Get Adobe Flash player

ศัพท์จีนสับสน (1) “泰语” “泰文” “汉语” “华语” “普通话” “国语” “中文” คำเหล่านี้ใช้ต่างกันอย่างไร ?

Hits: 36010

This post has already been read 101624 times!

 

             การเลือกใช้คำศัพท์ภาษาจีนให้ถูกต้อง 

เป็นส่วนสำคัญในการสื่อความอย่างถูกต้องเหมาะสม 

มีคำศัพท์ภาษาจีนหลายคำที่คนไทยมักใช้ผิดหรือรู้สึกสับสน  

             วันนี้  เราจะมาคุยกันต่อเรื่องคำจีนที่เกี่ยวกับคำว่า ภาษา  เช่น

             “泰语” 泰文”  ใช้เหมือนกันไหม ?

             汉语”  华语”  普通话”  “国语”   中文”  คำเหล่านี้ใช้แทนกันได้หมดไหม ? ต่างกันอย่างไร ?

Jinyi ci Hanyu & Putonghua

                                                                                                                    …

Cn Jinyi ci  HANYU HUAYU

           

Credit

           

คำว่า “语 yǔ”   “语言  yǔyán”   และ 文 wén”  ในภาษาไทย ต่างก็แปลได้ว่า “ภาษา”

                   แต่ในภาษาจีน คำเหล่านี้ มีการใช้ที่ต่างกัน

     

          ในภาษาจีน คำว่า  语言( ภาษา )  เป็นคำเรียกรวมที่หมายถึง สื่อทุกชนิดที่สามารถสื่อสารทำความเข้าใจกันได้  รวมทั้งภาษาพูด (ใช้เสียงเป็นสื่อ ) และภาษาเขียน (ใช้ตัวอักษรเป็นสื่อ) 

ภาษาพูด      ใช้เสียงเป็นสื่อ  เช่น คำว่า  汉语、华语泰语、英语

ภาษาเขียน  ใช้ตัวอักษร (文字) เป็นสื่อ  เช่นคำว่า  中文、泰文、英文报、The Nation 是泰国的英文报之一

泰语   หมายถึง  ภาษาพูดที่สื่อด้วยเสียงภาษาไทย

泰文    หมายถึงภาษาเขียนที่สื่อด้วยอักษรของไทย

汉语   หมายถึง  ภาษาพูดโดยรวมทุกสำเนียงของชาวฮั่น

           รวมถึงภาษาถิ่นอย่างแต้จิ๋ว  ภาษาฮากกกา ภาษากวางตุ้ง ฯลฯ 

         ( ประชากรประเทศจีนปัจจุบันแบ่งเป็น 5 ชนชาติใหญ่  ชนชาติฮั่นมีจำนวนประชากรมากกว่า 92 % ) 

 

ชาวจีนยังเรียก  汉语 (Hànyǔ) ว่า 华语 Huáyǔ ด้วย เพราะอะไร ? 

เนื่องจากประเทศจีนสมัยโบราณมีชื่อว่าประเทศ “华夏 Huáxià ”  นั่นเอง 

ชาวฮั่นใช้คำว่า 中华民族  แทน  “ ชนชาติจีน  

ชาวจีนอพยพจึงเรียกว่า  华侨 ( ภาษาจีนกลางออกเสียงว่า ฮว๋าเฉียว   ในประเทศไทยกลายเสียงเป็นหัวเฉียว ตามเสียงสำเนียงจีนแต้จิ๋ว) 

ส่วนลูกหลานชาวจีนอพยพรุ่นต่อๆ มาก็เรียกว่า 华裔 (ออกเสียงว่า ฮว๋ายี่)  ลูกหลานชาวจีนที่เกิดในไทยก็เติมคำว่า 泰国  ลงไป  เป็นคำว่า 泰国华裔 ( Tàiguó Huáyì แปลว่าชาวไทยเชื้อสายจีน )    

ชื่อประเทศจีนอย่างเป็นทางการ  จึงใช้ชื่อว่า

中华人民共和国 (สาธารณรัฐประชาชนจีน)

 

   ภาษาเขียนของชาวจีน  เรียกว่า  中文   ซึ่งแปลได้ว่า  ภาษากลางที่สื่อด้วยตัวอักษร  หรือ  ภาษาเขียนที่ใช้เป็นภาษากลาง  เนื่องจากชาวจีนทุกท้องถิ่น  ทุกสำเนียงใช้อักษรจีน (汉字) เป็นภาษาเขียนแบบเดียวกันในการสื่อความเข้าใจกัน

   แต่จากการที่ชาวจีนมีภาษาถิ่นหรือสำเนียงพูดท้องถิ่นที่แตกต่างกันอยู่จำนวนมาก  และบางสำเนียงออกเสียงไม่เหมือนกันเลย  เช่น คนแต้จิ๋วพูดว่า “เจียกปึ่ง” ( หมายถึงทานข้าว)  ส่วนคนฮากกาพูดว่า “ซึดฟั้น” (ทานข้าว)   สื่อกันด้วยเสียงสำเนียงของแต่ละท้องถิ่นไม่เข้าใจ  คนพูดสำเนียงแต้จิ๋ว(潮州话)สื่อกับคนพูดสำเนียงเซี่ยงไฮ้( ภาษาซั่งไห่ 上海话)ไม่เข้าใจ 

  ดังนั้น  นอกจากจะต้องมีภาษาเขียนที่เป็นภาษากลาง 中文 แล้ว   ยังจำเป็นต้องมีเสียงสำเนียงพูดที่เป็นภาษากลางในการสื่อสารเป็นทางการอีกด้วย

  

  ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเรียกสำเนียงภาษาจีนกลางนี้ว่า 

 普通话 ( Pǔtōnghuà = ภาษา Mandarin) ซึ่งแปลได้ว่า “ภาษาธรรมดาทั่วไป”  

  เมื่อประมาณ 40 กว่าปีก่อน  คนไทยเราเรียกสำเนียงพูดภาษาจีนกลางแบบ 普通话 ว่า  “国语”  ซึ่งคำว่า 国语 นี้ แปลว่าภาษาแห่งชาติ  (แต่ปัจจุบันมีการใช้คำนี้น้อยลง มีไต้หวันยังคงเรียกภาษาจีนกลางว่า 国语)

 

  สมัยก่อน  แต่ละท้องถิ่นจะเรียนอักษรจีนโดยออกเสียงตามภาษาท้องถิ่นของตนเอง  คนแต้จิ๋วก็อ่านออกเสียงเป็นสำเนียงแต้จิ๋ว คนกวางตุ้งก็อ่านออกเสียงเป็นกวางตุ้ง คนฮกเกี้ยนก็ออกเสียงตามภาษาฮกเกี้ยน เราจึงเห็นชื่อคน ชื่อสถานที่ ในวรรณกรรมแปลภาษาไทย เช่น ชื่อตัวละครในสามก๊ก มังกรหยก ออกเสียงแตกต่างจากภาษาจีนกลาง ฯลฯ   

  ต่อมารัฐบาลจีนต้องทั้งรณรงค์ และทั้งบรรจุไว้ในหลักสูตรการศึกษาภาคบังคับให้ทุกคนต้องเรียนภาษาจีนกลางมาตรฐาน (เหมือนคนไทยทุกภาคต้องเรียนภาษาไทยกลาง)

  

  แต่ถึงกระนั้นก็ตาม  ในประเทศจีนปัจจุบัน  ก็ยังคงมีคนจำนวนมากที่ออกเสียงภาษาจีนกลางได้ไม่ชัด  แม้แต่คนรุ่นใหม่บางส่วน (ที่ผู้เขียนประสบด้วยตนเอง)

 

  ทำไมชาวจีนเอง(ส่วนหนึ่ง) จึงออกเสียงจีนกลางไม่ชัด ?  

  จากการศึกษาค้นคว้า ผู้เขียนเห็นว่ามีอยู่สองสาเหุตใหญ่ นั่นคือ

 

  1.  เนื่องจากในแต่ละท้องถิ่นยังนิยมใช้ภาษาถิ่นในการสื่อสารกันเอง  เช่น  ในเกาะฮ่องกง  นครกวางเจา นครเซินเจิ้น ฯลฯ  ยังรักษาวัฒนธรรมภาษาถิ่น นิยมใช้กวางตุ้งในชีวิตประจำวัน  คนในนครคุนหมิง ในมณฑลยูนนานนิยมใช้ภาษาจีนยูนนาน เป็นต้น  

 

  2.  ในภาษาท้องถิ่นบางภาษา  ไม่มีคำบางคำที่ออกเสียงเหมือนการออกเสียงภาษาจีนกลาง  ยกตัวอย่างเช่น  ภาษาถิ่นทางใต้หลายมณฑล  ภาษาถิ่นจีนแต้จิ๋ว ไม่มีเสียงตัวสะกด แม่ กน   คนกลุ่มนี้จึงออกเสียงที่มีแม่กนสะกดไม่ค่อยชัด  เช่น  an  (อัน) ออกเสียงเป็น ang (อัง)     เสียง jian (เจียน)  ออกเป็น  jiang (เจียง)  เนื่องจากภาษาถิ่นของเขาไม่มีตัวสะกดนี้

       ภาษาถิ่นของจีนบางภาษา  ไม่มีพยัญชนะต้นเสียง L (ล)  จึงออกเสียง L ในภาษาจีนกลางเพี้ยนเป็นเสียงพยัญชนะ N  เช่น  篮子 (lánzi ตะกร้า) เป็นเสียง 男子 (nánzǐ ผู้ชาย) เป็นต้น 

…………………………………………………..

TAOHUA Meihua in ICE

                    

             คำศัพท์ภาษาจีนที่คนไทยเรารู้สึกสับสน ก็คือ 

             汉语   华语  และ 中文  ในภาษาไทยต่างก็ แปลว่า “ ภาษาจีน ”  

             泰文     กับ  泰语     ในภาษาไทยต่างก็ แปลว่า “ ภาษาไทย ” 

             普通话 กับ  国语          ในภาษาไทยต่างก็ แปลว่า “ ภาษาจีนกลาง ”

 

     เมื่อก่อน เราจะได้ยินคนถามว่า

     你会说国语吗? Nǐ huì shuō Guóyǔ ma?

     你会说华语吗? Nǐ  huì  shuō  Huáyǔ  ma? 

                 ประโยคภาษาอังกฤษก็จะถามว่า

          Can you speak Mandarin?

          Do you speak Chinese?

                 (หลายคนงงงวย แล้วมันต่างกันอย่างไร ? )

 

     แต่ปัจจุบัน เราจะได้ยินคนจีนถามว่า 

     你会说普通话吗?Nǐ huì shuō Pǔtōnghuà ma?

     ซึ่งหมายความว่า “คุณพูดภาษาจีนกลางได้ไหม ?” (ไม่ได้หมายถึงภาษาจีนท้องถิ่น)

 

      หลายปีก่อนมีเพื่อนคนหนึ่งไปที่เซี่ยงไฮ้ มีคนจีนมาถามเขาว่า 

     你会说普通话吗 ?(ผู่ทุ้งฮว่า แปลว่าภาษาจีนกลาง)

     แต่เพื่อนเข้าใจว่าคนจีนเขากำลังพูดถึง “ผู่ตุง (浦东)” ซึ่งเป็นเมืองอีกฝั่งหนึ่งของนครเซี่ยงไฮ้

     แต่ถ้าจะถามว่า “คุณมีชื่อภาษาจีนไหม ?” ต้องใช้คำว่า 中文名字

     รูปประโยคก็จะเป็น

     “你有中文名字吗?” 

                   “ Do you have a Chinese name ? ” 

             …………………………….

                  

         หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์

         สุวรรณา สนเที่ยง 张碧云

              สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายคอมพิวเตอร์ฉับบปรับปรุงแก้ไข 2558  

         ยินดีเผยแพร่เพื่อการศึกษา  แต่ไม่อนุญาตให้คัดลอกส่วนหนึ่งส่วนใดที่เข้าข่ายละเมิดลิขสิทธ์ทรัพย์สินทางปัญญา  

         ท่านที่ให้เกียรตินำไปเผยแพร่ต่อ ต้องไม่ตัดทอนบทความ  ระบุแหล่งที่มาชัดเจน และแจ้งให้ผู้เขียนทราบ เพื่อรักษาจรรยาบรรณและจริยธรรมร่วมกัน 

……………………………………………

 

Facebook : Suwanna Future C

บทความนี้โพสต์ครั้งแรกที่ OKnation Blog

วันพุธ ที่ 17 พฤศจิกายน 2553

Posted by เหล่าซือสุวรรณา , ผู้อ่าน : 5696

” + __flash__argumentsToXML(arguments,0) + “”)); }” postmessage_init=”function () { return eval(instance.CallFunction(“” + __flash__argumentsToXML(arguments,0) + “”)); }” sendxdhttprequest=”function () { return eval(instance.CallFunction(“” + __flash__argumentsToXML(arguments,0) + “”)); }” setcache=”function () { return eval(instance.CallFunction(“” + __flash__argumentsToXML(arguments,0) + “”)); }” getcache=”function () { return eval(instance.CallFunction(“” + __flash__argumentsToXML(arguments,0) + “”)); }” setcachecontext=”function () { return eval(instance.CallFunction(“” + __flash__argumentsToXML(arguments,0) + “”)); }” clearallcache=”function () { return eval(instance.CallFunction(“” + __flash__argumentsToXML(arguments,0) + “”)); }”>

 

ภาษาจีน-ไทยเปรียบเทียบ โดย สุวรรณา สนเที่ยง  泰汉语比较  张碧云

Flag Counter

อาจารย์สุวรรณา

Future C อาจารย์สุวรรณา

บทความและภาพ สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย ยินดีเผยแพร่เพื่อเป็นความรู้ แบ่งปันได้แต่ต้องไม่ดัดแปลงต้นฉบับ ไม่เพื่อการค้า และอ้างอิงแหล่งที่มาให้ชัดเจน 228 post in this blog.

Comments

comments


Share Button

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

คุณอาจจะใช้ป้ายกำกับและคุณสมบัติHTML: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>

นักเรียนของเรา
แหล่งรวมบทความของเรา

OK

BC BT

Fan Page
จำนวนผู้เข้าชม
Flag Counter