสอบแพทจีนยื่น

(จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา)

 

2561 BAM TU Post web

 

น้องแบม อดีตประธานนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ สายวิทย์

เลือกเรียนคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

(ติดคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะพาณิชศาสตร์และการบัญชี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ )

 

2561 Mean KU

น้องมีน สอบติดคณะมนุษยศาสตร์ ม.เกษตร โดยใช้คะแนนสอบแพทจีนยื่น

เลือกเรียนเอกวิชาภาษาจีนเป็นอันดับหนึ่ง (จากโรงเรียนเซนต์ฟรังค์ ฯ สายวิทย์)

 

2561 PLAM CU for Post

น้องปาล์ม สอบติดคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ โดยใช้คะแนนสอบแพทจีนยื่น

(จากโรงเรียนสตรีวิทยา)

2561 Noon

น้องนุ่น เลือกเรียนสาขาเอกภาษาจีน มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

(จากโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี)

 


 

 

Flag Counter

 

๑๑๑๑๑

 

 

ดูเกร็ดความรู้ภาษาจีนเพิ่มเติม (คลิกที่นี่)

อ่านเรื่องเกร็ดภาษาจีน  หวังว่าทุกคลิกของท่านจะได้รับประโยชน์จากบทความเหล่านี้

Flag Counter


Share Button
Hits: 13819

 

เกร็ดไวยากรณ์จีน ภาษาจีนขั้นต้นสำหรับคนเริ่มเรียน
ประโยคชีวิตประจำวันที่นักเรียนไทยใช้ผิดบ่อย
“语病” ? การใช้ภาษาจีนที่ผิด

什么叫 “语病” ?  อะไรคือ “语病”  ?   ภาษาจีนที่เราคนไทยมักใช้ผิด

เป็นเรื่องที่ตรงประเด็นกับปัญหา (ส่วนหนึ่ง) ของนักเรียนไทย


ทำไมเหล่าซือชาวจีนมักเอา “语病” มาสอนนักเรียนต่างชาติ ?

 

ก็เพราะนักเรียนต่างชาติยังใช้ภาษาผิดอยู่ เหล่าซือจึงต้องยกให้ดูเป็นตัวอย่าง
เพื่อให้วิเคราะห์และจะได้จำแม่น นำไปใช้ได้ถูกต้องยิ่งขึ้น

บางคนเรียนอยู่จีน สื่อกับคนจีนรู้เรื่อง สื่อกับเพื่อนชาวต่างชาติด้วยกันก็รู้เรื่อง
เลยไม่รู้ว่าตัวเองใช้ผิดมาตลอด
ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและเพื่อกล้าที่จะฝึกพูด ก็ต้องพูดผิดบ้างถูกบ้างไปก่อน
แต่ในระยะยาว ก็ต้องเรียนรู้ที่จะใช้ให้ถูกต้อง เพื่อต่อยอดเรียนขั้นที่สูงกว่าในอนาคต
ตัวอย่าง “语病” ที่มักเกิดกับคนไทย (เป็นเพราะการเรียงประโยคที่มีบุพบทของภาษาจีนกับไทยต่างกัน  คนไทยจึงมักเรียงผิด)
ตัวอย่างประโยค   “เรียนที่ประเทศจีน”
ยังพบว่า มีการใช้ผิดเป็น  我留学在中国  อยู่
(อย่างนี้ใช้สื่อสารได้พอรู้เรื่อง แต่ยังไม่ถูกหลักภาษา)
ประโยคที่ถูกต้องควรจะเป็น 我在中国留学(了两年)。

 

 

ลองเปรียบเทียบสองประโยคนี้ ว่า A ถูก หรือ B ถูก ?  ถูกต้องแบบที่คนจีนเขาใช้กัน

 
A  我们在餐厅吃饭。

B  我们吃饭在餐厅。

 

 

A 你们在哪儿学习 ?

B 你们学习在哪儿 ?

 

Grammar size 700

B  我们吃饭在餐厅。

ตัวอย่างแบบนี้ ที่เรียกว่า 语病

 

Grammar 2 size 700  

 

capture-20141001-145310 size 700 

 

เกร็ดไวยากรณ์จีน  ประโยคชีวิตประจำวันที่นักเรียนไทยใช้ผิดบอ่ย

การเรียงประโยคภาษาจีน  การใช้ 了 

 โดย สุวรรณา สนเที่ยง
14 ตุลาคม 2014

Flag Counter

 

Flag Counter


Share Button
Hits: 9912

           วันที่ 25 – 29 สิงหาคม 2014 ที่ผ่านมา  ผู้เขียนไปส่งนักเรียนที่จะศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาที่ BLCU กรุงปักกิ่ง (นครเป่ยจิ๊ง) และพาคณะรวม 12 ท่านไปทัวร์ปักกิ่งและเยี่ยมชมมหาวิทยาลัยด้วย 

           ถือโอกาสเก็บภาพมาเล่า และเอาคำศัพท์เกี่ยวกับการเดินทางบางส่วนมาไว้ใน “เกร็ดความรู้ภาษาจีน ” บล็อกของ future-cn.com นี้  เผื่อจะเป็นประโยชน์สำหรับท่านที่เดินทางไปทำธุระที่จีนและคนที่กำลังเรียนภาษาจีนค่ะ 

           การเรียบเรียงอาจจะไม่ค่อยปะติดปะต่อนัก  

           เริ่มจากคำว่า ตำรวจ ละกันค่ะ

 

           ไปปักกิ่งทริปนี้ รู้สึกว่ามาตรการรักษาความปลอดภัยเข้มมากกว่าครั้งก่อนอย่างเห็นชัด  

           ที่สนามบินนานาชาติฯ  สถานีรถไฟความเร็วสูง มีการตรวจเข้มกว่าทุกครั้งที่เคยไป  เสียเวลาหน่อยแต่ก็รู้สึกปลอดภัยดี ดีกว่าหละหลวม 
           รถตำรวจที่เห็นในภาพนี้ ปกติก็จะมีอยู่ตามแหล่งท่องเที่ยวและสถานที่สำคัญอยู่แล้ว  แต่มีความรู้สึกว่าเหมือนเพิ่มจำนวนมากขึ้น
คำว่า ตำรวจ ภาษาจีนใช้คำว่า 警察  Jǐngchá  ส่วนคำว่า 公安  Jǐngchá gōng’ān แปลว่า รักษาความสงบของส่วนรวม หรือ สันติบาล ค่ะ

           ภาพประกอบ  รถตำรวจ 公安 gōng’ān 、警察 Jǐngchá ที่จอดรักษาความปลอดภัยให้นักท่องเที่ยวที่ย่านการค้า ถนนคนเดินหวังฝูจิ่ง ใจกลางเมืองปักกิ่ง
ที่นี่มีห้างหรูๆ แพงๆ แต่ก็มีร้านของถูกอยู่ตามซอกซอยเล็กๆ
เพื่อนร่วมทริปหิ้วของถูกมาได้เยอะเลยค่ะ
          
 IMG_1464
IMG_1465
水果 ผลไม้
IMG_1183 edit


涮羊肉 Shuàn yáng ròu   สุกี้เนื้อแพะ  เนื้อแพะลวกจุ่ม 
火锅 huǒguō หม้อไฟ

คำศัพท์จีนที่เรียนในตำรา มีรูปด้วย  จะช่วยให้จำแม่นกว่ามั้ยคะ 

 IMG_1173

 


早餐 Zǎocān อาหารเช้า มื้อเช้า Breakfast (ภาษาพูดปกติจะพูดว่า 早饭 ข้าวเช้า เช่น 吃了早饭吗?กินข้าวเช้าหรือยัง? ) 
自助早餐 Zìzhù zǎocān อาหารเช้าแบบบุฟเฟ่ต์  Breakfast Buffet

ภาพประกอบ อาหารเช้าสไตล์อเมริกัน ABF ที่โรงแรม Beijing Holiday Inn Downtown (Trip Beijing 2014)

IMG_1325

 หลังอาหารเช้า ก็มาชมมรดกโลกในปักกิ่งกันค่ะ
พิพิธภัณฑฺ์กู้กง (故宫博物馆)พระราชวังต้องห้าม 
IMG_1257
颐和园 (Yíhéyuán) Summer Palace พระราชวังฤดูร้อน
北京世界文化遗产之一。
世界文化遗产 Shìjiè wénhuà yíchǎn มรดกโลก World Heritage
ที่นี่มีประวัติน่าสนใจ  เนื่องจากพระนางซูสีไทเฮาใช้งบพัฒนาการป้องกันประเทศไปทุ่มให้กับการสร้างวังไว้พักผ่อนในหน้าร้อน เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้จีนแพ้กองกำลังต่างชาติที่บุกยึดจีนและเข้าเผาทำลายสถานที่ต่างๆ รวมถึงพระราชวังแห่งนี้ด้วย
(ชื่อสถานที่พวกนี้ ข้อสอบแพทจีนชอบออกสอบด้วยค่ะ)
 
 IMG_1429

 

พุทราจีนทอด ของหวานจีนดั้งเดิม บางร้านก็ทำเป็นรูปกลมๆ
เมื่อก่อนจะมีเสิร์ฟตามโต๊ะจีน แต่ปัจจุบันในเมืองไทยหาทานไม่ค่อยได้แล้ว
เมนูอาหาร ร้านอร่อยที่ Future C เลือกสรรให้กับทริปของเรา
中国传统甜品美食:炸枣
ภาพจาก Future C’s Beijing Trip 2014

ไปอยู่เป่ยจิ๊ง (北京) หลายๆ วัน  ก็สั่งอาหารที่เราคุ้นลิ้นกันบ้าง

เมนูนี้หมดอย่างรวดเร็วค่ะ  เสียดายที่นั่นไม่มีข้าวเหนียวขาย 
ปีกไก่ทอด ภาษาจีนเรียกว่า 炸鸡翅 Zhá jīchì ค่ะ  เก็บไว้ในคลังคำศัพท์ของคุณ  เอาไว้ใช้สั่งอาหารได้นะคะ

IMG_1396

คำศัพท์จีนเพื่อการเดินทาง จะทยอยมาอัพอีกค่ะ

#ภาษาจีนเพื่อการเดินทาง #ภาพจากFutureC‘sBeijingTrip2014

 

Flag Counter


Share Button
Hits: 9717

       ทราบหรือไม่  ภูมิปัญญาจีนโบราณที่ล้ำลึกอย่างหนึ่ง ก็คือการแบ่งช่วงพยากรณ์อากาศของแต่ละปีไว้อย่างละเอียดยิบ  

       โดยแบ่งสภาพอากาศเป็น 二十四节气 ( The 24 solar terms 24 ช่วงการเปลี่ยนแปลงดินฟ้าอากาศ หรือที่เรียกว่า 24 ฤดูลักษณ์)

ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงอารยธรรมลุ่มน้ำฮว๋างเหอ (ฮวงโห) เมื่อหลายพันปีก่อน

       二十四节气 นี้  เกิดจากการสังเกตและบันทึกดินฟ้าอากาศของชาวจีนนับร้อยนับพันปี  

จนสามารถคำนวนวัน – การตั้งฉากของดวงอาทิตย์ และคาดการณ์สภาพอากาศได้ค่อนข้างแม่นยำ 

เป็นสถิติที่เป็นประโยชน์ต่อการวางแผนเพาะปลูกในสังคมเกษตรตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน  

และยังเป็นประโยชน์ต่อการพยากรณ์อากาศและชีวิตประจำวันของชาวจีนปัจจุบันด้วย


ตัวอย่างเช่น เมื่อวันนี้ 7 สิงหาคม 2014 ที่ผ่านมา  เป็นวัน 立秋 (Start of Autumn ตั้งแต่เวลา 22 時 2 分 เท่ากับ 22.02 นาที – ละเอียดยิบจริงๆ )

ตามปฎิทินจันทรคติจีน  ถือว่าเป็นวันแรกที่สภาพอากาศในจีนเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง

นับจากนี้ไปอีก 1 เดือนเศษ ( 8 กันยายน) ก็จะถึงวันที่เรียกว่า 中秋节 (วันสารทกลางฤดูใบไม้ร่วง)

หรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อว่า “วันไหว้พระจันทร์” นั่นเอง

 

 

(感谢图片来源: 知乎  ภาพประกอบจาก  https://zhuanlan.zhihu.com/p/338838166)

………

วันสำคัญที่มีความหมายด้านสภาพอากาศอีกวันคือ วัน 春分 (วันชุนเฟิน วันวสันตวิษุวัต) ตาม 24 节气 (24 ฤดูลักษณ์ของจีน) เป็นวันที่กลางวันกับกลางคืนยาวเท่ากัน ต่อจากวันนี้สภาพอากาศในจีนจะอุ่นขึ้น (กลางวันยาวกว่ากลางคืน)
วัน 春分 (วันชุนเฟิน) ตรงกับวันที่ 20 หรือ 21 มีนาคมของทุกปี ถือว่าอากาศในจีนเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิแล้ว มวลดอกไม้จะเบ่งบาน อากศไม่หนาวเกิน เหมาะกับการเดินทาง ชาวจีนจะเริ่มนัดญาติ ๆ ไปทำความสะอาดสุสานและเซ่นไหว้บรรพชน จนกระทั่งถึง เชงเม้ง (清明节)
****ในทางความเชื่อ
ชาวจีนโบราณถือวัน 春分 เป็นวันเริ่มต้นที่ดวงวิญญาณของผู้ล่วงลับจะออกมาได้ จนถึงกลางเดือน 3 ตามปฏิทินจันทรคติจีน
ลูกหลานจึงเริ่มไปทำความสะอาดฮวงจุ้ย เซ่นไหว้บรรพชนได้ เป็นการเริ่มต้นเทศกาลเชงเม้ง
ภาพประกอบจาก CCTV.com
May be a closeup of flower and nature

 

…..

อัพเดทเพิ่มเติม วันที่ 24 กันยายน 2014

วันที่ 23 กันยายน 2014 ที่ผ่านมา  เป็นวัน 秋分  หมายถึงฤดูชิวเทียน (ใบไม้ร่วง) ได้ผ่านมาแล้วครึ่งหนึ่ง

วัน  秋分 มักจะตรงกับวันที่ 22  23 หรือ 24  กันยายนของทุกปี  

วันนี้เป็นวันที่ประเทศจีนมีช่วงกลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน  หลังจากนี้ช่วงกลางคืนจะยาวกว่ากลางวัน  

อากาศจะเริ่มเย็นลงเรื่อยๆ  ใบไม้เริ่มเปลี่ยนเป็นสีแดงและสีเหลืองก่อนที่จะร่วงลงตามชื่อ  “ฤดูใบไม้ร่วง”


秋分,农历二十四节气中的第十六个节气,时间一般为每年的 9 月 22 日 ~ 24 日。秋分之 “分” 是 “半” 的意思.
二十四节气之秋分 Autumn Equinox in 24 Solar Terms

 

เรื่องและภาพโดย สุวรรณา สนเที่ยง

สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย.

 

…………………….

อัพเดทเพิ่มเติม (ข้อความจาก facebook fanpage ของ  Suwanna Future C 21 มิถุนายน 2016 / 2559)
วันนี้เป็นวัน《夏至》Summer Solstice  

ซึ่งเป็น 1 ใน 24 (二十四节气)ของการเปลี่ยนแปลงสภาพดินฟ้าอากาศของประเทศจีน ที่มาจากการสังเกตดินฟ้าอากาศและดาราศาสตร์มาแต่โบราณจนกลายเป็นองค์ความรู้
โดยปี 2016 ตรงกับวันที่ 21 มิถุนายน   ตามปฏิทินจันทรคติของจีนตรงกับ 农历 2016 年五月十七日

นับตั้งแต่วัน《夏至》นี้ ในประเทศจีนจะเข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการ 
จากบันทึก ชาวจีนยังพบว่า ในวัน《夏至》ของทุกปี มักจะมีฝนตกด้วย


วัน《夏至》เป็นวันที่ช่วงกลางวันยาวที่สุดของจีน

บางเมืองเช่นเมืองอู่ฮั่น ช่วงกลางวันจะยาวถึง 14 ชั่วโมง 8 นาที ที่ปักกิ่งกลางวันยาวถึง 15 ชั่วโมงเลยทีเดียว

 

Photo 夏至

……….

บันทึกเพื่อจำเป็นสถิติ

ในเมืองไทย ไม่มีวัน《夏至》แต่วันนี้ วันที่ 21 มิถุนายน 2559 ที่กรุงเทพฯ ก็เป็น
“วันฝนตกหนัก”
“วันน้ำท่วม กทม.”
“วันรถติดหนักสุดแห่งปี”
“วันรอรถนานสุดแห่งปี”
“วันใช้เวลาเดินทางนานสุดแห่งปี”

เนื่องจากมีฝนตกหนักทั่วพื้นที่กรุงเทพมหานครตั้งแต่บ่ายวันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน และเช้ามืดของวันอังคารที่ 21 มิถุนายน

ทำให้เกิดน้ำท่วมตามพื้นที่และถนนต่างๆ 

………………

เกร็ดความรู้วัฒนธรรมจีน ภูมิปัญญาจีน

ยอดอ่าน เกร็ดวัฒนธรรมจีนจากฟิวเจอร์ซี

Flag Counter


Share Button
Hits: 11792

甜菜 (เถียนช่าย) = บีทรูท
หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า 红菜头 (หงช่ายโถว) ซึ่งแปลตรงตัวว่าหัวไช้เท้าสีแดงค่ะ

บีทรูท

白菜 (ไป๋ช่าย) = ผักกาดขาว

Baicai 1

แครอทภาษาจีนเรียกว่า 胡萝卜

Carrot FB

 

ภาพและคำบรรยายโดย วริยา สนเที่ยง

 

เกร็ดความรู้ภาษาจีน โดย สุวรรณา สนเที่ยง

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย  อนุญาตให้แบ่งปันได้  โดยอ้างอิงแหล่งที่มาให้ชัดเจน ไม่ดัดแปลง และไม่เพื่อการค้า

สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์

ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย.

#HSK #HSKK

Flag Counter

 


Share Button
Hits: 13729
中国文化: 服装 (fúzhuāng)
ทราบหรือไม่ ชุดประจำชาติหญิงจีนดั้งเดิม ไม่ใช่ “กี่เพ้า” ที่ใส่กันในวันนี้
  
วัฒนธรรมจีน การแต่งกายของหญิงจีนในช่วง 2500 ปีที่ผ่านมา
 
ชุดจีนเป็นวัฒนธรรมจีนอีกอย่างหนึ่งซึ่งโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ และเป็นที่น่าจดจำของคนทั่วโลก
วันนี้เปิดเจอภาพวาดที่น่าสนใจของผู้หญิงคนหนึ่ง ชื่อว่าคุณ Nancy Duong
เธอรวบรวมข้อมูลจากหนังสือ “5,000 Years of Chinese Costumes”
ทั้งยังศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมจีนอย่างละเอียด
สามารถเข้าไปดูฉบับเต็มซึ่งมีทั้งหมด 21 ยุคสมัย ได้ที่ >> http://bit.ly/WlIoRE 
ซึ่งในนั้นเธอได้อธิบายว่า
“เครื่องแต่งกายจีนมีประวัติศาสตร์ยาวนานประมาณ 5 พันปี แต่ที่ฉันวาดไว้ในนี้ครอบคลุมได้แค่ 2,500 ปีเท่านั้น”
เริ่มตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฉิน (秦) มาจนถึงจีนยุคหลัง
ซึ่งก็นับว่าสุดยอดแล้วล่ะค่ะ
ผู้วาดได้โพสต์ภาพเหล่านี้ลงในเว็บบล็อค Tumblr เพื่อให้ความรู้ในวงกว้าง ปรากฏว่ามีคนแสดงความคิดเห็นและนำไปแชร์ต่อถึง 54,958 notes นอกจากนี้เธอยังมีเว็บไซต์ของตัวเอง http://www.iridescentdream.com มีภาพวาดแสดงถึงลักษณะทรงผมแบบจีนในยุคต่างๆ, เครื่องแต่งกายผู้ชายจีน, เครื่องแต่งกายแบบเวียดนาม ฯลฯ อีกด้วยค่ะ
 
    ชุดจีนเป็นต้นตำรับที่มีอิทธิพลต่อชุดประจำชาติในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม เกาหลี ญี่ปุ่น ฯลฯ 
ภาพแรก (บน)
เริ่มจากชุดแรก แดงเหลือง เป็รชุดในสมัยราชวงศ์ฉิน 秦朝 ก่อนคริตศักราช 221 ปี ( 2215 ปีก่อนโดยประมาณ)
ชุดกลาง เขียวเหลือง  การแต่งกายสมัยราชวงศ์ถัง ประมาณ 1400 ปีที่แล้ว
ชุดที่สาม กี่เพ้าสีฟ้า ยุคใกล้ ก่อนปี 1949 ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งใหญ่ในจีน 

 

 

 

 

 

ปล.

1. ชุดจีนปัจจุบันที่เรียกว่า กี่เพ้า (旗袍 ฉีเผา) นั้น ไม่ใช่ชุดแต่งกายของชาวจีนฮั่น  แต่เป็นชุดแต่งกายของหญิงชาวแมนจู (满族 หมั่นจู๋) ซึ่งเผยแพร่เข้ามาในจีนช่วงที่ชาวแมนจูปกครองจีนในสมัยราชวงศ์ชิง

2. ตามความเข้าใจ การเปลี่ยนแปลงของเครื่องแต่งกายจีน มีปัจจัยมาจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากการย้ายเมืองหลวง ขึ้นอยู่กับในแต่ละช่วงสภาพอากาศ และอิทธิพลจากการที่ชาวจีนฮั่นถูกปกครองโดยชนกลุ่มน้อยทางภาคเหนือ เช่น ยุคราชวงศ์ฉิน เมืองหลวงอยู่ที่ซีอาน อากาศหนาวและแห้งแล้ง ยุคราชวงศ์หยวน ถูกปกครองโดยชาวมองโกล ก็มีกลิ่นอายการแต่งกายแบบมองโกลผสม  ยุคราชวงศ์ชิง ถูกปกครองโดยชาวแมนจู  การแต่งกายแบบจีนฮั่นจึงเปลี่ยนมาเป็นแบบแมนจู 

ปล. เรื่องนี้เขียนโดย หมิว คัดจาก Suwanna Future C
ภาพจาก http://bit.ly/WlIoRE 
 
………………….
 

 

Flag Counter


Share Button
Hits: 52484

 

รวมภาพคำศัพท์จีนน่ารู้ ชุดที่ 1  อาหาร

เก็บจาก  Facebook:  Suwanna Future C แบ่งปันจากห้องเรียนของฉัน

 

♠ ยินดีให้ร้านอาหารนำชื่ออาหารภาษาจีนเหล่านี้ ไปใช้ทำเมนูอาหารได้เลยค่ะ

สุวรรณา สนเที่ยง 张碧云

……………… 

♠ ผัดผักบุ้งไฟแดง 炒空心菜

 

Chao Kongxin Cai psd

 

♠ ปลาแซลมอน  三文鱼 Salmon

แซลมอน

泰国著名美食  อาหารไทยเลิศรส

♠ ปููผัดผงกระหรี่  咖哩炒蟹  Gālí chǎo xiè
Crab with Curry Powder
咖哩粉 Gālí fěn ผงกระหรี่ 
炒 = ผัด   蟹 = ปู

 

crab FB

♠ ทอดมันปลากราย  煎鱼饼

TOODMAN FB

 

泰国著名美食  

♠ ส้มตำ อาหารไทยยอดนิยม  SOM – TUM
ภาษาจีนใช้คำว่า 凉拌木瓜丝
Liángbàn mùguā sī
เป็นการสร้างคำศัพท์ที่ี่บอกความหมาย 
แปลว่า “สลัดเส้นมะละกอ”

 

SOMTUM FB

 

 ♠ 芒果椰浆糯米饭  ของหวานไทยที่ขึ้นชื่อ ข้าวเหนียวมะม่วง 

ขนมไทยยอดนิยมของคนต่างชาติ  ใครชิมแล้วต้องติดใจ

ชื่อจีนของอาหารไทย  คำที่นำไปใช้งานได้  แต่ไม่ออกสอบ

芒果    Mángguǒ     มะม่วง
椰        yē                 มะพร้าว
浆         jiāng            ของเหลวข้นๆ

คำว่า    椰浆  ของคนจีน ก็หมายถึง กะทิ ของเรานั่นเอง

糯米饭  nuòmǐ fàn  ข้าวเหนียวที่สุกแล้ว

芒果椰浆糯米饭 Mángguǒ yē jiāng nuòmǐ fàn ก็คือ ข้าวเหนียวมะม่วง

 

Manggo FB

พักสายตา  ทานขนมไทย  泰国传统甜品之一。

IMG_1427

 

IMG_1426

 

IMG_1425

IMG_1424

 

ขนมถ้วย

IMG_1756

 

这是泰南勿洞 BETONG 的一种家乡味甜品,非常好吃。
นี่เป็นขนมหวานอร่อยสูตรพื้นเมืองเบตง จังหวัดยะลาค่ะ
ขนมต้นตำรับของชาวฮากกา น้ำราดทำจากน้ำเชื่อมเคี่ยวข้นๆ โรยด้วยงา

ภาษาจีนฮากกา เรียกว่า “มี๊เก๊าปั้น” 

Hakka มี๊เก๊าปั้น

 

 

……………….

♠ เฉาก๊วย ภาษาจีนกลางและสำเนียงอื่นเรียกอะไร
ถ้าไปพูดว่าอยากกิน “เฉาก๊วย” ในบางท้องถิ่นของคนจีน ก็อาจไม่ได้กิน
………………………..
เฉาก๊วย คนจีนรู้จักกันในชื่อว่า 凉粉 Liángfěn

เฉาก๊วย 凉粉 สักถ้วย ท่ามกลางบรรยากาศและอากาศที่ร้อนผุดๆ ตอนนี้

อาหารชนิดนี้ คนแต้จิ๋วเรียกว่า เฉาก๊วย 草粿 Cǎo guǒ

แต่คนจีนกวางตุ้ง จีนทางมาเก๊า ฮ่องกง คนฮากกา เรียกว่า   凉粉 เหลียงเฟิ่น

凉 แปลว่า เย็น

粉 แปลว่าแป้ง

รวมกันเหล่าซือก็ขอแปล “แป้งเย็น” ละกัน เอาไว้แก้ร้อน แต่ไม่ได้ตรางู
 
ส่วนก๋วยเตี๋ยว ภาษาจีนสำเนียงแต้จิ๋ว  ใช้คำว่า 粿条 (Guǒ tiáo ขั่วเถียว)

IMG_1329

 

เพิ่มเติม

หลังโพสต์ มีแฟนเพจแสดงความเห็นและให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า 

ในสิงคโปร์ ไต้หวัน และที่เซี่ยงไฮ้  จะเรียก เฉาก๊วย  ว่า  仙草 (เสี๊ยนเฉ่า) 

ขอบคุณแฟนเพจทั้งสองท่านค่ะ

感谢:Sampson Chong

เฉาก๊วย เมนท์ 2

感谢:Paan Utraporn 

 

 

 

เฉาก๊วย เมนท์ 1

 

 

♠ 粽子 บะจ่าง

%e0%b8%9a%e0%b8%b0%e0%b8%88%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%87

 

 

เชิญชิมเส้นหมี่ราดหน้า 

请尝尝泰国小吃。
午餐  =  อาหารมื้อเที่ยง  尝 = ชิม   尝尝 =  ชิมหน่อย ชิมนิดนึง 
米粉  =  เส้นหมี่

IMG_1882 edit

 

♠ โกยซีหมี่  鸡丝面
คุ้นเคยกับ “โกยซีหมี่” หน้าตาแบบนี้ และคิดว่าเมนูในเมืองจีนที่เขียนว่า 鸡丝面 ก็เป็นแบบนี้
เคยไปสั่ง 鸡丝面 ที่ปักกิ่ง แล้วก็นึกภาพว่าเดี๋ยวคงได้กินโกยซีหมี่แบบในรูปนี่้ล่
ที่ไหนได้ พอเขายกมาเสิร์ฟ เงิบเลย 

หน้าตา-รสชาติคนละเรื่องเลยค่ะ  มีบะหมี่ แล้วก็มีไก่ฉีกเป็นเส้นๆ โรยหน้า
ฮาๆ  เป็นประสบการณ์ที่เล่ากันไม่รู้จบเลย

IMG_1312

………………..

เอาคำศัพท์อาหารจีนดั้งเดิมแท้ๆ มาฝากอีกคำ “ซาลาเปา”  และ ” ซาลาเปาเจ”  ค่ะ

อาหารจีนที่เรียกว่า ” เป๊าจึ ” ในภาษาจีน  ภาษาไทยเราก็ทับศัพท์เป็น “ซาลาเปา” ล่ะค่ะ 


♠ 包子 (素包子) 
包子 Bāozi = ซาลาเปา (Bun)  素包子 sù bāozi  ซาลาเปาเจ
素 = Vegetarian มังสวิรัติ

小提示 tips :

包 เมื่อใช้เป็นคำกริยา แปลว่า ห่อ หุ้ม ค่ะ  ซาลาเปาจึงเป็นอาหารจีนที่ต้องมีไส้ห่ออยู่ในเนื้อแป้งนะคะ

ส่วนหมั่นโถว 馒头 ไม่ไมีไส้ค่ะ  ทำจากแป้งล้วนๆ

 

bao

ภาพประกอบ ซาลาเปาเจ ถ่ายจากโต๊ะกินข้าว ข้างๆ น้ำเต้าหู้

……………………………….

ศัพท์น่ารู้  เวลาแนะนำอาหารไทยให้คนจีน
ผัดกะเพราหมูสับ  อาหารไทยเลิศรสที่เรามักกินเป็นข้าวกลางวัน (เวลานึกเมนูอื่นไม่ออก)
เอาคำศัพท์อาหารไทยมาฝากอีก 1 คำ

♠ 泰式打抛叶炒肉丝盖饭
#泰国街边小吃 #泰国美食 

IMG_1922 Kra Pao 700

 

朋友们见过我们泰国的 ♠ “打抛叶“吗 ?
ภาพนี้คือใบกะเพราในกระถาง โพสต์ให้เพื่อนต่างชาติที่ชอบทาน “ผัดกะเพรา” ดูค่ะ

 

IMG_0561 KaPao 700 with credit

………………..

 

♠ ไข่แดง 蛋黄 dànhuáng yolk
ไข่เค็มแดง 咸蛋黄 Xián dànhuáng Salted egg yolk


谈到泰南的素叻府,往往联想到当地著名土产手信 “猜亚咸蛋”。


พูดถึงสุราษฎร์ธานี  มักจะนึกถึงไข่เค็มไชยา – สินค้าท้องถิ่นขึ้นชื่อที่นิยมซื้อเป็นของฝาก

แค่เห็นสีของไข่แดงไชยา ก็จินตนาการถึงความอร่อยได้

IMG_0763 with FC Logo

………………

♠ สะเต๊ะ ภาษาจีนเรียกว่า อะไร ? 这个汉语怎么说 ?

มีคนถามผ่านบล็อกเหล่าซือสุวรรณา  เลยถือโอกาสเอามาฝากอีก 1 คำ
สะเต๊ะ  ภาษาจีนใช้คำทับศัพท์ว่า 沙爹  (ถ้าเอาคำนี้แปลตามความหมาย ก็แปลว่า เตี่ยของทราย )
คำนี้ มาจากภาษามาเลยู (Malaysian Satay) เป็นอาหารเลิศรสของชาวมาเลย์ค่ะ

stay สะเต๊ะ

……………………

♠ ไข่ลวก อาหารเช้าที่อยู่กับคนจีนคนไทยมาช้านาน 水煮荷包蛋 — 最经典的早餐 

boil Egg for FB 1

ภาพล่างนี้ไม่เข้าพวก

 

♠ ไข่เจียว  煎蛋    

♠โจ๊ก 粥  

♠ไข่เยี่ยวม้า 皮蛋
โจ๊กไข่เยี่ยวม้า อาหารต้นตำหรับกวางตุ้ง ภาษาจีนเรียกว่า ♠ 皮蛋粥  
(เก็บตกจากห้องเรียน ภาษาจีนขั้นต้น

IMG_4854

…………….

มะม่วงปั่น แตงโมปั่น น้ำมะพร้าว …

มีคนบอกว่า 香港的芒果沙冰很好喝 มะม่วงปั่นที่ฮ่องกงอร่อยมาก
ร้านขายส่วนมากจะติดแต่ป้ายชื่อภาษาจีน ไม่มีภาษาอังกฤษ

จึงเอาคำศัพท์จีน 4 คำมาฝากผ่านภาพถ่ายค่ะ

西瓜沙冰 แตงโมปั่น
芒果沙冰 มะม่วงปั่น
芒果汁     น้ำมะม่วง
椰子汁     น้ำมะพร้าว
……….
คำว่า “น้ำแข็งปั่น” ภาษาจีนใช้คำว่า 沙冰

沙 แปลว่า ทราย sand
冰 แปลว่า น้ำแข็ง ice
芒果 มะม่วง
西瓜 แตงโม
椰子 มะพร้าว

ถ้วยหนึ่ง 20 – 25 เหรียญฮ่องกง
คิดเป็นเงินไทยตอนนี้ก็ประมาณ 96 – 100 กว่าบาท

CN Voc Ice Mango

………….

รูปและเรื่อง โดยสุวรรณา สนเที่ยง (图和文: 张碧云老师)

#‎ภาษาจีนเพื่อการเดินทาง‬ ‪#‎ภาษาจีนอาหาร

 

ภาษาจีน-ไทยเปรียบเทียบ  泰汉语比较

Flag Counter

Flag Counter


Share Button

“开门 7 件大事” 柴 米 油 盐 酱 醋 茶 ฟืน ข้าวสาร น้ำมัน เกลือ ซอส น้ำส้มสายชู และ ชา

Hits: 7176

ความรัก งอกขึ้นจากการเอาใจใส่ในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวัน  หรือจากกุหลาบสวยๆ วาเลนไทม์ ? 

ขอมอบเพลงนี้แด่ทุกคู่ชีวิตที่ดูแลกันตั้งแต่หนุ่มสาวจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต  

ขอมอบเพลงนี้ให้แก่ทุกคนที่ห่วงใยกัน ในโอกาสเดือนแห่งความรัก   

เปิดเพลงนี้ทีไร  ทำให้คิดถึงหลายๆ คนที่เคยร้องด้วยกัน

เพลงนี้มีชื่อเพลงว่า 柴 米 油 盐 酱 醋 茶 ขับร้องโดย Wang LeeHong หวางลี่หง

แปลว่า  ฟืน  ข้าวสาร  น้ำมัน  เกลือ  ซอส  น้ำส้มสายชู  และ ชา

柴 米 油 盐 酱 醋 茶 ถือเป็นสิ่งจำเป็น 7 อย่างในชีวิตของชาวจีนตั้งแต่โบราณมา เรียกว่า  “开门 7  件大事”   

เป็นเพลงจีนที่ดิฉันใช้ประกอบการสอนภาษาจีนในคลาสผู้ใหญ่

มีคำศัพท์ที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวันและวลีที่เรียนรู้ได้ง่าย  

MV ซึ้งปนเศร้า 从小相爱到白头(從小相愛到白頭)รักกันตั้งแต่เป็นเด็กจนถึงผมขาว (จนแก่เฒ่า)

มี version ที่มีคำแปลภาษาอังกฤษด้วย  (ต้องขอเวลากลับไปหาส่วนที่โพสต์ไว้ในเฟชบุคก่อน)  

感谢 ขอบคุณ http://www.youtube.com/watch?v=fmVoDQHCk0k

ขอบคุณ บล็อกเกอร์คนโทใส่น้ำ  วิธีใช้ไฟล์จาก youtube ในบล็อก..แบบเก๋าๆ http://www.oknation.net/blog/konto/2011/09/28/entry-1

ขอบคุณคุณพิญญารัศม์  ทีมงานฟิวเจอร์ซี  ที่เอื้อเฟื้อค้นหาคำแปลภาษาไทยจากเว็บไซต์มาให้
 
หมายเหตุ  ข้อความข้างบนดิฉันเขียนเอง  แต่เนื้อร้องไม่ได้แปลเองค่ะ   
ขอบขอบคุณเจ้าของเอนทรี่ที่เอื้อเฟื้อคำแปลเนื้อร้องเป็นภาษาไทย http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=purring-softly&month=07-2010&date=27&group=10&gblog=15 
 
 

时候 你想要什么
我要一台大大蓝色的飞机
带我环游世界
到地球每一个角落
在蓝天白云中穿梭
เมื่อครั้งเยาว์วัย เธอต้องการอะไร
ฉันอยากได้เครื่องบินสีฟ้าลำใหญ่ๆ
พาฉันท่องไปรอบโลก
ถึงทุกมุมของผืนดิน
ลดเลี้ยวรอบเมฆขาวบนผืนฟ้า

而长大以后 我想要什么
我要一台小小红色答录机
和你一起录下
喂 我们现在不在家
蓝色变成红色因为你
เมื่อเติบโตฉันต้องการอะไร
ฉันต้องการเครื่องตอบรับเล็กๆสีแดง
อัดเสียงร่วมกับเธอไว้
“สวัสดี ตอนนี้เราไม่อยู่บ้าน”
สีฟ้าเปลี่ยนเป็นสีแดงเพราะเธอ

柴米油盐酱醋茶
一点一滴都是幸福在发芽
月儿弯弯爱的傻
有了你什么都不差
ฟืนข้าวน้ำมันเกลือน้ำส้มซอสชา
ทุกๆหยดคือความสุขที่ค่อยๆแตกหน่อ
พระจันทร์เสี้ยว ความรักทึ่มๆ
เพียงมีเธออะไรๆก็ไม่เลว

(ร้องซ้ำเนื้อร้องเดิมอีกรอบ)

给你快乐无论白天黑夜

握紧双手就算刮风下雨

我就是要你

要你待在我身边

保护你直到永远

ให้ความสุขกับเธอไม่ว่าทิวาราตรี

จับมือเธอไว้มั่นแม้ลมพัดฝนเท

ฉันต้องการเธอ

ต้องการเธอเคียงข้างฉัน

จะคุ้มครองเธอตลอดไป

柴米油盐酱醋茶
一点一滴都是幸福在发芽
月儿弯弯爱的傻
有了你什么都不差
ฟืนข้าวน้ำมันเกลือน้ำส้มซอสชา
ทุกๆหยดคือความสุขที่ค่อยๆแตกหน่อ
พระจันทร์เสี้ยว ความรักทึ่มๆ
เพียงมีเธออะไรๆก็ไม่เลว

月儿弯弯爱的傻
没有一个理由
活的那么复杂
有了你什么都不差
พระจันทร์เสี้ยว ความรักทึ่มๆ
ไม่มีเหตุผลใด
ที่ต้องใช้ชีวิตอย่างวุ่นวาย
เพียงมีเธออะไรๆ ก็ไม่เลว

 

เกร็ดวัฒนธรรมจีน โดย สุวรรณา สนเที่ยง 中国文化 (张碧云)

Flag Counter


Share Button
Hits: 36081

 

             การเลือกใช้คำศัพท์ภาษาจีนให้ถูกต้อง 

เป็นส่วนสำคัญในการสื่อความอย่างถูกต้องเหมาะสม 

มีคำศัพท์ภาษาจีนหลายคำที่คนไทยมักใช้ผิดหรือรู้สึกสับสน  

             วันนี้  เราจะมาคุยกันต่อเรื่องคำจีนที่เกี่ยวกับคำว่า ภาษา  เช่น

             “泰语” 泰文”  ใช้เหมือนกันไหม ?

             汉语”  华语”  普通话”  “国语”   中文”  คำเหล่านี้ใช้แทนกันได้หมดไหม ? ต่างกันอย่างไร ?

Jinyi ci Hanyu & Putonghua

                                                                                                                    …

Cn Jinyi ci  HANYU HUAYU

           

Credit

           

คำว่า “语 yǔ”   “语言  yǔyán”   และ 文 wén”  ในภาษาไทย ต่างก็แปลได้ว่า “ภาษา”

                   แต่ในภาษาจีน คำเหล่านี้ มีการใช้ที่ต่างกัน

     

          ในภาษาจีน คำว่า  语言( ภาษา )  เป็นคำเรียกรวมที่หมายถึง สื่อทุกชนิดที่สามารถสื่อสารทำความเข้าใจกันได้  รวมทั้งภาษาพูด (ใช้เสียงเป็นสื่อ ) และภาษาเขียน (ใช้ตัวอักษรเป็นสื่อ) 

ภาษาพูด      ใช้เสียงเป็นสื่อ  เช่น คำว่า  汉语、华语泰语、英语

ภาษาเขียน  ใช้ตัวอักษร (文字) เป็นสื่อ  เช่นคำว่า  中文、泰文、英文报、The Nation 是泰国的英文报之一

泰语   หมายถึง  ภาษาพูดที่สื่อด้วยเสียงภาษาไทย

泰文    หมายถึงภาษาเขียนที่สื่อด้วยอักษรของไทย

汉语   หมายถึง  ภาษาพูดโดยรวมทุกสำเนียงของชาวฮั่น

           รวมถึงภาษาถิ่นอย่างแต้จิ๋ว  ภาษาฮากกกา ภาษากวางตุ้ง ฯลฯ 

         ( ประชากรประเทศจีนปัจจุบันแบ่งเป็น 5 ชนชาติใหญ่  ชนชาติฮั่นมีจำนวนประชากรมากกว่า 92 % ) 

 

ชาวจีนยังเรียก  汉语 (Hànyǔ) ว่า 华语 Huáyǔ ด้วย เพราะอะไร ? 

เนื่องจากประเทศจีนสมัยโบราณมีชื่อว่าประเทศ “华夏 Huáxià ”  นั่นเอง 

ชาวฮั่นใช้คำว่า 中华民族  แทน  “ ชนชาติจีน  

ชาวจีนอพยพจึงเรียกว่า  华侨 ( ภาษาจีนกลางออกเสียงว่า ฮว๋าเฉียว   ในประเทศไทยกลายเสียงเป็นหัวเฉียว ตามเสียงสำเนียงจีนแต้จิ๋ว) 

ส่วนลูกหลานชาวจีนอพยพรุ่นต่อๆ มาก็เรียกว่า 华裔 (ออกเสียงว่า ฮว๋ายี่)  ลูกหลานชาวจีนที่เกิดในไทยก็เติมคำว่า 泰国  ลงไป  เป็นคำว่า 泰国华裔 ( Tàiguó Huáyì แปลว่าชาวไทยเชื้อสายจีน )    

ชื่อประเทศจีนอย่างเป็นทางการ  จึงใช้ชื่อว่า

中华人民共和国 (สาธารณรัฐประชาชนจีน)

 

   ภาษาเขียนของชาวจีน  เรียกว่า  中文   ซึ่งแปลได้ว่า  ภาษากลางที่สื่อด้วยตัวอักษร  หรือ  ภาษาเขียนที่ใช้เป็นภาษากลาง  เนื่องจากชาวจีนทุกท้องถิ่น  ทุกสำเนียงใช้อักษรจีน (汉字) เป็นภาษาเขียนแบบเดียวกันในการสื่อความเข้าใจกัน

   แต่จากการที่ชาวจีนมีภาษาถิ่นหรือสำเนียงพูดท้องถิ่นที่แตกต่างกันอยู่จำนวนมาก  และบางสำเนียงออกเสียงไม่เหมือนกันเลย  เช่น คนแต้จิ๋วพูดว่า “เจียกปึ่ง” ( หมายถึงทานข้าว)  ส่วนคนฮากกาพูดว่า “ซึดฟั้น” (ทานข้าว)   สื่อกันด้วยเสียงสำเนียงของแต่ละท้องถิ่นไม่เข้าใจ  คนพูดสำเนียงแต้จิ๋ว(潮州话)สื่อกับคนพูดสำเนียงเซี่ยงไฮ้( ภาษาซั่งไห่ 上海话)ไม่เข้าใจ 

  ดังนั้น  นอกจากจะต้องมีภาษาเขียนที่เป็นภาษากลาง 中文 แล้ว   ยังจำเป็นต้องมีเสียงสำเนียงพูดที่เป็นภาษากลางในการสื่อสารเป็นทางการอีกด้วย

  

  ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเรียกสำเนียงภาษาจีนกลางนี้ว่า 

 普通话 ( Pǔtōnghuà = ภาษา Mandarin) ซึ่งแปลได้ว่า “ภาษาธรรมดาทั่วไป”  

  เมื่อประมาณ 40 กว่าปีก่อน  คนไทยเราเรียกสำเนียงพูดภาษาจีนกลางแบบ 普通话 ว่า  “国语”  ซึ่งคำว่า 国语 นี้ แปลว่าภาษาแห่งชาติ  (แต่ปัจจุบันมีการใช้คำนี้น้อยลง มีไต้หวันยังคงเรียกภาษาจีนกลางว่า 国语)

 

  สมัยก่อน  แต่ละท้องถิ่นจะเรียนอักษรจีนโดยออกเสียงตามภาษาท้องถิ่นของตนเอง  คนแต้จิ๋วก็อ่านออกเสียงเป็นสำเนียงแต้จิ๋ว คนกวางตุ้งก็อ่านออกเสียงเป็นกวางตุ้ง คนฮกเกี้ยนก็ออกเสียงตามภาษาฮกเกี้ยน เราจึงเห็นชื่อคน ชื่อสถานที่ ในวรรณกรรมแปลภาษาไทย เช่น ชื่อตัวละครในสามก๊ก มังกรหยก ออกเสียงแตกต่างจากภาษาจีนกลาง ฯลฯ   

  ต่อมารัฐบาลจีนต้องทั้งรณรงค์ และทั้งบรรจุไว้ในหลักสูตรการศึกษาภาคบังคับให้ทุกคนต้องเรียนภาษาจีนกลางมาตรฐาน (เหมือนคนไทยทุกภาคต้องเรียนภาษาไทยกลาง)

  

  แต่ถึงกระนั้นก็ตาม  ในประเทศจีนปัจจุบัน  ก็ยังคงมีคนจำนวนมากที่ออกเสียงภาษาจีนกลางได้ไม่ชัด  แม้แต่คนรุ่นใหม่บางส่วน (ที่ผู้เขียนประสบด้วยตนเอง)

 

  ทำไมชาวจีนเอง(ส่วนหนึ่ง) จึงออกเสียงจีนกลางไม่ชัด ?  

  จากการศึกษาค้นคว้า ผู้เขียนเห็นว่ามีอยู่สองสาเหุตใหญ่ นั่นคือ

 

  1.  เนื่องจากในแต่ละท้องถิ่นยังนิยมใช้ภาษาถิ่นในการสื่อสารกันเอง  เช่น  ในเกาะฮ่องกง  นครกวางเจา นครเซินเจิ้น ฯลฯ  ยังรักษาวัฒนธรรมภาษาถิ่น นิยมใช้กวางตุ้งในชีวิตประจำวัน  คนในนครคุนหมิง ในมณฑลยูนนานนิยมใช้ภาษาจีนยูนนาน เป็นต้น  

 

  2.  ในภาษาท้องถิ่นบางภาษา  ไม่มีคำบางคำที่ออกเสียงเหมือนการออกเสียงภาษาจีนกลาง  ยกตัวอย่างเช่น  ภาษาถิ่นทางใต้หลายมณฑล  ภาษาถิ่นจีนแต้จิ๋ว ไม่มีเสียงตัวสะกด แม่ กน   คนกลุ่มนี้จึงออกเสียงที่มีแม่กนสะกดไม่ค่อยชัด  เช่น  an  (อัน) ออกเสียงเป็น ang (อัง)     เสียง jian (เจียน)  ออกเป็น  jiang (เจียง)  เนื่องจากภาษาถิ่นของเขาไม่มีตัวสะกดนี้

       ภาษาถิ่นของจีนบางภาษา  ไม่มีพยัญชนะต้นเสียง L (ล)  จึงออกเสียง L ในภาษาจีนกลางเพี้ยนเป็นเสียงพยัญชนะ N  เช่น  篮子 (lánzi ตะกร้า) เป็นเสียง 男子 (nánzǐ ผู้ชาย) เป็นต้น 

…………………………………………………..

TAOHUA Meihua in ICE

                    

             คำศัพท์ภาษาจีนที่คนไทยเรารู้สึกสับสน ก็คือ 

             汉语   华语  และ 中文  ในภาษาไทยต่างก็ แปลว่า “ ภาษาจีน ”  

             泰文     กับ  泰语     ในภาษาไทยต่างก็ แปลว่า “ ภาษาไทย ” 

             普通话 กับ  国语          ในภาษาไทยต่างก็ แปลว่า “ ภาษาจีนกลาง ”

 

     เมื่อก่อน เราจะได้ยินคนถามว่า

     你会说国语吗? Nǐ huì shuō Guóyǔ ma?

     你会说华语吗? Nǐ  huì  shuō  Huáyǔ  ma? 

                 ประโยคภาษาอังกฤษก็จะถามว่า

          Can you speak Mandarin?

          Do you speak Chinese?

                 (หลายคนงงงวย แล้วมันต่างกันอย่างไร ? )

 

     แต่ปัจจุบัน เราจะได้ยินคนจีนถามว่า 

     你会说普通话吗?Nǐ huì shuō Pǔtōnghuà ma?

     ซึ่งหมายความว่า “คุณพูดภาษาจีนกลางได้ไหม ?” (ไม่ได้หมายถึงภาษาจีนท้องถิ่น)

 

      หลายปีก่อนมีเพื่อนคนหนึ่งไปที่เซี่ยงไฮ้ มีคนจีนมาถามเขาว่า 

     你会说普通话吗 ?(ผู่ทุ้งฮว่า แปลว่าภาษาจีนกลาง)

     แต่เพื่อนเข้าใจว่าคนจีนเขากำลังพูดถึง “ผู่ตุง (浦东)” ซึ่งเป็นเมืองอีกฝั่งหนึ่งของนครเซี่ยงไฮ้

     แต่ถ้าจะถามว่า “คุณมีชื่อภาษาจีนไหม ?” ต้องใช้คำว่า 中文名字

     รูปประโยคก็จะเป็น

     “你有中文名字吗?” 

                   “ Do you have a Chinese name ? ” 

             …………………………….

                  

         หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์

         สุวรรณา สนเที่ยง 张碧云

              สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายคอมพิวเตอร์ฉับบปรับปรุงแก้ไข 2558  

         ยินดีเผยแพร่เพื่อการศึกษา  แต่ไม่อนุญาตให้คัดลอกส่วนหนึ่งส่วนใดที่เข้าข่ายละเมิดลิขสิทธ์ทรัพย์สินทางปัญญา  

         ท่านที่ให้เกียรตินำไปเผยแพร่ต่อ ต้องไม่ตัดทอนบทความ  ระบุแหล่งที่มาชัดเจน และแจ้งให้ผู้เขียนทราบ เพื่อรักษาจรรยาบรรณและจริยธรรมร่วมกัน 

……………………………………………

 

Facebook : Suwanna Future C

บทความนี้โพสต์ครั้งแรกที่ OKnation Blog

วันพุธ ที่ 17 พฤศจิกายน 2553

Posted by เหล่าซือสุวรรณา , ผู้อ่าน : 5696

” + __flash__argumentsToXML(arguments,0) + “”)); }” postmessage_init=”function () { return eval(instance.CallFunction(“” + __flash__argumentsToXML(arguments,0) + “”)); }” sendxdhttprequest=”function () { return eval(instance.CallFunction(“” + __flash__argumentsToXML(arguments,0) + “”)); }” setcache=”function () { return eval(instance.CallFunction(“” + __flash__argumentsToXML(arguments,0) + “”)); }” getcache=”function () { return eval(instance.CallFunction(“” + __flash__argumentsToXML(arguments,0) + “”)); }” setcachecontext=”function () { return eval(instance.CallFunction(“” + __flash__argumentsToXML(arguments,0) + “”)); }” clearallcache=”function () { return eval(instance.CallFunction(“” + __flash__argumentsToXML(arguments,0) + “”)); }”>

 

ภาษาจีน-ไทยเปรียบเทียบ โดย สุวรรณา สนเที่ยง  泰汉语比较  张碧云

Flag Counter


Share Button

การแปลทับศัพท์เสียงอ่านภาษาจีน การแปลชื่อเมือง ชื่อจังหวัด ชื่อแม่น้ำ แปลอย่างไรไม่ให้ผิดเพี้ยน

Hits: 9347

 

การแปลทับศัพท์เสียงอ่านภาษาจีน การแปลชื่อเมือง  ชื่อจังหวัด  ชื่อแม่น้ำ

สัทอักษรพินอินกับการออกเสียงในภาษาอังกฤษต่างกันอย่างไร  

  

ปัจจุบัน  เนื่องจากมีการรับข่าวสารที่เกี่ยวกับจีนมากขึ้น  การแปลทับศัพท์เสียงภาษาจีนกลาง เช่น ชื่อเฉพาะ โดยเฉพาะชื่อเมือง  ชื่อคน ฯ ก็มีมากขึ้นเช่นกัน  สำหรับผู้ที่แปลบทความหรือแปลข่าวทับศัพท์ภาษาจีน โดยแปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ ไม่ได้แปลจากภาษาจีนโดยตรงนั้น  จึงใช้วิธีถอดเสียงอ่านจากตัวกำกับเสียงอ่านอักษรจีน ( สัทอัษร ) ที่ใช้อักษรลาติน หรือที่เราเรียกกันว่า  ระบบ pinyin   แต่ว่า ระบบการออกเสียง pinyin ในภาษาจีน กับระบบเสียงภาษาอังกฤษยังมีความแตกต่างอยู่พอสมควร  ทั้งเสียงพยัญชนะและเสียงสระ  จึงทำให้การแปลทับศัพท์ภาษาจีนผิดไปจากภาษาเดิมมาก หรือบางครั้งก็สับสน  กลายเป็นชื่อของจังหวัดอื่น  หรือชื่อเมืองอื่นไปเลย

 

ตัวอย่างการใช้สัทอักษร ซึ่งเป็นสัญญลักษณ์แทนเสียงในภาษาจีนที่มีเสียงต่างจากการออกเสียงในภาษาอังกฤษ เช่น

  

เสียงสระ e            ในภาษาจีน     คล้ายเสียงสระ เอือ ในภาษาไทย

เสียงสระ u            ในภาษาจีน     คล้ายเสียงสระ อวู และ อวี  ในภาษาไทย

เสียงพยัญชนะ zh  ในภาษาจีน     คล้ายเสียง จ  ในภาษาไทย

เสียงพยัญชนะ q    ในภาษาจีน      คล้ายเสียง ช ฉ ในภาษาไทย

เสียงพยัญชนะ d    ในภาษาจีน      คล้ายเสียง ต ในภาษาไทย  ลิ้นแตะปุ่มเหงือก

เสียงพยัญชนะ t     ในภาษาจีน      คล้ายเสียง ท    ในภาษาไทย

เสียงพยัญชนะ s     ในภาษาจีน     คล้ายเสียง ส ซ  ในภาษาไทย

 

           (ตัวอย่าง)  ได้เกิดอุทกภัยครั้งร้ายแรงขึ้นในจีน  การรายงานข่าวของสื่อต่างๆ ทั้งข่าวทีวีและข่าวหนังสือพิมพ์ จึงต้องมีการระบุชื่อมณฑลและชื่อเมืองที่เกิดน้ำท่วม  การแปลทับศัพท์โดยอิงการออกเสียงจากภาษาอังกฤษ ( โดยไม่ทราบการออกเสียงของระบบพินอินของภาษาจีน ) 

           ทำให้เกิดความสับสน  เช่น การรายงานชื่อจังหวัดผิด  ชื่อเมืองผิด 

  

           ( ตัวอย่าง )  สองจังหวัดหรือสองมณฑลที่เกิดอุทกภัยร้ายแรงในจีนที่เป็นข่าวอยู่  คือ  Jiangxi Province  มณฑล เจียงซี ( เจี๊ยงซี้ ) กับ Zhejiang province  มณฑล เจื้อเจียง ( บางท่านแปลทับศัพท์เพี้ยนเป็น จังหวัด ซีเจียง )

 

            แต่ข่าวกลับรายงานผิดเป็น  เกิดน้ำท่วมใหญ่ที่เมืองซูโจว ในจังหวัดซีเจียง

 

 

ตัวอย่างประโยคตอนหนึ่งจากข่าวนำท่วม : 

 

flooded street in Changshan county in Quzhou city, east China’s Zhejiang Province.

 

(ประโยคที่เห็นจากคำแปลที่ผิดเพี้ยนคือ) น้ำท่วมขังในเขต ฉางซาน ที่เมืองซูโจว ทางตะวันออกของจังหวัดซีเจียง

ที่ถูก ต้องแปลว่า  เกิดน้ำท่วมหรืออุทกภัยที่เมืองฉวี่โจว ที่อยู่ทางทิศตะวันออกของ มณฑลเจ้อเจียง  

 

            สัทอักษร (พิอิน) คำว่า Quzhou ในภาษาจีนกลางออกเสียงว่า ฉวี่โจว 

            ส่วนคำว่า  Zhejiang  ออกเสียงว่า เจื้อเจี๊ยง

           ดังนั้น  Changshan county in Quzhou city, east China’s Zhejiang Province.

           จึงต้องแปลว่า 

            เมืองฉวี่โจว ที่อยู่ทางตะวันออกของจังหวัดเจี้อเจียง

          ( ฉวี่โจว คือ  衢州  เจื้อเจี๊ยง คือ  浙江 ) 

        

        จังหวัดที่ถูกน้ำท่วมคือจังหวัดเจื้อเจียง  ไม่ใช่ซีเจียง

         ประเทศจีนมีจังหวัดหนึ่งที่มีการออกเสียงคล้าย คำว่า ” ซีเจียง ”  คือมีชื่อว่า ” เจียงซี ” (江西) แต่ไม่มีจังหวัด ” ซีเจียง “

 

         ส่วนเมือง ซูโจว ( Suzhou 苏州 ) นั้น  เป็นเมืองเอกหรือเมืองหลวงของมณฑล ” เจียงซู ”  ( Jiangsu 江苏 ) ซึ่งคนไทยคุ้นหูกันในเรื่องเป็นแหล่งท่องเที่ยวและถิ่นหญิงงาม 

 

        เมือง ” ซูโจว ” กับ เมือง ” ฉวี่โจว ”  เป็นคนละเมืองกัน  และมีที่ตั้งอยู่คนละมณฑล

 

       มณฑลเจื้อเจี๊ยง ( หรือจังหวัดเจ้อเจี๊ยง ) มีเมืองหลวงชื่อ หางโจว  และ เมืองเซี่ยงไฮ้ ( Shanghai ) ก็อยู่ในมณฑลนี้ด้วย

คนแปลข่าวนอกจากควรมีความรู้เรื่องการถอดเสียงพินอินแล้ว  ควรจะมีความรู้รอบตัวเรื่องภูมิศาสตร์บ้าง  เพื่อให้ผู้รับข่าวทราบแน่ชัดว่าเหตุเกิดที่ไหน

 

 

อีกเมืองหนึ่งที่ข่าวน้ำท่วมกล่าวถึงก็คือ Longtoushan town

 

……..China’s Xinhua News Agnecy,…….. villagers in Longtoushan town of Dexing city, east China’s Jiangxi Province.

 

คำว่า  Longtoushan  เมื่อแปลตามเสียงอ่าน pinyin  น่าจะแปลได้ว่า หลุงโถวซาน ( เขาหัวมังกร ) ส่วน Dexing city น่าจะแปลได้ว่า เมืองเต๋อซิง 

 

ชื่อเมืองและชื่อจังหวัดของประโยคนี้เมื่อถอดเสียงจากระบบ pinyin ก็จะเป็น 

 

ชาวบ้านที่หลุงโถวซาน เมืองเต๋อซิง  ทางตะวันออกของจังหวัดเจียงซี

 

 

(แต่เมื่อถอดเสียงจากภาษาอังกฤษ ที่เห็นจากตัวอย่างการแปลตอนนั้น ) กลายเป็น

 

ชาวบ้านที่ลองตูซาน แห่งเมืองดีซิง ทางตะวันออกของจังหวัดเจียงซิ ………..  (คนละเรื่อง ไม่รู้เรื่องเลย )

 

 

เมื่อเปรียบเทียบจากชื่อสถานที่ ก็จะพบว่าต่างกันมาก  หรือไม่ก็กลายเป็นคนละเมืองไปเลย เช่น เมืองฉวี่โจว กับ เมืองซูโจว

 

อักษรลาติน

 

เสียงภาษาจีน (ถอดเสียงใกล้เคียงกับภาษาไทย)

เสียงภาษาอังกฤษ

( ถอดเสียงใกล้เคียงกับภาษาไทย)

ตัวอย่าง

 

e

 

เอือ ( ไม่ใช่เสียง เออ )เวลาออกเสียง คางจะขยับเล็กน้อย) 

 

อี

 

เมือง Deqing 

เมือง เต๋อชิ้ง

Zhejiang province

อ่านว่า (มณฑล )

เจื้อเจียง

u

 

อักษรตัวนี้แทนเสียงสระได้ 2 เสียง คือ อวู  และ อวี ( ถ้าสะกดร่วมกับพยัญชนะตัว  j q x y )

 

อู

 

เมือง Quzhou

 

อ่านว่า ฉวี่โจว

zh

 

เป็นเสียงพยัญชนะ  ใกล้เคียงกับเสียง จ   แต่ต้องยกปลายลิ้นขึ้นแตะที่เพดานแข็งด้านหน้า

 

 

 

 

Zhejiang province

อ่านว่า

(มณฑล เจื้อเจียง)

q

 

เสียงพยัญชนะ ใกล้เคียงกับเสียง ช แต่ต้องให้มีเสียงลมออกจากระหว่างฟันด้วย

 

 

 

 

เมือง Deqing 

เมืองเต๋อชิ้ง

d

เสียงพยัญชนะ d ในภาษาจีน  คล้ายเสียง ต ในภาษาไทย  ลิ้นแตะปุ่มเหงือก

 

 

 

 

 

           นอกจากนี้  ภาษาจีนยังมีวรรณยุต์เสียงเช่นเดียวกับภาษาไทย  ส่วนภาษาอังกฤษไม่มีวรรณยุกต์  เมื่อเสียงวรรณยุกต์ต่างกัน ความหมายก็ต่างกันด้วย 

 

           ชื่อเมืองที่กำลังถูกท่วมอีก 2 เมือง คือ เมืองหวู่ฮั่น ( Wuhan  ตามข่าวแปลว่าเมืองหวูหาน ซึ่งเสียงก็ใกล้เคียง ) และ เมืองฉงชิ่ง ( Chongqing ) ซึ่งต่างก็เป็นเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์ของจีน  การแปลทับศัพท์เสียงให้ใกล้เคียงกับการออกเสียงในภาษาจีนจึงมีความจำเป็น

           

           เมื่อก่อน  เราจะเห็นการแปลชื่อของ ประธานเหมาเจ๋อตุงของจีน  เป็น เมาเซตุง  โดยถอดเสียงจาก Mao Zhe Dong  ตามการออกเสียงภาษาอังกฤษ  และแปลชื่อแม่น้ำ Yangzijiang ( หยางจื่อเจียง  扬子江 ) เป็นแม่น้ำแยงซีเกียง ( จนปัจจุบันก็ยังคงใช้คำว่าแม่น้ำแยงซี อยู่   แต่เวลาไปพูดคำว่าแม่น้ำแยงซี ชาวจีนจะไม่รู้จัก ) ก็เนื่องจากไม่เข้าใจว่าระบบการออกเสียงในภาษาอังกฤษ  กับระบบการออกเสียงในภาษาจีน ( จากอักษรลาตินที่เรียกว่า pinyin ) นั้นแตกต่างกัน  

 

            เมื่อการออกเสียงมีการผิดเพี้ยนไป  ย่อมเกิดการเข้าใจผิดหรือปัญหาในการใช้ภาษาจีนสื่อสารได้  โดยเฉพาะในการสนทนาภาษาจีน 

 

ฟังเสียงเพิ่มเติมได้ทางยูทูป ตามลิงค์ต่อไปนี้

 

 

การออกเสียงภาษาจีนกลางที่คนไทยยังมีปัญหา z c s zh ch sh r Chinese Pronunciation (4) 

https://www.youtube.com/watch?v=BKUzQsS6QXc

 

Chinese Pronunciation (3) วิธีออกเสียงภาษาจีนกลาง j q x

https://www.youtube.com/watch?v=2GU_KTbv-WA

 

Chinese Pronunciation b p m f (1) วิธีออกเสียงภาษาจีนกลาง 汉语发音 

https://www.youtube.com/watch?v=XJCvIjfoobA

 

Chinese Pronunciation (2) วิธีออกเสียงภาษาจีนกลาง d t n l 汉语发音 

https://www.youtube.com/watch?v=9QpR7zxmGug

 

Chinese Pronunciation (5) g k h 

https://www.youtube.com/watch?v=IN1Xg54VXpI

 

Chinese Pronunciation (6) a o e 

https://www.youtube.com/watch?v=vtD2_ojt0ZQ

 

            หวังว่าสิ่งที่เขียนมานี้จะเป็นประโยชน์สำหรับทุกท่านที่กำลังจะเริ่มเรียนภาษาจีน  และท่านที่ทำงานด้านการแปลและประกาศข่าว 

( ข้อเขียนเป็นลิขสิทธิ์ของสุวรรณา สนเที่ยง  ท่านใดต้องการนำไปเผยแพร่ต่อ หรือคัดลอกตอนใดตอนหนึ่ง ขอความกรุณาระบุที่มาและได้รับอนุญาตจากผู้เขียนก่อน เพื่อร่วมกันรักษาหลักจรรยาบรรณและบรรทัดฐาน )

 

facebook: Suwanna Future C

 

” + __flash__argumentsToXML(arguments,0) + “”)); }” postmessage_init=”function () { return eval(instance.CallFunction(“” + __flash__argumentsToXML(arguments,0) + “”)); }” sendxdhttprequest=”function () { return eval(instance.CallFunction(“” + __flash__argumentsToXML(arguments,0) + “”)); }” setcache=”function () { return eval(instance.CallFunction(“” + __flash__argumentsToXML(arguments,0) + “”)); }” getcache=”function () { return eval(instance.CallFunction(“” + __flash__argumentsToXML(arguments,0) + “”)); }” setcachecontext=”function () { return eval(instance.CallFunction(“” + __flash__argumentsToXML(arguments,0) + “”)); }” clearallcache=”function () { return eval(instance.CallFunction(“” + __flash__argumentsToXML(arguments,0) + “”)); }”>

 

โพสต์ครั้งแรก ที่ OKnation Blog  
วันพุธ ที่ 22 มิถุนายน 2554

Posted by เหล่าซือสุวรรณา , ผู้อ่าน : 6319 

 

ภาษาจีน-ไทยเปรียบเทียบ  โดย สุวรรณา สนเที่ยง  泰汉语比较 张碧云

Flag Counter


Share Button

สอนพูดภาษาจีนกลาง 7 ประโยคที่ใช้ในชีวิตประจำวัน (ฟังเสียง)

Hits: 20717

 

        ขออนุญาตทดลองโพสคลิปเสียงอีกครั้งนะคะ หลังจากที่โพสต์ไปครั้งแรกไม่ประสบความสำเร็จ คราวนี้ลองเอาลงยูทูป แต่ภาพคุณภาพไม่ค่อยดี เสียงคงจะพอฟังได้

        

สอนพูดประโยคภาษาจีนกลางง่ายๆ 7 ประโยค 

1.  可以进来吗?               (ขออนุญาตเข้ามาได้มั้ย)  เป็นรูปประโยคเชิงขออนุญาต 

2.  请进。                          (เชิญเข้ามาค่ะ / ครับ)   เป็นรูปประโยคเชื้อเชิญ

3   您贵姓?                      (ท่านแซ่อะไรคะ – ท่านนามสกุลอะไรครับ) 

                                       เป็นคำสุภาพในการถามนามสกุลของคนที่เพิ่งรู้จัก 

4.  我姓陆,叫陆雨平。  (ฉันแซ่ลู่ ชื่อ ลู่ยวี่ผิง)        เป็นรูปประโยคแนะนำตัวเอง

5.  认识你很高兴。          (ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ / ครับ)  เป็นคำธรรมเนียม

6.  我是语言学院的学生。(ฉันเป็นนักศึกษาของวิทยาลัยภาษา) 

                                        เป็นรูปประโยคที่แนะนำสถานะของตัวเอง

7.  我学习汉语。             (ฉันเรียนภาษาจีน)           เป็นรูปประโยคที่บอกว่าทำอะไร

คลิกเข้าไปฟังในลิงก์นี้ (มือใหม่ฝึกทำ คุณภาพของภาพไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ)

 

ประโยคภาษาจีนสำหรับชีวิตประจำวัน

เสียง สุวรรณา สนเที่ยง

Flag Counter


Share Button
Hits: 19023

 

  ” ไก่ ” เป็นคำไทยแท้ หรือ เป็นคำยืม (เสียง) จากภาษาจีน

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา  นักเรียนคนหนึ่งที่เดินทางมาเรียนจากจังหวัดจันทบุรี พูดขึ้นในห้องเรียนภาษาจีนของดิฉันว่า

“ พ่อหนูบอกว่า คำว่า ไก่ ในภาษาไทย น่าจะมาจากคำว่า “ ก๊าย “ ในภาษาจีนกวางตุ้ง ค่ะ”  

เหล่าซือก็เข้าใจทำนองนั้น

เหล่าซือชอบเปรียบเทียบภาษาไทยกับภาษาจีน ว่ามีส่วนที่เหมือนกันและต่างกันอย่างไรบ้าง เพื่อประกอบการสันนิฐานของตัวเอง

อย่างคำว่า “ไก่” นี้  ในวิชาภาษาไทย เราเรียนกันมาว่า  ไก่  เป็นคำไทยแท้

ลักษณะของคำไทยแท้  คำไทยแท้ เป็นคำที่มีใช้ดั้งเดิมอยู่ในภาษาไทย คำไทยแท้มีลักษณะสำคัญที่เป็นเอกลักษณ์   ของตัวเองที่ไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใคร

เหล่าซือลองทำตารางเปรียบเทียบการออกเสียงของคำว่า “ ไก่ ” ในภาษาจีนสำเนียงต่างๆ ขึ้นมา 4 เสียง

 

ตารางข้างบนนี้เหล่าซือทำขึ้นเองเพื่อให้เห็นชัด

 

ลองเปรียบเทียบการออกเสียง ไก่ กับภาษาอื่นๆ จากตารางข้างล่างนี้ ซึ่งเป็นตารางที่ได้จาก วิกิพีเดีย  (บรรทัดสุดท้าย)

คำว่า ไก่  ภาษาบาลีออกเสียงว่า กุกกุฎ, กุกกุฏ

จะเห็นได้ว่า คำว่า ไก่ ในภาษาไทย ออกเสียงคล้ายภาษาจีนมากที่สุด 

 

 

ภาษาจีนสำเนียงถิ่นของชาวจีน  เป็นภาษาที่ใช้กันมานานกว่าพันปี  โดยเฉพาะภาษาจีนฮากกา และ ภาษาจีนกวางตุ้ง ที่นักวิจัยภาษาศาสตร์ โบราณคดีและประวัติศาสตร์จีนสันนิฐานว่า เป็นภาษาทางการหรือภาษากลางของจีนในสมัยโบราณ

ยังมีคำไทยแท้คำอื่นๆ อีก …

 

ลักษณะพิเศษของภาษาตระกูลฮั่น – ธิเบต (汉藏语系)  ภาษาฮั่น ก็คือ ภาษาจีนนั่นเอง เพราะชาวจีนเรียกตัวเองว่า ชาวฮั่น

          1.  เป็นคำโดด 

          2.  มีเสียงวรรณยุกต์ (有声调)

          3.  หลักไวยากรณ์หลักคือการเรียงลำดับคำ  เมื่อเรียงลำดับคำต่างกัน ความหมายก็เปลี่ยน

          4.  รูปประโยคหลักๆ คือ ประธาน + กริยา + กรรม  

          ………….

ท่านที่มีความรู้ภาษาจีนสำเนียงอื่นๆ เช่น ฮกเกี้ยน ไหหลำ  กวางสี ยูนาน  มาร่วมกันแชร์ความเห็นนะคะ

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านและร่วมแสดงความเห็นค่ะ

หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับคนเรียนภาษาศาสตร์และท่านที่สนใจค่ะ 

หมายเหตุ เรื่องนี้โพสต์ครั้งแรกใน OKnation Blog  โดยใช้นามปากกาว่า “เหล่าซือสุวรรณา” 

และได้รับเกียรติจากกอง บก.โอเคเนชั่นบล็อก เลือกให้เป็น ” เรื่องแนะนจากกอง บก. 5 เมษายน 2013 “

รวมทั้งได้รับเกียรติจากบล็อกเกอร์ใน เว็บไซต์ชมรมคนฮากกา มาขออนุญาตนำไปช่วยเผยแพร่ต่อ

 

สงวนลิขสิทธิ์โดย สุวรรณา สนเที่ยง 

5 เมษายน 2013

Facebook : Suwanna Future C

https://www.facebook.com/SuwannaFutureC

 

 หลังโพสต์  คุณ ” ประสิทธิ์” ที่กรุณาแสดงความเห็นไว้ว่า
….
คำว่าไก่อย่างที่อาจารย์ว่ามา ก็น่าจะใช่นะครับ
ผมมีอีกคำจะถาม คำว่า บ่ เป็นคำปฏิเสธในภาษาไทยภาคเหนือและอีสานแต่กลับใช้เหมือนภาษาจีนแต้จิ๋ว ,ไหหลำที่อยู่เมืองไทย ใช่ไหมครับ ถามเล่นๆ นะครับ และคงมีอีกหลายคำครับ
….
Commnet from reader Thai - CN words

ผู้เขียนตอบคุณประสิทธิ์ว่า

…… เป็นคำถามที่เหล่าซืออยากแสดงความเห็นมากค่ะ

คำนี้เหล่าซือก็เคยเอามาบอกกับนักเรียนเหมือนกัน (และยังมีอีกหลายๆ คำอย่างที่คุณประสิทธิ์ให้ความเห็นไว้ค่ะ)

เอาคำจีนก่อนนะคะ เดี๋ยวค่อยเปรียบเทียบกับคำไทย

คำจีนที่ออกเสียงว่า ” บ่ ” “บ๊อ” ที่ใช้ในภาษาจีนสำเนียงแต้จิ๋ว (潮州话)
และคำจีนที่ออกเสียงว่า “ม่อ” ในภาษาจีนสำเนียงฮากกา (客家话 ภาษาแคะ)
มาจากอักษรจีนตัวนี้ค่ะ 无 (無)= 没有 แปลว่า “ไม่มี”
ภาษาจีนกลางจะออกเสียงว่า หวู

อักษรจีนตัวนี้เป็นภาษาโบราณ (ปัจจุบันยังใช้อยู่)

เหล่าซือก็คิดว่า คำว่า บ่ ในภาษาไทยเดิม ที่แปลว่า ไม่มี ก็น่าจะรับหรือยืมมาจากภาษาจีนเดิมเมื่อนานมาแล้วค่ะ

เป็นอีกคำที่น่าสนใจ ไว้เหล่าซือจะเอาไปเขียนเพิ่มอีก 1 คำนะคะ

ขอบคุณค่ะ

สุวรรณา

 Comment reply Thai CN word

ภาษาจีน-ไทยเปรียบเทียบ  泰汉语比较

Flag Counter


Share Button
Hits: 11963

 

ภาษาที่มีความคล้ายกับภาษาแม่ ย่อมเรียนได้ง่ายกว่าภาษาที่ต่างกับภาษาแม่

ภาษาไทยมีคำที่ออกเสียงคล้ายภาษาจีนมากถึง 2000 กว่าคำ มีคำไหนบ้าง

เอาคำที่ท่านรู้มาแชร์กันในเอนทรี่นี้บ้างนะคะ

 

 “ ขี่ ”  “ ม้า ”  เป็นคำไทยแท้ หรือ คำยืม (เสียง) ภาษาจีน เกือบจะเหมือนกันเป๊ะ 

หลังจากที่ดิฉันโพสต์เรื่อง

ไก่ เป็นคำไทยแท้ หรือ เป็นคำยืม (เสียง) จากภาษาจีน

Posted by เหล่าซือสุวรรณา , ผู้อ่าน : 412  เมื่อ วันศุกร์ ที่ 5 เมษายน 2556

ก็ได้รับความเห็นที่น่าสนใจจากหลายๆ ท่าน  เป็นความเห็นที่สร้างสรรค์ ให้แง่คิด และเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาภาษาและวัฒนธรรม แต่เนื่องจากมีจำนวนมาก จึงขอเชิญท่านผู้อ่านคลิกกลับไปอ่านในเอนทรี่เดิม เพื่อจะได้บริบทและถ้อยคำที่ครบถ้วน ( อ่านความเห็น  คลิกดูที่นี่ แล้วเลื่อนไปข้างล่าง)

ตัวอย่างเช่น  บล็อกเกอร์ wanderer เขียนว่า

สวัสดีคะ เหล่าซือสุวรรณา
ดิฉันเองก็เคยสงสัยคำนี้เหมือนกันคะว่า จะมาจากภาษากวางตุ้ง เนื่องจากเสียงออกมาเกือบ เป๊ะ เลยนะคะ
แต่จะว่าไป คนไทยก็มีเลี้ยงไก่กินไก่มาแต่โบราณเหมือนกันนี่นะ ตกลงใครยืมใครกันละนี่

วันนี้ เหล่าซือมีอีกสองคำนะคะ ที่สังเกตว่า เสียงภาษาไทยคล้ายเสียงภาษาจีนมาก คือคำว่า “ม้า” กับ “ขี่” ในภาษาไทยค่ะ

ชาวจีนฮากกาเรียก ม้า ว่า ” มา ” มาแต่โบราณ  ส่วนภาษาจีนกลาง (แมนดาริน) เรียก ม้า ว่า หม่า

คำว่า ” ขี่ ” ในภาษาไทย  ชาวจีนฮากกาก็พูดว่า “ขี่” ตั้งแต่โบราณเหมือนกัน  จีนกลางพูดว่า “ฉี”

คำว่า ขี่มา หรือ ฉีหม่า ในภาษาจีน ก็เกือบจะเหมือนกันเป๊ะกับคำไทย “ขี่ม้า”     

 

 คำนิยาม ลักษณะของคำไทยแท้ 

คำไทยแท้ เป็นคำที่มีใช้ดั้งเดิมอยู่ในภาษาไทยคำไทยแท้มีลักษณะสำคัญที่เป็นเอกลักษณ์   ของตัวเองที่ไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใคร

 

 

ลองเปรียบเทียบการออกเสียง คำว่า ” ม้า”  กับภาษาอื่นๆ จากตารางข้างล่างนี้ (บรรทัดสุดท้าย)

คำว่า  ม้า  ภาษาบาลีออกเสียงว่า  ดุรงค, อัสส, อัสดร

จะเห็นได้ว่า คำว่า  ม้า  มะเมีย  ในภาษาไทย ออกเสียงคล้ายภาษาจีนมากที่สุด 

                                                  ตารางที่มีชื่อสัตว์เป็นภาษาต่างๆ ข้างบนนี้ได้จาก วิกิพีเดีย 

 

อย่างนี้  เวลาคนไทยพูดคำว่า “ม้า”   คนเกือบครึ่งโลก (รวมคนชาติต่างๆ ที่เรียนภาษาจีนด้วย) ก็เข้าใจแล้วสิคะว่าเราหมายถึงอะไร

  

ในตำราจีนบอกว่า ภาษาจีนเป็นภาษาในตระกูลฮั่น – ธิเบต  และภาษาไทยจัดอยู่ในกิ่งภาษาของตระกูลนี้

ภาษาฮั่น ก็คือ ภาษาจีนนั่นเอง เนื่องจากชาวฮั่นเป็นคนชาติพันธุ์ 95 % ของประเทศจีน

เรื่องตัวเขียน ไม่เหมือนกัน แต่เรื่องการออกเีสียงและการสร้างคำ การสร้างประโยค มีส่วนคล้ายกันมาก

ภาษาไทยเป็นกิ่งภาษาของภาษาตระกูลฮั่น-ธิเบต

ลักษณะพิเศษของภาษาตระกูลฮั่น – ธิเบต (汉藏语系)
1. เป็นคำโดด 
2. มีเสียงวรรณยุกต์ (有声调)
3. หลักไวยากรณ์สำคัญ คือ การเรียงลำดับคำ 
4. รูปประโยคหลักๆ คือ ประธาน + กริยา + กรรม

      ………………………………

ทั้งหมดนี้เป็นข้อสังเกตส่วนตัวของ สุวรรณา สนเที่ยง 

8 เมษายน 2013

Facebook : Suwanna Future C

https://www.facebook.com/SuwannaFutureC

 

เรื่องเกี่ยวข้อง

ภาษาไทยกับภาษาจีน มีอะไรที่เหมือนกันหรือไม่ ? (คลิกอ่าน)

Posted by เหล่าซือสุวรรณา , ผู้อ่าน : 5386

  

ข้อมูลประกอบจากเว็บไซต์อื่นๆ   

การพิจารณาว่าคำใดเป็นคำไทยแท้

เขียนโดย ภาษาสยาม   
วันพุธที่ 10 กันยายน 2008 เวลา 21:32 น.
          ปัจจุบันนั้นมีคำศัพท์ใหม่เกิดขึ้นมากมาย  จึงเป็นที่กังขากันว่าเราจะทราบได้อย่างไรว่าคำไหนคือคำไทยแท้ 

         –  ภาษาไทยเป็นคำโดด  ซึ่งหมายถึง คำที่ใช้ได้โดยอิสระ   คือแต่ละคำใช้ได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนรูปคำ

        –   คำภาษาไทยโดยมากเป็นคำพยางค์เดียว ส่วนเหตุที่มีคำไทยหลายคำที่มีหลายพยางค์นั้น  เพราะ

            คำเหล่านั้นเกิดขึ้นในชั้นที่สอง  ไม่ใช่คำไทยเดิม  คำไทยแท้เริ่มจากคำมูล ( คำที่มีความหมายในตัวสมบูรณ์

            และไม่อาจแยกพยางค์ออกไปโดยให้มีความหมายได้อีก ) ซึ่งมักมีพยางค์เดียว  คือ เปล่งเสียงออกมาครั้งเดียว

       –    คำที่ใช้เรียกเครือญาติมาแต่เดิม  เช่น  พ่อ  แม่  พี่  น้อง  พี่  ป้า  น้า  อา

       –    คำที่เป็นสรรพนาม  เช่น  มึง กู  สู  เรา  เขา  แก  เอ็ง  อี

       –    คำที่บอกกิริยาอาการโดยทั่วๆไปซึ่งใช้มาก่อน เช่น  นั่ง  นอน  คลาน  ย่าง  ย่ำ  ก้ม  เงย  เกิด  ตาย

       –    คำที่บอกจำนวน  เช่น  อ้าย  ยี่  ร้อย  เอ็ด  ล้าน  จ้าน  จัง

       –    คำที่ใช้เรียกเครื่องมือเครื่องใช้ หรือสัตว์สิ่งของที่ใช้ประกอบอาชีพมาแต่โบราณ  เช่น  บ้าน  เรือน  ครัว  วัว  ควาย  หม้อ  เสา  

      –     คำเรียกชื่อธรรมชาติซึ่งมีมานาน  เช่น คลอง  ห้วย  หนอง  ไฟ  ดิน  หิน  ฝน

      –     คำที่ใช้เรียกสีที่รู้จักกันโดยทั่วไป  เช่น  ดำ  ด่าง  ม่วง  เขียว  มอ  ฟ้า

      –     คำที่เป็นคุณศัพท์เก่าแก่ เช่น  ใหญ่  หนัก  แบน  กลม  เกลียด  ลืม   หลง  อ้วน  ซูบ

   ที่มา   หนังสือหลักภาษา  ไวยากรณ์ไทย

ขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์

http://www.pasasiam.com/home/index.php/general/pasathai-principle/199-2008-09-10-14-32-26

…………………………

ลักษณะของคำไทยแท้

๑.  คำไทยมักเป็นคำพยางค์เดียว
ภาษาไทยจัดอยู่ในตระกูลภาษาคำโดด (Isolating Language) หรือคำพยางค์เดียวโดดๆ (Monosyllabic Language) ลักษณะของคำโดดนั้น ส่วนมากมักเป็นคำพยางค์เดียวโดยพิจารณาจากคำดังเดิม หรือคำพื้นฐานของภาษาอันได้แก่ ถ้อยคำที่มนุษย์ใช้กันเป็นประจำมักเป็นคำที่ใช้เรียกสิ่งต่างๆ อันได้แก่ คำนาม และคำกริยาที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์หรือคำขยายที่ใช้ธรรมดาสามัญทั่วๆไป
๒. ภาษาไทยที่มีระบบเสียงสูงต่ำ
ภาษาไทยที่มีระบบเสียงสูงต่ำ ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีลักษณะเหมือนเสียงดนตรี วรรณยุกต์จึงมีประโยชน์แล้วจำเป็นในภาษาไทยมาก เพราะคำเดียวกัน ถ้าออกเสียงวรรณยุกต์ผิดไป ระดับเสียงก็ผิดไป ความหมายก็ผิดไปด้วย
๓. คำไทยแท้มักใช้ตัวสะกดตรงตามมาตรา

 ขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ http://buka.freeoda.com/?p=9

…………………

คำยืมภาษาจีนที่มีใช้ในภาษาไทย

ไทยและจีนเป็นมิตรประเทศที่ติดต่อเจริญสัมพันธไมตรี และค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าและศิลปะ วัฒนธรรมอันดีงามมาช้านาน ชาวจีนที่มาค้าขายได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ภาษาจีนจึงเข้ามาสู่ไทยโดยทางเชื้อชาติ นอกจากนี้ภาษาจีนและภาษาไทยยังมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน จึงทำให้มีคำภาษาจีนเข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยจนแทบแยกกันไม่ออก 

การยืมคำภาษาจีนมาใช้ในภาษาไทยนั้น เราได้มาจากภาษาพูดไม่ใช่ภาษาเขียน เพราะระบบการเขียนภาษาจีนต่างกับภาษาไทยมาก ภาษาจีนเขียนอักษรแทนคำเป็นตัว ๆ ไม่มีการประสมสระ พยัญชนะ คำภาษาจีนที่มีใช้ในภาษาไทย นำมาเป็นคำเรียกชื่อ เครื่องใช้แบบจีน ยาสมุนไพร สัตว์ อาหาร เครื่องแต่งกาย ธุรกิจการค้า มหรสพ และอื่น ๆ 

ภาษาจีนมีลักษณะคล้ายคลึงกับภาษาไทยมาก คือ เป็นภาษาคำโดด มีเสียงวรรณยุกต์ย เมื่อนำคำภาษาจีนมาใช้ในภาษาไทยซึ่งมีวรรณยุกต์และสระประสมใช้จึงทำให้สามารถออกเสียงวรรณยุกต์และสระตามภาษาจีนได้อย่างง่ายดาย คำภาษาจีนยังมีคำที่บอกเพศในตัวเช่นเดียวกับภาษาไทยอีกด้วย เช่น เฮีย (พี่ชาย) ซ้อ (พี่สะใภ้) เจ๊ (พี่สาว) นอกจากนี้การสะกดคำภาษาจีนในภาษาไทยยังใช้ตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกดทั้ง 8 มาตราและมีการใช้ทัณฑฆาต หรือตัวการันต์ด้วย 

หลักการสังเกตคำภาษาไทยที่มาจากภาษาจีน

  1. นำมาเป็นชื่ออาหารการกิน เช่น ก๋วยเตี๋ยว เต้าทึง แป๊ะซะ เฉาก๊วย จับฉ่าย เป็นต้น
  2. เป็นคำที่เกี่ยวกับสิ่งของเครื่องใช้ที่เรารับมาจากชาวจีน เช่น ตะหลิว ตึก เก้าอี้ เก๋ง ฮวงซุ้ย
  3. เป็นคำที่เกี่ยวกับการค้าและการจัดระบบทางการค้า เช่น เจ๋ง บ๋วย หุ้น ห้าง โสหุ้ย เป็นต้น
  4. เป็นคำที่ใช้วรรณยุกต์ตรี จัตวา เป็นส่วนมาก เช่น ก๋วยจั๊บ กุ๊ย เก๊ เก๊ก ก๋ง ตุ๋น เป็นต้น

วิธีนำคำยืมภาษาจีนมาใช้ในภาษาไทย

ไทยนำคำภาษาจีนมาใช้ โดยมากไทยเลียนเสียงจีนได้ใกล้เคียงกว่าชาติอื่น ๆ เช่น เกาเหลา ตั้งฉ่าย เต้าทึง เต้าหู้ เต้าฮวย บะฉ่อ พะโล้ แฮ่กึ้น เป็นต้น มีบางคำที่นำมาตัดทอนและเปลี่ยนเสียง เช่น เตี้ยะหลิว ตะหลิว บ๊ะหมี่ บะหมี่ ปุ้งกี ปุ้งกี๋ 

ตัวอย่างคำยืมที่มาจากภาษาจีน 
กงสี กงฉิน กงไฉ่ กงเต็ก ก๋วยเตี๋ยว ก๋วยจั๊บ เกาหลา กุ๊ย เก๊ เก๊ก เกี้ยว เกี๊ยว เกี๊ยะ กุยเฮง เก๊ก ก๋ง เก้าอี้ ขาก๊วย เข่ง จับกัง จับฉ่าย จับยี่กี จันอับ เจ๊ง เจี๋ยน เจ เฉาก๊วย เซ้ง เซียน แซ่ แซยิด เซ็งลี้ ซาลาเปา ซิ้ม ตะหลิว เต๋า ตุน ตุ๋น แต๊ะเอีย เต้าหู้ เต้าฮวย เต้าเจี้ยว โต๊ะ ไต้ก๋ง ตังเก บ๊วย บะฉ่อ บะหมี่ บู๊ ปุ้งกี๋ ปอเปี๊ยะ แป๊ะเจี๊ยะ พะโล้ เย็นตาโฟ หวย ยี่ห้อ ลิ้นจี่ ห้าง หุ้น เอี๊ยม โสหุ้ย เฮงซวย ฮวงซุ้ย ฮ่องเต้ อั้งโล่ 

ตัวอย่างคำยืมที่มาจากภาษาจีน 
ก๋วยเตี๋ยวเกี๊ยวบะหมี่ พะโล้นี้ช่างน่าสน 
เกาเหลาจับฉ่ายปน ตะหลิวคนตักเฉาก๊วย 
อาหารจานเด็ดนี้ ล้วนมากมีสีสันสวย 
คนไทยใช้มากด้วย สื่อกันมาภาษาจีน

ขอบคุณเว็บไซต์  

http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-1/loanwords/07.html

 

ป.ล.  ข้อเขียนเรื่องนี้ดิฉันโพสต์ครั้งแรกใน OKnation Blog เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2013

โดยใช้นามปากกาว่า “เหล่าซือสุวรณา” 

และได้รับเกียรติจาก กอง บก. โอเคเนชั่นบล็อก  เลือกให้เรื่องนี้เป็น เรื่องแนะนำจาก กองบก. วันที่ 8 เมษายน 2013

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย

 

ภาษาจีน-ไทยเปรียบเทียบ  泰汉语比较

Flag Counter


Share Button

รีรัน วิธีพิมพ์ตัวอักษรจีนในคอมพิวเตอร์ วิธีตั้งค่าภาษาจีนในเครื่อง

Hits: 10883

         

                                     ขอนำเรื่องเก่ามาฉายซ้ำอีกเรื่อง  ซึ่งเป็นเรื่องที่เหล่าซือเคยเขียนไว้นานมากแล้ว 

ในหัวข้อ วิธีพิมพ์ตัวอักษรจีนในคอมพิวเตอร์ วิธีตั้งค่าภาษาจีนเครื่องคอม

ปัจจุบันความต้องการที่จะใช้ภาษาจีนในโซเชียลเน็ตเวิร์คมีมากขึ้นเรื่อยๆ  

ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับท่านที่สนใจจะติดตั้งการใช้งานอักษรจีนในคอมพ์ 

 

 


        ตอนเหล่าซือเริ่มเขียนใหม่ๆ  รู้สึกจะเป็นคนแรกๆ เลยหรือเปล่าที่พิมพ์ภาษาจีนในนี้  ตอนนี้เห็นมีการพิมพ์ภาษาจีนประกอบเอนทรี่เพิ่มขึ้นมาก  ทั้งเรื่องท่องเที่ยว  ข่าว  และอื่นๆ  

        เห็นมีโฆษณาภาษาจีนมาแปะด้วย  (เมื่อก่อนก็ไม่เห็น) เป็นเรื่องดี อยากให้มาโฆษณาที่บ้านโอเคกันมากๆ ค่ะ

 

………………………………………………………………….

 

จาก  Entry เดิม 29 พฤศจิกายน 2553

วิธีพิมพ์ตัวอักษรจีนในคอมพิวเตอร์ วิธีตั้งค่าภาษาจีนเครื่องคอม 

           ช่วงนี้ยังมีผู้สนใจสอบถามวิธีการตั้งค่าภาษาจีนในคอมพิวเตอร์มา  ดิฉันจึงขออนุญาตนำคำแนะนำของ 

คุณสรารี ชาญอุไร(金利同学)จากเขตอุตสาหกรรมซอฟแวร์ ประเทศไทย (ซอฟแวร์ปาร์ค) สวทช. ที่ได้กรุณาเขียนแนะนำวิธีติดตั้งภาษาจีนบนเครื่องคอมพิวเตอร์มาให้เพื่อนๆ ที่สถาบันสอนภาษาจีนฟิวเจอร์ซี อย่างละเอียด  เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2009  

มาโพสไว้ในบล็อกของ OK Nation  หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาทุกท่าน 

 

        และขอขอบคุณ คุณสรารี มาอีกครั้งในโอกาสนี้ค่ะ

 

 

วิธี set ภาษาเครื่องคอมพิวเตอร์

คลิก Start มุมซ้าย

  1. เลือก Control Panel
  2. เลือก Regional and Language Options
  3. เลือก Tab Languages
  4. คลิก Details
  5. คลิก Add
  6. Input Language เลือก Chinese (PRC)   ช่อง Keyboard layout/ IME จะเปลี่ยนอัตโนมัติ
  7. คลิก OK

โดยปกติแล้วจะมี font ภาษาจีนและภาษาอื่นๆ ให้เลือกอยู่แล้วค่ะ แต่หากยังไม่มีหรือต้องการ font อื่น มากกว่าที่มีในเครื่องก็ลองโหลด font ที่ชอบมาเก็บไว้เพื่อเลือกใช้ดูนะคะ

  • Font Chinese (PRC) จะเป็นแบบที่เราคุ้นตากันอยู่แล้วค่ะ  ตัวอย่างนะคะ  

你好,   同学。 

 

今天 你们    ? 

 

สำหรับวิธีการเรียกใช้

ให้ใช้ ~ เปลี่ยนภาษาเหมือนกับเปลี่ยนอังกฤษ-ไทย ที่เคยใช้ค่ะ  เมื่อเห็นไอคอนภาษาเปลี่ยนเป็น ch   ก็ทำดังนี้

 พิมพ์ pinyin เช่น ni จะปรากฎแถบสี่เหลี่ยมเล็กๆ ตรงมุม > กด enter > ก็จะเป็นตัวหนังสือจีน

                แต่เนื่องจากว่ามีคำพ้องเสียงไม่พ้องรูปรวมอยู่ด้วยกัน บางทีจะปรากฎตัวอื่นที่ออกเสียงเดียวกัน แต่คนละความหมายออกมา  ดังนั้นหากไม่ใช่ตัวที่ต้องการสามารถคลิกเลือกตัวอักษรได้ โดยจะมีตัวอักษรอื่นที่ออกเสียงเดียวกันให้เลือกโดยใช้เครื่องหมายลูกศรข้างล่างแถบตัวเลขที่คีย์บอร์ดเลื่อนและคลิกเลือกตัวที่ต้องการ 

คือบางทีอธิบายอาจงงๆ นะคะ ลองใช้ดูค่ะ   

 

**************************

updated : April 27, 2012

จะเรียกแป้นพิมพ์ภาษาจีนอย่างไร ? (ขั้นตอนต่อจากติดตั้งภาษาจีนในเครื่องได้แล้ว) 

อธิบายแล้วไม่เข้าใจ  ต้องขอโทษมากๆ ค่ะ  วันนี้ลองอธิบายเพิ่มเติมนะคะ

-  คลิกที่แท็บ EN-TH-CH จะเห็นบรรทัดล่างสุดเขียนว่า show language bar คลิกตรงนั้น

-  จะเห็นมี  language bar แถบภาษาขึ้นมาอยู่บนจอในตำแหน่งที่สูงขึ้นมา  จากนั้นคลิกที่ CH …

-   language bar จะเปลี่ยนเป็น  CH Chinese (PRC)

-   ด้านขวาสุดของ language bar หลังเปลี่ยนเป็น CH Chinese (PRC)  จะมีช่องสามเหลี่ยมเล็กๆ (อยู่ปลายขวาสุด)คลิกสามเหลี่ยมล่างที่มุมชี้ลง (option)

 -   คลิกตรงสามเหลี่ยมชี้ลง เข้าไปใน option  แล้วเลือกติ๊กเครื่องหมายถูกที่  conversion mode ถ้ามีเครื่องหมายถูกอยู่แล้วก็ไม่ต้องติ๊คค่ะ 

-    บน language bar  จะปรากฏช่องที่ให้เลือก ( อังกฤษ) และ (จีน) คลิก 1 ที ก็จะเปลี่ยนเป็น / 英 สลับกัน คลิกให้อยู่ที่  

-   แต่ถ้าเป็นคำว่า  อยู่แล้ว  ก็ลงมือพิมพ์ตัวพินอิน อักษรลาตินลงไป เช่น พิมพ์ คำว่า nihao  ติดกัน  พิมพ์เสร็จ

กด enter 

-   จอก็จะขึ้นอักษรจีนมาให้   ถ้าไม่ใช่อักษรจีนตัวที่ตัวการ  ก็กดเครื่องหมายลูกศรที่ชี้เลื่อนไปทางขวา (ลูกศรบนคีย์บอร์ดแถวกลางล่างที่เป็นรูปลูกศรชี้ขึ้นลงซ้ายขวา)  กดแล้วจะเห็นมีแถบอักษรจีนที่ออกเสียงเดียวกันขึ้นมาให้เลือกหลายตัว     

-   ถ้าใช่อักษรจีนตัวที่ต้องการ เช่น ขึ้นว่า 你好 แต่มีเส้นไข่ปลาอยู่ใต้อักษร 

-    ก็กด enter เป็นการยืนยันการเลือก  เส้นไข่ปลาจะหายไป  แต่ถ้าไม่กด  enter  แล้วไปคีย์ตัวพินอินอื่นๆ 

ตัวอักษรจีนนี้ก็จะหายไป  เพราะเครื่องคิดว่าเราไม่เลือกค่ะ 

 

Flag Counter


Share Button

12 ปีนักษัตรของจีน Chinese Zodiac 十二生肖

Hits: 21241
Rating:

12 ปีนักษัตร เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง  ที่คนจีนคิดขึ้นมาเพื่อช่วยในการคำนวนและจดจำเรื่องปีมาแต่โบราณ  

โดยใช้สัตว์ 12 ชนิดเป็นสัญลักษณ์  ภูมิปัญญาและวิธีการอันชาญฉลาดนี้มีหลายชาติได้นำไปใช้ จนกระทั่งถึงปัจจุบัน 

 

เรียงตามลำดับอย่างไร

เหมือนของไทยหรือไม่

เป็นคำถามที่เจอบ่อยๆ ค่ะ 

บางคนก็บอกว่าของไทยยังจำไม่ได้เลยว่าเรียงอย่างไร

ก็จำเหมือนของจีนนั่นแหละค่ะ เพราะเรียงเหมือนกัน

เพียงแต่ปีมังกรของจีน ของไทยเราเปลี่ยนเป็นปีมะโรง (งูใหญ่) แค่นั้น ไม่ยากค่ะ

 เรื่อง 12 ปีนักษัตร ภูมิปัญญาจีนโบราณซึ่งใช้สัตว์ 12 ชนิดเป็นสัญลักษณ์ในการจำปี

เป็นวัฒนธรรมจีนอย่างหนึ่งที่มีการรับไปใช้ในหลายประเทศ

เรียบเรียงโดย สุวรรณา สนเที่ยง 张碧云

Continue reading


Share Button
Hits: 130972
Rating:

♣ เชงเม้ง วัฒนธรรมจีนที่คนจีนทั่วโลกและคนเรียนภาษาจีนต้องรู้

♣ ประเพณีจีนที่สืบทอดกันมาหลายพันปี  ยังไม่ผันเปลี่ยนตามกาลเวลา 

♣  เรื่องสำคัญบางแง่มุมเกี่ยวกับ เชงเม้ง ที่หลายคนอาจยังไม่รู้

การไหว้เชงเม้ง เชื่อเป็นสิริมงคลแก่ลูกหลาน คนจีนนิยมเอาป้ายบรรพชนตั้งไว้ที่เห็นชัดในร้านค้า  เหล่าซือจึงถือว่าโพสต์นี้เป็นบุญกุศล เป็นสิริมงคลแก่ตนเองและผู้พบเห็น 
♣ อักษรจีนที่สลักไว้ที่แผ่นหินหน้าฮวงจุ้ย หมายถึงอะไร?
♣ “考” kǎo กับ “妣” bǐ หมายถึงอะไร
♣ แล้วทำไมเห็นมีสีเขียวบ้าง สีแดงบ้าง ?
เรียบเรียงโดย สุวรรณา สนเที่ยง 张碧云老师

………………

ได้รับคำถามบ่อยๆ ว่าอักษรจีนบนป้ายบรรพชนที่สุสานนั้น หมายความว่าอะไรบ้าง

ก่อนอื่น ขอเกริ่นเรื่อง “เชงเม้ง” หน่อย

เป็นครั้งแรกที่เขียนเกี่ยวกับเชงเม้ง

………………….
เกร็ดความรู้เรื่อง เทศกาล “เชงเม้ง” 清明节 Qīngmíng jié 
เชงเม้ง ที่เราคุ้นหู เป็นเสียงสำเนียงภาษาจีนแต้จิ๋ว
ภาษาจีนกลางเรียกว่า เทศกาลชิงหมิง
ประเพณีที่สืบทอดกันมาหลายพันปี
……มีความหมายลึกซึ้งเกี่ยวกับรากเหง้าที่มาของคนเชื้อสายจีนทั่วโลก….
ปลูกฝังให้ชาวจีนระลึกถึงบุญคุณของบรรพชน

เป็นเทศกาลสำคัญของจีนที่เป็นวันหยุดราชการทั่วประเทศ รวมถึงที่เกาะฮ่องกงด้วย

จึงเป็นช่วงการเดินทางกลับภูมิลำเนาทัั่วประเทศของจีน การจราจรคับคั่ง

ผู้เขียนเคยไปเจอช่วงวันหยุดยาวเทศกาลชิงหมิงที่ปักกิ่ง รถติดขัดสองสามชั่วโมงเมื่อ 3 ปีก่อน

สำหรับผู้ที่มีเชื้อสายจีนทั่วโลก  และลูกหลานที่ไปทำงานต่างถิ่น

ก็จะเดินทางกลับภูมิลำเนาเพื่อรวมญาติและนัดรวมพลไปทำความสะอาดฮวงจุ้ย (สุสาน) ของบรรพชน

อย่างบ้านเราก็จะทำให้การจราจรคับคั่งแถบจังหวัดที่มีสุสานจีนหนาแน่น  เช่น แถบจังหวัดชลบุรี สระบุรี

คนไทยเชื้อสายจีนเป็นหนึ่งในหลายๆ ประเทศที่ยังยึดถือประเพณีเชงเม้งอย่างเคร่งครัด

คนต่างจังหวัดที่มาทำงานในเมืองก็จะเดินทางกลับบ้านเชงเม้งกันทุกปี

อย่างคนเบตง คนหาดใหญ่ เมื่อก่อนจะเหมาตู้รถไฟหลายตู้กลับบ้านพร้อมกัน

เดี๋ยวนี้ส่วนมากก็จะนัดวันแล้วจองนั่งเครื่องกลับไปเชงเม้งกัน

ส่วนคนในเมืองก็นัดญาติพร้อมหน้า  ไหว้เสร็จก็กลายเป็นงานสังสรรค์รวมญาติเที่ยว

บางครอบครัวไหว้ที่สระบุรี ก็จองบ้านพักเขาใหญ่ไปกันทั้งครอบครัว

ที่ไปแถวชลบุรีก็จองโรงแรมแถวพัทยา ระยอง บางแสน ไปถึงจันทบุรีก็มี

ส่วนกลุ่มที่ไปเชงเม้งแถวเพชรบุรี ราชบุรี ก็รวมญาติไปพักตากอากาศกินอาหารทะเลที่หัวหิน – ชะอำ

ลูกๆ หลานๆ เด็กๆ  ก็ตื่นเต้นที่จะได้ไปเที่ยวเล่น เรื่องต้องตื่นแต่เช้า เรื่องร้อนก็เลยทนได้

ร้านอาหาร โรงแรมก็พลอยคึกคักตั้งแต่หลังวันที่ 20 มีนา จนถึง 5 เมษาของทุกปี

อันนี้เป็นวัฒนธรรมจีนที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน 

…………………………..

เกริ่นเรื่องเชงเม้งแล้วก็ย้อนกลับมาเข้าประเด็นตามหัวข้อ

มาดูอักษรจีนที่สลักไว้ที่แผ่นหินหน้ฮวงจุ้ยกัน

ว่า หมายความว่าอะไร

ตัวอักษรจีนบนสุด

” 祖 ”     แปลว่า  บรรพชน บรรพบุรุษ

ล่างลงมา  เรียงจากขวาไปซ้าย ตามวิธีเขียนแบบจีนโบราณ

ขวาสุด เป็นส่วนที่ระบุภูมิลำเนาเดิมที่จีนของผู้ที่อยู่ในฮวงจุ้ยหลังนี้ อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน

เช่น ซัวเถา 汕頭 แต้จิ๋ว 潮州  จีนฮากกาเหมยเซี่ยน 梅縣

แถวซ้ายสุด  บันทึกปีเดือนวัน ที่ตั้งฮวงจุ้ยนี้ขึ้น

ทั้งหมดสลักด้วยอักษรจีนตัวเต็ม เพราะในยุคของพ่อแม่อากงอาม่า ยังไม่นิยมใช้อักษรจีนตัวย่อ

เดี๋ยวกงม่าอ่านไม่ออก

 แถวกลาง อักษรจีนตัวใหญ่  

จากขวา “考”  kǎo  เป็นคำยกย่อง  สรรพนามแทนบิดาที่เสียชีวิตแล้ว ตามด้วยชื่อของพ่อ

ซ้ายแถวกลาง “妣”  bǐ  เป็นคำยกย่อง  สรรพนามแทนมารดาที่เสียชีวิตแล้ว  ตามด้วยชื่อของแม่

ส่วนแซ่ (นามสกุล) ของพ่อและแม่ จะอยู่ข้างล่างต่อจากชื่อ

แล้วทำไมเห็นมีสีเขียวบ้าง สีแดงบ้าง ?

คนจีนนิยมซื้อหลุมคู่  และสลักชื่อของทั้งพ่อทั้งแม่ไว้ก่อน

ถ้าพ่อเสียชีวิตก่อน ก็ทาสีที่ชื่อเป็นสีเขียว

ส่วนแม่ยังไม่เสียก็เขียนด้วยสีแดง  เมื่อแม่เสียแล้ว ก็ทาสีที่ชื่อแม่เป็นสีเขียวด้วย

ครอบครัวดิฉันจะไปเชงเม้งที่สุสานวิสุทธิมรรคคีรี 白雲道山 สระบุรีทุกปี

ไหว้เสร็จก็มาทานข้าวต้มที่โรงทานของสุสาน

อาหารเจที่นั่น มะนาวดอง ไช้โป้วดอง อร่อยมาก  เป็นมื้อที่ครอบครัวเราชอบมาก

หยิบทานได้ฟรี ข้าวต้มฟรี ทานเสร็จก็ทำบุญช่วยค่าอาหาร  ใครไม่ให้เขาก็ไม่ว่า

ตบท้ายด้วยการซื้อกาหน่าฉ่ายเจ้าอร่อยที่นี่กลับบ้านทุกปี

เชงเม้ง จึงเป็นกิจกรรมที่ได้รักษาประเพณี

สุขใจที่ได้มากวาดบ้านให้พ่อแม่  ทานข้าวต้มอาหารเจ และช็อปปิ้ง

 กาน่าฉ่ายสระบุรี (เจ้ใหญ่) นี่ค่ะ ที่บ้านเราต้องไปซื้อที่นั่นทุกปี และซื้อมาปีละหลายๆ โล  ซื้อกันมา 24 ปีแล้ว

       ปีนี้เจอหม้อนี้อร่อยมาก  คงจะหมักำได้ที่ แต่ขึ้นราคาจากปีที่แล้ว เป็นโลละ 220 บาท
       มีบ้างที่บางปีเจอไม่ค่อยอร่อย  เหมือนยังหมักไม่ได้ที่ หรือ เจอมีทรายบ้าง  แต่โดยรวมแล้วก็ถือว่ามีคุณภาพดีกว่าเจ้าอื่นๆ ที่เคยทานมา

       เอาเบอร์โทรศัพท์ของร้านกาน่าฉ่ายสระบุรีที่กรุงเทพฯ มาฝาก คือ 02 2152153  081 852 8415  

อยู่ในซอยเดียวกันกับออฟฟิตติดต่อกรุงเทพฯ ของสุสานวิสุทธิมรรคคีรี
แต่เราไม่เคยไปซื้อในกรุงเทพฯ เลย

 

 

 

อ่าน เกร็ดวัฒนธรรมจีน

Flag Counter

……………………………

 

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

เขียนเมื่อ วันที่ 22 มีนาคม 2015

คนที่มีเชื้อสายจีนคิดอย่างไร ถึงยังรักษาประเพณี “เชงเม้ง” เอาไว้

 

Mr. Jeremy Shiu  ซึ่งเป็นลูกหลานจีนที่ไม่ได้อยู่ประเทศจีนคนหนึ่ง เขียนถึงทัศนะของเขาที่เกี่ยวกับเชงเม้ง ผ่านคอมเมนท์ในเฟชบุ๊ค  CCTV中文 ไว้  ( เหล่าซือขอแปลความเป็นภาษาไทย  แต่ขออภัยที่ไม่สามารถถ่ายทอดได้ใจความลึกซึ้งเท่ากับต้นฉบับภาษาจีนที่ท่านเขียนไว้)

…….. ” เชงเม้ง เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาหลายพันปี   ปลูกฝังให้ชาวจีนมีความกตัญญูกตเวที  ระลึกถึงบุญคุณของบรรพชน   เชื่อว่าดวงวิญญาณของพวกเขายังอยู่  

มีความหมายลึกซึ้งเกี่ยวกับรากเหง้าที่มาของเรา ” ………………

 

Jeremy Shiu 先生在  CCTV中文  Facebook 中用中英文写出他对中国人传统节日 “清明节” 的看法。

本人认写得很好,值得后辈华裔思考,故分享到此网页。特此敬谢。

…………..

Jeremy Shiu 先生写道:

清明节,几千年的传统节日。秉持中华孝道,慎重追远,追思祭祖,相信祖先英灵尚在。意义非凡,关系我们的根。

Qing Ming festival is not paganism, and paganism is a term that demonic non monotheistic practice- a fallacy, Qing ming has thousands of years of history, as part of Chinese tradition. It continues the practice of filial piety and the strong belief of the existence of our ancestor spirits. According respect reflects our roots, the very fundamental in life.

分享自:

https://www.facebook.com/CCTV.CH/posts/1160880127332878

 

 

อ่านเรื่องเกร็ดภาษาจีน

หวังว่าทุกคลิกของท่านจะได้รับประโยชน์จากบทความเหล่านี้

ขออภัยในข้อบกพร่องใดๆ ขอบคุณที่กรุณาติชมและแสดงความเห็น

Flag Counter


Share Button

สำนวนจีนโบราณ เดินทางหมื่นลี้ กับ อ่านหนังสือหมื่นเล่ม 行万里路 读万卷书

Hits: 12548
Rating:

สำนวนจีน 成語 ที่ว่า

เดินทางหมื่นลี้ กับ อ่านหนังสือหมื่นเล่ม

行万里路  和  读万卷书

Xíng wànlǐ lù    hé    dú wàn juǎn shū

ดิฉันเข้าใจว่า หมายถึง การเรียนรู้จากตำรา จากห้องเรียน ต้องควบคู่และประสานไปกับประสบการณ์จริง

เราจะพบหลายสิ่งหลายอย่าง  ที่สัมผัึสไม่ได้จากจอคอมพิวเตอร์และหน้าหนังสือ
การหาความรู้จากการอ่าน กับ การเดินทางเห็นของจริง ต้องคู่กัน
การเดินทางทำให้เราได้เห็นชีวิต อารมณ์ ของผู้คน

แต่การเดินทางอย่างเดียว ก็จะขาดการเรียนรู้จากองค์ความรู้จากคนรุ่นก่อน

ดิฉันยังขยายความหมายตามที่ตัวเองเข้าใจให้ต่ออีกว่า

“การเดินทางหมื่นลี้ 行万里路 ”  ในสำนวนจีนนี้รวมไปถึงการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง การเดินทางเป็นแค่ส่วนหนึ่งและนำมาอุปมา

ทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติ

เช่น นักศึกษาที่เรียนสาขาวิชาต่างๆ  ต้องหมั่นหาข้อมูลหลายด้านหลายมิติจากเรื่องราวและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงมาประกอบการเรียน  เพราะเหตุการณ์หลายๆ อย่างในโลกนี้ไม่ได้พัฒนาหรือเป็นไปตามที่หนังสือเขียนไว้เสมอ

และในหนังสือบางเล่มก็มีทัศนคติส่วนตัวของผู้เขียนรวมอยู่ด้วย  ซึ่งก็ใช่ว่าจะถูกต้องสอดคล้องกับความจริงเสมอไป

Continue reading


Share Button

บัวลอยน้ำขิง เทศกาลตุงจื้อ 冬至 Chinese Winter Solstice

Hits: 9684
Rating:

วันที่่ 21 หรือ 22 ธันวาคม ของทุกปี

เป็นวัน 冬至 ตุงจื้อ (ตังโจ่ย) ที่ชาวจีนมีประเพณีทานขนมบัวลอยค่ะ

บัวลอยตามประเพณี จะต้มด้วยน้ำตาล หรือ น้ำขิง เป็นบัวลอยน้ำขิง (เพราะตรงกับช่วงที่จีนมีอากาศหนาวมาก)

แต่ที่เมืองไทย บางครั้งเราก็ประยุกต์เป็น ขนมบัวลอย ใส่กะทิ อย่างที่เห็นในภาพนี้ค่ะ 

ปีนี้เหล่าซือไม่ได้ต้มบัวลอยน้ำขิงแบบจีนดั้งเดิม  แต่ซื้อบัวลอยน้ำกะทิมา

Continue reading


Share Button

หล่อฮั้งก้วย 罗汉果 สุดยอดสมุนไพรจีนแก้เจ็บคอ เสียงแห้ง (LUO HAN GUO)

Hits: 9282
Rating:

หล่อฮั้งก้วย 罗汉果 (羅漢果) สุดยอดสมุนไพรจีนแก้เจ็บคอ เสียงแห้ง 

ช่วงนี้เห็นมีคนรอบตัวไม่สบาย เจ็บคอ เสียงแห้ง กันหลายคน

เลยเอาสมุนไพรจีนที่บ้านเหล่าซือต้มกินเวลาเจ็บคอมาฝาก

แก้ไข้ได้ด้วย ไม่ต้องพึ่งยาแผนปัจจุบัน

เหล่าซือทำงานใช้เสียง เจ็บคอเป็นไข้ก็บ่อย  ที่บ้านก็จะมียาสนุนไพรจีนนี้ติดบ้านเสมอ

ราคาไม่แพง 10 ลูก ประมาณ 100 บาท ต้มน้ำทานครั้งละ 2 ลูก

ซื้อตามร้านขายยาจีนทั่วไป หรือข้างถนนแถววัดเล่งเน่ยยี่ (วัดมังกร) เยาวราช บางรัก ฯลฯ

เวลาเลือก ก็เลือกดูสีเข้มๆ หน่อย

…….

หล่อฮั้งก้วย เป็นสมุนไพรจีน จาก มณฑลกวางสี  ได้รับการขนานนามว่า  “神仙果” (ผลเทวดา) 

อุดมไปด้วยวิตามิน C

นอกจากที่แถบเมืองกุ้ยหลินของมณฑลกวางสีแล้ว  ยังสามารถปลูกในบางที่ของมณฑลกวางตุ้งได้ด้วย

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพดินและอากาศที่ หล่อฮั้งก้วย ชอบ

ชาวจีนรู้จักใช้ยาตัวนี้มานานแล้ว  ชาวตะวันตกตอนนี้ก็สนใจศึกษาสมุนไพรจีนมาก

 หล่อฮั้งก้วย มีคุณสมบัติทางยาธาตุเย็น หญิงมีประจำเดือนไม่ควรทาน

เหล่าซือไม่ใช่หมอจีน  แต่ก็อยากเอาเกร็ดความรู้เล็กน้อยจากประสบการณ์เรื่องการใช้สมุนไพรจีนมาฝาก

หวังว่าเอนทรี่นี้จะเป็นประโยชน์ค่ะ

 

 หล่อฮั้งก้วย ตอนเป็นลูกอยู่ หน้าตาแบบนี้

 ล้างสะอาดแล้วบีบให้แตก หรือทุบให้แตก เปลือกบางๆ  

 ข้างในจะเป็นลักษณะนี้ค่ะ 

ใส่ลงไปต้มได้ทั้งเปลือก

 

Continue reading


Share Button

จากเจงกิสข่าน ถึง ก๊วยเจ๋ง ของกิมย้ง เกี่ยวกันอย่างไร แถมเพลง 射雕英雄传

Hits: 10646
Rating:

จากเรื่องราวของเจงกิสข่าน มาถึง หนังกำลังภายในยอดฮิต — มังกรหยก

ของ สุดยอดฝีมือนักประพันธ์นวนิยายกำลังภายใน —  กิมย้ง

 

จากการเขียนเรื่องเจงกิสข่านในเอนทรี่ที่แล้ว

ความตั้งใจเดิมจะเอาเพลงประกอบหนังมาเก็บไว้ในบล็อก แต่พอเขียนไปแล้วความคิดมันก็โลดแล่นไปนึกถึงอะไรอีกหลายๆ เรื่อง  ตอนนี้ก็นึกถึงเรื่องมังกรหยก นวนิยายกำลังภายในที่อ่านและดูมาตั้งแต่เด็ก  และ เพลงประกอบหนังที่ชื่นชอบด้วย

เกี่ยวกันกับเอนทรี่ที่แล้ว เรื่อง เจงกิสข่าน อย่างไร 

ลองมาดูกันว่า  เจงกิสข่าน  ในปลายปากกาของ กิมย้ง ผ่าน ก๊วยเจ๋ง นั้น  เป็นอย่างไร  

มังกรหยก  มีชื่อเป็นภาษาจีน ว่า  射雕英雄传  ( shè diāo yīng xióng zhuàn)  

เขียนด้วยอักษรจีนตัวเต็มก็เขียนแบบนี้นะคะ  射鵰英雄傳

แปลว่า ตำนานวีรบุรุษยิงอินทรีย์  บางเวอร์ชั่นของไทย จึงแปลว่า ตอน จอมยุทธอินทรีย์  

เพราะก๊วยเจ๋ง พระเอกของเรื่องมีความเชี่ยวชาญในการใช้ธนู  

 ไม่มีความหมายว่า มังกร เลย

เวอร์ชั่นที่เหล่าซือชื่นชอบที่สุด คือ เวอร์ชั่น ปี 1983

ที่แสดงโดย ฮว๋างยื่อฮว๋า (หวงยื่อหัว 黄日华)  และ เวิงเหม่ยหลิง (องเหม่ยหลิง 翁美玲)

 

เพื่อนๆ ร่วมยุคเหล่าซือ และรุ่นน้องๆ  จะคุ้นเคยกับหนังจีนและตัวละครในเรื่องกันมาก 

ในเมืองจีน  คนจีนรุ่นนี้ก็รู้จักเรื่องนี้เป็นอย่างดี  

ผู้ประพันธ์ ท่านกิมย้ง (金庸) เคยรับตำแหน่งเป็นอธิการบดี มหาวิทยาลัยเจ้อเจียง  浙江大学

(ที่เมือง Hangzhou บ้านเกิดของท่าน)  ก่อนเกษียณแล้วย้ายไปพักอยู่กับลูกๆ ที่ออสเตรเลีย 

เวลาท่านกิมย้งกลับไปเยี่ยมเมืองหังโจว (杭州 เมืองหลวงเก่าราชวงศ์ซ้ง)

มีบรรดาแฟนพันธุ์แท้ของท่าน มาคอยต้อนรับห้อมล้อมขอลายเซ็นมากมายยิ่งกว่าดาราชื่อดังเสียอีก

แต่เวลาเราไปคุยกับคนจีน ถ้าพูดว่า มังกรหยก หรือแปลจากคำในภาษาไทยไปเป็นคำในภาษาจีนแบบตรงตัว  

เขาก็จะไม่เข้าใจว่าเราหมายถึงเรื่องอะไร 

ท้ายเรื่อง แปะลิงค์เพลงประกอบหนังจีนกำลังภายใน เวอร์ชั่น หวงเยอะหัว ( 黄日华 ภาษาจีนกลางออกเสียงว่า ฮว๋างยื่อฮว๋า) 

 

เอาล่ะ เกริ่นเสียยาว

มาเข้าเรื่องตามหัวข้อเรื่องดีกว่า ว่าเรื่องมังกรหยก เกี่ยวอะไร กับ เจงกิสข่าน ที่เหล่าซือเขียนไปในเอนทรี่ที่แล้ว 

อ่านเรื่องเดิม  Genghis Khan เจงกิสข่าน จักรพรรดิ์สะท้านแผ่นดิน เพลงประกอบซีรี่ย์ 成吉思汗插曲 : 传说 (คลิกที่นี่ค่ะ)

 

แนวการเขียนของท่านกิมย้ง  มีจุดเด่น คือมักอิงประวัติศาสตร์  แฝงแง่คิด  หลักปรัชญาในการแยกแยะความดีความชั่ว  

ปลูกฝังเรื่องความรักชาติของชาวจีน  ต่อต้านการรุกรานของต่างชาติ

โดยเรื่่องมังกรหยกนี้  ท่านกิมย้งอิงประวัติศาสตร์ในช่วง ยุคปลายราชวงศ์ซ้อง หรือ ราชวงศ์ซ่งใต้  

ช่วงปี ค.ศ. 1199 – 1221 

เป็นราชวงศ์ที่ปกครองโดยชาวฮั่น ( 汉族 ชาวจีน) ก่อนที่จะพ่ายแพ้กองทัพม้าเหล็กของ เจงกิสข่าน จากทุ่งหญ้าตอนเหนือ

ในช่วงนั้น ราชวงศ์ซ่งตอนปลาย  ประชาชนยากลำบาก  ขุนนางกังฉินได้ดิบได้ดี  ฉ้อราษฎร์บังหลวง กดขี่ข่มเหงชาวบ้าน

กิมย้งสะท้อนเรื่องราวผ่านตัวละครที่ชื่อ ก๊วยเจ๋ง ซึ่งมีบุคลิกซื่อๆ ยึดมั่นในคุณธรรม  

เป็นลูกหลานชาวฮั่นที่รักชาติแต่ไปเติบโตในดินแดนมองโกล

ได้รับการช่วยเหลือจากชาวมองโกล  รวมถึงได้รับการโปรดปรานจาก เจงกิสข่าน 

(อันนี้คือนิยายที่แต่งขึ้น แต่ในนิยายของกิมย้งก็มีตัวละครที่เคยมีอยู่จริงในประวัติศาสตร์ปนอยู่ด้วย เช่น เตมูจิน – เจงกิสข่าน)

เมื่อโตขึ้นก๊วยเจ๋็งได้เดินทางกลับสู่ดินแดนตงง้วน (ประเทศจีน)  พบกับอึ้งย้ง  

และได้ฝึกวิทยายุทธจากอาจารย์สำนักต่างๆ มากมาย

ต่อมา ก๊วยเจ๋ง กลับไปที่มองโกลอีกครั้ง เพราะแม่ของเขายังอยู่ที่นั่น  

และได้อาสาออกรบร่วมกับกองทัพมองโกลที่สู้รบกับกิมก๊ก (ซึ่งเป็นชนเผ่าทางเหนือของจีน และเป็นศัตรูกับจีนและมองโกล)  

มีผลงานทางการรบ  ได้รับการชื่นชมจากเจงกิสข่าน  แต่งตั้งให้เป็น ราชบุตรเขยดาบทอง  

โดยหวังจะรับก๊วยเจ๋งเป็นบุตรเขย  คิดจะยกองค์หญิงหัวเจิง บุตรสาวที่เติบโตมาพร้อมกับก๊วยเจ๋งให้แต่งงานด้วย

แต่พอก๊วยเจ๋งและแม่รู้ว่าเจงกิสข่านมีแผนการจะยกทัพเข้าตีแผ่นดินจีน  

ก๊วยเจ๋งจึงวางแผนพาแม่หนีออกจากดินแดนมองโกล  แต่ถูกมองโกลล่วงรู้เสียก่อน  

แม่ของก๊วยเจ๋งตัดสินใจฆ่าตัวตายตอนนั้นเพื่อให้ก๊วยเจ๋งหนีไปคนเดียวไม่ต้องห่วงตน  

เพื่อกลับไปช่วยส่งข่าวให้แผ่นดินของพ่อแม่ได้

  

สุดท้ายก๊วยเจ๋งกลายเป็นหนึ่งในแกนนำที่ต่อต้านพวกมองโกลที่ยกทัพมารุกรานแผ่นดินจีน แผ่นดินของชาวฮั่น

เพราะทนดูกองทัพมองโกลที่มาฆ่าฟันย่ำยีคนจีนและยึดครองแผ่นดินจีนไม่ได้

กิมย้ง จึงเขียนถึง เจงกิสข่าน ในมุมมองที่ เจงกิสข่าน คือ ผู้รุกราน ที่ทำให้ชาวจีนต้องล้มตายจำนวนมาก 

ในเนื้อเรื่อง ยังมีตัวละครอีกคน คือ เอี้ยคัง มีบุคลิกที่ฉลาด เจ้าเล่ห์  

ที่ กิมย้ง ตั้งใจจะสร้างขึ้นเพื่อเปรียบเทียบตัดกับภาพของ ก๊วยเจ๋ง  ซึ่งพ่อของคนทั้งสองเป็นพี่น้องร่วมสาบานกัน  

ก๊วยเจ๋งจึงถือเอี้ยคังเหมือนพี่น้อง  และไม่ยอมฆ่าเอี้ยคัง  

ผลจากการปล่อยเอี้ยคัง ปล่อยคนชั่วให้ลอยนวล   ทำใ้ห้มีคนดีๆ ต้องตายด้วยน้ำมือของเอี้ยคังอีกจำนวนมาก 

เอี้ยคัง  ที่ไปเกิดและได้รับการเลี้ยงดูอย่างคุณชายในวังของท่านอ๋องแห่งกิมก๊ก ( ชนเผ่าหนี่เจิน)  

ยอมช่วยกิมก๊กรุกรานแผ่นดินจีนและเข่นฆ่าคนจีนด้วยกัน

 

เอี้ยคัง จึงถูก กิมย้ง เขียนให้เป็นผู้ร้ายของเรื่อง  เป็นพวก  หลงใหลในลาภยศสรรเสริญ  ยอมรับศัตรูเป็นบิดา

 ( สำนวนจีนใช้คำว่า 认贼作父 แปลว่า นับถือโจรเป็นพ่อ)    

 

อันนี้คนอ่านที่ไม่รู้ประวัติศาสตร์จีน อาจจะงงหน่อย  ขยายความหน่อยก็คือ

สมัยก่อน ทั้งชนกิมก๊กของชนเผ่าหนี่เจิน และชนเผ่ามองโกล ต่างก็เป็นชนเผ่าที่อยู่ทางเหนือของจีน  สู้รบเก่งทั้งสองเผ่า

และเป็นชนเผ่าที่อยากครอบครองแผ่นดินจีนเนื่องจากอุดมสมบูรณ์กว่ามาก

ดูตามภูมิศาสตร์ก็พอจะเข้าใจได้ว่าทำไมสองชนเผ่านี้ถึงอยากยึดครองและอยากได้แผ่นดินจีน  

เพราะมีทรัพยากรณ์มากมาย  สมัยนั้นยังไม่รู้ว่ามีถ่านหินหรือมีน้ำมันด้วยซ้ำ  

แค่รู้ว่ามีอากาศอบอุ่นสบายๆ  ดินดีเหมาะกับการเพาะปลูก ฯลฯ  

ชนเผ่าหนี่เจิน อยู่ในดินแดนที่เป็นมณฑลเฮยหลงเจีนง (ฮาร์บิน 黑龙江 — 哈尔滨 ) ปัจจุบัน  หนาวสุดยอด แห้งแล้ง     

ส่วนมองโกลอยู่ในทุ่งหญ้าและทะเลทราย ก็ปลูกอะไรไม่ได้  ได้แต่เลี้ยงสัตว์ 

 

สรุปว่า ทั้งมองโกลและนีเจิน ล้วนเป็นศัตรูผู้รุกรานและต้องการยึดครองแผ่นดินตงง้วนในสมัยนั้น

 

มังกรหยก  เรื่องนี้  กิมย้ง เขียนขึ้นและเผยแพร่ทาง น.ส.พ. จีน 香港商报  

ที่ตีพิมพ์  ในฮ่องกง  ระหว่างปี ค.ศ. 1957 ถึง 1959 ( พ.ศ. 2500 – 2502 )

โดยมีเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ในจีนช่วงปี ค.ศ. 1199 – 1221 เป็นภูมิหลัง   (公元 1199  至  1221 年 )  

ซึ่งเป็นช่วงที่เจงกิสข่านกำลังใช้กองทัพม้าเหล็กในการขยายอาณาจักรมองโกล

 

มาดูเรื่องจริงที่ไม่ใช่นิยายบ้าง

ช่วงราชวงศ์ซ่งตอนปลาย  มีเรื่องราวของ ขุนนางตงฉิน (ขุนนางที่ดี ซื่อสัตย์) อย่างเช่น ท่านงักฮุย ( 岳飞 เยว่เฟ๊ย) ด้วย

งักฮุยเป็นคนรักชาติจงรักภักดี  ถูกใส่ร้ายจนถูกฮ่องเต้เรียกกลับมาจากแนวหน้าและตายในคุก  มีสุสานอยู่ที่หังโจว

เรื่องของงักฮุย ได้รับการสร้างเป็นหนังหลายเรื่อง  

รวมถึงหนังจีนฮ่องกงชอร์บราเดอร์  เรื่อง 12 ป้ายทอง (十二金牌)  

ที่นำแสดงโดยดารารุ่นใหญ่อย่าง เดวิด เจียง ตี้หลง ฟู่เซิน ฯ  

ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเรียกตัวงักฮุยกลับจากการป้องกันประเทศเพื่อนำตัวมาสังหาร

(เอาเป็นว่ายังไม่เขียนเรื่องงักฮุยก่อน เดี๋ยวจะจบไม่ลง) 

ตามข้อมูลที่เหล่าซือเคยค้นเจอ   มีคนที่ชื่อ ก๊วยเจ๋ง และอึ้งย้ง จริง  ทั้งสองตายคาป้อมเมือง ในการศึกที่สู้กับกองทัพมองโกล

เจงกิสข่าน ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นวีรบุรุษจากทุ่งหญ้า

แต่ในปลายปากกาของกิมย้ง เขาคือ ผู้รุกรานที่เข่นฆ่าคนจีนเพื่อแย่งชิงแผ่นดินเกิดของพ่อแม่ก๊วยเจ๋ง

 

ตัวละครสำคัญในเรื่องมังกรหยก

          ก๊วยเจ๋ง  จอมยุทธอุดร ยอดวีรบุรุษแห่งตงง้วน

           อึ้งย้ง   ขงเบ้งหญิง ยอดสตรีศรีต้งง้วน ธิดาแห่งมารบูรพา

          จิวแป๊ะทง   เฒ่าทารก ศิษย์ผู้น้องแห่งเทพมัชฌิม

          เจ็ดประหลาดกังน้ำ        หมายเหตุจากเหล่าซือ  กังน้ำ เป็นภาษาสำเนียงแต้จิ๋ว  กังน้ำ ก็คือดินแดนแุบลุ่มน้ำแยงซีเกียงก่อนไหลลงสู่ทะเล  แถวๆ มณฑลเจ้อเจียง เซียงไฮ้ ซูโจว หังโจว ปัจจุบัน  เป็นส่วนที่อุดมสมบูรณ์มาก           เอี้ยคัง  พ่อเอี้ยก้วย

          อาวเอี๊ยงฮง  พิษประจิม 

          อางเอี๊ยงเข็ก  หลานชายของอาวเอี๊ยงฮง

          อ๋องแห่งกิมก๊ก 

          เจงกิสข่าน    ที่แสดงโดย ปาเซิน  巴森  ผู้สืบสายเลือดจากลูกชายคนที่สอง (ชาเหอถาย) ของ  เจงกิสข่าน

         เป็นนักแสดงคนเดียวกันกับคนที่แสดงเป็น  เจงกิสข่าน  ในเรื่อง  เจงกิสข่าน จักพรรดิ์สะท้านโลก

  

       

 

 จบด้วยเพลงนี้ เพลงประกอบหนังจีน เรื่อง มังกรหยก  เวอร์ชั่นที่นำแสดงโดย หวงเยอะหัว และ องเหม่ยหลิง

เพลงนี้ถือว่าเป็นเพลงที่เพราะที่สุดเพลงหนึ่งในบรรดาเพลงประกอบหนังจีน เรื่อง มังกรหยก จากทุกเวอร์ชั่น

 

ขับร้องเป็นภาษาจีนกวางตุ้ง

YouTube Preview Image

 

เขียนโดย สุวรรณา สนเที่ยง 张碧云

 

วัฒนธรรมจีน 中国文化 Chinese Culture

Flag Counter


Share Button

รีรัน ขนมไหว้พระจันทร์ เทศกาลนี้ในภาษาจีนไม่ได้เรียกว่า วันไหว้พระจันทร์

Hits: 8558
Rating:

ก่อนอื่น ทำความเข้าใจกันเรื่องชื่อเทศกาลสักนิด  คือ

วันไหว้พระจันทร์ คนจีนไม่ได้มีชื่อเรียกในเชิง “ไหว้พระจันทร์” แต่อย่างใด  

ภาษาจีนใช้คำว่า 中秋节 (เทศกาลจุงชิว) ซึ่งแปลว่า เทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง

ภาษาชาวบ้านเรียกว่า เทศกาลกลางเดือน 8

ตรงกับวันเพ็ญเดือน 8 เป็นเทศกาลที่โรแมนติคที่สุดของจีน

  
แต่แปลเป็นไทยคงเรียกยาก  กอร์ปกับคนไทยเชื้อสายจีนสมัยก่อนนิยมไหว้เทพธิดาแห่งดวงจันทร์ (嫦娥) กัน

เราก็เลยเรียกติดปากเป็น “วันไหว้พระจันทร์” และ “ขนมไหว้พระจันทร์” มาจนถึงปัจจุบัน

ทั้งที่ชาวจีนตอนนี้ไหว้พระจันทร์กันน้อยและหายากมากในคนจีนรุ่นใหม่

เทศกาลนี้เป็นเทศกาลใหญ่อันดับสองรองจากตรุษจีน

เขาฉลองเทศกาลไหว้พระจันทร์โดยมีความหมายในการรวมญาติ

เน้นความกลมเกลียวเหมือนดวงจันทร์คืนเดือนเพ็ญในกลางฤดูใบไม้ร่วง

ซึ่งเป็นช่วงสภาพอากาศดีที่สุดของจีน ท้องฟ้าปลอดโปร่ง และกำลังจะเข้าสู่หน้าหนาวที่หฤโหด

ในประเทศจีนปัจจุบัน และ ที่ฮ่องกงซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวกวางตุ้ง

จะมีการเฉลิมฉลองวันเทศกาลจุงชิว เป็นวันหยุดทำงาน  เน้นกิจกรรมรวมญาติและให้ของขวัญอวยพรกัน

ขนมไหว้พระจันทร์ เรียกว่า ขนมจันทร์  月饼 ไม่ได้เรียกว่าขนมไหว้พระจันทร์

ทานพร้อมชาจีน  และชมจันทร์พร้อมกัน หรือเดินทางท่องเที่ยวกันทั้งครอบครัว

 

ป.ล. ลูกเหล่าซือรายงานสดมาจากฮ่องกงตอนสามทุ่มวันนี้ว่า

ที่ฮ่องกง ขณะนี้ มีการทานข้าวรวมญาติ และมีการประดับโคมไฟกันตามสถานที่ต่างๆ อย่างสวยงาม

บรรยากาศคึกคักมาก 

ภาพบน ไส้ยอดนิยม บัวไข่

Continue reading


Share Button

สารทจีน 中元节 เกร็ดวัฒนธรรมจีนฉบับไม่เคร่งพิธีกรรมของเหล่าซือสุวรรณา

Hits: 28399
Rating:

วันสารทจีน ภาษาจีนเรียกว่า 中元节

                    ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 7 ตามปฏิทินทางจันทรคติจีน 

เอาขนมและผลไม้มาฝากก่อน  จะได้เฮงๆ  โชคดีมีสุขทุกคน

ที่ว่าเฮงๆ  โชคดี  ก็เพราะอารมณ์ดี  ทำการทำงานทุกอย่างได้ดั่งใจหวังค่ะ

 แปะก้วย    

 

Continue reading


Share Button

เศรษฐกิจถดถอย ภาษาจีนใช้คำว่าอะไร ? ศัพท์สำหรับคนเรียนภาษาจีน

Hits: 8690

เศรษฐกิจถดถอย ภาษาจีนใช้คำว่าอะไร ?

คำว่า

เศรษฐกิจถดถอย

ภาษาจีนใช้อย่างนี้ค่ะ

经济萎缩

Jīngjì wěisuō

 

ตัวอย่างการแปลข้อความหรือข่าวเศรษฐกิจเรื่องนี้

สำนักข่าว BBC รายงาน ไทยกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย หลังจากเศรษฐกิจหดตัวในไตรมาสที่สองของปีนี้

英国 BBC 新闻报道:

泰国经济从今年第二期开始进入萎缩状况

Tàiguó jīngjì cóng jīnnián dì èr qí kāishǐ jìnrù wěisuō zhuàngkuàng.

Thailand’s economy falls into recession

http://www.bbc.co.uk/news/business-23751846

萎  wěi แปลว่า  เหี่ยวลง เฉาลง ซบเซา

 

 

Continue reading


Share Button

福到了! เกร็ดวัฒนธรรมจีน อักษรจีนมงคล ฮก

Hits: 17128
Rating:
IMG_7925 FU For Post 1
 เรียนรู้วัฒนธรรม ควบคู่กับภาษา  
 วัฒนธรรมจีน 中国文化
 Chinese Culture 

  เป็นอะไรที่ชาวจีนทั่วโลกและชาวต่างชาติสนใจศึกษา

  เพื่อความ “เข้าใจจีน”  为了了解中国

  เป็นศาสตร์และศิลป์ที่มีความล้ำลึกและน่าสนใจอย่างยิ่ง 

  มันทั้งสะท้อนจิตวิญญาณ ทัศนคติในการดำเนินชีวิต  หลักปรัชญา  แพทย์ศาสตร์โบราณที่น่าทึ่ง   โหราศาสตร์ที่เร้นลับ  อารยธรรม ฯลฯ ของชาวจีนที่มีมาหลายพันปี

การรู้ภาษาอย่างเดียวยังไม่พอที่เราจะ “เข้าใจจีน” และเข้าไม่ถึงจิตวิญญาณของภาษา   ฟิวเจอร์ซีเราจึงสอดแทรกการถ่ายทอดเรื่องวัฒนธรรมจีนไปพร้อมๆ กัน

เรียนรู้หลักการดำเนินชีวิต หลักปรัชญา แนวคิดคนจีนดั้งเดิม

ที่เน้นความกตัญญูรู้คุณ ขยันประหยัด อดทน ซื่อสัตย์สุจริต

บทความต่างๆ ที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมจีน  อาหารจีน และ เรื่องจีนๆ  ในเว็บไซต์นี้  

ดิฉันพยายามเขียนรวบรวมขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้ “เข้าใจจีน” (了解中国)

ซึ่งขณะนี้กำลังเป็นกระแสหลักของโลกที่ต้องการติดต่อกับจีน 

มีหลายเรื่องเคยโพสต์ใน OKnation Blog  และ Google Blog  

ที่เอื้อเฟื้อพื้นที่ในการเผยแพร่แบ่งปันความรู้ประสบการณ์

ขอขอบคุณ  OKnation Blog  และ Google Blog  มา ณ ที่นี้

……………………………………………………………………………………

福到了! เกร็ดวัฒนธรรมจีน  อักษรจีนมงคล  ฮก

“มีบุญ” “บุญวาสนา”

福到了!  ตรุษจีน 2012 อักษรจีน 福 ทำไมต้องติดกลับหัว (คว่ำ) 

ตรุษจีนปีนี้ อยากจะเขียนถึงอักษรจีนตัวหนึ่งที่พวกเราคุ้นหน้าค้นตากัน นั่นก็คือ

ตัว 福 ซึ่งภาษาจีนแต้จิ๋วออกเสียงว่า “ฮก”  ภาษาจีนกลางออกเสียงว่า “ฝู” นั่นเอง

ถือโอกาสพาเด็กๆ มาแสดงความคารวะและมอบอักษรจีน 福 นี้แด่ทุกท่านที่เข้ามาอ่านนะคะ

IMG_7930 FU DAO Le for post

Continue reading


Share Button

ศิลปะการเขียนพู่กันจีน 中國書法

Hits: 15741
Rating:

ศิลปะการเขียนพู่กันจีน 中國書法

ป็นมรดกทางวัฒนธรรมจีนอย่างหนึ่งค่ะ

ถ้าเห็นการเขียนพู่กันจีน หรือ ภาพวาดพู่กันจีน ก็จะนึกถึงภาพของความเป็นจีนทันทีเลยค่ะ

ภาพวาดจีน กับ ภาพวาดสำน้ำมันแบบตะวันตก แตกต่างกันอย่างไร

中國畫 跟 西方油彩畫 有什麽不同 ?

แตกต่างกันอย่างนี้ค่ะ

ภาพวาดจีน วาดด้วยหมึกดำกับน้ำ  ภาพสีน้ำมัน วาดด้วยสี

ภาพวาดจีน ในภาพมักจะมีที่ว่างเปล่า ภาพสีน้ำมัน จะต้องระบายสีเต็มไม่เหลือที่ว่าง

ภาพวาดจีน มักจะเขียนบนผ้า  ส่วนภาพวาดตะวันตก มักจะเขียนบนกระดาษ

ภาพวาดจีนแบบใช้พู่กันจุ่มหมึกดำเขียน

ข้อความบนเป็นชื่อจีนของสถาบันฟิวเจอร์ซี ถ้าเขียนด้วย font  คอมพิวเตอร์ก็จะหน้าตาเป็นอย่างนี้นะคะ

อักษรจีนตัวเต็ม 銘中漢語中心  และ อักษรจีนตัวย่อ 铭中汉语中心 

จะเห็นว่าความสวยงามของตัวอักษรมันคนละเรื่องกันเลย

 

ที่สถาบันสอนภาษาจีนของดิฉัน  จะไม่สอนภาษาอย่างเดียว และจะไม่สอนให้เด็กท่องจำด้วยค่ะ

เพราะถือว่านั่นยังเข้าไม่ถึงแก่นของวัฒนธรรม เข้าไม่ถึงแก่นของภาษา

 

แต่จะมีกิจกรรมวัฒนธรรมจีนอื่นๆ เสริมด้วย ที่เคยเอามาลงบล็อกก็มีการสอนร้องเพลงจีนบ้าง

แต่เราไม่ได้ร้องเพลงจีนอย่างเดียวนะคะ เรายังมีการเขียนและวาดรูปพู่กันจีนด้วยค่ะ

เมื่อวันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน ที่ผ่านมา เราก็มีกิจกรรมพู่กันจีนอีก

(ไม่ได้มีบ่อยนะคะ เพราะกิจกรรมนี้มักทำให้โต๊ะตัวสวยที่เหล่าซือไปเลือกหาตั้งนานนั้นเลอะหมึกดำค่ะ 55 )

แต่พอเห็นผลงานที่เด็กๆ ตั้งใจทำออกมา ภายในเวลาชั่วโมงกว่าๆ แล้วชื่นใจมากจนต้องขออนุญาตนำมาโชว์ในบล็อก

ไม่ว่ากันนะคะ

เหล่าซือไม่ได้สอนเอง  

คนสอนเขาก็ไม่ใช่นักเขียนพู่กันมืออาชีิพ 

เพียงแต่ใจรัก  ก็เลยสอนให้เด็กๆ พอได้พื้นฐานเล็กๆ ได้ความเพลิดเพลิน และเด็กๆ ก็ชอบให้เขาสอนค่ะ

ดูผลงานเด็กๆ กันดีกว่า 

ภาพบนทั้งหมดเป็นภาพที่ถ่ายเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาค่ะ

…………………………………………..

แต่ภาพล่างๆ ต่อไปนี้ไปหาภาพเก่ามาลงเพิ่มค่ะ

ส่วนนี้เป็นภาพที่ไม่ได้เขียนด้วยหมึก แต่เขียนด้วยน้ำ

ใช้พู่กันจุ่มน้ำ แล้วเขียนบนกระดาษเขียนน้ำ (ที่เหล่าซือไปหาซื้อเองบ้าง ฝากนักเรียนซื้อจากเซี่ยงไฮ้บ้าง)

พอน้ำแห้งก็เขียนได้อีก  อย่างนี้ประหยัดและไม่เลอะ  แต่กระดาษหาซื้อยากหน่อย

เหล่าซือก็เลยหวงกระดาษมาก แต่แจกให้เด็กๆ คนละใบ พู่กันคนละด้าม เอากลับบ้านไปฝึกต่อ

ตอนไปออกงานอาเซียนที่สีลม มีคนมาขอซื้อ บอกไม่ขายค่ะ

ภาพล่างนี้เป็นนักเรียนเด็กรุ่นแรกๆ ที่มาเรียนที่ฟิวเจอร์ซี ท่าพระค่ะ

ถ่ายไว้เมื่อเดือนตุลาคม 2005  คนในภาพตอนนี้โตหมดแล้วค่ะ

                                                                          เป็นภาพนี้

…………………….

สถาบันสอนภาษาจีนฟิวเจอร์ซี  มีโอกาสต้อนรับทีมถ่ายทำของเครือเนชั่น 2 ครั้งนะคะ

ครั้งแรกก็ปี 2007 (2550) โน้นค่ะ

สองภาพที่เห็นพื้นกระดาษโปสเตอร์สีแดงนี้  เป็นภาพที่เหล่าซือถ่ายไว้ตอนทีมงานของรายการชีพจรโลก

มาถ่ายภาพนักเรียนเขียนพู่กันจีนที่ ฟิวเจอร์ซี ท่าพระ

เพื่อนำไปใช้ประกอบรายการชีพจรโลก ในหัวข้อ การเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย แพร่ภาพช่อง 9 (สมัยนั้น)

และต่อมาสองภาพนี้ก็ได้รับการตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ  เป็นภาพประกอบข่าวที่นักข่าว น.ส.พ. ฉบับนี้สัมภาษณ์เหล่าซือตอนเจอกันในงานแถลงข่าวเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยปัญหาการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย

ซึ่งนำทีมวิจัยโดย ดร. เขียน ธีระวิทย์ ศูนย์จีนศึกษา จุฬาฯ

(ตอนนั้น อาจารย์เขียนท่านให้โอกาสเหล่าซือมีส่วนร่วมเล็กๆ ในงานวิจัยนั้นด้วย)

และต่อมาอีก ก็มีอาจารย์ท่านหนึ่งจากเทคโนบางมดฯ มาบอกเหล่าซือว่ามีคนนำสองภาพนี้ไปโพสต์ในเน็ต แต่ไม่ได้อ้างอิงว่าภาพจากที่ไหน

……………………………………

ครั้งที่สอง ฟิวเจอร์ซี มีโอกาสได้ต้อนรับทีมงานจากรายการการศึกษา ของ แมงโกทีวี เครือเนชั่น อีกครั้ง

เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2010 ( 2553)

ภาพบน คือ พิธีกรคนเก่งของแมงโกทีวีค่ะ

ส่วนภาพนี้ คือ ทีมถ่ายทำระดับมือโปร  ต่อหน้ากล้องแบบนี้ เหล่าซือเลยพูดอะไรผิดๆ ถูกๆ (โทษกล้อง)

หัวหน้าทีมถ่ายอารมณ์ดี ก็ทำให้บรรยากาศเป็นไปอย่างสบายๆ

จ้องแบบนี้ เด็กก็เกร็งสิคะ

พิธีกรมองตามมือน้องด้วยความสนใจ

ดูสีหน้าของพิธีกร กับ น้องคนนี้นะคะ

น้องมองพิธีกรด้วยความสนใจ แต่คงตื่นเต้นจนยิ้มไม่ออก

คนเสื้อสีฟ้าที่ยืนข้างหลังก็คือคนสอนเขียนพู่กันนะคะ

……………………………………………

ทีมถ่ายทำของแมงโกทีวี ตอนนั้นมาถ่ายทำอะไรหรือคะ

เขามาทำสกรู๊ปสัมภาษณ์นักเรียนเหล่าซือที่ได้ทุนรัฐบาลจีนไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่ประเทศจีน

ซึ่งในปีนั้น ได้พร้อมกันสองคน และเป็นนักเรียนดีทั้งคู่ด้วยค่ะ

คนกลางเสื้อลาย คือ คุณปึ๊ง เกียรตินิยมจากรัฐศาสตร์ IR จุฬาฯ ได้รับทุนไปเรียนต่อสาขาเศรษฐศาสตร์

ที่มหาวิทยาลัยฟู่ตั้น (复旦大学)  ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของนครเซี่ยงไฮ้

คนริมเสื้อลายน้ำตาล คือ คุณโจ้ เกียรตินิยมจากวิศวเคมี จุฬาฯ ได้รับทุนไปศึกษาต่อสาขาบริหารอุตสาหการ

ที่มหาวิทยาลัยชิงฮว๋า (清华大学) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งสายวิทย์ของจีน

ขอบคุณ พื้นที่ของ OKnation Blog

ขอบคุณกอง บก. ที่กรุณาให้เรื่องนี้เป็นเรื่องแนะนำจาก กอง บก. โอเคเนชั่น

วันที่ 11 มิถุนายน 2013 ค่ะ

ขอบคุณบล็อกเกอร์และผู้อ่าน และขอบคุณสำหรับทุกความคิดเห็นค่ะ

วัฒนธรรมจีน 中国文化 Chinese Culture

Flag Counter


Share Button
นักเรียนของเรา
แหล่งรวมบทความของเรา

OK

BC BT

Fan Page
จำนวนผู้เข้าชม
Flag Counter