Get Adobe Flash player

วัฒนธรรมจีน อาหาร ที่กิน ที่เที่ยว

Hits: 7906

เข้าสู่หน้าหลัก ฟิวเจอร์ซี 

 

คลิกที่นี่ค่ะ

…………………………………………..

………………………………………..

 IMG_7925 FU For Post 1

   
เข้าใจจีน ผ่าน วัฒนธรรมจีน

  中国文化  Chinese Culture

   เป็นอะไรที่ชาวจีนทั่วโลกและชาวต่างชาติสนใจศึกษา

   เพื่อความ “เข้าใจจีน”   为了 “了解中国”

  เป็นศาสตร์และศิลป์ที่มีความล้ำลึกและน่าสนใจอย่างยิ่ง 

  มันทั้งสะท้อนจิตวิญญาณ ทัศนคติในการดำเนินชีวิต  หลักปรัชญา  แพทย์แผนโบราณที่ล้ำลึก   โหราศาสตร์ที่เร้นลับ  อารยธรรมที่น่าทึ่ง ฯลฯ และอะไรอีกหลายอย่างของชาวจีนที่มีมาหลายพันปี

การเรียนภาษาจีน โดยไม่เข้าใจวัฒนธรรมจีน  เป็นการเรียนที่ไม่สามารถเข้าถึงจิตวิญญาณของความเป็นจีนได้ !

บทความต่างๆ ที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมจีน  อาหารจีน และ เรื่องจีนๆ  ในเว็บไซต์นี้  

ดิฉันพยายามเขียนรวบรวมขึ้นและจะมาเขียนเพิ่มเรื่อยๆ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้  “เข้าใจจีน” (了解中国)ซึ่งขณะนี้กำลังเป็นกระแสหลักของโลกที่ต้องการติดต่อกับจีน

มีหลายเรื่องเคยโพสต์ใน

OKnation Blog  และ Google Blog  ที่เอื้อเฟื้อพื้นที่ในการเผยแพร่แบ่งปันความรู้ประสบการณ์

ขอขอบคุณทั้งสองบล็อก มา ณ โอกาสนี้

สุวรรณา สนเที่ยง

2014 – 07 – 09

……………………………………………………………………………………

 ขอขอบคุณท่านที่กรุณาร่วมแสดงความคิดเห็น  และร่วมแบ่งปันความรู้ประสบการณ์ของท่าน  ผ่านทางช่องแสดงความคิดเห็นในเว็บนี้  ทั้งที่ช่องแสดงความเห็นใต้บทความ  และผ่านช่องทาง Facebook Fanpage : Suwanna Future C 

Flag Counter

เพื่อนของเรา

HIso Kids shop                          AK Office supply

เสื้อเด็กแบรนด์เนม                             พริ้นเตอร์ทุกชนิด  ถนนจันทร์ 51

Websitehttp://www.hisokidshop.com            http://www.ak2000.com  

   

Sound INTER              Sound Hunter

Sound INTER                                                  Sound Hunter   

Film เครื่องเสียง กันขโมย ไฟแต่ง  สาขาบางบัวทอง สาขาถนนเพชรเกษม วัดท่าพระ

Phone 02-8918577 , 02-4724074 , 081-7349785
Email blueart@mail.com
Website http://www.soundhunter.ran4u.com

Share Button

วันวาเลนไทม์จีน สำนวนจีนส่วนหนึ่งที่ใช้กับความรัก

Hits: 4800


วันแห่งความรักของจีน (情人节) เรียกว่า《七夕节》 Qī xī jié

ตรงกับ 七月初七 ตามปฏิทินจันทรคติจีนของทุกปี



《七夕节》มาจากเทพนิยายรักแท้เรื่อง 《牛郎织女》(หนุ่มเลี้ยงวัวกับนางฟ้าทอผ้า)

เนื่องจากนางฟ้าทอผ้าซึ่งเป็นเทพธิดาของเง็กเซียนฮ่องเต้
ลงจากสวรรค์มาพบรักกับหนุ่มปุถุชนที่ไม่ใช่เทพ

จึงต้องถูกคุมตัวกลับไปรับโทษตามกฎยังแดนสวรรค์

แต่ความรักแท้ของทั้งสองทำให้พระมารดาของนางฟ้าทอผ้าสะเทือนใจ

จึงอนุญาตให้ทั้งสองมาพบกันได้ปีละครั้ง ในวันที่ 7 เดือน 7 ตามปฏิทินจันทรคติจีน ณ《银河》(ทางช้างเผือก) โดยมีนกกางเขนนับล้านตัวมาต่อตัวเป็นสะพานให้คนทั้งสองมาพบกันตรงกลาง

ปัจจุบัน ชาวจีนถือว่าวันนี้เป็นวันที่มีสัญลักษณ์ “รักแท้”

จึงนิยมไปจดทะเบียนสมรสกันมาก

แต่”ซิงแส” (หมอดูดวง) ก็จะแนะนำให้ดูให้ถูกกับดวงของแต่ละฝ่ายด้วย
….

สำนวนจีนโบราณที่นิยมใช้ในวันแห่งความรัก

愿有情人终成眷属

Yuàn yǒu qíng rén zhōng chéng juànshǔ

ขอให้ท่านที่มีรักแท้ได้ครองคู่กันตลอดไป

ยังมีสำนวนจีนโบราณ 8 พยางค์ที่เราได้ยินในหนังจีน ซีรีส์จีนบ่อยๆ  นั่นคือ

 “执子之手,与子偕老”  “Zhí zǐ zhī shǒu, yǔ zi xiélǎo” 

คำนี้มีคนอยากรู้ว่ามีความหมายลึกซึ้งกินใจอย่างไร 

คำนี้เป็นคำที่มาจาก《诗经》 หมายความว่า 

牵着你的的手,就和你一起白头到老。

กุมมือของท่าน อยู่เคียงข้างจนแก่เฒ่า)

” 子” ในที่นี้ แปลว่า “ท่าน” 

คนจีนที่รู้สำนวนนี้  พูดแค่คำว่า 执子之手 ก็รู้ความหมายแล้วค่ะ

เกร็ดวัฒนธรรมและภาษาจีน

สุวรรณา สนเที่ยง

…..

ขอบคุณภาพจาก

http://hebei.ifeng.com/travel/luxian/detail_2014_08/04/2702326_0.shtml



@@@@

*******เกร็ดภาษาจีน

หวังว่าทุกคลิกของท่านจะได้ประโยชน์

ขออภัยในข้อบกพร่องใดๆ  ขอบคุณทุกความคิดเห็น    Flag Counter


Share Button

9 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับตรุษจีน เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย (ฟังจากยูทูป)

Hits: 2941

9 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับตรุษจีน เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย

คุยกันสไตล์กันเอง เบาๆ

รู้ไว้ได้ประโยชน์

….

ช่วงนี้ยังจัดเวลามาเขียนยาวๆ ไม่ได้

ก็ขอโพสต์เป็นเสียงพูดก่อนค่ะ

….

แบ่งปันจากห้องเรียน

สุวรรณา สนเที่ยง 张碧云老师

ผกามาส จริยภูมิ   郑丽华同学

วาสนา ถ่ายคลิป

กิจกรรมตรุษจีน วัฒนธรรมจีน

ศูนย์ภาษาจีนฟิวเจอร์ซี

www.futurec-cn.com

ฟังได้จากลิงค์นี้นะคะ  https://youtu.be/uC8PVccuL8k

Chinese New Year Useful Tips


Share Button

ประธานสมาคมครูจีน ย้ำ ภาษาจีนสำคัญมากในโลกปัจจุบัน

Hits: 5369
        罗宗正主席伉俪强调中文在世界上的重要性,并鼓励大家积极做好教育工作。
        ประธานสมาคมครูจีนแห่งประเทศไทย ให้เกียรติต้อนรับคณะฟิวเจอร์ซีเข้าอวยพรและขอพรตรุษจีน ท่านย้ำ ภาษาจีนสำคัญมากในโลกปัจจุบัน และท่านได้ทุ่มเทให้กับการสนับสนุนการเรียนการสอนภาษาจีนอย่างเต็มที่
        เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2019  คณะจากศูนย์ภาษาจีนฟิวเจอร์ซี เข้าเยี่ยมคารวะและขอพรจาก ดร.วิชิต ลอลือเลิศ ประธานสมาคมครูจีน (แห่งประเทศไทย) และภริยา ดร.อรัญญา ลอลือเลิศ ประธานกิตติมศักดิ์ถาวร สมาคมครูจีนฯ เนื่องในเทศกาลตรุษจีน 2019
        คณะประกอบด้วย 
        อาจารย์ปัญญา เรืองวงศา ประธานท่านใหม่สมาคมกวางสีแห่งประเทศไทย ผู้อำนวยการภาคข่าวภาษาจีน สถานีวิทยุแห่งประเทศไทย ที่ปรึกษาและวิทยากรกิตติมศักดิ์ ของศูนย์ภาษาจีนฟิวเจอร์ซี
        ดร.นพินกานต์ แสงอนันต์ รองประธานโรงเรียนตี่ตง บ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร(致中学校副主席)กรรมการสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยในจีน
       และ อาจารย์สุวรรณา สนเที่ยง อาจารย์ 吴诗婉  เป็นตัวแทนทีมงาน ผู้ปกครอง และนักเรียนของฟิวเจอร์ซี  
        ท่านประธานฯ และภริยา มีคุณูปการต่อการศึกษาภาษาจีนในไทยอย่างมาก สละเงินส่วนตัวสนับสนุนจัดกิจกรรมต่างๆ มากมาย เช่น จัดโครงการฝึกอบรมครูภาษาจีนฟรี มอบทุนให้นักเรียนเรียนดี มอบรางวัลครูภาษาจีนดีเด่น ประสานหาทุนจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ในจีนให้กับนักเรียนไทยทั่วประเทศ ทั้งค่ายทัศนศึกษาระยะสั้น และ ทุนการศึกษาระดับปริญญาตรี โท เอก ประสานกับสถานเอกอัครราชทูตจีน ทำสัญญากับสายการบินจีนต่างๆ ขอราคาพิเศษให้ครูและนักเรียนไทย มอบรางวัลแก่นักเรียนวัดสุทธิ 13 คนที่ช่วยชีวิตชาวจีน ฯลฯ
……
IMG_5782 size 900
ท่านประธาน ดร.วิชิต และภริยา มอบของขวัญอวยพรตรุษจีนอาจารย์ปัญญา และ แสดงความยินดีเนื่องในโอกาสท่านได้รับเป็น ประธานสมาคมกวางสีแห่งประเทศไทย
IMG_5787 size 800
ท่านประธาน ดร.วิชิต และภริยา มอบของขวัญอวยพรตรุษจีนอาจารย์สุวรรณา และชาวฟิวเจอร์ซีทุกท่าน 
IMG_5784 size 800
       ประธานหลัวและภริยา พร้อมด้วย 郭晓辉博士副主席、叶富宁秘书 ให้การต้อนรับและให้เกียรติรับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน รวมทั้งชี้แนะเกี่ยวการเรียนการสอนภาษาจีนให้กับนักเรียนไทยอย่างเป็นกันเองและอบอุ่นยิ่ง ท่านทั้งสองเน้นว่า “ภาษาจีนสำคัญมากในโลกปัจจุบัน” ทั้งด้านการค้าขาย การพัฒนาเศรษฐกิจ การสร้างความมั่งคั่ง การท่องเที่ยว การศึกษา วัฒนธรรม และระหว่างประเทศ  
       泰国广西总会新任主席、国家广播电台中文部主任、铭中汉语中心名誉顾问兼特邀讲师梁忠翥先生,致中学校副主席、留中总会理事刘淑华博士,与铭中汉语中心主任张碧云老师、吴诗婉老师代表铭中汉语中心全体师生于2019 年 1 月 28 日向泰国华文教师公会主席罗宗正博士、永远名誉主席周丽云博士拜年致敬。获罗宗正主席、周丽云博士及郭晓辉博士副主席、叶富宁秘书赐予热情招待,并在温馨的气氛下共进午餐,。席间罗主席伉俪讲述了一些过去一年里教师公会帮助师生、颁发各种奖学金及各种促进中国文化艺术的活动,获得汉办的支持,等等。强调中文的重要性,无论是在商业方面、经济合作方面、่国民富裕、旅游、教育、文化交流以及国际合作方面。
        为了鼓励大家积极做好教育工作,罗主席伉俪办了不少有关活动,不但给中文教师、学生们奖学金,还与中国政府单位、汉办、各家中国大学合作举办教师培训班、泰国学生到中国留学奖学金,等等。
深深地感激。
ขอขอบพระคุณ อาจารย์ปัญญา ดร.นพินกานต์ และ อาจารย์ศิริวรรณ (吴诗婉老师)ที่ให้การสนับสนุนเรามาตั้งแต่ก่อนตั้งศูนย์ภาษาจีนฟิวเจอร์ซี
笔者:张碧云
สุวรรณา สนเที่ยง เรียบเรียง
。。。。
……
……
ยอดอ่าน เกร็ดความรู้ภาษาจีน

Flag Counter


Share Button

8 คำมงคลจีนยอดนิยม ที่ชาวจีนพูดติดปาก

Hits: 35944

8 คำมงคลจีนยอดนิยม ที่ชาวจีนพูดติดปาก 
โดย “เหล่าซือสุวรรณา” (张碧云老师)

โพสต์ครั้งแรก 16 กุมภาพันธ์ 2018 (2561)


1. 身体健康 !ขอให้สุขภาพแข็งแรง 

คำอวยพรยอดฮิตอันดับ 1 ของคนทั่วไป ที่ปรารถนาให้คนที่เรารักมีสุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บไม่ไข้ 

ใช้ได้ทุกเทศกาลทุกโอกาส

 
2. คำมงคลยอดฮิตอันดับ 1 ในเมืองไทย โดยออกเสียงสำเนียงจีนแต้จิ๋ว

ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดใช้  ที่ถูก ต้องออกเสียงว่า ซิงเจียอยู่อี่ ซิงนี้ฮวกใช้  新正如意、新年发财!

3. 恭喜发财!ขอให้มีโชคลาภ 

คำมงคลยอดฮิตอันดับ 1 ของชาวจีนสำเนียงกวางตุ้ง และ ฮากกา



….

4. 年年有余! ขอให้มีเงินทองล้นเหลือทุกปี 

คำมงคลยอดฮิตที่นอกจากใช้อวยพรแล้ว ยังแฝงหลักการดำเนินชีวิตให้มีเหลือเก็บออมด้วย 




5. 春节愉快! สุขสันต์วันตรุษจีน

คำมงคลยอดฮิตทั่วไปเหมือนคำว่า สุขสันต๋ปีใหม่



6. 大吉大利! มหามงคล มหาลาภ



7. 万事如意!สมควรปรารถนาทุกประการ



8. 平平安安!อยู่ดีมีสุข ไม่เจ็บไม่ไข้

คำมงคลยอดฮิตสำหรับคนที่ปรารถนาให้คนที่เรารักมีความสุข แคล้วคลาดจากภยันตรายทั้งปวง

  

ศูนย์ภาษาจีนฟิวเจอร์ซี
 
#จีนศึกษา  
#เกร็ดวัฒนธรรมจีน
 
….
http://suwannas.blogspot.com/
 
facebook: Suwanna Future C
 
 
 
..
 


facebook: Suwanna Future C

 

…..

 

 

 

…..


อ่านเรื่องเกร็ดภาษาจีน  หวังว่าทุกคลิกของท่านจะได้รับประโยชน์จากบทความเหล่านี้

Flag Counter


Share Button

มรดกจีน : สี่ราชธานีโบราณจีน มีเมืองไหนบ้าง 中国四大古都

Hits: 8090

4 ราชธานีโบราณจีน มีเมืองไหนบ้าง ปัจจุบันยังอยู่หรือไม่
คำว่า 古都 ออกเสียงว่า “กู่ตู๊” จะแปลเป็นคำไทยว่า “เมืองหลวงในอดีต” กับ สามเมืองแรก  แต่เมืองเป่ยจิ๊ง จะใช้คำว่า “เมืองหลวงในอดีต” ไม่ได้ เพราะเป็นเมืองหลวงมายาวนานจนถึงปัจจุบันก็ยังคงเป็นเมืองหลวงอยู่
中国四大古都       
             洛阳
เมืองลั่วหยาง หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ “ลกเอี๊ยง”
             西安
เมืองซีอาน (สมัยก่อนมีชื่อว่า “ฉางอัน”)
             南京
เมืองหนานจิง (นานกิง)
             北京  เมืองเป่ยจิง (ปักกิ่ง)
 
สี่เมืองนี้ปัจจุบันเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์จีน วัฒนธรรมจีน มีโบราณสถานมากมาย เป็นแหล่งเกิดอารยธรรม และยังอยู่ครบทุกเมือง
 
เมืองลั่วหยาง 
เป็นเมืองหลวงที่เกิดก่อนเมืองอื่นๆ ทั้งหมด คือ ตั้งแต่สมัยราชวงศ์เซี่ย (夏朝 ก่อนราชวงศ์ฉิน)


เมืองซีอาน (ฉางอาน)
เป็นเมืองหลวงทั้งราชวงศ์ฉิน(秦朝)ราชวงศ์ถัง(唐朝)และอีกหลายราชวงศ์ 

เมืองหนานจิง 
เป็นเมืองหลวงของ ซุนกวน (孙权)แห่งง่อก๊ก(吴 แคว้นหวู ) ในสมัยโบราณ 

เป็นเมืองหลวงของ “ไท่ผิงเทียนกว๋อ” (太平天国)และเป็นเมืองหลวงชั่วคราวสมัย ดร.ซุนยัตเซ็น ในปี ค.ศ.1912 ด้วย

เมืองเป่ยจิง
เป็นเมืองหลวงตั้งแต่มองโกลปกครองช่าวจีน ต้นสมัยราชวงศ์หยวน (元朝)จนกระทั่งปัจจุบัน

แบ่งปันจากห้องเรียน
สุวรรณา สนเที่ยง 张碧云

11 กุมภาพันธ์ 2018

ศูนย์ภาษาจีนฟิวเจอร์ซี

www.futurec-cn.com

 
จีนศึกษา ประวัติศาสตร์จีน 
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับจีน

แนวข้อสอบ PAT จีน 

ข้อสอบครูผู้ช่วย (เอกวิชาภาษาจีน) 

……

….
เรื่องที่เกี่ยวข้อง 
คลิกดูได้ตามหัวข้อต่อไปนี้ค่ะ
4 ยอดนิทานพื้นบ้านของจีน มีเรื่องไหนบ้าง ? 
เกี่ยวกับเรื่องอะไร?
 
四大民间传说:

孟姜女、白蛇传、牛郎织女、梁祝。
 
4 ยอดนิทานพื้นบ้านของจีน ได้แก่
 เมิ่งเจียงหนวี่   นางพญางูขาว 
 หนุ่มเลี้ยงวัวกับสาวทอผ้า   ม่านประเพณี
 
ทั้ง 4 เรื่องเป็นเรื่องราวโศกนาฏกรรมความรักแท้ของหนุ่มสาวที่ไม่สมหวัง ถูกพลัดพรากจากกันโดยสงคราม ด้วยเหตุผลความเหลื่อมล้ำ  ความแตกต่างทางสถานะ  ฐานะทางสังคม 
 
เรื่องแรก 
孟姜女 เมิ่งเจียงหนวี่ 
สามีของนางเมิ่งเจียงหนวี่ที่เพิ่งแต่งงานกันถูกเกณฑ์ไปสร้างกำแพงเมืองจีนจนตายและฝังร่างใต้กำแพง 
 
เรื่องที่สอง
白蛇传 นางพญางูขาว
นางงูขาวเป็น “มาร” เป็น “ปีศาจ” 
เมื่อฝ่าย “เทพ” (ในนิทานคือ “ไต้ซือ”) มารู้เรื่องเข้า จึงยอมให้ทั้งสองอยู่ร่วมกันไม่ได้

จับนางงูขาวไปขังไว้ใต้เจดีย์ริมทะเลสาบซีหู เมืองหังโจว มานานกว่า 2000 ปีแล้ว 

 
เรื่องที่สาม
牛郎织女หนุ่มเลี้ยงวัว” เป็นคนเดินดินธรรมดา เป็นสามัญชน แต่สาวทอผ้าเป็นถึง “นางฟ้า”  จึงต้องถูกพลัดพรากและนางฟ้าถูกคุมตัวกลับไปอยู่บนสวรรค์ 
 
เรื่องที่ 4  
เรื่อง 梁祝 ที่คนไทยรู้จักกันในชื่อ “ม่านประเพณี”  
พระเอก 梁山伯 (เหลียงซันปั๋ว) เป็นนักศึกษายากจน 
祝英台 (จู้ยินไถ) เป็นลูกคหบดี (เศรษฐี)  
พ่อจึงไม่ยอมให้แต่งงานกับคนจน  
แต่ยกลูกสาวให้แต่งงานกับลูกขุนนางที่มีอำนาจอิทธิพล  
….
นิทานทั้ง 4 เรื่องนี้ได้รับการเล่าขาน ถ่ายทอดปากต่อปาก สร้างเป็นงิ้ว ละคร ภาพยนต์ ซีรีส์ จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวรรณกรรมจีน เน้นความรักแท้  สะท้อนสังคมที่กีดกันอิสรภาพในการเลือกคู่ครองของสังคมในอดีต  เตือนใจพ่อแม่ทุกยุคทุกสมัย  

เป็นเรื่องที่คนสนใจ “จีนศึกษา” และ คนเรียนภาษาจีนควรรู้

…..

..
 













สี่ยอดวรรณกรรมเอกของจีน


 



เรื่องนี้เป็นซีรีส์ที่เขียนต่อจากเกร็ดความรู้เรื่องที่แล้ว

房四

4 สิ่งล้ำค่าในห้องหนังสือ ได้แก่
 
纸、墨、笔、砚。
1. กระดาษ  
2. หมึก 
3. พู่กัน 
4. แท่นฝนหมึก

Paper, ink, pen, ink stone.

ชาวจีนให้ความสำคัญกับการศึกษามาแต่โบราณ  

การรู้จักวิธีประดิษฐ์กระดาษเป็นชาติแรกและการประดิษฐ์พู่กันจีนขึ้นในสมัยโบราณ เป็นภูมิปัญญาที่ทำให้การศึกษา และการบันทึกประวัติศาสตร์จีน การบันทึกประวัติศาสตร์โลก เกิดการพัฒนาแบบก้าวประโดด

ภูมิปัญญาของชาวจีนโบราณเหล่านั้น ได้กลายมาเป็นศิลปะ เป็นมรดกทางวัฒนธรรมจีนที่ล้ำค่าและเอกลักษณ์ของชาวจีน

ก่อนที่ชาวจีนจะค้นพบวิธีผลิตกระดาษ การบันทึกเหตุการณ์ในยุคก่อนต้องใช้วิธีแกะสลักตัวอักษรลงบนกระดองเต่า กระดูกสัตว์ บนแผ่นไม้ไผ่ 

ซึ่งต้องใช้เวลาและความชำนาญมาก อีกทั้งยังหนักมากด้วย (อย่างที่เราเห็นในหนังจีนแนวย้อนยุค)  

 

 

ต่อจากเกร็ดความรู้เรื่องที่แล้ว

4 สิ่งประดิษฐ์ล้ำค่าด้านเทคโนโลยีของจีนโบราณ 

มีอะไรบ้าง?


1.
 เข็มชี้ทิศ  
2. ทำกระดาษ  
3. การพิมพ์  
4. ดินปืน

中国古代四大发明 :
指南针、造术、印术、火药。
 

…..

 

 

 

…..

อ่านเรื่องเกร็ดภาษาจีน  หวังว่าทุกคลิกของท่านจะได้รับประโยชน์จากบทความเหล่านี้

Flag Counter


Share Button

มรดกจีน : 4 ยอดนิทานพื้นบ้านของจีน เกี่ยวกับเรื่องอะไร? 四大民间传说

Hits: 20972


4 ยอดนิทานพื้นบ้านของจีน มีเรื่องไหนบ้าง ? 
เกี่ยวกับเรื่องอะไร?
 
四大民间传说:
孟姜女、白蛇传、牛郎织女、梁祝。
 
4 ยอดนิทานพื้นบ้านของจีน ได้แก่
 เมิ่งเจียงหนวี่                       นางพญางูขาว 
 หนุ่มเลี้ยงวัวกับสาวทอผ้า   ม่านประเพณี
 
ทั้ง 4 เรื่องเป็นเรื่องราวโศกนาฏกรรมความรักแท้ของหนุ่มสาวที่ไม่สมหวัง ถูกพลัดพรากจากกันโดยสงคราม ด้วยเหตุผลความเหลื่อมล้ำ  ความแตกต่างทางสถานะ  ฐานะทางสังคม 
 
เรื่องแรก 
孟姜女 เมิ่งเจียงหนวี่ 
สามีของนางเมิ่งเจียงหนวี่ที่เพิ่งแต่งงานกันถูกเกณฑ์ไปสร้างกำแพงเมืองจีนจนตายและฝังร่างใต้กำแพง 
 
เรื่องที่สอง
白蛇传 นางพญางูขาว
นางงูขาวเป็น “มาร” เป็น “ปีศาจ” 
เมื่อฝ่าย “เทพ” (ในนิทานคือ “ไต้ซือ”) มารู้เรื่องเข้า จึงยอมให้ทั้งสองอยู่ร่วมกันไม่ได้

จับนางงูขาวไปขังไว้ใต้เจดีย์ริมทะเลสาบซีหู เมืองหังโจว มานานกว่า 2000 ปีแล้ว 

 
เรื่องที่สาม
牛郎织女หนุ่มเลี้ยงวัว” เป็นคนเดินดินธรรมดา เป็นสามัญชน แต่สาวทอผ้าเป็นถึง “นางฟ้า”  จึงต้องถูกพลัดพรากและนางฟ้าถูกคุมตัวกลับไปอยู่บนสวรรค์ 
 
เรื่องที่ 4  
เรื่อง 梁祝 ที่คนไทยรู้จักกันในชื่อ “ม่านประเพณี”  
พระเอก 梁山伯 (เหลียงซันปั๋ว) เป็นนักศึกษายากจน 
祝英台 (จู้ยินไถ) เป็นลูกคหบดี (เศรษฐี)  
พ่อจึงไม่ยอมให้แต่งงานกับคนจน  
แต่ยกลูกสาวให้แต่งงานกับลูกขุนนางที่มีอำนาจอิทธิพล  
….
นิทานทั้ง 4 เรื่องนี้ได้รับการเล่าขาน ถ่ายทอดปากต่อปาก สร้างเป็นงิ้ว ละคร ภาพยนต์ ซีรีส์ จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวรรณกรรมจีน เน้นความรักแท้  สะท้อนสังคมที่กีดกันอิสรภาพในการเลือกคู่ครองของสังคมในอดีต  เตือนใจพ่อแม่ทุกยุคทุกสมัย  

เป็นเรื่องที่คนสนใจ “จีนศึกษา” และ คนเรียนภาษาจีนควรรู้
…..
 
เหล่าซือสุวรรณาย่อให้เข้าใจสั้นๆ ก่อนค่ะ
ถ้าหาเวลาได้ จะมาเล่าละเอียดเพิ่มเติม  
..
แบ่งปันจากห้องเรียน
สุวรรณา สนเที่ยง 张碧云

4 กุมภาพันธ์ 2018

ศูนย์ภาษาจีนฟิวเจอร์ซี

www.futurec-cn.com

 
จีนศึกษา ประวัติศาสตร์จีน 
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับจีน

แนวข้อสอบ PAT จีน 

ข้อสอบครูผู้ช่วย (เอกวิชาภาษาจีน) 

……

 

…………………………..

เรืองอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง คลิกหาดูได้ในบล็อกนี้



เช่น สี่ยอดวรรณกรรมเอกของจีน


 

 
 



เรื่องนี้เป็นซีรีส์ที่เขียนต่อจากเกร็ดความรู้เรื่องที่แล้ว

房四

4 สิ่งล้ำค่าในห้องหนังสือ ได้แก่
 
纸、墨、笔、砚。
1. กระดาษ  
2. หมึก 
3. พู่กัน 
4. แท่นฝนหมึก

Paper, ink, pen, ink stone.

ชาวจีนให้ความสำคัญกับการศึกษามาแต่โบราณ  

การรู้จักวิธีประดิษฐ์กระดาษเป็นชาติแรกและการประดิษฐ์พู่กันจีนขึ้นในสมัยโบราณ เป็นภูมิปัญญาที่ทำให้การศึกษา และการบันทึกประวัติศาสตร์จีน การบันทึกประวัติศาสตร์โลก เกิดการพัฒนาแบบก้าวประโดด

ภูมิปัญญาของชาวจีนโบราณเหล่านั้น ได้กลายมาเป็นศิลปะ เป็นมรดกทางวัฒนธรรมจีนที่ล้ำค่าและเอกลักษณ์ของชาวจีน

ก่อนที่ชาวจีนจะค้นพบวิธีผลิตกระดาษ การบันทึกเหตุการณ์ในยุคก่อนต้องใช้วิธีแกะสลักตัวอักษรลงบนกระดองเต่า กระดูกสัตว์ บนแผ่นไม้ไผ่ 

ซึ่งต้องใช้เวลาและความชำนาญมาก อีกทั้งยังหนักมากด้วย (อย่างที่เราเห็นในหนังจีนแนวย้อนยุค)  

 

 

 

ต่อจากเกร็ดความรู้เรื่องที่แล้ว

4 สิ่งประดิษฐ์ล้ำค่าด้านเทคโนโลยีของจีนโบราณ 

มีอะไรบ้าง?


1.
 เข็มชี้ทิศ  
2. ทำกระดาษ  
3. การพิมพ์  
4. ดินปืน

中国古代四大发明 :
指南针、造术、印术、火药。
 

…..

 

 

 

…..

อ่านเรื่องเกร็ดภาษาจีน  หวังว่าทุกคลิกของท่านจะได้รับประโยชน์จากบทความเหล่านี้

Flag Counter


Share Button

มรดกจีน: 4 ยอดวรรณกรรมจีน 中国四大名著 ทำไมถึงได้รับการยกย่อง?

Hits: 19803


4 ยอดวรรณกรรมเอกจีน 四大名著 มีเรื่องไหนบ้าง ?
ทำไมถึงได้รับการยกย่องเป็นวรรณกรรมยอดเยี่ยม?
 
เป็นเรื่องที่คนสนใจ “จีนศึกษา” และ คนเรียนภาษาจีนต้องรู้
ไม่ใช่แค่ท่องไปใช้สอบเฉยๆ 
…..
4 ยอดวรรณกรรมจีน 四大名著 ได้แก่
三国演义西游记水浒传红楼梦

สามก๊ก   ไซอิ๋ว   วีรบุรุษเขาเหลียงซาน   ความฝันในหอแดง
 
แต่ละเรื่องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับอะไรบ้าง ? 
 
เหล่าซือสุวรรณาย่อให้เข้าใจสั้นๆ ก่อนค่ะ
ถ้าหาเวลาได้ จะมาเล่าละเอียดเพิ่มเติม ซึ่งแต่ละเรื่องแค่เล่าสรุปย่อก็ยังต้องเล่ายาวมากค่ะ 
..
แบ่งปันจากห้องเรียน
สุวรรณา สนเที่ยง
15 มกราคม 2018
 
จีนศึกษา ประวัติศาสตร์จีน 
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับจีน

แนวข้อสอบ PAT จีน 

ข้อสอบครูผู้ช่วย (เอกวิชาภาษาจีน) 

……

 

 

 

ถ้าเป็นแนวข้อสอบ PAT จีนที่เกี่ยวกับเรื่องนี้
จะออกสอบในลักษณะไหนได้บ้าง ?
 
 




เรื่องนี้เป็นซีรีส์ที่เขียนต่อจากเกร็ดความรู้เรื่องที่แล้ว

房四

4 สิ่งล้ำค่าในห้องหนังสือ ได้แก่
 
纸、墨、笔、砚。
1. กระดาษ  
2. หมึก 
3. พู่กัน 
4. แท่นฝนหมึก

Paper, ink, pen, ink stone.

ชาวจีนให้ความสำคัญกับการศึกษามาแต่โบราณ  

การรู้จักวิธีประดิษฐ์กระดาษเป็นชาติแรกและการประดิษฐ์พู่กันจีนขึ้นในสมัยโบราณ เป็นภูมิปัญญาที่ทำให้การศึกษา และการบันทึกประวัติศาสตร์จีน การบันทึกประวัติศาสตร์โลก เกิดการพัฒนาแบบก้าวประโดด


ภูมิปัญญาของชาวจีนโบราณเหล่านั้น ได้กลายมาเป็นศิลปะ เป็นมรดกทางวัฒนธรรมจีนที่ล้ำค่าและเอกลักษณ์ของชาวจีน

ก่อนที่ชาวจีนจะค้นพบวิธีผลิตกระดาษ การบันทึกเหตุการณ์ในยุคก่อนต้องใช้วิธีแกะสลักตัวอักษรลงบนกระดองเต่า กระดูกสัตว์ บนแผ่นไม้ไผ่ 

ซึ่งต้องใช้เวลาและความชำนาญมาก อีกทั้งยังหนักมากด้วย (อย่างที่เราเห็นในหนังจีนแนวย้อนยุค)  

 

 

 

ต่อจากเกร็ดความรู้เรื่องที่แล้ว

4 สิ่งประดิษฐ์ล้ำค่าด้านเทคโนโลยีของจีนโบราณ 

มีอะไรบ้าง?


1.
 เข็มชี้ทิศ  
2. ทำกระดาษ  
3. การพิมพ์  
4. ดินปืน

中国古代四大发明 :
指南针、造术、印术、火药。
 

…..

 

 

 

…..

อ่านเรื่องเกร็ดภาษาจีน  หวังว่าทุกคลิกของท่านจะได้รับประโยชน์จากบทความเหล่านี้

Flag Counter


Share Button

มรดกจีน: “4 สิ่งล้ำค่าในห้องหนังสือ” 文房四宝 มีอะไรบ้าง

Hits: 9830


房四
4 สิ่งล้ำค่าในห้องหนังสือ ได้แก่
 
纸、墨、笔、砚。
1. กระดาษ  
2. หมึก 
3. พู่กัน 
4. แท่นฝนหมึก Paper, ink, pen, ink stone.

ชาวจีนให้ความสำคัญกับการศึกษามาแต่โบราณ  

การรู้จักวิธีประดิษฐ์กระดาษเป็นชาติแรกและการประดิษฐ์พู่กันจีนขึ้นในสมัยโบราณ เป็นภูมิปัญญาที่ทำให้การศึกษา และการบันทึกประวัติศาสตร์จีน การบันทึกประวัติศาสตร์โลก เกิดการพัฒนาแบบก้าวประโดด

ภูมิปัญญาของชาวจีนโบราณเหล่านั้น ได้กลายมาเป็นศิลปะ เป็นมรดกทางวัฒนธรรมจีนที่ล้ำค่าและเอกลักษณ์ของชาวจีน

ก่อนที่ชาวจีนจะค้นพบวิธีผลิตกระดาษ การบันทึกเหตุการณ์ในยุคก่อนต้องใช้วิธีแกะสลักตัวอักษรลงบนกระดองเต่า กระดูกสัตว์ บนแผ่นไม้ไผ่ 

ซึ่งต้องใช้เวลาและความชำนาญมาก อีกทั้งยังหนักมากด้วย (อย่างที่เราเห็นในหนังจีนแนวย้อนยุค) 

แบ่งปันจากห้องเรียน
สุวรรณา สนเที่ยง
 
จีนศึกษา ประวัติศาสตร์จีน 
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับจีน แนวข้อสอบ PAT จีน 

ข้อสอบครูผู้ช่วย (เอกวิชาภาษาจีน) 

……

。。。。

ต่อจากเกร็ดความรู้เรื่องที่แล้ว 4 สิ่งประดิษฐ์ล้ำค่าด้านเทคโนโลยีของจีนโบราณ 

มีอะไรบ้าง?


1.
 เข็มชี้ทิศ  
2. ทำกระดาษ  
3. การพิมพ์  
4. ดินปืน

中国古代四大发明 :
指南针、造术、印术、火药。
 

 

 

…..

อ่านเรื่องเกร็ดภาษาจีน  หวังว่าทุกคลิกของท่านจะได้รับประโยชน์จากบทความเหล่านี้

Flag Counter


Share Button

ฝึกเขียนพู่กันจีน อักษรวิจิตร 儿童书法 Chinese Shufa Writing For Kids

Hits: 6967

 

ฝึกเขียนพู่กันจีน อักษรวิจิตร 儿童书法 Chinese Shufa Writing For Kids
การเขียนพู่กันจีน เป็นศิลปะชั้นสูงในการเขียน (วาด) อักษรจีนที่เรียกว่า “书法艺术”

ภาษาไทยมีผู้แปลไว้ว่า “อักษรวิจิตร”
วีดีโอนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมเรียนรู้วัฒนธรรมจีน
จากคลาสเรียนภาษาจีนของศูนย์ภาษาจีนฟิวเจอร์ซี
เขียนด้วยน้ำเปล่าบนแผ่นผ้าที่ทำด้วยวัสดุพิเศษ เมื่อหมึก(น้ำ)แห้งแล้วเขียนซ้ำได้อีก
By อ.สุวรรณา สนเที่ยง (张碧云老师)

แบ่งปันจากห้องเรียนของเรา
铭中汉语中心
www.futurec-cn.com
ใกล้บีทีเอสตลาดพลู

 

 


Share Button

端午节 วันบ๊ะจ่าง วันตวนหวู่ ประเพณี ความเป็นมา แนวข้อสอบ HSK / PAT จีน

Hits: 36111

端午节 (duān  jié) เทศกาลตวนหวู่ วันตวนหวู่ 

ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Dragon Boat Festival 

มีชื่อเรียกหลายชื่อ ชาวจีนฮากกา เรียกว่า 五月节

ตรงกับวันที่ 5 เดือน 5 ตามปฏิทินจันทรคติจีน  五月初五

ส่วนคนไทยเรียกว่า วันบ๊ะจ่าง เพราะขนมบ๊ะจ่างเป็นอาหารประจำเทศกาลนี้


DUANWU JIe บ๊ะจ่าง 2020

..

วันตวนหวู่ ยังเป็น “วันนักกวี”(诗人节 Shīrén jié)ของจีนด้วย 

อาหาร กิจกรรม ประเพณีที่เกี่ยวข้อง

– กินขนมบ๊ะจ่าง 

คำว่า “บ๊ะจ่าง” มาจากคำว่า 肉粽 แปลว่า ขนมจ่างที่มีเนื้อสัตว์ ส่วนในภาษาจีนกลาง เรียกรวมๆ กันว่า จุ้งจึ 粽子 zòngzi ซึ่งจะมี “กีจ่าง” ที่ไม่ใส่เนื้อสัตว์ด้วย 

– แข่งเรือมังกร(赛龙舟)

– แข่งขันความสามารถด้านกวี ประกวดการแต่งกลอน 

และเนื่องจากช่วงเดือน 5 ตามปฏิทินจีน เป็นช่วงหน้าฝน อากาศเปียกชื้น มีเชื้อโรคระบาดและมียุงแมลงร้ายมาก ทำให้เกิดโรคต่างๆ  หรือถูกสัตว์มีพิษกัดต่อย ชาวจีนโบราณจึงมีประเพณีดื่มเหล้าสีเหลืองชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า “雄黄酒”

เหล้าชนิดนี้ถือเป็นภูมิปัญญาจีนด้านยาจีนอย่างหนึ่ง มีส่วนผสมของ 雄黄 (a-As4S4 กำมะถันแดง) ที่มีพิษ มีฤทธิ์ต้านพิษและฆ่าเชื้อโรคได้ แต่วิธีปรุงซับซ้อน เพราะเป็นสารมีพิษ ทำไม่ดีดื่มแล้วตายได้

เรื่องเกี่ยวกับ “雄黄酒” นี้ยังปรากฏในตำนานจีนเรื่องนางพญางูขาว《白蛇传》แห่งเมืองหังโจวที่นางงูขาวในร่างคนเมื่อดื่มเหล้าที่ผสม 雄黄 แล้วกลายร่างกลับให้เห็นเป็นงู ทำให้ 许仙 พระเอกของเรื่องตกใจช็อกตาย นางงูขาวกับนางงูเขียวจึงเสี่ยงชีวิตบุกสวรรค์เพื่อขโมยเห็ดหลินจือมาชุบชีวิต 许仙 ให้ฟื้น

….

วัฒนธรรมประเพณีของวันตวนหวู่นี้ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางด้านวัฒนธรรมจากองค์การยูเนสโก สหประชาชาติ ตั้งแต่ปี 2009  

วันเทศกาลนี้ ที่ประเทศจีน ฮ่องกง ประกาศเป็นวันหยุดราชการประจำปี

วันตวนหวู่ไม่ใช่วันเทศกาลรื่นเริง แต่เป็นวันที่ระลึกถึงความรักชาติ วันคล้ายวันครบรอบการเสียชีวิตของนักกวีรักชาติชาวแคว้น ฉู่ นามว่า 屈原 Qū Yuán (ชวีเยวี๋ยน) ซึ่งโดดน้ำเสียชีวิตเนื่องจากแคว้นฉู่ (楚国)ของท่านแพ้สงครามแก่ทัพแคว้นฉิน(秦国)ในสมัยสงคราม “จั้นกว๋อ”(战国)ก่อนคริสตศักราช 278 ปี นับถึงตอนนี้ก็ 2295 ปีก่อน


วันตวนหวู่ จึงไม่เหมาะที่จะอวยพรด้วยคำว่า 端午节快乐 (แฮปปี้วันตวนหวู่) แต่จะนิยมใช้คำว่า 端午节安康 / 端午节平安 แทน (อวยพรให้แข็งแรง ไม่เจ็บไม่ไข้) 

เทศกาลที่ไม่ควรอวยพรด้วยคำว่า XXX快乐 ก็ได้แก่ วันเช็งเม้ง (วันเซ่นไหว้บรรพชน) วันสารทจีน (วันเซ่นไหว้เนื่องในวันที่ประตูยมโลกเปิด) และวันตวนหวู่ ซึ่งทั้ง 3 วันนี้จะเป็นวันจัดกิจกรรมรำลึกถึงบรรพบุรุษและบุคคลที่เสียชีวิตแล้ว

* การเรียนภาษาจีน ควรเข้าถึงแก่นความคิดของชาวจีนด้วย

…..

เทศกาลตวนหวู่ มีความเป็นมาอย่างไร ?

ในสมัยโบราณ คือเมื่อประมาณ 2300 ปีก่อน ในแผ่นดินจีนแบ่งเป็น 7 แคว้นใหญ่ เรียกยุคนั้นว่า 战国时代 (แปลตามเสียงคือยุคจั้นกว๋อ) ก่อนที่แคว้นฉินจะใช้อุบายและกำลังทหารกำจัดทุกแคว้นแล้วตั้งเป็นประเทศจีนขึ้น (ซึ่งผู้เขียนประวัติศาสตร์ก็จะเขียนว่า รวมประเทศจีนเป็นปึกแผ่นหรือเป็นหนึ่งเดียว)

ในสมัยนั้น แคว้นฉู่ ซึ่งเป็นแคว้นใหญ่แคว้นหนึ่ง มีขุนนางตงฉินมีความสามารถท่านหนึ่งชื่อ ชวีเยวี๋ยน (屈原)มีความคิดร่วมมือกับแคว้นอีก 5 แคว้นเพื่อร่วมกันต่อต้านอิทธิพลของแคว้นฉิน แต่ถูกกังฉิน (ขุนนางไม่ดี) ที่รับสินบนได้ประโยชน์จากแคว้นฉินยุยงให้ฮ่องเต้เนรเทศชวีเยวี๋ยนออกไปจากเมืองหลวง

ต่อมาท่านได้ข่าวแคว้นฉู่แพ้สงคราม เสียใจมากจึงโดดแม่น้ำ มี่หลัว (汨罗江)เสียชีวิต 

ชาวบ้านที่เคารพรักท่านเมื่อได้ข่าวก็รีบพากันพายเรือมาเพื่องมศพ พร้อมกับโยนอาหาร ข้าวปั้นลงไปในน้ำเพื่อไม่ให้พวกปลามากัดกินศพของท่าน

ต่อมาการเอาเรือออกไปงมหาศพ ก็ได้กลายมาเป็นประเพณีแข่งเรือมังกร

การเอาอาหาร ข้าวปั้น โยนลงน้ำ ก็กลายมาเป็นประเพณีทำขนมบ๊ะจ่าง 

ปัจจุบัน การแข่งเรือมังกร ได้แพร่หลายไปในหลายๆ ประเทศ กลายมาเป็นกิจกรรมแข่งขันและออกกำลังกาย

ในเมืองไทยก็มีกิจกรรมที่คล้ายกัน คือ การแข่งเรือยาว

เนื่องจากท่านชีเยวี๋ยนเป็นนักกวี ที่เขียนบทกวีรักชาติไว้มากมาย วันที่ท่านเสียชีวิต จึงได้รับการตั้งให้เป็น 诗人节 วันนักกวี เพื่อเป็นเกียรติให้แก่ท่านด้วย

คำศัพท์ภาษาจีนที่เกี่ยวข้อง

端午节 duān  jié  วันเทศกาลตวนหวู่

诗人节 Shīrén jié  วันนักกวี

粽子     zòngzi   ขนมบ๊ะจ่าง

赛龙舟 sài lóngzhōu แข่งเรือมังกร

屈原  Qū Yuán    ชวีเยวี๋ยน 

楚国  Chǔ guó     แคว้นฉู่ 

秦国  Qín guó     แคว้นฉิน

战国  Zhànguó   ยุคสงคราม “จั้นกว๋อ”

….

ความรู้เรื่องนี้ ใช้เป็นแนวข้อสอบของ HSK ในหมวดสอบอ่าน

ส่วนในข้อสอบ PAT จีนจะเป็นแนวให้จำว่าตรงกับวันอะไร เกี่ยวข้องกับใคร อาหารประจำเทศกาลคืออะไร มีกิจกรรมอะไร ฯลฯ

แนวข้อสอบ PAT จีน เกี่ยวกับความรู้เรื่องวันตวนหวู่ ออกอะไรบ้าง ?

วัฒนธรรมจีนเรื่องเทศกาลตวนหวู่ (วันขนมบ๊ะจ่าง) เป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งที่ข้อสอบ PAT7.4 (วิชาความถนัดภาษาจีน) ออกสอบบ่อย และเพิ่งออกสอบอีกในรอบ 1/60  

ลองดูตัวอย่างที่เคยออกสอบ

 

เกร็ดประวัติศาสตร์จีน

อาณาจักรแคว้นฉู่โบราณ ปัจจุบันก็คือแถบหูหนาน หูเป่ยทั้งมณฑล ฉงชิ่ง ซั่งไห่ เจ้อเจียง เจียงซู อันฮุย กุ้ยโจว เจียงซี  ซันตุง  ถือว่าเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดของประเทศจีน เนื่องจากความอุมดมสมบูรณ์จึงเป็นพื้นที่ทำสงครามแย่งชิงกันทุกยุคสมัย (ต่อมาดินแดนแถบนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของยุค สามก๊ก) 

河南、湖北、重庆、上海、浙江、江苏、安徽、贵州、江西、山东。

ภาพแผ่นที่แคว้นฉู่ในสมัยจั้นกว๋อ เมื่อสองพันกว่าปีก่อน (ก่อนคริสตศักราช 260 ปี)


ขอบคุณภาพแผนที่จาก 

https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=11909076

..
ยอดอ่าน เกร็ดความรู้ภาษาจีน

Flag Counter


Share Button

ภาพวาดของนักเรียน เล่าตำนานเทศกาลจงชิว – นางฟ้าฉางเอ๋อ

Hits: 7538

 

中秋节快乐!ส่งความสุขเทศกาลจงชิว

中秋节 Zhōng Qiū Jié  The Mid-Autumn Festival

ในประเทศจีน 中秋节 เป็นเทศกาลใหญ่อันดับสองรองจากเทศกาลตรุษจีน

เป็นเทศกาลรื่นเริง ที่นิยมส่งความสุขอวยพรกัน

ที่จีนปัจจุบัน  วันนี้เป็นวันรวมญาติ  มีความหมายลึกซึ้ง

ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการไหว้พระจันทร์

เน้น ที่ 团圆  Tuányuán (อยู่กันพร้อมหน้า) จึงเป็นวันหยุดราชการ

……….

เป็นเทศกาลที่มีความสุนทรีและโรแมนติคมากที่สุดเทศกาลหนึ่งของจีน

……….   

เทศกาลไหว้พระจันทร์ ภาษาจีนใช้คำว่า 中秋节 ซึ่งแปลว่า เทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง  

ในเมืองจีนยังเรียกว่า  团圆节 ด้วย ( วันรวมญาติ)  ไม่ได้มีความหมายว่าไหว้พระจันทร์แต่อย่างใด          

           ในประเทศจีนปัจจุบัน  ความสำคัญและกิจกรรมของเทศกาลไหว้พระจันทร์ได้เปลี่ยนไปมากแล้ว  ไม่ได้มีความหมายอย่างที่เข้าใจอีกต่อไป 

           โดยได้เปลี่ยนจากประเพณีการไหว้พระจันทร์ที่เน้นการบูชาเทพเจ้าที่เคร่งพิธีกรรมมาเป็นการพบปะรวมญาติกิน – เที่ยวในอารมณ์แบบชิลๆ สบายๆ   ชาวจีนในเมืองมีการไหว้พระจันทร์น้อยมาก

…………

            มีตำนานเรื่องเล่าที่เกี่ยวกับเทศกาลนี้หลายเรื่อง เช่นเทพธิดาฉางเอ๋อที่อยู๋บนดวงจันทร์ และเรื่องกระต่ายหยกบนดวงจันทร์ ฯลฯ แต่ตำนานที่เล่าต่อๆ กันมาก็แตกต่างกันไป

            เทพธิดาฉางเอ๋อเป็นภรรยาของเทพเจ้า “โห้วยี่ 后羿” เทพปราบดวงอาทิตย์ที่ยิงดวงอาทิตย์ซึ่งโอรสของเง็กเซียนฮ่องเต้แปลงกายมาทำให้มนุษย์เดือดร้อนดับไป 9 ดวง                     

…..

ประเพณี  วัฒนธรรม ตำนาน อาหาร เกี่ยวกับเทศกาลจงชิว

เป็นหัวข้อหนึ่งในการออกสอบบ่อยใน HSK และ PAT จีน

เช่น ถามว่า

- เทศกาลประเพณีที่สำคัญอันดับสองของจีน คือ เทศกาลอะไร

- เทศกาลนี้มีความหมายอย่างไร

- ตรงกับวันที่เท่าไหร่ของปี

- มีประเพณีทำอะไร

- เทพธิดาองค์ไหนที่เกี่ยวกับเทศกาลนี้

- มีอาหารประจำเทศกาลอะไร ฯลฯ

………

เพื่อนๆ ลองมาฝึกอ่านข้อความภาษาจีนที่น้องๆ เขียนบรรยายภาพไว้ค่ะ

จะช่วยให้เราค่อยๆ จำไปทีละส่วนได้อย่างง่ายดาย

ภาพวาดแสดงตำนานเรื่องวันไหว้พระจันทร์ นางฟ้าฉางเอ๋อ 嫦娥

嫦娥 เป็นหนึ่งในชื่อนางฟ้าที่ชาวจีนคุ้นเคย จึงนำไปตั้งเป็นชื่อยานอวกาศในปัจจุบัน

ภาพแรก ผลงานของน้องแบม 王妙玲同学

นักเรียนฟิวเจอร์ซีี วาดไว้เมื่อปีที่แล้ว ตอนน้องเรียนอยู่ ม.4

………………

น้องแบมเขียนบรรยายภาษาจีนไว้ว่า

中秋节是中国重要的节日之一。

中秋节是每年的八月十五日。

有一个关于中秋节故事的传说。

นอกจากข้อความข้างบนแล้ว น้องแบมเขียนบรรยายต่อไปอีกว่า

ตามตำนาน บนดวงจันทร์มีเทพธิดา “ฉางเอ๋อ” อยู่ เธอเป็นผู้หญิงที่งดงามมาก

เธอมีกระต่ายน้อยตัวหนึ่ง 

บ้านเกิดของฉางเอ๋ออยู่โลกมนุษย์  เมื่อถึงคืนวันเทศกาลจงชิว

เทพธิดาฉางเอ๋อกับน้องกระต่ายก็จะนั่งอยู่ใต้ต้นอบเชย มองดูคนในโลกมนุษย์

 

 

ภาพที่สอง ผลงานของน้องนิวส์  刘芝雅同学

นักเรียนฟิวเจอร์ซีี วาดไว้เมื่อปีที่แล้ว ตอนน้องเรียนอยู่ ม.4

น้องนิวส์ บรรยายภาพไว้ว่า

.…..在月亮上有一位很美丽的仙女,叫嫦娥。

บนดวงจันทร์มีเทพธิดาที่สวยมากองค์หนึ่งอาศัยอยู่ ชื่อฉางเอ๋อ

……中秋节是合家团圆的日子。

เทศกาลจงชิว เป็นวันรวมญาติของครอบครัว

และบนดวงจันทร์มีเทพธิดาฉางเอ๋ออาศัยอยู่กับกระต่ายน้อยตัวหนึ่ง

ที่เธอต้องไปอยู่บนดวงจันทร์ เพราะเธอได้กลืนยาอายุวัฒนะลงไป….

 

 

 

สุวรรณา สนเที่ยง 张碧云

 

ภาพประกอบ

น้องแบม น้องนิวส์

นักเรียนของศูนย์ภาษาจีนฟิวเจอร์ซี

วาดไว้เมื่อเดือนกันยายน ปี 2015

www.futurec-cn.com

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย

เผยแพร่เพื่อการศึกษา อนุญาตให้แชร์โดยตรงจากลิงค์นี้ ไม่เพื่อการค้า

ไม่อนุญาตให้ก็อปภาพหรือเรื่องไปแยกเผยแพร่ต่อ

 

เรียนรู้ประเพณีเกี่ยวกับเทศกาลจงชิว เพิ่มเติม อ่านที่นี่ค่ะ

วันไหว้พระจันทร์ ในมิติของคนจีนแผ่นดินใหญ่ปัจจุบัน
http://www.oknation.net/blog/chineseclub/2011/09/12/entry-1

 

๑๑๑๑๑

 

 

ดูเกร็ดความรู้ภาษาจีนเพิ่มเติม (คลิกที่นี่)

 

อ่านเรื่องเกร็ดภาษาจีน  หวังว่าทุกคลิกของท่านจะได้รับประโยชน์จากบทความเหล่านี้

Flag Counter


Share Button

คำมงคลจีนยอดนิยม 四季興隆 รุ่งเรืองตลอดปี การค้าเจริญรุ่งเรือง

Hits: 97826
。。。
อักษรจีนยอดนิยม ที่ชอบติดไว้ตามร้านค้า
มีคนถามบ่อยว่า แปลว่าอะไร ?
。。。

 

四季興隆 
Sìjì xīnglóng ซื่อจี้ซิ้งหลุง 
รุ่งเรืองตลอดปี เฟื่องฟูทั้งสี่ฤดู การค้าเจริญรุ่งเรือง
四季興隆ถ้าแปลตรงตัว ก็คือ เจริญรุ่งเรืองตลอดทั้งสี่ฤดู  แต่คำไทยเราไม่นิยมพูดแบบนี้

คำว่า 四季 Sìjì แปลว่า ทั้งสี่ฤดู (จีนปีหนึ่งแบ่งเป็น 4 ฤดู) จึงหมายถึง “ตลอดปี”  คำว่า xīng ก็คือคำว่า “เฮง” ในภาษาแต้จิ๋ว  เป็นอักษรจีนตัวเต็ม (ตัวย่อ คือ 兴)
คำว่า แปลว่าเจริญรุ่งเรือง เฟื่องฟู 

สำเนียงจีนกลาง ออกเสียงว่า “หลุง”สำเนียงจีนแต้จิ๋วออกเสียงว่า “ล้ง”

สำเนียงจีนฮากกาออกเสียงว่า “หลุ่ง”


ส่วนคำไทยก็มีคำว่า “รุ่ง” ที่ใช้ในความหมายคล้ายกัน 
ภาษาไทยหลายๆ คำอาจมีที่มาจากภาษาจีน
อันนี้เป็นข้อสังเกตส่วนตัวของเหล่าซือเองที่ได้จากการศึกษาภาษาจีน-ไทย และนำมาเปรียบเทียบกัน

興隆 xīnglóng  
เหล่าซือก็แปลเป็นแบบบ้านๆ ว่า เฮงเองๆ รวยรวย เจิรญรุ่งเรือง  
ภาษาอังกฤษแปลว่า prosperous,flourishing เจริญ เฟื่องฟู
…..
小提示 Tips:
เกร็ดภาษาจีน

(1) 興 (兴) เป็นอักษรจีนยอดนิยมในการตั้งชื่อร้านค้า ชื่อบริษัท ชื่อคนในประเทศไทยและย่านคนจีนในประเทศต่างๆ ทั่วโลก 
ภาษาจีนสำเนียงแต้จิ๋วออกเสียงว่า “เฮง”  
จีนฮากกาออกเสียงว่า “ฮิน”
(2) 興 (兴) เป็นอักษรจีนหลากเสียง เป็นคำพ้องรูปที่อ่านได้หลายเสียง 
     คำที่นักเรียนต่างชาติได้เรียนในขั้นต้น
คือ คำว่า 高兴 (แปลว่า ดีใจ) ออกเสียงว่า เก๊าซิ่ง (ซิ่ง – เทียบได้กับวรรณยุกต์เสียงโทในภาษาไทย)
      興 (兴) ที่แปลว่า เฮง รุ่งเรือง ออกเสียงว่า ซิ้ง (เทียบได้กับวรรณยุกต์เสียงตรีในภาษาไทย – เสียงสูงกว่า ซิง
ขอให้คนเขียน คนอ่าน คนแชร์ เฮงๆ รวยๆ รุ่งๆ ค่ะ

สุวรรณา สนเที่ยง 张碧云

ภาพประกอบ เหล่าซือถ่ายจากหน้าร้านอาหารแห่งหนึ่งในจังหวัดตรัง

๑๑๑๑๑

 

 

ดูเกร็ดความรู้ภาษาจีนเพิ่มเติม (คลิกที่นี่)
อ่านเรื่องเกร็ดภาษาจีน  หวังว่าทุกคลิกของท่านจะได้รับประโยชน์จากบทความเหล่านี้

Flag Counter


Share Button
Hits: 26917

ลูกท้อ และ ดอกท้อ 桃花 (Peach)

เป็นผลไม้และดอกไม้ที่ผูกพันกับคนจีน  ปรากฎชื่ออยู่ในวรรณกรรมจีนมาช้านาน  

เช่น  “เห้งเจีย” ในเรื่อง “ไซอิ๋ว” ไปลักกินลูกท้อพันปีของเจ้าแม่หวังหมู่ จนต้องถูกลงโทษ

ลูกท้อ ถือว่า เป็นผลไม้มงคลอย่างหนึ่ง

หังโจว เป็นถิ่นของดอกท้อ

“กิมย้ง(金庸)” นักวรรณกรรมจีนยุคใหม่ เจ้าของนวนิยายกำลังภายในที่โด่งดังหลายเรื่อง ซึ่งมีบ้านเกิดที่เมืองหังโจว ต่อมาอพยพไปอยู่ฮ่องกง 

ท่านคงรู้สึกผูกพันกับดอกท้อ จึงได้นำเอา “เกาะดอกท้อ (桃花岛)“ ซึ่งเป็นสถานที่แห่งหนึ่งในมณฑลเจ้อเจียง ไปใส่ไว้ในวรรณกรรมของท่าน เรื่อง “มังกรหยก 射雕英雄传”


เกาะดอกท้อ (ตามเรื่องของกิมย้ง) เป็นถิ่นของอึ้งเยียะซือ – มารบูรพา (黄药师 – 东邪)พ่อของ อึ้งย้ง(黄蓉) 

เหล่าซือจำขึ้นใจว่า “桃花开放在春天” (ดอกท้อบานในฤดูใบไม้ผลิ) เพราะชอบร้องเพลงเก่าเพลงหนึ่งที่พรรณาเรื่องชนิดดอกไม้ที่บานในฤดูต่างๆ

เขียนโดย เหล่าซือสุวรรณา

 

เก็บรวบรวมจาก Facebook:  Suwanna Future C

ขอบคุณภาพประกอบจาก  https://www.facebook.com/Hangzhou.China

Cr. photo from : 杭州 HANGZHOU,CHINA)

Thao hua 1

 

ภาพดอกท้อกลางเดือนมีนา 2015

 

TAOHUA 2

 

ภาพดอกท้อต้นเดือนมีนา 2015

 

TAOHUA Meihua in ICE

ภาพดอกไม้ที่หังโจว กลางเดือนกุมภาพันธ์  2015 (ไม่แน่ชัดว่าเป็นดอกเหมยหรือดอกท้อ)

……………………………….

อัพเดท 13 เมษายน 2015

สองภาพหลังนี้ เป็นภาพดอกท้อ เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2015 ที่มณฑลเหอเป่ย 

ภาพจาก Ecns.cn 中新网

ดอกเหมย 2

 

ในขณะที่บ้านเราร้อนมากๆ ทางเหนือของจีนยังเป็นน้ำแข็งอยู่เลย
ดอกท้อในน้ำแข็ง 冰中桃花
ภาพจากเมื่อง จางเจียโข่ว  มณฑลเหอเป่ย ประเทศจีน 中国河北省张家口市
เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2015

Icicles form on peach blossoms amid a sudden drop in temperature in Zhangjiakou, North China’s Hebei province, April 12, 2015.

(Photo: China News Service/Chen Xiaodong)

http://www.ecns.cn/visual/hd/2015/04-13/63280.shtml

 

ดอกท้อ 1

ข้อมูลเพิ่มเติมจาก วิกิพีเดีย

ท้อ  เป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน จัดเป็นไม้พุ่มผลัดใบ อยู่ในสกุล  Prunus  เป็นสกุลเดียวกันกับ ซากุระ, บ๊วย, เชอร์รี่ และ นางพญาเสือโคร่ง 

 

TAOHUA ISLAND

ภาพเกาะดอกท้อ ในมณฑลเจ้อเเจียง ประเทศจีน

ขอบคุณภาพนี้จาก http://news.yooyo.com/domestic-s-2636-1.html

 

………………………………………..

ดอกท้อ 桃花 (Peach) กับ  ดอกเหมย (梅花)

ต่างก็เป็นดอกไม้ที่มีความแนบแน่นกับวัฒนธรรมของชาวจีนเป็นอย่างมาก  

และก็เป็นพันธุ์ดอกไม้ที่คล้ายคลึงกันมาก

 

ภาพต่อจากนี้เป็นภาพของดอกเหมย (梅花)

Mei Hua 1

 

Meihua 5

 

Meihua 3

 

Meihua 6

 

Mei hua 4

 

อ่านเรื่องนี้

 

 

เกร็ดวัฒนธรรมจีน 中国文化点滴

Flag Counter

เพื่อนของเรา


Share Button
Hits: 6111

ตรุษจีน ปี 2015 ปีมะแม

ขอมอบคำอวยพรตรุษจีนปีแพะด้วยหนึ่งในคำยอดฮิตประจำปี  

จาก “เหล่าซือสุวรรณา” และทีม “ฟิวเจอร์ซี” 

喜气洋洋 !(สี่ชี่หยางหยาง )

ขอให้มีความสุขมหาศาลดุจมหาสมุทร 

คำว่า “มะแม” หรือ ” 羊 แพะ ” ภาษาจีนออกเสียงว่า Yáng “หยาง”

(ออกเสียงควบ “หยีเอี๋ยง” หยีก่อนค่อยเอี๋ยง)

คำนี้มาจากคำพ้องเสียง ของ 洋 (มหาสมุทร) กับ 羊 (แพะ) 

 

คลิกชมคลิบเสียงสั้นๆ ที่

  https://www.facebook.com/video.php?v=1013531982012342&l=3114100600315048279

 

 

คลิบนี้ยังไม่สมบูรณ์ ถ่ายตอนน้องๆ ซ้อมพูด

จะมีอีกคลิปหนึ่งตามมาเร็วๆ นี้นะคะ

เดรดิต น้องกวางตุ้ง น้องปิ่น น้องดิว น้องกล น้องรูท

10981616_1017426811622859_3147291214267814353_n

………………………………………

 

วันตรุษจีน  เราเริ่มต้นด้วยการ คิด พูด ทำ ในสิ่งดีๆ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตนะคะ

วันตรุษจีน คนจีนก็จะถือ ไม่ให้พูดเรื่องไม่ดี ไม่เป็นมงคล ไม่พูดคำหยาบค่ะ

ชีวิตจะได้ดีๆ ไปตลอด

 

ความหวังตรุษจีน 2015

ขอทุกครอบครัวมีความอุดมสมบูรณ์ สามัคคีกลมเกลียว หวานชื่นเหมือนพวงองุ่น

มีแต่เรื่องมงคลดีๆ ผ่านเข้ามาค่ะ

ขอให้เพื่อนๆ  สุขภาพแข็งแรง  

การเรียนการงานก้าวหน้า

ขอให้สมหวังตามที่หวัง ( แต่ต้องออกแรงทำด้วย ) 

เฮงเฮง  หวังโชคชะตาอย่างเดียวไม่พอ  ต้องมาจากหนึ่งสมองสองมือสองเท้า

ใครเรียนภาษาจีน ขอให้เรียนสำเร็จ  

ใครกำลังรอผลสอบเอนท์ฯ ขอให้สอบติดคณะที่ต้องการ 

ใครขอทุนขอให้ได้ทุน 

ใครกำลังมีความรัก ขอให้ได้คนที่ใช่

ใครที่กำลังหาประสบการณ์ทำงาน ขอให้ได้งานดีๆ

ใครที่กำลังจะจบโทจบเอก ขอให้ทำวิทยานิพนธ์ออกมาได้ดีเยี่ยม

 

คารวะด้วยความเคารพ

  IMG_6123

เกร็ดวัฒนธรรมจีน

องุ่นพวง สัญลักษณ์ลูกหลานดี สามัคคี

ส้ม พ้องเสียงกับ คำว่า 大吉 สิริมงคล สัญลักษณ์สิริมงคล เฮงเฮง โชคดี

IMG_6107

      IMG_6044

IMG_6085

 

 

บทความนี้เขียนโดย สุวรรณา สนเที่ยง

19 กุมภาพันธ์ 2015

สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์

ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย.

 

………………………….

คำอวยพรยอดฮิตปีมะเมีย (ปีม้า) 2014 马到功成 คลิกดูเรื่องเดิมที่

คำอวยพรยอดฮิตปีม้า 2014 (คลิกที่นี่)

เหล่าซือพาเด็กๆ น่ารักๆ มาอวยพรตรุษจีนค่ะ 年年有余! 马到功成!

http://www.oknation.net/blog/chineseclub/2014/01/30/entry-2

 

เกร็ดวัฒนธรรมจีน
Flag Counter

Flag Counter


Share Button
Hits: 9693

 

กรณีศึกษา

จากการที่ นางซูซาน แครมเมอร์ รัฐมนตรีคมนาคมอังกฤษ ได้มอบนาฬิกาเป็นของขวัญแก่นาย เคอ เหวิน เจ๋อ ( 柯文哲) นายกเทศมนตรีนครไทเป ของไต้หวัน เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2015 ที่ผ่านมา  (เรื่องนี้เกิดที่ไต้หวัน ไม่ใช่เกิดที่จีนแผ่นดินใหญ่)

โดยไม่ทราบว่า การให้นาฬิกาเป็นสิ่งต้องห้ามในธรรมเนียมจีน 

ซึ่งนาย เคอ เหวิน เจ๋อ ( 柯文哲) ถึงกับกล่าวว่า นาฬิกาที่ได้รับมานี้  เขาอาจเอาไปชั่งกิโลขายเป็นเศษเหล็กก็ได้ เพราะว่ามันไม่มีประโยชน์สำหรับเขา

( 柯文哲表示,至於外賓送的懷錶,柯則笑說他會轉送給別人,不然可以拿去破銅爛鐵賣點錢,「因為那個對我來說沒有用」。)

 

จึงกลายเป็นข่าวไปทั่วโลก 

แม้ในเวลาต่อมา นางซูซาน แครมเมอร์  ได้กล่าวขอโทษในความผิดพลาดครั้งนี้ และ นายเคอ เหวิน เจ๋อ ก็ให้สัมภาษณ์ว่า เขาแค่พูดเล่น ไม่ได้จริงจัง เนื่องจากครอบครัวเขาเป็นหมอ ไม่ถือสาเรื่องแบบนี้ และภรรยาของท่านก็บอกว่า ของขวัญนี้เขามอบให้กับนครไทเป ไม่ใช่มอบให้ส่วนบุคคล … 

แต่ก็เป็นอุทาหรณ์บทเรียนด้านกลับสำหรับคนทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้นำประเทศและนักการทูต

เรื่องธรรมเนียม  เรื่องต้องห้ามของแต่ละชาติ  เป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่จำเป็นต้องเรียนรู้  ตั้งแต่ระดับการคบเพื่อนต่างชาติ การติดต่อค้าขาย จนกระทั่งถึงระดับชาติ ระดับประเทศ  ถ้าไม่รู้ก็อาจ “เป็นเรื่อง” ได้ 

เรื่องการมอบนาฬิกาให้ เป็นเรื่องหนึ่งที่ต้องบอกนักเรียนเสมอๆ  เพราะยังมีคนจำนวนมากไม่รู้ว่ามีคนจีนถือเรื่องนี้

เนื่องจากคำว่า  送钟 พ้องเสียงกับ 送终 Sòngzhōng ที่หมายถึง “การที่ลูกหลานน้อมส่งญาติผู้ใหญ่ขณะสิ้นใจ”  ดังนั้น การให้นาฬิกา ในสำนวนไทยๆ ก็อาจคล้ายกับ แช่ง 

ในคลาสของเหล่าซือ  จะเรียนเรื่องวัฒนธรรมควบคู่ไปกับการเรียนภาษา

เพราะการเรียนภาษาอย่างเดียว แต่ไม่รู้ธรรมเนียม ไม่รู้มารยาท

อาจไปทำอะไรที่ขัดใจหรือสร้างความไม่พอใจให้กับอีกฝ่ายโดยไม่รู้ตัวก็ได้ 

 

     

        เหล่าซือเคยทำงานในสถานทูต (ประเทศยุโรปชาติหนึ่ง) มาก่อน ทราบว่าปกตินักการทูตและที่ปรึกษาแต่ละกระทรวงที่จะส่งมาประจำในเมืองไทย ต้องมีการศึกษาวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีไทยก่อนที่จะเดินทางมารับตำแหน่ง 

         และจะมีเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น (คนไทย) คอยให้ข้อมูลด้านต่างๆ  ตอนนั้นเหล่าซือทำหน้าที่เป็นล่ามภาษาจีนและให้ข้อมูลเรื่องวัฒนธรรม แนวคิดและอะไรที่เกี่ยวกับจีนๆ 

         แม้ว่ายุคนี้อาจมีคนจำนวนมากไม่ถือเรื่องต้องห้าม หรือ ความเชื่อเรื่องตัวเลข กันแล้ว 

         แต่อย่างไรก็ตาม  เราก็ยังน่าจะหลีกเลี่ยงสิ่งที่อาจทำให้เกิดความไม่สบายใจได้  เช่น  ตึกและคอนโดในไทยส่วนใหญ่ไม่มีชั้นที่ 13   บางตึกและบางอาคารในจีนไม่มีชั้น 4 ….

         คนไทยถือว่าดอกหน้าวัวเป็นดอกไม้อัปมงคล  ใช้ในงานศพ  ไม่เหมาะที่จะมอบให้ในงานวันเกิด

         แม้ยุคสมัยจะเปลี่ยนไป ดอกหน้าวัวกลายเป็นพืชเศรษฐกิจ  แต่ก็ควรจะหลีกเลี่ยงในการให้ในงานมงคล

………………………….

 

ขออ้างอิงบางตอนจากบทความชิ้นหนึ่งของบีบีซีภาษาไทยหลังเหตุกาณ์มอบนาฬิกา เกิดขึ้นที่ไต้หวัน 

บทความเขียนไว้ว่า


…… นายวิลเลียม แฮนสัน ผู้เชี่ยวชาญด้านมารยาทกล่าวว่าของขวัญทางการทูตนั้น มักจะเป็นที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้าก่อน และไม่ว่าอย่างไรก็ตาม “ควรจะต้องศึกษาธรรมเนียมไว้ล่วงหน้า”

….. ในเกือบทุก ๆ วัฒนธรรม จะมีข้อห้ามที่เกี่ยวข้องกับเรื่องความตาย เลข 4 เป็นสัญลักษณ์ของความโชคร้ายในจีน เพราะคำนี้มีเสียงพ้องกับคำว่าความตาย ขณะที่เลข 8 เป็นสัญลักษณ์ของความโชคดี เพราะมีเสียงที่พ้องกับคำว่าความร่ำรวย

ในอังกฤษ คนมักจะไม่ให้มีดเป็นของขวัญ เพราะถือเป็นลางว่ามิตรภาพจะถูกตัดรอน เช่นเดียวกันกับประเทศญี่ปุ่น ที่การให้มีดแก่เพื่อนร่วมงานอาจถูกตีความได้ว่าแนะนำให้คนนั้นไปฆ่าตัวตายเสีย

……………………………………….

 

ความเห็นส่วนตัวเหล่าซือ

เรื่องการมอบของขวัญที่เป็นทางการต้องแยกเป็น 2 ฝ่าย  คือ ฝ่ายผู้รับ กับ ฝ่ายผู้ให้

ฝ่ายผู้รับ เหล่าซือคิดเองว่าคนจีนส่วนใหญ่คงให้อภัย “ผู้ที่ไม่รู้ธรรมเนียม” แต่ความไม่สบายใจคงจะมี ถ้าในระดับการค้า ก็อาจกระทบต่อการติดต่อค้าขาย กระทบความสัมพันธ์ในอนาคต 

ฝ่ายผู้ให้  ไม่ว่าจะระดับเพื่อนหรือระดับติดต่อธุรกิจ  ก็เป็นเรื่องที่ควรสนใจเรียนรู้ธรรมเนียมของอีกฝ่าย

   

ถึงแม้ที่บ้านเหล่าซือไม่ค่อยได้ถืออะไรมาก  แต่ในคลาสเรียนของเหล่าซือ  จะสอดแทรกวิธีคิด และขนบธรรมเนียมของคนจีนไว้ด้วย  เพื่อความ “เข้าใจจีน”  แต่เหล่าซือไม่ได้เน้นแนวพิธีกรรมไหว้เจ้าอะไรมากมาย

 

บทความนี้เขียนโดย สุวรรณา สนเที่ยง

28 มกราคม 2015

สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์

ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย.

……………….

 

หมายเหตุ

บทความนี้ได้โพสต์ที่  โอเคเนชั่นบล็อก เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2558 (2015)

Posted by เหล่าซือสุวรรณา , ผู้อ่าน : 43973 , 20:07:56 น.

 

ขอขอบคุณ ท่านผู้อ่านที่แชร์และร่วมแสดงความเห็นในเฟชบุ๊คของ Nation Channel เกี่ยวกับบทความนี้

เสียดายที่ดิฉันไม่สามารถตามไปอ่านได้ทุกคอมเมนท์  จึงได้เพิ่มช่องทางให้ท่านแสดงความเห็นผ่านเฟชบุ๊คในบล็อกนี้ไว้ด้วย

………………………………………………

ขอขอบคุณ

กองบรรณาธิการโอเคเนชั่นบล็อก ที่กรุณาแนะนำเรื่องนี้ในหน้าหนึ่ง

 

ขอขอบคุณ

เฟชบุ๊ค Nation Channel ที่กรุณาช่วยเผยแพร่บทความนี้ วันที่ 29 มกราคม 2558

Nation Channel rec 20.00 29 Jan 2015

 

บทความนี้ บางตอนอ้างอิงจากข่าวและภาพประกอบ จาก บีบีซี ภาษาจีน

http://www.bbc.co.uk/zhongwen/simp/china/2015/01/150126_taibei_mayor_gift

 

ข้อเขียนนี้บางตอนอ้างอิงคำให้สัมภาษณ์ของนายเคอเหวินเจ๋อ ใน 苹果时报 ไต้หวัน

http://www.appledaily.com.tw/realtimenews/article/new/20150126/548843/

และ เพจ บีบีซีไทย – BBC Thai https://www.facebook.com/BBCThai?pnref=story

วันที่ 28 มกราคม 2015  08.00

 

#คำพ้องเสียง #谐音字 #送终 #ธรรมเนียมจีน วัฒนธรรมจีน

 

 

อ่านเรื่องเกร็ดภาษาจีน  หวังว่าทุกคลิกของท่านจะได้รับประโยชน์จากบทความเหล่านี้

Flag Counter


Share Button
Hits: 9669

       ทราบหรือไม่  ภูมิปัญญาจีนโบราณที่ล้ำลึกอย่างหนึ่ง ก็คือการแบ่งช่วงพยากรณ์อากาศของแต่ละปีไว้อย่างละเอียดยิบ  

       โดยแบ่งสภาพอากาศเป็น 二十四节气 ( The 24 solar terms 24 ช่วงการเปลี่ยนแปลงดินฟ้าอากาศ หรือที่เรียกว่า 24 ฤดูลักษณ์)

ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงอารยธรรมลุ่มน้ำฮว๋างเหอ (ฮวงโห) เมื่อหลายพันปีก่อน

       二十四节气 นี้  เกิดจากการสังเกตและบันทึกดินฟ้าอากาศของชาวจีนนับร้อยนับพันปี  

จนสามารถคำนวนวัน – การตั้งฉากของดวงอาทิตย์ และคาดการณ์สภาพอากาศได้ค่อนข้างแม่นยำ 

เป็นสถิติที่เป็นประโยชน์ต่อการวางแผนเพาะปลูกในสังคมเกษตรตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน  

และยังเป็นประโยชน์ต่อการพยากรณ์อากาศและชีวิตประจำวันของชาวจีนปัจจุบันด้วย


ตัวอย่างเช่น เมื่อวันนี้ 7 สิงหาคม 2014 ที่ผ่านมา  เป็นวัน 立秋 (Start of Autumn ตั้งแต่เวลา 22 時 2 分 เท่ากับ 22.02 นาที – ละเอียดยิบจริงๆ )

ตามปฎิทินจันทรคติจีน  ถือว่าเป็นวันแรกที่สภาพอากาศในจีนเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง

นับจากนี้ไปอีก 1 เดือนเศษ ( 8 กันยายน) ก็จะถึงวันที่เรียกว่า 中秋节 (วันสารทกลางฤดูใบไม้ร่วง)

หรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อว่า “วันไหว้พระจันทร์” นั่นเอง

 

 

(感谢图片来源: 知乎  ภาพประกอบจาก  https://zhuanlan.zhihu.com/p/338838166)

………

วันสำคัญที่มีความหมายด้านสภาพอากาศอีกวันคือ วัน 春分 (วันชุนเฟิน วันวสันตวิษุวัต) ตาม 24 节气 (24 ฤดูลักษณ์ของจีน) เป็นวันที่กลางวันกับกลางคืนยาวเท่ากัน ต่อจากวันนี้สภาพอากาศในจีนจะอุ่นขึ้น (กลางวันยาวกว่ากลางคืน)
วัน 春分 (วันชุนเฟิน) ตรงกับวันที่ 20 หรือ 21 มีนาคมของทุกปี ถือว่าอากาศในจีนเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิแล้ว มวลดอกไม้จะเบ่งบาน อากศไม่หนาวเกิน เหมาะกับการเดินทาง ชาวจีนจะเริ่มนัดญาติ ๆ ไปทำความสะอาดสุสานและเซ่นไหว้บรรพชน จนกระทั่งถึง เชงเม้ง (清明节)
****ในทางความเชื่อ
ชาวจีนโบราณถือวัน 春分 เป็นวันเริ่มต้นที่ดวงวิญญาณของผู้ล่วงลับจะออกมาได้ จนถึงกลางเดือน 3 ตามปฏิทินจันทรคติจีน
ลูกหลานจึงเริ่มไปทำความสะอาดฮวงจุ้ย เซ่นไหว้บรรพชนได้ เป็นการเริ่มต้นเทศกาลเชงเม้ง
ภาพประกอบจาก CCTV.com
May be a closeup of flower and nature

 

…..

อัพเดทเพิ่มเติม วันที่ 24 กันยายน 2014

วันที่ 23 กันยายน 2014 ที่ผ่านมา  เป็นวัน 秋分  หมายถึงฤดูชิวเทียน (ใบไม้ร่วง) ได้ผ่านมาแล้วครึ่งหนึ่ง

วัน  秋分 มักจะตรงกับวันที่ 22  23 หรือ 24  กันยายนของทุกปี  

วันนี้เป็นวันที่ประเทศจีนมีช่วงกลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน  หลังจากนี้ช่วงกลางคืนจะยาวกว่ากลางวัน  

อากาศจะเริ่มเย็นลงเรื่อยๆ  ใบไม้เริ่มเปลี่ยนเป็นสีแดงและสีเหลืองก่อนที่จะร่วงลงตามชื่อ  “ฤดูใบไม้ร่วง”


秋分,农历二十四节气中的第十六个节气,时间一般为每年的 9 月 22 日 ~ 24 日。秋分之 “分” 是 “半” 的意思.
二十四节气之秋分 Autumn Equinox in 24 Solar Terms

 

เรื่องและภาพโดย สุวรรณา สนเที่ยง

สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย.

 

…………………….

อัพเดทเพิ่มเติม (ข้อความจาก facebook fanpage ของ  Suwanna Future C 21 มิถุนายน 2016 / 2559)
วันนี้เป็นวัน《夏至》Summer Solstice  

ซึ่งเป็น 1 ใน 24 (二十四节气)ของการเปลี่ยนแปลงสภาพดินฟ้าอากาศของประเทศจีน ที่มาจากการสังเกตดินฟ้าอากาศและดาราศาสตร์มาแต่โบราณจนกลายเป็นองค์ความรู้
โดยปี 2016 ตรงกับวันที่ 21 มิถุนายน   ตามปฏิทินจันทรคติของจีนตรงกับ 农历 2016 年五月十七日

นับตั้งแต่วัน《夏至》นี้ ในประเทศจีนจะเข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการ 
จากบันทึก ชาวจีนยังพบว่า ในวัน《夏至》ของทุกปี มักจะมีฝนตกด้วย


วัน《夏至》เป็นวันที่ช่วงกลางวันยาวที่สุดของจีน

บางเมืองเช่นเมืองอู่ฮั่น ช่วงกลางวันจะยาวถึง 14 ชั่วโมง 8 นาที ที่ปักกิ่งกลางวันยาวถึง 15 ชั่วโมงเลยทีเดียว

 

Photo 夏至

……….

บันทึกเพื่อจำเป็นสถิติ

ในเมืองไทย ไม่มีวัน《夏至》แต่วันนี้ วันที่ 21 มิถุนายน 2559 ที่กรุงเทพฯ ก็เป็น
“วันฝนตกหนัก”
“วันน้ำท่วม กทม.”
“วันรถติดหนักสุดแห่งปี”
“วันรอรถนานสุดแห่งปี”
“วันใช้เวลาเดินทางนานสุดแห่งปี”

เนื่องจากมีฝนตกหนักทั่วพื้นที่กรุงเทพมหานครตั้งแต่บ่ายวันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน และเช้ามืดของวันอังคารที่ 21 มิถุนายน

ทำให้เกิดน้ำท่วมตามพื้นที่และถนนต่างๆ 

………………

เกร็ดความรู้วัฒนธรรมจีน ภูมิปัญญาจีน

ยอดอ่าน เกร็ดวัฒนธรรมจีนจากฟิวเจอร์ซี

Flag Counter


Share Button
Hits: 13673
中国文化: 服装 (fúzhuāng)
ทราบหรือไม่ ชุดประจำชาติหญิงจีนดั้งเดิม ไม่ใช่ “กี่เพ้า” ที่ใส่กันในวันนี้
  
วัฒนธรรมจีน การแต่งกายของหญิงจีนในช่วง 2500 ปีที่ผ่านมา
 
ชุดจีนเป็นวัฒนธรรมจีนอีกอย่างหนึ่งซึ่งโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ และเป็นที่น่าจดจำของคนทั่วโลก
วันนี้เปิดเจอภาพวาดที่น่าสนใจของผู้หญิงคนหนึ่ง ชื่อว่าคุณ Nancy Duong
เธอรวบรวมข้อมูลจากหนังสือ “5,000 Years of Chinese Costumes”
ทั้งยังศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมจีนอย่างละเอียด
สามารถเข้าไปดูฉบับเต็มซึ่งมีทั้งหมด 21 ยุคสมัย ได้ที่ >> http://bit.ly/WlIoRE 
ซึ่งในนั้นเธอได้อธิบายว่า
“เครื่องแต่งกายจีนมีประวัติศาสตร์ยาวนานประมาณ 5 พันปี แต่ที่ฉันวาดไว้ในนี้ครอบคลุมได้แค่ 2,500 ปีเท่านั้น”
เริ่มตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฉิน (秦) มาจนถึงจีนยุคหลัง
ซึ่งก็นับว่าสุดยอดแล้วล่ะค่ะ
ผู้วาดได้โพสต์ภาพเหล่านี้ลงในเว็บบล็อค Tumblr เพื่อให้ความรู้ในวงกว้าง ปรากฏว่ามีคนแสดงความคิดเห็นและนำไปแชร์ต่อถึง 54,958 notes นอกจากนี้เธอยังมีเว็บไซต์ของตัวเอง http://www.iridescentdream.com มีภาพวาดแสดงถึงลักษณะทรงผมแบบจีนในยุคต่างๆ, เครื่องแต่งกายผู้ชายจีน, เครื่องแต่งกายแบบเวียดนาม ฯลฯ อีกด้วยค่ะ
 
    ชุดจีนเป็นต้นตำรับที่มีอิทธิพลต่อชุดประจำชาติในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม เกาหลี ญี่ปุ่น ฯลฯ 
ภาพแรก (บน)
เริ่มจากชุดแรก แดงเหลือง เป็รชุดในสมัยราชวงศ์ฉิน 秦朝 ก่อนคริตศักราช 221 ปี ( 2215 ปีก่อนโดยประมาณ)
ชุดกลาง เขียวเหลือง  การแต่งกายสมัยราชวงศ์ถัง ประมาณ 1400 ปีที่แล้ว
ชุดที่สาม กี่เพ้าสีฟ้า ยุคใกล้ ก่อนปี 1949 ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งใหญ่ในจีน 

 

 

 

 

 

ปล.

1. ชุดจีนปัจจุบันที่เรียกว่า กี่เพ้า (旗袍 ฉีเผา) นั้น ไม่ใช่ชุดแต่งกายของชาวจีนฮั่น  แต่เป็นชุดแต่งกายของหญิงชาวแมนจู (满族 หมั่นจู๋) ซึ่งเผยแพร่เข้ามาในจีนช่วงที่ชาวแมนจูปกครองจีนในสมัยราชวงศ์ชิง

2. ตามความเข้าใจ การเปลี่ยนแปลงของเครื่องแต่งกายจีน มีปัจจัยมาจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากการย้ายเมืองหลวง ขึ้นอยู่กับในแต่ละช่วงสภาพอากาศ และอิทธิพลจากการที่ชาวจีนฮั่นถูกปกครองโดยชนกลุ่มน้อยทางภาคเหนือ เช่น ยุคราชวงศ์ฉิน เมืองหลวงอยู่ที่ซีอาน อากาศหนาวและแห้งแล้ง ยุคราชวงศ์หยวน ถูกปกครองโดยชาวมองโกล ก็มีกลิ่นอายการแต่งกายแบบมองโกลผสม  ยุคราชวงศ์ชิง ถูกปกครองโดยชาวแมนจู  การแต่งกายแบบจีนฮั่นจึงเปลี่ยนมาเป็นแบบแมนจู 

ปล. เรื่องนี้เขียนโดย หมิว คัดจาก Suwanna Future C
ภาพจาก http://bit.ly/WlIoRE 
 
………………….
 

 

Flag Counter


Share Button

“开门 7 件大事” 柴 米 油 盐 酱 醋 茶 ฟืน ข้าวสาร น้ำมัน เกลือ ซอส น้ำส้มสายชู และ ชา

Hits: 7155

ความรัก งอกขึ้นจากการเอาใจใส่ในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวัน  หรือจากกุหลาบสวยๆ วาเลนไทม์ ? 

ขอมอบเพลงนี้แด่ทุกคู่ชีวิตที่ดูแลกันตั้งแต่หนุ่มสาวจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต  

ขอมอบเพลงนี้ให้แก่ทุกคนที่ห่วงใยกัน ในโอกาสเดือนแห่งความรัก   

เปิดเพลงนี้ทีไร  ทำให้คิดถึงหลายๆ คนที่เคยร้องด้วยกัน

เพลงนี้มีชื่อเพลงว่า 柴 米 油 盐 酱 醋 茶 ขับร้องโดย Wang LeeHong หวางลี่หง

แปลว่า  ฟืน  ข้าวสาร  น้ำมัน  เกลือ  ซอส  น้ำส้มสายชู  และ ชา

柴 米 油 盐 酱 醋 茶 ถือเป็นสิ่งจำเป็น 7 อย่างในชีวิตของชาวจีนตั้งแต่โบราณมา เรียกว่า  “开门 7  件大事”   

เป็นเพลงจีนที่ดิฉันใช้ประกอบการสอนภาษาจีนในคลาสผู้ใหญ่

มีคำศัพท์ที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวันและวลีที่เรียนรู้ได้ง่าย  

MV ซึ้งปนเศร้า 从小相爱到白头(從小相愛到白頭)รักกันตั้งแต่เป็นเด็กจนถึงผมขาว (จนแก่เฒ่า)

มี version ที่มีคำแปลภาษาอังกฤษด้วย  (ต้องขอเวลากลับไปหาส่วนที่โพสต์ไว้ในเฟชบุคก่อน)  

感谢 ขอบคุณ http://www.youtube.com/watch?v=fmVoDQHCk0k

ขอบคุณ บล็อกเกอร์คนโทใส่น้ำ  วิธีใช้ไฟล์จาก youtube ในบล็อก..แบบเก๋าๆ http://www.oknation.net/blog/konto/2011/09/28/entry-1

ขอบคุณคุณพิญญารัศม์  ทีมงานฟิวเจอร์ซี  ที่เอื้อเฟื้อค้นหาคำแปลภาษาไทยจากเว็บไซต์มาให้
 
หมายเหตุ  ข้อความข้างบนดิฉันเขียนเอง  แต่เนื้อร้องไม่ได้แปลเองค่ะ   
ขอบขอบคุณเจ้าของเอนทรี่ที่เอื้อเฟื้อคำแปลเนื้อร้องเป็นภาษาไทย http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=purring-softly&month=07-2010&date=27&group=10&gblog=15 
 
 

时候 你想要什么
我要一台大大蓝色的飞机
带我环游世界
到地球每一个角落
在蓝天白云中穿梭
เมื่อครั้งเยาว์วัย เธอต้องการอะไร
ฉันอยากได้เครื่องบินสีฟ้าลำใหญ่ๆ
พาฉันท่องไปรอบโลก
ถึงทุกมุมของผืนดิน
ลดเลี้ยวรอบเมฆขาวบนผืนฟ้า

而长大以后 我想要什么
我要一台小小红色答录机
和你一起录下
喂 我们现在不在家
蓝色变成红色因为你
เมื่อเติบโตฉันต้องการอะไร
ฉันต้องการเครื่องตอบรับเล็กๆสีแดง
อัดเสียงร่วมกับเธอไว้
“สวัสดี ตอนนี้เราไม่อยู่บ้าน”
สีฟ้าเปลี่ยนเป็นสีแดงเพราะเธอ

柴米油盐酱醋茶
一点一滴都是幸福在发芽
月儿弯弯爱的傻
有了你什么都不差
ฟืนข้าวน้ำมันเกลือน้ำส้มซอสชา
ทุกๆหยดคือความสุขที่ค่อยๆแตกหน่อ
พระจันทร์เสี้ยว ความรักทึ่มๆ
เพียงมีเธออะไรๆก็ไม่เลว

(ร้องซ้ำเนื้อร้องเดิมอีกรอบ)

给你快乐无论白天黑夜

握紧双手就算刮风下雨

我就是要你

要你待在我身边

保护你直到永远

ให้ความสุขกับเธอไม่ว่าทิวาราตรี

จับมือเธอไว้มั่นแม้ลมพัดฝนเท

ฉันต้องการเธอ

ต้องการเธอเคียงข้างฉัน

จะคุ้มครองเธอตลอดไป

柴米油盐酱醋茶
一点一滴都是幸福在发芽
月儿弯弯爱的傻
有了你什么都不差
ฟืนข้าวน้ำมันเกลือน้ำส้มซอสชา
ทุกๆหยดคือความสุขที่ค่อยๆแตกหน่อ
พระจันทร์เสี้ยว ความรักทึ่มๆ
เพียงมีเธออะไรๆก็ไม่เลว

月儿弯弯爱的傻
没有一个理由
活的那么复杂
有了你什么都不差
พระจันทร์เสี้ยว ความรักทึ่มๆ
ไม่มีเหตุผลใด
ที่ต้องใช้ชีวิตอย่างวุ่นวาย
เพียงมีเธออะไรๆ ก็ไม่เลว

 

เกร็ดวัฒนธรรมจีน โดย สุวรรณา สนเที่ยง 中国文化 (张碧云)

Flag Counter


Share Button

12 ปีนักษัตรของจีน Chinese Zodiac 十二生肖

Hits: 21197
Rating:

12 ปีนักษัตร เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง  ที่คนจีนคิดขึ้นมาเพื่อช่วยในการคำนวนและจดจำเรื่องปีมาแต่โบราณ  

โดยใช้สัตว์ 12 ชนิดเป็นสัญลักษณ์  ภูมิปัญญาและวิธีการอันชาญฉลาดนี้มีหลายชาติได้นำไปใช้ จนกระทั่งถึงปัจจุบัน 

 

เรียงตามลำดับอย่างไร

เหมือนของไทยหรือไม่

เป็นคำถามที่เจอบ่อยๆ ค่ะ 

บางคนก็บอกว่าของไทยยังจำไม่ได้เลยว่าเรียงอย่างไร

ก็จำเหมือนของจีนนั่นแหละค่ะ เพราะเรียงเหมือนกัน

เพียงแต่ปีมังกรของจีน ของไทยเราเปลี่ยนเป็นปีมะโรง (งูใหญ่) แค่นั้น ไม่ยากค่ะ

 เรื่อง 12 ปีนักษัตร ภูมิปัญญาจีนโบราณซึ่งใช้สัตว์ 12 ชนิดเป็นสัญลักษณ์ในการจำปี

เป็นวัฒนธรรมจีนอย่างหนึ่งที่มีการรับไปใช้ในหลายประเทศ

เรียบเรียงโดย สุวรรณา สนเที่ยง 张碧云

Continue reading


Share Button
Hits: 130580
Rating:

♣ เชงเม้ง วัฒนธรรมจีนที่คนจีนทั่วโลกและคนเรียนภาษาจีนต้องรู้

♣ ประเพณีจีนที่สืบทอดกันมาหลายพันปี  ยังไม่ผันเปลี่ยนตามกาลเวลา 

♣  เรื่องสำคัญบางแง่มุมเกี่ยวกับ เชงเม้ง ที่หลายคนอาจยังไม่รู้

การไหว้เชงเม้ง เชื่อเป็นสิริมงคลแก่ลูกหลาน คนจีนนิยมเอาป้ายบรรพชนตั้งไว้ที่เห็นชัดในร้านค้า  เหล่าซือจึงถือว่าโพสต์นี้เป็นบุญกุศล เป็นสิริมงคลแก่ตนเองและผู้พบเห็น 
♣ อักษรจีนที่สลักไว้ที่แผ่นหินหน้าฮวงจุ้ย หมายถึงอะไร?
♣ “考” kǎo กับ “妣” bǐ หมายถึงอะไร
♣ แล้วทำไมเห็นมีสีเขียวบ้าง สีแดงบ้าง ?
เรียบเรียงโดย สุวรรณา สนเที่ยง 张碧云老师

………………

ได้รับคำถามบ่อยๆ ว่าอักษรจีนบนป้ายบรรพชนที่สุสานนั้น หมายความว่าอะไรบ้าง

ก่อนอื่น ขอเกริ่นเรื่อง “เชงเม้ง” หน่อย

เป็นครั้งแรกที่เขียนเกี่ยวกับเชงเม้ง

………………….
เกร็ดความรู้เรื่อง เทศกาล “เชงเม้ง” 清明节 Qīngmíng jié 
เชงเม้ง ที่เราคุ้นหู เป็นเสียงสำเนียงภาษาจีนแต้จิ๋ว
ภาษาจีนกลางเรียกว่า เทศกาลชิงหมิง
ประเพณีที่สืบทอดกันมาหลายพันปี
……มีความหมายลึกซึ้งเกี่ยวกับรากเหง้าที่มาของคนเชื้อสายจีนทั่วโลก….
ปลูกฝังให้ชาวจีนระลึกถึงบุญคุณของบรรพชน

เป็นเทศกาลสำคัญของจีนที่เป็นวันหยุดราชการทั่วประเทศ รวมถึงที่เกาะฮ่องกงด้วย

จึงเป็นช่วงการเดินทางกลับภูมิลำเนาทัั่วประเทศของจีน การจราจรคับคั่ง

ผู้เขียนเคยไปเจอช่วงวันหยุดยาวเทศกาลชิงหมิงที่ปักกิ่ง รถติดขัดสองสามชั่วโมงเมื่อ 3 ปีก่อน

สำหรับผู้ที่มีเชื้อสายจีนทั่วโลก  และลูกหลานที่ไปทำงานต่างถิ่น

ก็จะเดินทางกลับภูมิลำเนาเพื่อรวมญาติและนัดรวมพลไปทำความสะอาดฮวงจุ้ย (สุสาน) ของบรรพชน

อย่างบ้านเราก็จะทำให้การจราจรคับคั่งแถบจังหวัดที่มีสุสานจีนหนาแน่น  เช่น แถบจังหวัดชลบุรี สระบุรี

คนไทยเชื้อสายจีนเป็นหนึ่งในหลายๆ ประเทศที่ยังยึดถือประเพณีเชงเม้งอย่างเคร่งครัด

คนต่างจังหวัดที่มาทำงานในเมืองก็จะเดินทางกลับบ้านเชงเม้งกันทุกปี

อย่างคนเบตง คนหาดใหญ่ เมื่อก่อนจะเหมาตู้รถไฟหลายตู้กลับบ้านพร้อมกัน

เดี๋ยวนี้ส่วนมากก็จะนัดวันแล้วจองนั่งเครื่องกลับไปเชงเม้งกัน

ส่วนคนในเมืองก็นัดญาติพร้อมหน้า  ไหว้เสร็จก็กลายเป็นงานสังสรรค์รวมญาติเที่ยว

บางครอบครัวไหว้ที่สระบุรี ก็จองบ้านพักเขาใหญ่ไปกันทั้งครอบครัว

ที่ไปแถวชลบุรีก็จองโรงแรมแถวพัทยา ระยอง บางแสน ไปถึงจันทบุรีก็มี

ส่วนกลุ่มที่ไปเชงเม้งแถวเพชรบุรี ราชบุรี ก็รวมญาติไปพักตากอากาศกินอาหารทะเลที่หัวหิน – ชะอำ

ลูกๆ หลานๆ เด็กๆ  ก็ตื่นเต้นที่จะได้ไปเที่ยวเล่น เรื่องต้องตื่นแต่เช้า เรื่องร้อนก็เลยทนได้

ร้านอาหาร โรงแรมก็พลอยคึกคักตั้งแต่หลังวันที่ 20 มีนา จนถึง 5 เมษาของทุกปี

อันนี้เป็นวัฒนธรรมจีนที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน 

…………………………..

เกริ่นเรื่องเชงเม้งแล้วก็ย้อนกลับมาเข้าประเด็นตามหัวข้อ

มาดูอักษรจีนที่สลักไว้ที่แผ่นหินหน้ฮวงจุ้ยกัน

ว่า หมายความว่าอะไร

ตัวอักษรจีนบนสุด

” 祖 ”     แปลว่า  บรรพชน บรรพบุรุษ

ล่างลงมา  เรียงจากขวาไปซ้าย ตามวิธีเขียนแบบจีนโบราณ

ขวาสุด เป็นส่วนที่ระบุภูมิลำเนาเดิมที่จีนของผู้ที่อยู่ในฮวงจุ้ยหลังนี้ อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน

เช่น ซัวเถา 汕頭 แต้จิ๋ว 潮州  จีนฮากกาเหมยเซี่ยน 梅縣

แถวซ้ายสุด  บันทึกปีเดือนวัน ที่ตั้งฮวงจุ้ยนี้ขึ้น

ทั้งหมดสลักด้วยอักษรจีนตัวเต็ม เพราะในยุคของพ่อแม่อากงอาม่า ยังไม่นิยมใช้อักษรจีนตัวย่อ

เดี๋ยวกงม่าอ่านไม่ออก

 แถวกลาง อักษรจีนตัวใหญ่  

จากขวา “考”  kǎo  เป็นคำยกย่อง  สรรพนามแทนบิดาที่เสียชีวิตแล้ว ตามด้วยชื่อของพ่อ

ซ้ายแถวกลาง “妣”  bǐ  เป็นคำยกย่อง  สรรพนามแทนมารดาที่เสียชีวิตแล้ว  ตามด้วยชื่อของแม่

ส่วนแซ่ (นามสกุล) ของพ่อและแม่ จะอยู่ข้างล่างต่อจากชื่อ

แล้วทำไมเห็นมีสีเขียวบ้าง สีแดงบ้าง ?

คนจีนนิยมซื้อหลุมคู่  และสลักชื่อของทั้งพ่อทั้งแม่ไว้ก่อน

ถ้าพ่อเสียชีวิตก่อน ก็ทาสีที่ชื่อเป็นสีเขียว

ส่วนแม่ยังไม่เสียก็เขียนด้วยสีแดง  เมื่อแม่เสียแล้ว ก็ทาสีที่ชื่อแม่เป็นสีเขียวด้วย

ครอบครัวดิฉันจะไปเชงเม้งที่สุสานวิสุทธิมรรคคีรี 白雲道山 สระบุรีทุกปี

ไหว้เสร็จก็มาทานข้าวต้มที่โรงทานของสุสาน

อาหารเจที่นั่น มะนาวดอง ไช้โป้วดอง อร่อยมาก  เป็นมื้อที่ครอบครัวเราชอบมาก

หยิบทานได้ฟรี ข้าวต้มฟรี ทานเสร็จก็ทำบุญช่วยค่าอาหาร  ใครไม่ให้เขาก็ไม่ว่า

ตบท้ายด้วยการซื้อกาหน่าฉ่ายเจ้าอร่อยที่นี่กลับบ้านทุกปี

เชงเม้ง จึงเป็นกิจกรรมที่ได้รักษาประเพณี

สุขใจที่ได้มากวาดบ้านให้พ่อแม่  ทานข้าวต้มอาหารเจ และช็อปปิ้ง

 กาน่าฉ่ายสระบุรี (เจ้ใหญ่) นี่ค่ะ ที่บ้านเราต้องไปซื้อที่นั่นทุกปี และซื้อมาปีละหลายๆ โล  ซื้อกันมา 24 ปีแล้ว

       ปีนี้เจอหม้อนี้อร่อยมาก  คงจะหมักำได้ที่ แต่ขึ้นราคาจากปีที่แล้ว เป็นโลละ 220 บาท
       มีบ้างที่บางปีเจอไม่ค่อยอร่อย  เหมือนยังหมักไม่ได้ที่ หรือ เจอมีทรายบ้าง  แต่โดยรวมแล้วก็ถือว่ามีคุณภาพดีกว่าเจ้าอื่นๆ ที่เคยทานมา

       เอาเบอร์โทรศัพท์ของร้านกาน่าฉ่ายสระบุรีที่กรุงเทพฯ มาฝาก คือ 02 2152153  081 852 8415  

อยู่ในซอยเดียวกันกับออฟฟิตติดต่อกรุงเทพฯ ของสุสานวิสุทธิมรรคคีรี
แต่เราไม่เคยไปซื้อในกรุงเทพฯ เลย

 

 

 

อ่าน เกร็ดวัฒนธรรมจีน

Flag Counter

……………………………

 

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

เขียนเมื่อ วันที่ 22 มีนาคม 2015

คนที่มีเชื้อสายจีนคิดอย่างไร ถึงยังรักษาประเพณี “เชงเม้ง” เอาไว้

 

Mr. Jeremy Shiu  ซึ่งเป็นลูกหลานจีนที่ไม่ได้อยู่ประเทศจีนคนหนึ่ง เขียนถึงทัศนะของเขาที่เกี่ยวกับเชงเม้ง ผ่านคอมเมนท์ในเฟชบุ๊ค  CCTV中文 ไว้  ( เหล่าซือขอแปลความเป็นภาษาไทย  แต่ขออภัยที่ไม่สามารถถ่ายทอดได้ใจความลึกซึ้งเท่ากับต้นฉบับภาษาจีนที่ท่านเขียนไว้)

…….. ” เชงเม้ง เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาหลายพันปี   ปลูกฝังให้ชาวจีนมีความกตัญญูกตเวที  ระลึกถึงบุญคุณของบรรพชน   เชื่อว่าดวงวิญญาณของพวกเขายังอยู่  

มีความหมายลึกซึ้งเกี่ยวกับรากเหง้าที่มาของเรา ” ………………

 

Jeremy Shiu 先生在  CCTV中文  Facebook 中用中英文写出他对中国人传统节日 “清明节” 的看法。

本人认写得很好,值得后辈华裔思考,故分享到此网页。特此敬谢。

…………..

Jeremy Shiu 先生写道:

清明节,几千年的传统节日。秉持中华孝道,慎重追远,追思祭祖,相信祖先英灵尚在。意义非凡,关系我们的根。

Qing Ming festival is not paganism, and paganism is a term that demonic non monotheistic practice- a fallacy, Qing ming has thousands of years of history, as part of Chinese tradition. It continues the practice of filial piety and the strong belief of the existence of our ancestor spirits. According respect reflects our roots, the very fundamental in life.

分享自:

https://www.facebook.com/CCTV.CH/posts/1160880127332878

 

 

อ่านเรื่องเกร็ดภาษาจีน

หวังว่าทุกคลิกของท่านจะได้รับประโยชน์จากบทความเหล่านี้

ขออภัยในข้อบกพร่องใดๆ ขอบคุณที่กรุณาติชมและแสดงความเห็น

Flag Counter


Share Button

บัวลอยน้ำขิง เทศกาลตุงจื้อ 冬至 Chinese Winter Solstice

Hits: 9665
Rating:

วันที่่ 21 หรือ 22 ธันวาคม ของทุกปี

เป็นวัน 冬至 ตุงจื้อ (ตังโจ่ย) ที่ชาวจีนมีประเพณีทานขนมบัวลอยค่ะ

บัวลอยตามประเพณี จะต้มด้วยน้ำตาล หรือ น้ำขิง เป็นบัวลอยน้ำขิง (เพราะตรงกับช่วงที่จีนมีอากาศหนาวมาก)

แต่ที่เมืองไทย บางครั้งเราก็ประยุกต์เป็น ขนมบัวลอย ใส่กะทิ อย่างที่เห็นในภาพนี้ค่ะ 

ปีนี้เหล่าซือไม่ได้ต้มบัวลอยน้ำขิงแบบจีนดั้งเดิม  แต่ซื้อบัวลอยน้ำกะทิมา

Continue reading


Share Button

หล่อฮั้งก้วย 罗汉果 สุดยอดสมุนไพรจีนแก้เจ็บคอ เสียงแห้ง (LUO HAN GUO)

Hits: 9246
Rating:

หล่อฮั้งก้วย 罗汉果 (羅漢果) สุดยอดสมุนไพรจีนแก้เจ็บคอ เสียงแห้ง 

ช่วงนี้เห็นมีคนรอบตัวไม่สบาย เจ็บคอ เสียงแห้ง กันหลายคน

เลยเอาสมุนไพรจีนที่บ้านเหล่าซือต้มกินเวลาเจ็บคอมาฝาก

แก้ไข้ได้ด้วย ไม่ต้องพึ่งยาแผนปัจจุบัน

เหล่าซือทำงานใช้เสียง เจ็บคอเป็นไข้ก็บ่อย  ที่บ้านก็จะมียาสนุนไพรจีนนี้ติดบ้านเสมอ

ราคาไม่แพง 10 ลูก ประมาณ 100 บาท ต้มน้ำทานครั้งละ 2 ลูก

ซื้อตามร้านขายยาจีนทั่วไป หรือข้างถนนแถววัดเล่งเน่ยยี่ (วัดมังกร) เยาวราช บางรัก ฯลฯ

เวลาเลือก ก็เลือกดูสีเข้มๆ หน่อย

…….

หล่อฮั้งก้วย เป็นสมุนไพรจีน จาก มณฑลกวางสี  ได้รับการขนานนามว่า  “神仙果” (ผลเทวดา) 

อุดมไปด้วยวิตามิน C

นอกจากที่แถบเมืองกุ้ยหลินของมณฑลกวางสีแล้ว  ยังสามารถปลูกในบางที่ของมณฑลกวางตุ้งได้ด้วย

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพดินและอากาศที่ หล่อฮั้งก้วย ชอบ

ชาวจีนรู้จักใช้ยาตัวนี้มานานแล้ว  ชาวตะวันตกตอนนี้ก็สนใจศึกษาสมุนไพรจีนมาก

 หล่อฮั้งก้วย มีคุณสมบัติทางยาธาตุเย็น หญิงมีประจำเดือนไม่ควรทาน

เหล่าซือไม่ใช่หมอจีน  แต่ก็อยากเอาเกร็ดความรู้เล็กน้อยจากประสบการณ์เรื่องการใช้สมุนไพรจีนมาฝาก

หวังว่าเอนทรี่นี้จะเป็นประโยชน์ค่ะ

 

 หล่อฮั้งก้วย ตอนเป็นลูกอยู่ หน้าตาแบบนี้

 ล้างสะอาดแล้วบีบให้แตก หรือทุบให้แตก เปลือกบางๆ  

 ข้างในจะเป็นลักษณะนี้ค่ะ 

ใส่ลงไปต้มได้ทั้งเปลือก

 

Continue reading


Share Button

จากเจงกิสข่าน ถึง ก๊วยเจ๋ง ของกิมย้ง เกี่ยวกันอย่างไร แถมเพลง 射雕英雄传

Hits: 10627
Rating:

จากเรื่องราวของเจงกิสข่าน มาถึง หนังกำลังภายในยอดฮิต — มังกรหยก

ของ สุดยอดฝีมือนักประพันธ์นวนิยายกำลังภายใน —  กิมย้ง

 

จากการเขียนเรื่องเจงกิสข่านในเอนทรี่ที่แล้ว

ความตั้งใจเดิมจะเอาเพลงประกอบหนังมาเก็บไว้ในบล็อก แต่พอเขียนไปแล้วความคิดมันก็โลดแล่นไปนึกถึงอะไรอีกหลายๆ เรื่อง  ตอนนี้ก็นึกถึงเรื่องมังกรหยก นวนิยายกำลังภายในที่อ่านและดูมาตั้งแต่เด็ก  และ เพลงประกอบหนังที่ชื่นชอบด้วย

เกี่ยวกันกับเอนทรี่ที่แล้ว เรื่อง เจงกิสข่าน อย่างไร 

ลองมาดูกันว่า  เจงกิสข่าน  ในปลายปากกาของ กิมย้ง ผ่าน ก๊วยเจ๋ง นั้น  เป็นอย่างไร  

มังกรหยก  มีชื่อเป็นภาษาจีน ว่า  射雕英雄传  ( shè diāo yīng xióng zhuàn)  

เขียนด้วยอักษรจีนตัวเต็มก็เขียนแบบนี้นะคะ  射鵰英雄傳

แปลว่า ตำนานวีรบุรุษยิงอินทรีย์  บางเวอร์ชั่นของไทย จึงแปลว่า ตอน จอมยุทธอินทรีย์  

เพราะก๊วยเจ๋ง พระเอกของเรื่องมีความเชี่ยวชาญในการใช้ธนู  

 ไม่มีความหมายว่า มังกร เลย

เวอร์ชั่นที่เหล่าซือชื่นชอบที่สุด คือ เวอร์ชั่น ปี 1983

ที่แสดงโดย ฮว๋างยื่อฮว๋า (หวงยื่อหัว 黄日华)  และ เวิงเหม่ยหลิง (องเหม่ยหลิง 翁美玲)

 

เพื่อนๆ ร่วมยุคเหล่าซือ และรุ่นน้องๆ  จะคุ้นเคยกับหนังจีนและตัวละครในเรื่องกันมาก 

ในเมืองจีน  คนจีนรุ่นนี้ก็รู้จักเรื่องนี้เป็นอย่างดี  

ผู้ประพันธ์ ท่านกิมย้ง (金庸) เคยรับตำแหน่งเป็นอธิการบดี มหาวิทยาลัยเจ้อเจียง  浙江大学

(ที่เมือง Hangzhou บ้านเกิดของท่าน)  ก่อนเกษียณแล้วย้ายไปพักอยู่กับลูกๆ ที่ออสเตรเลีย 

เวลาท่านกิมย้งกลับไปเยี่ยมเมืองหังโจว (杭州 เมืองหลวงเก่าราชวงศ์ซ้ง)

มีบรรดาแฟนพันธุ์แท้ของท่าน มาคอยต้อนรับห้อมล้อมขอลายเซ็นมากมายยิ่งกว่าดาราชื่อดังเสียอีก

แต่เวลาเราไปคุยกับคนจีน ถ้าพูดว่า มังกรหยก หรือแปลจากคำในภาษาไทยไปเป็นคำในภาษาจีนแบบตรงตัว  

เขาก็จะไม่เข้าใจว่าเราหมายถึงเรื่องอะไร 

ท้ายเรื่อง แปะลิงค์เพลงประกอบหนังจีนกำลังภายใน เวอร์ชั่น หวงเยอะหัว ( 黄日华 ภาษาจีนกลางออกเสียงว่า ฮว๋างยื่อฮว๋า) 

 

เอาล่ะ เกริ่นเสียยาว

มาเข้าเรื่องตามหัวข้อเรื่องดีกว่า ว่าเรื่องมังกรหยก เกี่ยวอะไร กับ เจงกิสข่าน ที่เหล่าซือเขียนไปในเอนทรี่ที่แล้ว 

อ่านเรื่องเดิม  Genghis Khan เจงกิสข่าน จักรพรรดิ์สะท้านแผ่นดิน เพลงประกอบซีรี่ย์ 成吉思汗插曲 : 传说 (คลิกที่นี่ค่ะ)

 

แนวการเขียนของท่านกิมย้ง  มีจุดเด่น คือมักอิงประวัติศาสตร์  แฝงแง่คิด  หลักปรัชญาในการแยกแยะความดีความชั่ว  

ปลูกฝังเรื่องความรักชาติของชาวจีน  ต่อต้านการรุกรานของต่างชาติ

โดยเรื่่องมังกรหยกนี้  ท่านกิมย้งอิงประวัติศาสตร์ในช่วง ยุคปลายราชวงศ์ซ้อง หรือ ราชวงศ์ซ่งใต้  

ช่วงปี ค.ศ. 1199 – 1221 

เป็นราชวงศ์ที่ปกครองโดยชาวฮั่น ( 汉族 ชาวจีน) ก่อนที่จะพ่ายแพ้กองทัพม้าเหล็กของ เจงกิสข่าน จากทุ่งหญ้าตอนเหนือ

ในช่วงนั้น ราชวงศ์ซ่งตอนปลาย  ประชาชนยากลำบาก  ขุนนางกังฉินได้ดิบได้ดี  ฉ้อราษฎร์บังหลวง กดขี่ข่มเหงชาวบ้าน

กิมย้งสะท้อนเรื่องราวผ่านตัวละครที่ชื่อ ก๊วยเจ๋ง ซึ่งมีบุคลิกซื่อๆ ยึดมั่นในคุณธรรม  

เป็นลูกหลานชาวฮั่นที่รักชาติแต่ไปเติบโตในดินแดนมองโกล

ได้รับการช่วยเหลือจากชาวมองโกล  รวมถึงได้รับการโปรดปรานจาก เจงกิสข่าน 

(อันนี้คือนิยายที่แต่งขึ้น แต่ในนิยายของกิมย้งก็มีตัวละครที่เคยมีอยู่จริงในประวัติศาสตร์ปนอยู่ด้วย เช่น เตมูจิน – เจงกิสข่าน)

เมื่อโตขึ้นก๊วยเจ๋็งได้เดินทางกลับสู่ดินแดนตงง้วน (ประเทศจีน)  พบกับอึ้งย้ง  

และได้ฝึกวิทยายุทธจากอาจารย์สำนักต่างๆ มากมาย

ต่อมา ก๊วยเจ๋ง กลับไปที่มองโกลอีกครั้ง เพราะแม่ของเขายังอยู่ที่นั่น  

และได้อาสาออกรบร่วมกับกองทัพมองโกลที่สู้รบกับกิมก๊ก (ซึ่งเป็นชนเผ่าทางเหนือของจีน และเป็นศัตรูกับจีนและมองโกล)  

มีผลงานทางการรบ  ได้รับการชื่นชมจากเจงกิสข่าน  แต่งตั้งให้เป็น ราชบุตรเขยดาบทอง  

โดยหวังจะรับก๊วยเจ๋งเป็นบุตรเขย  คิดจะยกองค์หญิงหัวเจิง บุตรสาวที่เติบโตมาพร้อมกับก๊วยเจ๋งให้แต่งงานด้วย

แต่พอก๊วยเจ๋งและแม่รู้ว่าเจงกิสข่านมีแผนการจะยกทัพเข้าตีแผ่นดินจีน  

ก๊วยเจ๋งจึงวางแผนพาแม่หนีออกจากดินแดนมองโกล  แต่ถูกมองโกลล่วงรู้เสียก่อน  

แม่ของก๊วยเจ๋งตัดสินใจฆ่าตัวตายตอนนั้นเพื่อให้ก๊วยเจ๋งหนีไปคนเดียวไม่ต้องห่วงตน  

เพื่อกลับไปช่วยส่งข่าวให้แผ่นดินของพ่อแม่ได้

  

สุดท้ายก๊วยเจ๋งกลายเป็นหนึ่งในแกนนำที่ต่อต้านพวกมองโกลที่ยกทัพมารุกรานแผ่นดินจีน แผ่นดินของชาวฮั่น

เพราะทนดูกองทัพมองโกลที่มาฆ่าฟันย่ำยีคนจีนและยึดครองแผ่นดินจีนไม่ได้

กิมย้ง จึงเขียนถึง เจงกิสข่าน ในมุมมองที่ เจงกิสข่าน คือ ผู้รุกราน ที่ทำให้ชาวจีนต้องล้มตายจำนวนมาก 

ในเนื้อเรื่อง ยังมีตัวละครอีกคน คือ เอี้ยคัง มีบุคลิกที่ฉลาด เจ้าเล่ห์  

ที่ กิมย้ง ตั้งใจจะสร้างขึ้นเพื่อเปรียบเทียบตัดกับภาพของ ก๊วยเจ๋ง  ซึ่งพ่อของคนทั้งสองเป็นพี่น้องร่วมสาบานกัน  

ก๊วยเจ๋งจึงถือเอี้ยคังเหมือนพี่น้อง  และไม่ยอมฆ่าเอี้ยคัง  

ผลจากการปล่อยเอี้ยคัง ปล่อยคนชั่วให้ลอยนวล   ทำใ้ห้มีคนดีๆ ต้องตายด้วยน้ำมือของเอี้ยคังอีกจำนวนมาก 

เอี้ยคัง  ที่ไปเกิดและได้รับการเลี้ยงดูอย่างคุณชายในวังของท่านอ๋องแห่งกิมก๊ก ( ชนเผ่าหนี่เจิน)  

ยอมช่วยกิมก๊กรุกรานแผ่นดินจีนและเข่นฆ่าคนจีนด้วยกัน

 

เอี้ยคัง จึงถูก กิมย้ง เขียนให้เป็นผู้ร้ายของเรื่อง  เป็นพวก  หลงใหลในลาภยศสรรเสริญ  ยอมรับศัตรูเป็นบิดา

 ( สำนวนจีนใช้คำว่า 认贼作父 แปลว่า นับถือโจรเป็นพ่อ)    

 

อันนี้คนอ่านที่ไม่รู้ประวัติศาสตร์จีน อาจจะงงหน่อย  ขยายความหน่อยก็คือ

สมัยก่อน ทั้งชนกิมก๊กของชนเผ่าหนี่เจิน และชนเผ่ามองโกล ต่างก็เป็นชนเผ่าที่อยู่ทางเหนือของจีน  สู้รบเก่งทั้งสองเผ่า

และเป็นชนเผ่าที่อยากครอบครองแผ่นดินจีนเนื่องจากอุดมสมบูรณ์กว่ามาก

ดูตามภูมิศาสตร์ก็พอจะเข้าใจได้ว่าทำไมสองชนเผ่านี้ถึงอยากยึดครองและอยากได้แผ่นดินจีน  

เพราะมีทรัพยากรณ์มากมาย  สมัยนั้นยังไม่รู้ว่ามีถ่านหินหรือมีน้ำมันด้วยซ้ำ  

แค่รู้ว่ามีอากาศอบอุ่นสบายๆ  ดินดีเหมาะกับการเพาะปลูก ฯลฯ  

ชนเผ่าหนี่เจิน อยู่ในดินแดนที่เป็นมณฑลเฮยหลงเจีนง (ฮาร์บิน 黑龙江 — 哈尔滨 ) ปัจจุบัน  หนาวสุดยอด แห้งแล้ง     

ส่วนมองโกลอยู่ในทุ่งหญ้าและทะเลทราย ก็ปลูกอะไรไม่ได้  ได้แต่เลี้ยงสัตว์ 

 

สรุปว่า ทั้งมองโกลและนีเจิน ล้วนเป็นศัตรูผู้รุกรานและต้องการยึดครองแผ่นดินตงง้วนในสมัยนั้น

 

มังกรหยก  เรื่องนี้  กิมย้ง เขียนขึ้นและเผยแพร่ทาง น.ส.พ. จีน 香港商报  

ที่ตีพิมพ์  ในฮ่องกง  ระหว่างปี ค.ศ. 1957 ถึง 1959 ( พ.ศ. 2500 – 2502 )

โดยมีเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ในจีนช่วงปี ค.ศ. 1199 – 1221 เป็นภูมิหลัง   (公元 1199  至  1221 年 )  

ซึ่งเป็นช่วงที่เจงกิสข่านกำลังใช้กองทัพม้าเหล็กในการขยายอาณาจักรมองโกล

 

มาดูเรื่องจริงที่ไม่ใช่นิยายบ้าง

ช่วงราชวงศ์ซ่งตอนปลาย  มีเรื่องราวของ ขุนนางตงฉิน (ขุนนางที่ดี ซื่อสัตย์) อย่างเช่น ท่านงักฮุย ( 岳飞 เยว่เฟ๊ย) ด้วย

งักฮุยเป็นคนรักชาติจงรักภักดี  ถูกใส่ร้ายจนถูกฮ่องเต้เรียกกลับมาจากแนวหน้าและตายในคุก  มีสุสานอยู่ที่หังโจว

เรื่องของงักฮุย ได้รับการสร้างเป็นหนังหลายเรื่อง  

รวมถึงหนังจีนฮ่องกงชอร์บราเดอร์  เรื่อง 12 ป้ายทอง (十二金牌)  

ที่นำแสดงโดยดารารุ่นใหญ่อย่าง เดวิด เจียง ตี้หลง ฟู่เซิน ฯ  

ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเรียกตัวงักฮุยกลับจากการป้องกันประเทศเพื่อนำตัวมาสังหาร

(เอาเป็นว่ายังไม่เขียนเรื่องงักฮุยก่อน เดี๋ยวจะจบไม่ลง) 

ตามข้อมูลที่เหล่าซือเคยค้นเจอ   มีคนที่ชื่อ ก๊วยเจ๋ง และอึ้งย้ง จริง  ทั้งสองตายคาป้อมเมือง ในการศึกที่สู้กับกองทัพมองโกล

เจงกิสข่าน ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นวีรบุรุษจากทุ่งหญ้า

แต่ในปลายปากกาของกิมย้ง เขาคือ ผู้รุกรานที่เข่นฆ่าคนจีนเพื่อแย่งชิงแผ่นดินเกิดของพ่อแม่ก๊วยเจ๋ง

 

ตัวละครสำคัญในเรื่องมังกรหยก

          ก๊วยเจ๋ง  จอมยุทธอุดร ยอดวีรบุรุษแห่งตงง้วน

           อึ้งย้ง   ขงเบ้งหญิง ยอดสตรีศรีต้งง้วน ธิดาแห่งมารบูรพา

          จิวแป๊ะทง   เฒ่าทารก ศิษย์ผู้น้องแห่งเทพมัชฌิม

          เจ็ดประหลาดกังน้ำ        หมายเหตุจากเหล่าซือ  กังน้ำ เป็นภาษาสำเนียงแต้จิ๋ว  กังน้ำ ก็คือดินแดนแุบลุ่มน้ำแยงซีเกียงก่อนไหลลงสู่ทะเล  แถวๆ มณฑลเจ้อเจียง เซียงไฮ้ ซูโจว หังโจว ปัจจุบัน  เป็นส่วนที่อุดมสมบูรณ์มาก           เอี้ยคัง  พ่อเอี้ยก้วย

          อาวเอี๊ยงฮง  พิษประจิม 

          อางเอี๊ยงเข็ก  หลานชายของอาวเอี๊ยงฮง

          อ๋องแห่งกิมก๊ก 

          เจงกิสข่าน    ที่แสดงโดย ปาเซิน  巴森  ผู้สืบสายเลือดจากลูกชายคนที่สอง (ชาเหอถาย) ของ  เจงกิสข่าน

         เป็นนักแสดงคนเดียวกันกับคนที่แสดงเป็น  เจงกิสข่าน  ในเรื่อง  เจงกิสข่าน จักพรรดิ์สะท้านโลก

  

       

 

 จบด้วยเพลงนี้ เพลงประกอบหนังจีน เรื่อง มังกรหยก  เวอร์ชั่นที่นำแสดงโดย หวงเยอะหัว และ องเหม่ยหลิง

เพลงนี้ถือว่าเป็นเพลงที่เพราะที่สุดเพลงหนึ่งในบรรดาเพลงประกอบหนังจีน เรื่อง มังกรหยก จากทุกเวอร์ชั่น

 

ขับร้องเป็นภาษาจีนกวางตุ้ง

YouTube Preview Image

 

เขียนโดย สุวรรณา สนเที่ยง 张碧云

 

วัฒนธรรมจีน 中国文化 Chinese Culture

Flag Counter


Share Button

รีรัน ขนมไหว้พระจันทร์ เทศกาลนี้ในภาษาจีนไม่ได้เรียกว่า วันไหว้พระจันทร์

Hits: 8542
Rating:

ก่อนอื่น ทำความเข้าใจกันเรื่องชื่อเทศกาลสักนิด  คือ

วันไหว้พระจันทร์ คนจีนไม่ได้มีชื่อเรียกในเชิง “ไหว้พระจันทร์” แต่อย่างใด  

ภาษาจีนใช้คำว่า 中秋节 (เทศกาลจุงชิว) ซึ่งแปลว่า เทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง

ภาษาชาวบ้านเรียกว่า เทศกาลกลางเดือน 8

ตรงกับวันเพ็ญเดือน 8 เป็นเทศกาลที่โรแมนติคที่สุดของจีน

  
แต่แปลเป็นไทยคงเรียกยาก  กอร์ปกับคนไทยเชื้อสายจีนสมัยก่อนนิยมไหว้เทพธิดาแห่งดวงจันทร์ (嫦娥) กัน

เราก็เลยเรียกติดปากเป็น “วันไหว้พระจันทร์” และ “ขนมไหว้พระจันทร์” มาจนถึงปัจจุบัน

ทั้งที่ชาวจีนตอนนี้ไหว้พระจันทร์กันน้อยและหายากมากในคนจีนรุ่นใหม่

เทศกาลนี้เป็นเทศกาลใหญ่อันดับสองรองจากตรุษจีน

เขาฉลองเทศกาลไหว้พระจันทร์โดยมีความหมายในการรวมญาติ

เน้นความกลมเกลียวเหมือนดวงจันทร์คืนเดือนเพ็ญในกลางฤดูใบไม้ร่วง

ซึ่งเป็นช่วงสภาพอากาศดีที่สุดของจีน ท้องฟ้าปลอดโปร่ง และกำลังจะเข้าสู่หน้าหนาวที่หฤโหด

ในประเทศจีนปัจจุบัน และ ที่ฮ่องกงซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวกวางตุ้ง

จะมีการเฉลิมฉลองวันเทศกาลจุงชิว เป็นวันหยุดทำงาน  เน้นกิจกรรมรวมญาติและให้ของขวัญอวยพรกัน

ขนมไหว้พระจันทร์ เรียกว่า ขนมจันทร์  月饼 ไม่ได้เรียกว่าขนมไหว้พระจันทร์

ทานพร้อมชาจีน  และชมจันทร์พร้อมกัน หรือเดินทางท่องเที่ยวกันทั้งครอบครัว

 

ป.ล. ลูกเหล่าซือรายงานสดมาจากฮ่องกงตอนสามทุ่มวันนี้ว่า

ที่ฮ่องกง ขณะนี้ มีการทานข้าวรวมญาติ และมีการประดับโคมไฟกันตามสถานที่ต่างๆ อย่างสวยงาม

บรรยากาศคึกคักมาก 

ภาพบน ไส้ยอดนิยม บัวไข่

Continue reading


Share Button

สารทจีน 中元节 เกร็ดวัฒนธรรมจีนฉบับไม่เคร่งพิธีกรรมของเหล่าซือสุวรรณา

Hits: 28370
Rating:

วันสารทจีน ภาษาจีนเรียกว่า 中元节

                    ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 7 ตามปฏิทินทางจันทรคติจีน 

เอาขนมและผลไม้มาฝากก่อน  จะได้เฮงๆ  โชคดีมีสุขทุกคน

ที่ว่าเฮงๆ  โชคดี  ก็เพราะอารมณ์ดี  ทำการทำงานทุกอย่างได้ดั่งใจหวังค่ะ

 แปะก้วย    

 

Continue reading


Share Button

福到了! เกร็ดวัฒนธรรมจีน อักษรจีนมงคล ฮก

Hits: 17081
Rating:
IMG_7925 FU For Post 1
 เรียนรู้วัฒนธรรม ควบคู่กับภาษา  
 วัฒนธรรมจีน 中国文化
 Chinese Culture 

  เป็นอะไรที่ชาวจีนทั่วโลกและชาวต่างชาติสนใจศึกษา

  เพื่อความ “เข้าใจจีน”  为了了解中国

  เป็นศาสตร์และศิลป์ที่มีความล้ำลึกและน่าสนใจอย่างยิ่ง 

  มันทั้งสะท้อนจิตวิญญาณ ทัศนคติในการดำเนินชีวิต  หลักปรัชญา  แพทย์ศาสตร์โบราณที่น่าทึ่ง   โหราศาสตร์ที่เร้นลับ  อารยธรรม ฯลฯ ของชาวจีนที่มีมาหลายพันปี

การรู้ภาษาอย่างเดียวยังไม่พอที่เราจะ “เข้าใจจีน” และเข้าไม่ถึงจิตวิญญาณของภาษา   ฟิวเจอร์ซีเราจึงสอดแทรกการถ่ายทอดเรื่องวัฒนธรรมจีนไปพร้อมๆ กัน

เรียนรู้หลักการดำเนินชีวิต หลักปรัชญา แนวคิดคนจีนดั้งเดิม

ที่เน้นความกตัญญูรู้คุณ ขยันประหยัด อดทน ซื่อสัตย์สุจริต

บทความต่างๆ ที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมจีน  อาหารจีน และ เรื่องจีนๆ  ในเว็บไซต์นี้  

ดิฉันพยายามเขียนรวบรวมขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้ “เข้าใจจีน” (了解中国)

ซึ่งขณะนี้กำลังเป็นกระแสหลักของโลกที่ต้องการติดต่อกับจีน 

มีหลายเรื่องเคยโพสต์ใน OKnation Blog  และ Google Blog  

ที่เอื้อเฟื้อพื้นที่ในการเผยแพร่แบ่งปันความรู้ประสบการณ์

ขอขอบคุณ  OKnation Blog  และ Google Blog  มา ณ ที่นี้

……………………………………………………………………………………

福到了! เกร็ดวัฒนธรรมจีน  อักษรจีนมงคล  ฮก

“มีบุญ” “บุญวาสนา”

福到了!  ตรุษจีน 2012 อักษรจีน 福 ทำไมต้องติดกลับหัว (คว่ำ) 

ตรุษจีนปีนี้ อยากจะเขียนถึงอักษรจีนตัวหนึ่งที่พวกเราคุ้นหน้าค้นตากัน นั่นก็คือ

ตัว 福 ซึ่งภาษาจีนแต้จิ๋วออกเสียงว่า “ฮก”  ภาษาจีนกลางออกเสียงว่า “ฝู” นั่นเอง

ถือโอกาสพาเด็กๆ มาแสดงความคารวะและมอบอักษรจีน 福 นี้แด่ทุกท่านที่เข้ามาอ่านนะคะ

IMG_7930 FU DAO Le for post

Continue reading


Share Button

ศิลปะการเขียนพู่กันจีน 中國書法

Hits: 15716
Rating:

ศิลปะการเขียนพู่กันจีน 中國書法

ป็นมรดกทางวัฒนธรรมจีนอย่างหนึ่งค่ะ

ถ้าเห็นการเขียนพู่กันจีน หรือ ภาพวาดพู่กันจีน ก็จะนึกถึงภาพของความเป็นจีนทันทีเลยค่ะ

ภาพวาดจีน กับ ภาพวาดสำน้ำมันแบบตะวันตก แตกต่างกันอย่างไร

中國畫 跟 西方油彩畫 有什麽不同 ?

แตกต่างกันอย่างนี้ค่ะ

ภาพวาดจีน วาดด้วยหมึกดำกับน้ำ  ภาพสีน้ำมัน วาดด้วยสี

ภาพวาดจีน ในภาพมักจะมีที่ว่างเปล่า ภาพสีน้ำมัน จะต้องระบายสีเต็มไม่เหลือที่ว่าง

ภาพวาดจีน มักจะเขียนบนผ้า  ส่วนภาพวาดตะวันตก มักจะเขียนบนกระดาษ

ภาพวาดจีนแบบใช้พู่กันจุ่มหมึกดำเขียน

ข้อความบนเป็นชื่อจีนของสถาบันฟิวเจอร์ซี ถ้าเขียนด้วย font  คอมพิวเตอร์ก็จะหน้าตาเป็นอย่างนี้นะคะ

อักษรจีนตัวเต็ม 銘中漢語中心  และ อักษรจีนตัวย่อ 铭中汉语中心 

จะเห็นว่าความสวยงามของตัวอักษรมันคนละเรื่องกันเลย

 

ที่สถาบันสอนภาษาจีนของดิฉัน  จะไม่สอนภาษาอย่างเดียว และจะไม่สอนให้เด็กท่องจำด้วยค่ะ

เพราะถือว่านั่นยังเข้าไม่ถึงแก่นของวัฒนธรรม เข้าไม่ถึงแก่นของภาษา

 

แต่จะมีกิจกรรมวัฒนธรรมจีนอื่นๆ เสริมด้วย ที่เคยเอามาลงบล็อกก็มีการสอนร้องเพลงจีนบ้าง

แต่เราไม่ได้ร้องเพลงจีนอย่างเดียวนะคะ เรายังมีการเขียนและวาดรูปพู่กันจีนด้วยค่ะ

เมื่อวันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน ที่ผ่านมา เราก็มีกิจกรรมพู่กันจีนอีก

(ไม่ได้มีบ่อยนะคะ เพราะกิจกรรมนี้มักทำให้โต๊ะตัวสวยที่เหล่าซือไปเลือกหาตั้งนานนั้นเลอะหมึกดำค่ะ 55 )

แต่พอเห็นผลงานที่เด็กๆ ตั้งใจทำออกมา ภายในเวลาชั่วโมงกว่าๆ แล้วชื่นใจมากจนต้องขออนุญาตนำมาโชว์ในบล็อก

ไม่ว่ากันนะคะ

เหล่าซือไม่ได้สอนเอง  

คนสอนเขาก็ไม่ใช่นักเขียนพู่กันมืออาชีิพ 

เพียงแต่ใจรัก  ก็เลยสอนให้เด็กๆ พอได้พื้นฐานเล็กๆ ได้ความเพลิดเพลิน และเด็กๆ ก็ชอบให้เขาสอนค่ะ

ดูผลงานเด็กๆ กันดีกว่า 

ภาพบนทั้งหมดเป็นภาพที่ถ่ายเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาค่ะ

…………………………………………..

แต่ภาพล่างๆ ต่อไปนี้ไปหาภาพเก่ามาลงเพิ่มค่ะ

ส่วนนี้เป็นภาพที่ไม่ได้เขียนด้วยหมึก แต่เขียนด้วยน้ำ

ใช้พู่กันจุ่มน้ำ แล้วเขียนบนกระดาษเขียนน้ำ (ที่เหล่าซือไปหาซื้อเองบ้าง ฝากนักเรียนซื้อจากเซี่ยงไฮ้บ้าง)

พอน้ำแห้งก็เขียนได้อีก  อย่างนี้ประหยัดและไม่เลอะ  แต่กระดาษหาซื้อยากหน่อย

เหล่าซือก็เลยหวงกระดาษมาก แต่แจกให้เด็กๆ คนละใบ พู่กันคนละด้าม เอากลับบ้านไปฝึกต่อ

ตอนไปออกงานอาเซียนที่สีลม มีคนมาขอซื้อ บอกไม่ขายค่ะ

ภาพล่างนี้เป็นนักเรียนเด็กรุ่นแรกๆ ที่มาเรียนที่ฟิวเจอร์ซี ท่าพระค่ะ

ถ่ายไว้เมื่อเดือนตุลาคม 2005  คนในภาพตอนนี้โตหมดแล้วค่ะ

                                                                          เป็นภาพนี้

…………………….

สถาบันสอนภาษาจีนฟิวเจอร์ซี  มีโอกาสต้อนรับทีมถ่ายทำของเครือเนชั่น 2 ครั้งนะคะ

ครั้งแรกก็ปี 2007 (2550) โน้นค่ะ

สองภาพที่เห็นพื้นกระดาษโปสเตอร์สีแดงนี้  เป็นภาพที่เหล่าซือถ่ายไว้ตอนทีมงานของรายการชีพจรโลก

มาถ่ายภาพนักเรียนเขียนพู่กันจีนที่ ฟิวเจอร์ซี ท่าพระ

เพื่อนำไปใช้ประกอบรายการชีพจรโลก ในหัวข้อ การเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย แพร่ภาพช่อง 9 (สมัยนั้น)

และต่อมาสองภาพนี้ก็ได้รับการตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ  เป็นภาพประกอบข่าวที่นักข่าว น.ส.พ. ฉบับนี้สัมภาษณ์เหล่าซือตอนเจอกันในงานแถลงข่าวเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยปัญหาการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย

ซึ่งนำทีมวิจัยโดย ดร. เขียน ธีระวิทย์ ศูนย์จีนศึกษา จุฬาฯ

(ตอนนั้น อาจารย์เขียนท่านให้โอกาสเหล่าซือมีส่วนร่วมเล็กๆ ในงานวิจัยนั้นด้วย)

และต่อมาอีก ก็มีอาจารย์ท่านหนึ่งจากเทคโนบางมดฯ มาบอกเหล่าซือว่ามีคนนำสองภาพนี้ไปโพสต์ในเน็ต แต่ไม่ได้อ้างอิงว่าภาพจากที่ไหน

……………………………………

ครั้งที่สอง ฟิวเจอร์ซี มีโอกาสได้ต้อนรับทีมงานจากรายการการศึกษา ของ แมงโกทีวี เครือเนชั่น อีกครั้ง

เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2010 ( 2553)

ภาพบน คือ พิธีกรคนเก่งของแมงโกทีวีค่ะ

ส่วนภาพนี้ คือ ทีมถ่ายทำระดับมือโปร  ต่อหน้ากล้องแบบนี้ เหล่าซือเลยพูดอะไรผิดๆ ถูกๆ (โทษกล้อง)

หัวหน้าทีมถ่ายอารมณ์ดี ก็ทำให้บรรยากาศเป็นไปอย่างสบายๆ

จ้องแบบนี้ เด็กก็เกร็งสิคะ

พิธีกรมองตามมือน้องด้วยความสนใจ

ดูสีหน้าของพิธีกร กับ น้องคนนี้นะคะ

น้องมองพิธีกรด้วยความสนใจ แต่คงตื่นเต้นจนยิ้มไม่ออก

คนเสื้อสีฟ้าที่ยืนข้างหลังก็คือคนสอนเขียนพู่กันนะคะ

……………………………………………

ทีมถ่ายทำของแมงโกทีวี ตอนนั้นมาถ่ายทำอะไรหรือคะ

เขามาทำสกรู๊ปสัมภาษณ์นักเรียนเหล่าซือที่ได้ทุนรัฐบาลจีนไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่ประเทศจีน

ซึ่งในปีนั้น ได้พร้อมกันสองคน และเป็นนักเรียนดีทั้งคู่ด้วยค่ะ

คนกลางเสื้อลาย คือ คุณปึ๊ง เกียรตินิยมจากรัฐศาสตร์ IR จุฬาฯ ได้รับทุนไปเรียนต่อสาขาเศรษฐศาสตร์

ที่มหาวิทยาลัยฟู่ตั้น (复旦大学)  ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของนครเซี่ยงไฮ้

คนริมเสื้อลายน้ำตาล คือ คุณโจ้ เกียรตินิยมจากวิศวเคมี จุฬาฯ ได้รับทุนไปศึกษาต่อสาขาบริหารอุตสาหการ

ที่มหาวิทยาลัยชิงฮว๋า (清华大学) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งสายวิทย์ของจีน

ขอบคุณ พื้นที่ของ OKnation Blog

ขอบคุณกอง บก. ที่กรุณาให้เรื่องนี้เป็นเรื่องแนะนำจาก กอง บก. โอเคเนชั่น

วันที่ 11 มิถุนายน 2013 ค่ะ

ขอบคุณบล็อกเกอร์และผู้อ่าน และขอบคุณสำหรับทุกความคิดเห็นค่ะ

วัฒนธรรมจีน 中国文化 Chinese Culture

Flag Counter


Share Button
นักเรียนของเรา
แหล่งรวมบทความของเรา

OK

BC BT

Fan Page
จำนวนผู้เข้าชม
Flag Counter