Get Adobe Flash player
Hits: 15717

This post has already been read 35527 times!

Rating:

ศิลปะการเขียนพู่กันจีน 中國書法

ป็นมรดกทางวัฒนธรรมจีนอย่างหนึ่งค่ะ

ถ้าเห็นการเขียนพู่กันจีน หรือ ภาพวาดพู่กันจีน ก็จะนึกถึงภาพของความเป็นจีนทันทีเลยค่ะ

ภาพวาดจีน กับ ภาพวาดสำน้ำมันแบบตะวันตก แตกต่างกันอย่างไร

中國畫 跟 西方油彩畫 有什麽不同 ?

แตกต่างกันอย่างนี้ค่ะ

ภาพวาดจีน วาดด้วยหมึกดำกับน้ำ  ภาพสีน้ำมัน วาดด้วยสี

ภาพวาดจีน ในภาพมักจะมีที่ว่างเปล่า ภาพสีน้ำมัน จะต้องระบายสีเต็มไม่เหลือที่ว่าง

ภาพวาดจีน มักจะเขียนบนผ้า  ส่วนภาพวาดตะวันตก มักจะเขียนบนกระดาษ

ภาพวาดจีนแบบใช้พู่กันจุ่มหมึกดำเขียน

ข้อความบนเป็นชื่อจีนของสถาบันฟิวเจอร์ซี ถ้าเขียนด้วย font  คอมพิวเตอร์ก็จะหน้าตาเป็นอย่างนี้นะคะ

อักษรจีนตัวเต็ม 銘中漢語中心  และ อักษรจีนตัวย่อ 铭中汉语中心 

จะเห็นว่าความสวยงามของตัวอักษรมันคนละเรื่องกันเลย

 

ที่สถาบันสอนภาษาจีนของดิฉัน  จะไม่สอนภาษาอย่างเดียว และจะไม่สอนให้เด็กท่องจำด้วยค่ะ

เพราะถือว่านั่นยังเข้าไม่ถึงแก่นของวัฒนธรรม เข้าไม่ถึงแก่นของภาษา

 

แต่จะมีกิจกรรมวัฒนธรรมจีนอื่นๆ เสริมด้วย ที่เคยเอามาลงบล็อกก็มีการสอนร้องเพลงจีนบ้าง

แต่เราไม่ได้ร้องเพลงจีนอย่างเดียวนะคะ เรายังมีการเขียนและวาดรูปพู่กันจีนด้วยค่ะ

เมื่อวันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน ที่ผ่านมา เราก็มีกิจกรรมพู่กันจีนอีก

(ไม่ได้มีบ่อยนะคะ เพราะกิจกรรมนี้มักทำให้โต๊ะตัวสวยที่เหล่าซือไปเลือกหาตั้งนานนั้นเลอะหมึกดำค่ะ 55 )

แต่พอเห็นผลงานที่เด็กๆ ตั้งใจทำออกมา ภายในเวลาชั่วโมงกว่าๆ แล้วชื่นใจมากจนต้องขออนุญาตนำมาโชว์ในบล็อก

ไม่ว่ากันนะคะ

เหล่าซือไม่ได้สอนเอง  

คนสอนเขาก็ไม่ใช่นักเขียนพู่กันมืออาชีิพ 

เพียงแต่ใจรัก  ก็เลยสอนให้เด็กๆ พอได้พื้นฐานเล็กๆ ได้ความเพลิดเพลิน และเด็กๆ ก็ชอบให้เขาสอนค่ะ

ดูผลงานเด็กๆ กันดีกว่า 

ภาพบนทั้งหมดเป็นภาพที่ถ่ายเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาค่ะ

…………………………………………..

แต่ภาพล่างๆ ต่อไปนี้ไปหาภาพเก่ามาลงเพิ่มค่ะ

ส่วนนี้เป็นภาพที่ไม่ได้เขียนด้วยหมึก แต่เขียนด้วยน้ำ

ใช้พู่กันจุ่มน้ำ แล้วเขียนบนกระดาษเขียนน้ำ (ที่เหล่าซือไปหาซื้อเองบ้าง ฝากนักเรียนซื้อจากเซี่ยงไฮ้บ้าง)

พอน้ำแห้งก็เขียนได้อีก  อย่างนี้ประหยัดและไม่เลอะ  แต่กระดาษหาซื้อยากหน่อย

เหล่าซือก็เลยหวงกระดาษมาก แต่แจกให้เด็กๆ คนละใบ พู่กันคนละด้าม เอากลับบ้านไปฝึกต่อ

ตอนไปออกงานอาเซียนที่สีลม มีคนมาขอซื้อ บอกไม่ขายค่ะ

ภาพล่างนี้เป็นนักเรียนเด็กรุ่นแรกๆ ที่มาเรียนที่ฟิวเจอร์ซี ท่าพระค่ะ

ถ่ายไว้เมื่อเดือนตุลาคม 2005  คนในภาพตอนนี้โตหมดแล้วค่ะ

                                                                          เป็นภาพนี้

…………………….

สถาบันสอนภาษาจีนฟิวเจอร์ซี  มีโอกาสต้อนรับทีมถ่ายทำของเครือเนชั่น 2 ครั้งนะคะ

ครั้งแรกก็ปี 2007 (2550) โน้นค่ะ

สองภาพที่เห็นพื้นกระดาษโปสเตอร์สีแดงนี้  เป็นภาพที่เหล่าซือถ่ายไว้ตอนทีมงานของรายการชีพจรโลก

มาถ่ายภาพนักเรียนเขียนพู่กันจีนที่ ฟิวเจอร์ซี ท่าพระ

เพื่อนำไปใช้ประกอบรายการชีพจรโลก ในหัวข้อ การเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย แพร่ภาพช่อง 9 (สมัยนั้น)

และต่อมาสองภาพนี้ก็ได้รับการตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ  เป็นภาพประกอบข่าวที่นักข่าว น.ส.พ. ฉบับนี้สัมภาษณ์เหล่าซือตอนเจอกันในงานแถลงข่าวเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยปัญหาการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย

ซึ่งนำทีมวิจัยโดย ดร. เขียน ธีระวิทย์ ศูนย์จีนศึกษา จุฬาฯ

(ตอนนั้น อาจารย์เขียนท่านให้โอกาสเหล่าซือมีส่วนร่วมเล็กๆ ในงานวิจัยนั้นด้วย)

และต่อมาอีก ก็มีอาจารย์ท่านหนึ่งจากเทคโนบางมดฯ มาบอกเหล่าซือว่ามีคนนำสองภาพนี้ไปโพสต์ในเน็ต แต่ไม่ได้อ้างอิงว่าภาพจากที่ไหน

……………………………………

ครั้งที่สอง ฟิวเจอร์ซี มีโอกาสได้ต้อนรับทีมงานจากรายการการศึกษา ของ แมงโกทีวี เครือเนชั่น อีกครั้ง

เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2010 ( 2553)

ภาพบน คือ พิธีกรคนเก่งของแมงโกทีวีค่ะ

ส่วนภาพนี้ คือ ทีมถ่ายทำระดับมือโปร  ต่อหน้ากล้องแบบนี้ เหล่าซือเลยพูดอะไรผิดๆ ถูกๆ (โทษกล้อง)

หัวหน้าทีมถ่ายอารมณ์ดี ก็ทำให้บรรยากาศเป็นไปอย่างสบายๆ

จ้องแบบนี้ เด็กก็เกร็งสิคะ

พิธีกรมองตามมือน้องด้วยความสนใจ

ดูสีหน้าของพิธีกร กับ น้องคนนี้นะคะ

น้องมองพิธีกรด้วยความสนใจ แต่คงตื่นเต้นจนยิ้มไม่ออก

คนเสื้อสีฟ้าที่ยืนข้างหลังก็คือคนสอนเขียนพู่กันนะคะ

……………………………………………

ทีมถ่ายทำของแมงโกทีวี ตอนนั้นมาถ่ายทำอะไรหรือคะ

เขามาทำสกรู๊ปสัมภาษณ์นักเรียนเหล่าซือที่ได้ทุนรัฐบาลจีนไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่ประเทศจีน

ซึ่งในปีนั้น ได้พร้อมกันสองคน และเป็นนักเรียนดีทั้งคู่ด้วยค่ะ

คนกลางเสื้อลาย คือ คุณปึ๊ง เกียรตินิยมจากรัฐศาสตร์ IR จุฬาฯ ได้รับทุนไปเรียนต่อสาขาเศรษฐศาสตร์

ที่มหาวิทยาลัยฟู่ตั้น (复旦大学)  ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของนครเซี่ยงไฮ้

คนริมเสื้อลายน้ำตาล คือ คุณโจ้ เกียรตินิยมจากวิศวเคมี จุฬาฯ ได้รับทุนไปศึกษาต่อสาขาบริหารอุตสาหการ

ที่มหาวิทยาลัยชิงฮว๋า (清华大学) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งสายวิทย์ของจีน

ขอบคุณ พื้นที่ของ OKnation Blog

ขอบคุณกอง บก. ที่กรุณาให้เรื่องนี้เป็นเรื่องแนะนำจาก กอง บก. โอเคเนชั่น

วันที่ 11 มิถุนายน 2013 ค่ะ

ขอบคุณบล็อกเกอร์และผู้อ่าน และขอบคุณสำหรับทุกความคิดเห็นค่ะ

วัฒนธรรมจีน 中国文化 Chinese Culture

Flag Counter

อาจารย์สุวรรณา

Future C อาจารย์สุวรรณา

บทความและภาพ สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย ยินดีเผยแพร่เพื่อเป็นความรู้ แบ่งปันได้แต่ต้องไม่ดัดแปลงต้นฉบับ ไม่เพื่อการค้า และอ้างอิงแหล่งที่มาให้ชัดเจน 228 post in this blog.

Comments

comments


Share Button
นักเรียนของเรา
แหล่งรวมบทความของเรา

OK

BC BT

Fan Page
จำนวนผู้เข้าชม
Flag Counter