
อาจารย์สุวรรณา
สำนวนจีนและสุภาษิต 成语 讳疾忌医 และ 良药苦口 ขมเป็นยา
** เรื่องนี้ โพสต์ครั้งแรกในโอเคเนชั่นบล็อกเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2011 (พ.ศ. 2554) และได้รับเกียรติจาก บก.โอเคเนชั่นบล็อก เลือกให้เป็นเรื่องแนะนำจากกอง บก.
หลังจากที่โพสต์เรื่องนี้ไป ได้มีคนคัดลอกไปโพสต์ในเว็บไซต์ของผู้จัดการออนไลน์ โดยเขียนลงในลักษณะที่ให้ผู้อ่านเข้าใจว่าคนโพสต์ในเว็บบอร์ดผู้จัดการเป็นคนเขียนและแปลเอง
ซึ่งถือว่าเป็นการกระทำที่น่าละอาย ละเมิดลิขสิทธิ์ เข้าข่ายทำผิดกฎหมาย และขาดจริยธรรม
เรื่องนี้เคยร้องเรียนไปทางผู้ดูแลเว็บบอร์ดของผู้จัดการออนไลน์แล้ว แต่เวลาผ่านไป ก็ยังไม่พบว่ามีการปรับปรุง หวังว่าผู้คัดลอกจะทำการปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องตามหลักจรรยาบรรณ
…………………………….
สำนวนจีน 成语 讳疾忌医 และ 良药苦口 ขมเป็นยา
ไม่มีใครที่ไม่เคยทำผิดเลย แต่เมื่อมีคำวิจารณ์ เราควรมีท่าทีรับฟังอย่างไร
วันนี้จะขอแปลและเขียนขยายความเกี่ยวกับสุภาษิตโบราณของจีน 3 ค่ะ
เป็นสุภาษิตจีนที่เกี่ยวกับท่าทีในการรับฟังคำวิจารณ์
สุภาษิตจีนคำว่า
良药苦口利于病,忠言逆耳利于行。
เป็นคำที่สอนให้เราควรมีท่าทีอย่างไรในการรับฟังความคิดเห็นและคำวิจารณ์ของผู้อื่นที่มีต่อตัวเรา
(应该怎么正确对待别人的意见和批评。)
良药 ( ยาดี ) 苦口 ( ขมปาก )
忠言 ( คำพูดที่หวังดี ) 逆耳 ( ขัดหู )
良药苦口利于病,忠言逆耳利于行。
ถ้าแปลตรงตัวก็แปลได้ว่า
ยาดีขมปากมีคุณในการรักษาโรค คำตักเตือนที่ขัดหูมีคุณต่อการปรับปรุงตัว
หมายความว่า ยาประสิทธิภาพดีที่มีรสขมเป็นประโยชน์ต่อการรักษาโรค ทำให้หายป่วยได้ คำพูดหวังดีที่ฟังดูขัดหูเป็นประโยชน์ต่อการนำไปปฏิบัติ
ที่มา
มาจากคำพูดของขงจื่อ ปราชญ์โบราณของจีนซึ่งมีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 2500 กว่าปีก่อน
( ขงจื่อ นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ของจีน มีชีวิตอยู่ระหว่างปี 551 – 547 ก่อนคริตกาล โดยขงจื่อเกิดก่อนพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานประมาณ 8 ปี )
ศิษยานุศิษย์ของขงจื่อได้รวมรวมคำสอนของขงจื่อนี้ไว้ใน “บันทึกคำสอนขงจื่อ” 《孔子家语•六本》ซึ่งชาวจีนใช้สอนคนรุ่นต่อๆ มาจนกลายเป็นสุภาษิต
ยารักษาโรคของจีนโบราณเป็นยาสมุนไพร ส่วนมากมีรสขมหรือขื่น
ส่วนคำพูดที่สอนให้คนทำความดี หรือคำวิจารณ์ติเตียนนั้น มักจะเป็นคำพูดที่คนไม่ชอบฟัง เพราะโดยธรรมชาติคนเราจะชอบฟังคำยกย่องสรรเสริญหรือคำประจบสอพลอมากกว่าคำเตือน
การที่คนคนหนึ่งจะวิจารณ์ข้อบกพร่องของคนอื่นหรือเพื่อน ต้องใช้ความกล้าหาญมาก
เพราะเสี่ยงต่อการถูกเกลียดชัง บางเรื่องจะกล้าเตือนเฉพาะคนในครอบครัวเท่านั้น
สุภาษิตจีน 良药苦口利于病,忠言逆耳利于行。คำนี้อุปมาว่า
ยาที่ทั้งขมทั้งขื่นยากในการกลืนกินแต่ช่วยรักษาโรคที่ป่วยอยู่ให้หายได้ฉันท์ใด
คำพูดที่ชี้ให้เห็นข้อบกพร่องหรือคำวิจารณ์ที่แสลงหูย่อมมีประโยชน์ต่อการปฏิบัติตัวของคนเราฉันท์นั้น
มีคนเปรียบเทียบสุภาษิตจีน 良药苦口利于病,忠言逆耳利于行。นี้กับภาษาอังกฤษไว้ว่า
良药苦口: Good medicine always tastes bitter.
良药苦口利于病:
1. Good medicine for health tastes bitter to the mouth.
2. Good medicine is bitter in the mouth
ยังมีสำนวนจีนโบราณที่มาจากคำพูดของขงจื่ออีกคำหนึ่ง คือ
有则改之,无则加勉
意思是:对别人给自己指出的缺点错误,如果有,就改正,如果没有,就用来勉励自己。
คำนี้หมายความว่า ถ้าเห็นว่าเรามีจุดอ่อนข้อผิดพลาดตามที่ผู้อื่นวิพากษ์วิจารณ์มา ก็รับมาปรับปรุงแก้ไขเสีย แต่ถ้าไม่มีตามที่คนอื่นว่ามา ก็รับเอาคำวิจารณ์นั้นมาเตือนใจตนเอง
ถ้าแปลตรงตัวก็จะคล้ายคำไทยที่ว่า
” มีข้อผิดพลาดก็แก้เสีย ไม่มีก็ถือเป็นข้อเตือนใจ “
ที่มา คำนี้มีการบันทึกไว้ใน《论语》คำสอนของขงจื่อ
……………………………………………………
讳疾忌医
讳疾忌医 (โรคกลัวหมอ ปิดบังโรคเพราะกลัวหมอ) เป็นสำนวนจีนอีกคำหนึ่ง
讳疾忌医:不愿意接受别人的批评意见,从而由小错到大错,由大错到不可救药。
หมายความว่า ป่วยแต่ไม่ยอมรับการวินิจฉัยของแพทย์ และไม่ยอมรับการรักษา
( ทำให้โรคนั้นลุกลามจนกลายเป็นโรคร้ายแรงที่ไม่อาจเยียวยาได้ )
การใช้
ใช้คำนี้ในการอุปมา ไม่ยอมรับคำวิจารณ์ของผู้อื่น ทำให้ข้อผิดพลาดที่มีอยู่เพียงเล็กน้อยค่อยๆ กลายเป็นข้อผิดพลาดที่ใหญ่ขึ้น
แปลและเรียบเรียงโดย สุวรรณา สนเที่ยง วันที่ 2 สิงหาคม 2011 (สงวนลิขสิทธิ์)
ภาษาจีน-ไทยเปรียบเทียบ 泰汉语比较 (张碧云)
ขอบคุณทุกยอดคลิกอ่านเกร็ดภาษาจีน
สอนพูดภาษาจีนกลาง 7 ประโยคที่ใช้ในชีวิตประจำวัน (ฟังเสียง)
ขออนุญาตทดลองโพสคลิปเสียงอีกครั้งนะคะ หลังจากที่โพสต์ไปครั้งแรกไม่ประสบความสำเร็จ คราวนี้ลองเอาลงยูทูป แต่ภาพคุณภาพไม่ค่อยดี เสียงคงจะพอฟังได้
สอนพูดประโยคภาษาจีนกลางง่ายๆ 7 ประโยค
1. 可以进来吗? (ขออนุญาตเข้ามาได้มั้ย) เป็นรูปประโยคเชิงขออนุญาต
2. 请进。 (เชิญเข้ามาค่ะ / ครับ) เป็นรูปประโยคเชื้อเชิญ
3 您贵姓? (ท่านแซ่อะไรคะ – ท่านนามสกุลอะไรครับ)
เป็นคำสุภาพในการถามนามสกุลของคนที่เพิ่งรู้จัก
4. 我姓陆,叫陆雨平。 (ฉันแซ่ลู่ ชื่อ ลู่ยวี่ผิง) เป็นรูปประโยคแนะนำตัวเอง
5. 认识你很高兴。 (ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ / ครับ) เป็นคำธรรมเนียม
6. 我是语言学院的学生。(ฉันเป็นนักศึกษาของวิทยาลัยภาษา)
เป็นรูปประโยคที่แนะนำสถานะของตัวเอง
7. 我学习汉语。 (ฉันเรียนภาษาจีน) เป็นรูปประโยคที่บอกว่าทำอะไร
คลิกเข้าไปฟังในลิงก์นี้ (มือใหม่ฝึกทำ คุณภาพของภาพไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ)
ประโยคภาษาจีนสำหรับชีวิตประจำวัน
เสียง สุวรรณา สนเที่ยง
” ไก่ ” เป็นคำไทยแท้ หรือ เป็นคำยืม (เสียง) จากภาษาจีน
เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา นักเรียนคนหนึ่งที่เดินทางมาเรียนจากจังหวัดจันทบุรี พูดขึ้นในห้องเรียนภาษาจีนของดิฉันว่า
“ พ่อหนูบอกว่า คำว่า ไก่ ในภาษาไทย น่าจะมาจากคำว่า “ ก๊าย “ ในภาษาจีนกวางตุ้ง ค่ะ”
เหล่าซือก็เข้าใจทำนองนั้น
เหล่าซือชอบเปรียบเทียบภาษาไทยกับภาษาจีน ว่ามีส่วนที่เหมือนกันและต่างกันอย่างไรบ้าง เพื่อประกอบการสันนิฐานของตัวเอง
อย่างคำว่า “ไก่” นี้ ในวิชาภาษาไทย เราเรียนกันมาว่า ไก่ เป็นคำไทยแท้
ลักษณะของคำไทยแท้ คำไทยแท้ เป็นคำที่มีใช้ดั้งเดิมอยู่ในภาษาไทย คำไทยแท้มีลักษณะสำคัญที่เป็นเอกลักษณ์ ของตัวเองที่ไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใคร
เหล่าซือลองทำตารางเปรียบเทียบการออกเสียงของคำว่า “ ไก่ ” ในภาษาจีนสำเนียงต่างๆ ขึ้นมา 4 เสียง
ตารางข้างบนนี้เหล่าซือทำขึ้นเองเพื่อให้เห็นชัด
ลองเปรียบเทียบการออกเสียง ไก่ กับภาษาอื่นๆ จากตารางข้างล่างนี้ ซึ่งเป็นตารางที่ได้จาก วิกิพีเดีย (บรรทัดสุดท้าย)
คำว่า ไก่ ภาษาบาลีออกเสียงว่า กุกกุฎ, กุกกุฏ
จะเห็นได้ว่า คำว่า ไก่ ในภาษาไทย ออกเสียงคล้ายภาษาจีนมากที่สุด
ภาษาจีนสำเนียงถิ่นของชาวจีน เป็นภาษาที่ใช้กันมานานกว่าพันปี โดยเฉพาะภาษาจีนฮากกา และ ภาษาจีนกวางตุ้ง ที่นักวิจัยภาษาศาสตร์ โบราณคดีและประวัติศาสตร์จีนสันนิฐานว่า เป็นภาษาทางการหรือภาษากลางของจีนในสมัยโบราณ
ยังมีคำไทยแท้คำอื่นๆ อีก …
ลักษณะพิเศษของภาษาตระกูลฮั่น – ธิเบต (汉藏语系) ภาษาฮั่น ก็คือ ภาษาจีนนั่นเอง เพราะชาวจีนเรียกตัวเองว่า ชาวฮั่น
1. เป็นคำโดด
2. มีเสียงวรรณยุกต์ (有声调)
3. หลักไวยากรณ์หลักคือการเรียงลำดับคำ เมื่อเรียงลำดับคำต่างกัน ความหมายก็เปลี่ยน
4. รูปประโยคหลักๆ คือ ประธาน + กริยา + กรรม
………….
ท่านที่มีความรู้ภาษาจีนสำเนียงอื่นๆ เช่น ฮกเกี้ยน ไหหลำ กวางสี ยูนาน มาร่วมกันแชร์ความเห็นนะคะ
ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านและร่วมแสดงความเห็นค่ะ
หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับคนเรียนภาษาศาสตร์และท่านที่สนใจค่ะ
หมายเหตุ เรื่องนี้โพสต์ครั้งแรกใน OKnation Blog โดยใช้นามปากกาว่า “เหล่าซือสุวรรณา”
และได้รับเกียรติจากกอง บก.โอเคเนชั่นบล็อก เลือกให้เป็น ” เรื่องแนะนจากกอง บก. 5 เมษายน 2013 “
รวมทั้งได้รับเกียรติจากบล็อกเกอร์ใน เว็บไซต์ชมรมคนฮากกา มาขออนุญาตนำไปช่วยเผยแพร่ต่อ
สงวนลิขสิทธิ์โดย สุวรรณา สนเที่ยง
5 เมษายน 2013
Facebook : Suwanna Future C
https://www.facebook.com/SuwannaFutureC
ผู้เขียนตอบคุณประสิทธิ์ว่า
…… เป็นคำถามที่เหล่าซืออยากแสดงความเห็นมากค่ะ
คำนี้เหล่าซือก็เคยเอามาบอกกับนักเรียนเหมือนกัน (และยังมีอีกหลายๆ คำอย่างที่คุณประสิทธิ์ให้ความเห็นไว้ค่ะ)
เอาคำจีนก่อนนะคะ เดี๋ยวค่อยเปรียบเทียบกับคำไทย
คำจีนที่ออกเสียงว่า ” บ่ ” “บ๊อ” ที่ใช้ในภาษาจีนสำเนียงแต้จิ๋ว (潮州话)
และคำจีนที่ออกเสียงว่า “ม่อ” ในภาษาจีนสำเนียงฮากกา (客家话 ภาษาแคะ)
มาจากอักษรจีนตัวนี้ค่ะ 无 (無)= 没有 แปลว่า “ไม่มี”
ภาษาจีนกลางจะออกเสียงว่า หวู
อักษรจีนตัวนี้เป็นภาษาโบราณ (ปัจจุบันยังใช้อยู่)
เหล่าซือก็คิดว่า คำว่า บ่ ในภาษาไทยเดิม ที่แปลว่า ไม่มี ก็น่าจะรับหรือยืมมาจากภาษาจีนเดิมเมื่อนานมาแล้วค่ะ
เป็นอีกคำที่น่าสนใจ ไว้เหล่าซือจะเอาไปเขียนเพิ่มอีก 1 คำนะคะ
ขอบคุณค่ะ
สุวรรณา

ภาษาจีน-ไทยเปรียบเทียบ 泰汉语比较
ภาษาที่มีความคล้ายกับภาษาแม่ ย่อมเรียนได้ง่ายกว่าภาษาที่ต่างกับภาษาแม่
ภาษาไทยมีคำที่ออกเสียงคล้ายภาษาจีนมากถึง 2000 กว่าคำ มีคำไหนบ้าง
เอาคำที่ท่านรู้มาแชร์กันในเอนทรี่นี้บ้างนะคะ
“ ขี่ ” “ ม้า ” เป็นคำไทยแท้ หรือ คำยืม (เสียง) ภาษาจีน เกือบจะเหมือนกันเป๊ะ
หลังจากที่ดิฉันโพสต์เรื่อง
ไก่ เป็นคำไทยแท้ หรือ เป็นคำยืม (เสียง) จากภาษาจีน
Posted by เหล่าซือสุวรรณา , ผู้อ่าน : 412 เมื่อ วันศุกร์ ที่ 5 เมษายน 2556
ก็ได้รับความเห็นที่น่าสนใจจากหลายๆ ท่าน เป็นความเห็นที่สร้างสรรค์ ให้แง่คิด และเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาภาษาและวัฒนธรรม แต่เนื่องจากมีจำนวนมาก จึงขอเชิญท่านผู้อ่านคลิกกลับไปอ่านในเอนทรี่เดิม เพื่อจะได้บริบทและถ้อยคำที่ครบถ้วน ( อ่านความเห็น คลิกดูที่นี่ แล้วเลื่อนไปข้างล่าง)
ตัวอย่างเช่น บล็อกเกอร์ wanderer เขียนว่า
สวัสดีคะ เหล่าซือสุวรรณา
ดิฉันเองก็เคยสงสัยคำนี้เหมือนกันคะว่า จะมาจากภาษากวางตุ้ง เนื่องจากเสียงออกมาเกือบ เป๊ะ เลยนะคะ
แต่จะว่าไป คนไทยก็มีเลี้ยงไก่กินไก่มาแต่โบราณเหมือนกันนี่นะ ตกลงใครยืมใครกันละนี่
วันนี้ เหล่าซือมีอีกสองคำนะคะ ที่สังเกตว่า เสียงภาษาไทยคล้ายเสียงภาษาจีนมาก คือคำว่า “ม้า” กับ “ขี่” ในภาษาไทยค่ะ
ชาวจีนฮากกาเรียก ม้า ว่า ” มา ” มาแต่โบราณ ส่วนภาษาจีนกลาง (แมนดาริน) เรียก ม้า ว่า หม่า
คำว่า ” ขี่ ” ในภาษาไทย ชาวจีนฮากกาก็พูดว่า “ขี่” ตั้งแต่โบราณเหมือนกัน จีนกลางพูดว่า “ฉี”
คำว่า ขี่มา หรือ ฉีหม่า ในภาษาจีน ก็เกือบจะเหมือนกันเป๊ะกับคำไทย “ขี่ม้า”
คำนิยาม ลักษณะของคำไทยแท้
คำไทยแท้ เป็นคำที่มีใช้ดั้งเดิมอยู่ในภาษาไทยคำไทยแท้มีลักษณะสำคัญที่เป็นเอกลักษณ์ ของตัวเองที่ไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใคร
ลองเปรียบเทียบการออกเสียง คำว่า ” ม้า” กับภาษาอื่นๆ จากตารางข้างล่างนี้ (บรรทัดสุดท้าย)
คำว่า ม้า ภาษาบาลีออกเสียงว่า ดุรงค, อัสส, อัสดร
จะเห็นได้ว่า คำว่า ม้า มะเมีย ในภาษาไทย ออกเสียงคล้ายภาษาจีนมากที่สุด
ตารางที่มีชื่อสัตว์เป็นภาษาต่างๆ ข้างบนนี้ได้จาก วิกิพีเดีย
อย่างนี้ เวลาคนไทยพูดคำว่า “ม้า” คนเกือบครึ่งโลก (รวมคนชาติต่างๆ ที่เรียนภาษาจีนด้วย) ก็เข้าใจแล้วสิคะว่าเราหมายถึงอะไร
ในตำราจีนบอกว่า ภาษาจีนเป็นภาษาในตระกูลฮั่น – ธิเบต และภาษาไทยจัดอยู่ในกิ่งภาษาของตระกูลนี้
ภาษาฮั่น ก็คือ ภาษาจีนนั่นเอง เนื่องจากชาวฮั่นเป็นคนชาติพันธุ์ 95 % ของประเทศจีน
เรื่องตัวเขียน ไม่เหมือนกัน แต่เรื่องการออกเีสียงและการสร้างคำ การสร้างประโยค มีส่วนคล้ายกันมาก
ภาษาไทยเป็นกิ่งภาษาของภาษาตระกูลฮั่น-ธิเบต
ลักษณะพิเศษของภาษาตระกูลฮั่น – ธิเบต (汉藏语系)
1. เป็นคำโดด
2. มีเสียงวรรณยุกต์ (有声调)
3. หลักไวยากรณ์สำคัญ คือ การเรียงลำดับคำ
4. รูปประโยคหลักๆ คือ ประธาน + กริยา + กรรม
………………………………
ทั้งหมดนี้เป็นข้อสังเกตส่วนตัวของ สุวรรณา สนเที่ยง
8 เมษายน 2013
Facebook : Suwanna Future C
https://www.facebook.com/SuwannaFutureC
เรื่องเกี่ยวข้อง
ภาษาไทยกับภาษาจีน มีอะไรที่เหมือนกันหรือไม่ ? (คลิกอ่าน)
Posted by เหล่าซือสุวรรณา , ผู้อ่าน : 5386
ข้อมูลประกอบจากเว็บไซต์อื่นๆ
การพิจารณาว่าคำใดเป็นคำไทยแท้
เขียนโดย ภาษาสยาม |
วันพุธที่ 10 กันยายน 2008 เวลา 21:32 น. |
ปัจจุบันนั้นมีคำศัพท์ใหม่เกิดขึ้นมากมาย จึงเป็นที่กังขากันว่าเราจะทราบได้อย่างไรว่าคำไหนคือคำไทยแท้
– ภาษาไทยเป็นคำโดด ซึ่งหมายถึง คำที่ใช้ได้โดยอิสระ คือแต่ละคำใช้ได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนรูปคำ – คำภาษาไทยโดยมากเป็นคำพยางค์เดียว ส่วนเหตุที่มีคำไทยหลายคำที่มีหลายพยางค์นั้น เพราะ คำเหล่านั้นเกิดขึ้นในชั้นที่สอง ไม่ใช่คำไทยเดิม คำไทยแท้เริ่มจากคำมูล ( คำที่มีความหมายในตัวสมบูรณ์ และไม่อาจแยกพยางค์ออกไปโดยให้มีความหมายได้อีก ) ซึ่งมักมีพยางค์เดียว คือ เปล่งเสียงออกมาครั้งเดียว – คำที่ใช้เรียกเครือญาติมาแต่เดิม เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง พี่ ป้า น้า อา – คำที่เป็นสรรพนาม เช่น มึง กู สู เรา เขา แก เอ็ง อี – คำที่บอกกิริยาอาการโดยทั่วๆไปซึ่งใช้มาก่อน เช่น นั่ง นอน คลาน ย่าง ย่ำ ก้ม เงย เกิด ตาย – คำที่บอกจำนวน เช่น อ้าย ยี่ ร้อย เอ็ด ล้าน จ้าน จัง – คำที่ใช้เรียกเครื่องมือเครื่องใช้ หรือสัตว์สิ่งของที่ใช้ประกอบอาชีพมาแต่โบราณ เช่น บ้าน เรือน ครัว วัว ควาย หม้อ เสา – คำเรียกชื่อธรรมชาติซึ่งมีมานาน เช่น คลอง ห้วย หนอง ไฟ ดิน หิน ฝน – คำที่ใช้เรียกสีที่รู้จักกันโดยทั่วไป เช่น ดำ ด่าง ม่วง เขียว มอ ฟ้า – คำที่เป็นคุณศัพท์เก่าแก่ เช่น ใหญ่ หนัก แบน กลม เกลียด ลืม หลง อ้วน ซูบ ที่มา หนังสือหลักภาษา ไวยากรณ์ไทย |
ขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์
http://www.pasasiam.com/home/index.php/general/pasathai-principle/199-2008-09-10-14-32-26
…………………………
ลักษณะของคำไทยแท้
๑. คำไทยมักเป็นคำพยางค์เดียว
ภาษาไทยจัดอยู่ในตระกูลภาษาคำโดด (Isolating Language) หรือคำพยางค์เดียวโดดๆ (Monosyllabic Language) ลักษณะของคำโดดนั้น ส่วนมากมักเป็นคำพยางค์เดียวโดยพิจารณาจากคำดังเดิม หรือคำพื้นฐานของภาษาอันได้แก่ ถ้อยคำที่มนุษย์ใช้กันเป็นประจำมักเป็นคำที่ใช้เรียกสิ่งต่างๆ อันได้แก่ คำนาม และคำกริยาที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์หรือคำขยายที่ใช้ธรรมดาสามัญทั่วๆไป
๒. ภาษาไทยที่มีระบบเสียงสูงต่ำ
ภาษาไทยที่มีระบบเสียงสูงต่ำ ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีลักษณะเหมือนเสียงดนตรี วรรณยุกต์จึงมีประโยชน์แล้วจำเป็นในภาษาไทยมาก เพราะคำเดียวกัน ถ้าออกเสียงวรรณยุกต์ผิดไป ระดับเสียงก็ผิดไป ความหมายก็ผิดไปด้วย
๓. คำไทยแท้มักใช้ตัวสะกดตรงตามมาตรา
ขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ http://buka.freeoda.com/?p=9
…………………
คำยืมภาษาจีนที่มีใช้ในภาษาไทย
ไทยและจีนเป็นมิตรประเทศที่ติดต่อเจริญสัมพันธไมตรี และค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าและศิลปะ วัฒนธรรมอันดีงามมาช้านาน ชาวจีนที่มาค้าขายได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ภาษาจีนจึงเข้ามาสู่ไทยโดยทางเชื้อชาติ นอกจากนี้ภาษาจีนและภาษาไทยยังมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน จึงทำให้มีคำภาษาจีนเข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยจนแทบแยกกันไม่ออก
การยืมคำภาษาจีนมาใช้ในภาษาไทยนั้น เราได้มาจากภาษาพูดไม่ใช่ภาษาเขียน เพราะระบบการเขียนภาษาจีนต่างกับภาษาไทยมาก ภาษาจีนเขียนอักษรแทนคำเป็นตัว ๆ ไม่มีการประสมสระ พยัญชนะ คำภาษาจีนที่มีใช้ในภาษาไทย นำมาเป็นคำเรียกชื่อ เครื่องใช้แบบจีน ยาสมุนไพร สัตว์ อาหาร เครื่องแต่งกาย ธุรกิจการค้า มหรสพ และอื่น ๆ
ภาษาจีนมีลักษณะคล้ายคลึงกับภาษาไทยมาก คือ เป็นภาษาคำโดด มีเสียงวรรณยุกต์ย เมื่อนำคำภาษาจีนมาใช้ในภาษาไทยซึ่งมีวรรณยุกต์และสระประสมใช้จึงทำให้สามารถออกเสียงวรรณยุกต์และสระตามภาษาจีนได้อย่างง่ายดาย คำภาษาจีนยังมีคำที่บอกเพศในตัวเช่นเดียวกับภาษาไทยอีกด้วย เช่น เฮีย (พี่ชาย) ซ้อ (พี่สะใภ้) เจ๊ (พี่สาว) นอกจากนี้การสะกดคำภาษาจีนในภาษาไทยยังใช้ตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกดทั้ง 8 มาตราและมีการใช้ทัณฑฆาต หรือตัวการันต์ด้วย
หลักการสังเกตคำภาษาไทยที่มาจากภาษาจีน
- นำมาเป็นชื่ออาหารการกิน เช่น ก๋วยเตี๋ยว เต้าทึง แป๊ะซะ เฉาก๊วย จับฉ่าย เป็นต้น
- เป็นคำที่เกี่ยวกับสิ่งของเครื่องใช้ที่เรารับมาจากชาวจีน เช่น ตะหลิว ตึก เก้าอี้ เก๋ง ฮวงซุ้ย
- เป็นคำที่เกี่ยวกับการค้าและการจัดระบบทางการค้า เช่น เจ๋ง บ๋วย หุ้น ห้าง โสหุ้ย เป็นต้น
- เป็นคำที่ใช้วรรณยุกต์ตรี จัตวา เป็นส่วนมาก เช่น ก๋วยจั๊บ กุ๊ย เก๊ เก๊ก ก๋ง ตุ๋น เป็นต้น
วิธีนำคำยืมภาษาจีนมาใช้ในภาษาไทย
ไทยนำคำภาษาจีนมาใช้ โดยมากไทยเลียนเสียงจีนได้ใกล้เคียงกว่าชาติอื่น ๆ เช่น เกาเหลา ตั้งฉ่าย เต้าทึง เต้าหู้ เต้าฮวย บะฉ่อ พะโล้ แฮ่กึ้น เป็นต้น มีบางคำที่นำมาตัดทอนและเปลี่ยนเสียง เช่น เตี้ยะหลิว ตะหลิว บ๊ะหมี่ บะหมี่ ปุ้งกี ปุ้งกี๋
ตัวอย่างคำยืมที่มาจากภาษาจีน
กงสี กงฉิน กงไฉ่ กงเต็ก ก๋วยเตี๋ยว ก๋วยจั๊บ เกาหลา กุ๊ย เก๊ เก๊ก เกี้ยว เกี๊ยว เกี๊ยะ กุยเฮง เก๊ก ก๋ง เก้าอี้ ขาก๊วย เข่ง จับกัง จับฉ่าย จับยี่กี จันอับ เจ๊ง เจี๋ยน เจ เฉาก๊วย เซ้ง เซียน แซ่ แซยิด เซ็งลี้ ซาลาเปา ซิ้ม ตะหลิว เต๋า ตุน ตุ๋น แต๊ะเอีย เต้าหู้ เต้าฮวย เต้าเจี้ยว โต๊ะ ไต้ก๋ง ตังเก บ๊วย บะฉ่อ บะหมี่ บู๊ ปุ้งกี๋ ปอเปี๊ยะ แป๊ะเจี๊ยะ พะโล้ เย็นตาโฟ หวย ยี่ห้อ ลิ้นจี่ ห้าง หุ้น เอี๊ยม โสหุ้ย เฮงซวย ฮวงซุ้ย ฮ่องเต้ อั้งโล่
ตัวอย่างคำยืมที่มาจากภาษาจีน
ก๋วยเตี๋ยวเกี๊ยวบะหมี่ พะโล้นี้ช่างน่าสน
เกาเหลาจับฉ่ายปน ตะหลิวคนตักเฉาก๊วย
อาหารจานเด็ดนี้ ล้วนมากมีสีสันสวย
คนไทยใช้มากด้วย สื่อกันมาภาษาจีน
ขอบคุณเว็บไซต์
http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-1/loanwords/07.html
ป.ล. ข้อเขียนเรื่องนี้ดิฉันโพสต์ครั้งแรกใน OKnation Blog เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2013
โดยใช้นามปากกาว่า “เหล่าซือสุวรณา”
และได้รับเกียรติจาก กอง บก. โอเคเนชั่นบล็อก เลือกให้เรื่องนี้เป็น เรื่องแนะนำจาก กองบก. วันที่ 8 เมษายน 2013
สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย
ภาษาจีน-ไทยเปรียบเทียบ 泰汉语比较
รีรัน วิธีพิมพ์ตัวอักษรจีนในคอมพิวเตอร์ วิธีตั้งค่าภาษาจีนในเครื่อง
ขอนำเรื่องเก่ามาฉายซ้ำอีกเรื่อง ซึ่งเป็นเรื่องที่เหล่าซือเคยเขียนไว้นานมากแล้ว
ในหัวข้อ วิธีพิมพ์ตัวอักษรจีนในคอมพิวเตอร์ วิธีตั้งค่าภาษาจีนเครื่องคอม
ปัจจุบันความต้องการที่จะใช้ภาษาจีนในโซเชียลเน็ตเวิร์คมีมากขึ้นเรื่อยๆ
ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับท่านที่สนใจจะติดตั้งการใช้งานอักษรจีนในคอมพ์
ตอนเหล่าซือเริ่มเขียนใหม่ๆ รู้สึกจะเป็นคนแรกๆ เลยหรือเปล่าที่พิมพ์ภาษาจีนในนี้ ตอนนี้เห็นมีการพิมพ์ภาษาจีนประกอบเอนทรี่เพิ่มขึ้นมาก ทั้งเรื่องท่องเที่ยว ข่าว และอื่นๆ
เห็นมีโฆษณาภาษาจีนมาแปะด้วย (เมื่อก่อนก็ไม่เห็น) เป็นเรื่องดี อยากให้มาโฆษณาที่บ้านโอเคกันมากๆ ค่ะ
………………………………………………………………….
จาก Entry เดิม 29 พฤศจิกายน 2553
วิธีพิมพ์ตัวอักษรจีนในคอมพิวเตอร์ วิธีตั้งค่าภาษาจีนเครื่องคอม
ช่วงนี้ยังมีผู้สนใจสอบถามวิธีการตั้งค่าภาษาจีนในคอมพิวเตอร์มา ดิฉันจึงขออนุญาตนำคำแนะนำของ
คุณสรารี ชาญอุไร(金利同学)จากเขตอุตสาหกรรมซอฟแวร์ ประเทศไทย (ซอฟแวร์ปาร์ค) สวทช. ที่ได้กรุณาเขียนแนะนำวิธีติดตั้งภาษาจีนบนเครื่องคอมพิวเตอร์มาให้เพื่อนๆ ที่สถาบันสอนภาษาจีนฟิวเจอร์ซี อย่างละเอียด เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2009
มาโพสไว้ในบล็อกของ OK Nation หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาทุกท่าน
และขอขอบคุณ คุณสรารี มาอีกครั้งในโอกาสนี้ค่ะ
วิธี set ภาษาเครื่องคอมพิวเตอร์
คลิก Start มุมซ้าย
- เลือก Control Panel
- เลือก Regional and Language Options
- เลือก Tab Languages
- คลิก Details
- คลิก Add
- Input Language เลือก Chinese (PRC) ช่อง Keyboard layout/ IME จะเปลี่ยนอัตโนมัติ
- คลิก OK
โดยปกติแล้วจะมี font ภาษาจีนและภาษาอื่นๆ ให้เลือกอยู่แล้วค่ะ แต่หากยังไม่มีหรือต้องการ font อื่น มากกว่าที่มีในเครื่องก็ลองโหลด font ที่ชอบมาเก็บไว้เพื่อเลือกใช้ดูนะคะ
- Font Chinese (PRC) จะเป็นแบบที่เราคุ้นตากันอยู่แล้วค่ะ ตัวอย่างนะคะ
你好, 我 的 同学。
今天 你们 忙 不 忙?
สำหรับวิธีการเรียกใช้
ให้ใช้ ~ เปลี่ยนภาษาเหมือนกับเปลี่ยนอังกฤษ-ไทย ที่เคยใช้ค่ะ เมื่อเห็นไอคอนภาษาเปลี่ยนเป็น ch ก็ทำดังนี้
พิมพ์ pinyin เช่น ni จะปรากฎแถบสี่เหลี่ยมเล็กๆ ตรงมุม > กด enter > ก็จะเป็นตัวหนังสือจีน
แต่เนื่องจากว่ามีคำพ้องเสียงไม่พ้องรูปรวมอยู่ด้วยกัน บางทีจะปรากฎตัวอื่นที่ออกเสียงเดียวกัน แต่คนละความหมายออกมา ดังนั้นหากไม่ใช่ตัวที่ต้องการสามารถคลิกเลือกตัวอักษรได้ โดยจะมีตัวอักษรอื่นที่ออกเสียงเดียวกันให้เลือกโดยใช้เครื่องหมายลูกศรข้างล่างแถบตัวเลขที่คีย์บอร์ดเลื่อนและคลิกเลือกตัวที่ต้องการ
คือบางทีอธิบายอาจงงๆ นะคะ ลองใช้ดูค่ะ
**************************
updated : April 27, 2012
จะเรียกแป้นพิมพ์ภาษาจีนอย่างไร ? (ขั้นตอนต่อจากติดตั้งภาษาจีนในเครื่องได้แล้ว)
อธิบายแล้วไม่เข้าใจ ต้องขอโทษมากๆ ค่ะ วันนี้ลองอธิบายเพิ่มเติมนะคะ
- คลิกที่แท็บ EN-TH-CH จะเห็นบรรทัดล่างสุดเขียนว่า show language bar คลิกตรงนั้น
- จะเห็นมี language bar แถบภาษาขึ้นมาอยู่บนจอในตำแหน่งที่สูงขึ้นมา จากนั้นคลิกที่ CH …
- language bar จะเปลี่ยนเป็น CH Chinese (PRC)
- ด้านขวาสุดของ language bar หลังเปลี่ยนเป็น CH Chinese (PRC) จะมีช่องสามเหลี่ยมเล็กๆ (อยู่ปลายขวาสุด)คลิกสามเหลี่ยมล่างที่มุมชี้ลง (option)
- คลิกตรงสามเหลี่ยมชี้ลง เข้าไปใน option แล้วเลือกติ๊กเครื่องหมายถูกที่ conversion mode ถ้ามีเครื่องหมายถูกอยู่แล้วก็ไม่ต้องติ๊คค่ะ
- บน language bar จะปรากฏช่องที่ให้เลือก 英 ( อังกฤษ) และ 中 (จีน) คลิก 1 ที ก็จะเปลี่ยนเป็น 中/ 英 สลับกัน คลิกให้อยู่ที่ 中
- แต่ถ้าเป็นคำว่า 中 อยู่แล้ว ก็ลงมือพิมพ์ตัวพินอิน อักษรลาตินลงไป เช่น พิมพ์ คำว่า nihao ติดกัน พิมพ์เสร็จ
กด enter
- จอก็จะขึ้นอักษรจีนมาให้ ถ้าไม่ใช่อักษรจีนตัวที่ตัวการ ก็กดเครื่องหมายลูกศรที่ชี้เลื่อนไปทางขวา (ลูกศรบนคีย์บอร์ดแถวกลางล่างที่เป็นรูปลูกศรชี้ขึ้นลงซ้ายขวา) กดแล้วจะเห็นมีแถบอักษรจีนที่ออกเสียงเดียวกันขึ้นมาให้เลือกหลายตัว
- ถ้าใช่อักษรจีนตัวที่ต้องการ เช่น ขึ้นว่า 你好 แต่มีเส้นไข่ปลาอยู่ใต้อักษร
- ก็กด enter เป็นการยืนยันการเลือก เส้นไข่ปลาจะหายไป แต่ถ้าไม่กด enter แล้วไปคีย์ตัวพินอินอื่นๆ
ตัวอักษรจีนนี้ก็จะหายไป เพราะเครื่องคิดว่าเราไม่เลือกค่ะ
เข้าสู่หน้าหลัก ฟิวเจอร์ซี
…………………………………………..
………………………………………..
เข้าใจจีน ผ่าน วัฒนธรรมจีน
中国文化 Chinese Culture
เป็นอะไรที่ชาวจีนทั่วโลกและชาวต่างชาติสนใจศึกษา
เพื่อความ “เข้าใจจีน” 为了 “了解中国”
เป็นศาสตร์และศิลป์ที่มีความล้ำลึกและน่าสนใจอย่างยิ่ง
มันทั้งสะท้อนจิตวิญญาณ ทัศนคติในการดำเนินชีวิต หลักปรัชญา แพทย์แผนโบราณที่ล้ำลึก โหราศาสตร์ที่เร้นลับ อารยธรรมที่น่าทึ่ง ฯลฯ และอะไรอีกหลายอย่างของชาวจีนที่มีมาหลายพันปี
การเรียนภาษาจีน โดยไม่เข้าใจวัฒนธรรมจีน เป็นการเรียนที่ไม่สามารถเข้าถึงจิตวิญญาณของความเป็นจีนได้ !
บทความต่างๆ ที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมจีน อาหารจีน และ เรื่องจีนๆ ในเว็บไซต์นี้
ดิฉันพยายามเขียนรวบรวมขึ้นและจะมาเขียนเพิ่มเรื่อยๆ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้ “เข้าใจจีน” (了解中国)ซึ่งขณะนี้กำลังเป็นกระแสหลักของโลกที่ต้องการติดต่อกับจีน
มีหลายเรื่องเคยโพสต์ใน
OKnation Blog และ Google Blog ที่เอื้อเฟื้อพื้นที่ในการเผยแพร่แบ่งปันความรู้ประสบการณ์
ขอขอบคุณทั้งสองบล็อก มา ณ โอกาสนี้
สุวรรณา สนเที่ยง
2014 – 07 – 09
……………………………………………………………………………………
ขอขอบคุณท่านที่กรุณาร่วมแสดงความคิดเห็น และร่วมแบ่งปันความรู้ประสบการณ์ของท่าน ผ่านทางช่องแสดงความคิดเห็นในเว็บนี้ ทั้งที่ช่องแสดงความเห็นใต้บทความ และผ่านช่องทาง Facebook Fanpage : Suwanna Future C
เพื่อนของเรา
เสื้อเด็กแบรนด์เนม พริ้นเตอร์ทุกชนิด ถนนจันทร์ 51
Websitehttp://www.hisokidshop.com http://
Film เครื่องเสียง กันขโมย ไฟแต่ง สาขาบางบัวทอง สาขาถนนเพชรเกษม วัดท่าพระ
Phone | 02-8918577 , 02-4724074 , 081-7349785 |
blueart@mail.com | |
Website | http://www.soundhunter.ran4u.com |
ดาวน์โหลดตัวอย่างข้อสอบ YCT3 ได้ที่นี่ YCT_Level_3
……….
การสอนของทีมงาน FUTURE C ได้มาตรฐานวิชาการ
นักเรียนของเราสามารถสอบผ่าน YCT (สอบภาษาจีนระดับประถมและมัธยมของสำนักงาน HANBAN ประเทศจีน) และสอบผ่าน HSK ระดับ 5 ซึ่งเป็นระดับที่ใช้ยื่นสมัครศึกษาต่อระดับปริญญาโทในประเทศจีนได้
……………………………………..
ผลสอบ YCT2 รอบสิงหาคม 2019
ได้คะแนนสูง 180 – 200 (คิดเป็น 90% – 100 %)
..
สอบได้ 200 คะแนน 100%
…
สอบได้ 200 คะแนน 100%
……..
สอบได้ 200 คะแนน 100%
….
สอบได้ 200 คะแนน 100%
…..
สอบได้ 190 คะแนน 95%
……..
สอบได้ 190 คะแนน 95%
…..
สอบได้ 185 คะแนน คิดเป็น 92.5%
….
สอบได้ 185 คะแนน คิดเป็น 92.5%
..
สอบได้ 180 คะแนน คิดเป็น 90%
….
สอบได้ 180 คะแนน คิดเป็น 90%
..
…
…
ผลสอบ HSK3 ครั้งแรกของน้องแบม น้องนิวส์ น้องเจแปน
นักเรียนภาษาจีนคลาสวันอาทิตย์เช้าของฟิวเจอร์ซี
สอบเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2015
น้องเจแปน 叶美燕同学 (ด.ญ.ธัญชนก โรจน์ชัยตระกูล) นักเรียน ม.1
สอบผ่าน HSK3 ด้วยคะแนน 255 คะแนน คิดเป็น 85%
การฟัง 88 คะแนน
การอ่าน 84 คะแนน
การเขียน 83 คะแนน
เป็นนักเรียนของฟิวเจอร์ซี ที่สอบผ่าน HSK3 ได้คะแนนดีทุกทักษะ
น้องเจแปน ยังเป็นนักเรียนอายุน้อยที่สุดของเรา ที่สอบผ่าน YCT4 เมื่อต้นปี 2014 ด้วย
铭中汉语中心学生叶美燕同学汉语水平(三级) 的考试成绩 255 分.(初中一生)
等于百分之 85
ขอขอบคุณ คุณพ่อคุณแม่ของน้องเจแปนที่วางใจเราตั้งแต่เราเพิ่งเริ่มต้นที่ท่าพระ และให้การสนับสนุนทุกอย่าง
รวมถึงส่งน้องมาเรียนสม่ำเสมอไม่ขาดเรียน ถ้าไม่มีผู้ปกครอง น้องและเหล่าซือก็มาไม่ถึงจุดนี้
เราภูมิใจที่มีส่วนช่วยสร้างความภาคภูมิใจและความสำเร็จให้กับเด็กๆ และนักเรียนอีกหลายๆ คน
感谢: 王妙装老师 (คุณครูพรศรี แสงอนันต์)
เหล่าซือประจำคลาส / ผู้ทุ่มเทให้กับการติวสอบครั้งนี้
น้องนิวส์ 刘芝雅同学 (ด.ญ.พิณศิริ ใจปินตา)
นักเรียนภาษาจีนของฟิวเจอร์ซี ม.3
สอบผ่าน HSK3 ด้วยคะแนน 272 คะแนน คิดเป็น 90.6 %
การฟัง 98 คะแนน
การอ่าน 99 คะแนน
การเขียน 75 คะแนน
น้องนิวส์ เป็นหนึ่งในนักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกจากฟิวเจอร์ซี
ไปร่วมกิจกรรมค่ายทุน HSK / YCT ( 2014 年汉语考试北京秋令营) ที่ปักกิ่ง
เมื่อเดือนตุลาคม 2014 ที่ผ่านมา
铭中汉语中心学生刘芝雅同学汉语水平(三级) 的考试成绩 272 分.(初中三生)
等于百分之 90.6
ขอขอบคุณ คุณพ่อคุณแม่ของน้องนิวส์ที่ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่
感谢: 王妙装老师 (คุณครูพรศรี แสงอนันต์)
เหล่าซือประจำคลาส / ผู้ทุ่มเทให้กับการติวสอบครั้งนี้
น้องแบม 王妙玲同学 (ด.ญ. ปิยเรศ มหัทธนารักษ์)
นักเรียนภาษาจีนของฟิวเจอร์ซี ม.3
สอบผ่าน HSK3 ด้วยคะแนน 288 คะแนน คิดเป็น 96.0 %
การฟัง 98 คะแนน
การอ่าน 99 คะแนน
การเขียน 91 คะแนน
คะแนนสอบเกิน 90% ทุกทักษะ เทียบได้กับ HSK ระดับ 4
เป็นนักเรียน ม.3 ของเราที่สอบได้ HSK3 คะแนนสูงในการสอบครั้งที่ผ่านมา
铭中汉语中心学生王妙玲同学汉语水平(三级) 的考试成绩 288 分.(初中三生)
等于百分之 96.0
ขอขอบคุณ คุณพ่อคุณแม่ของน้องแบมที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ
感谢: 王妙装老师 (คุณครูพรศรี แสงอนันต์)
เหล่าซือประจำคลาส / ผู้ทุ่มเทให้กับการติวสอบครั้งนี้
#นักเรียนคนเก่งฟิวเจอร์ซี
………………………….
2014 (2557)
น้องยิ้ม น้องนิวส์ น้องแบม กับ Certificate YCT ระดับ 4 (YCT 四级)
ซึ่งเป็นระดับสูงสุดของการสอบ YCT (เทียบได้กับ HSK3) ซึ่งสมัครสมัครสอบได้ถึง ม.6
…
(ภาพล่าง) น้องเจแปน 叶美燕 กับ Certificate YCT ระดับ 4
ใบนี้เป็นใบที่ 4 แล้ว โดยเริ่มไต่ระดับมาตั้งแต่ 1 2 3 ….. 4
เป็นนักเรียนคนแรกของฟิวเจอร์ซีที่สอบผ่าน YCT ระดับ 4 ตั้งแต่อยู่ ป.6 เมื่อ 22 มีนาคม 2014
น้องเจแปนก้าวไปพร้อมกับฟิวเจอร์ซีตั้งแต่อนุบาล 3
ได้รับเลือกเป็นตัวแทนขึ้นกล่าวภาษาจีนในกิจกรรมวันแม่แห่งชาติที่โรงเรียน อัสสัมชัญคอนแวนต์ ตั้งแต่อยู่ ป.5
ขอบคุณคุณพ่อคุณแม่ที่เหนื่อยกับการรับ-ส่งตลอด ไม่ว่าแดดจะร้อนแค่ไหน ฝนจะตกหนักขนาดไหน ก็มาเรียนสม่ำเสมอ
ขอบคุณ เหล่าซือทุกท่านที่ร่วมกันสอนคลาสน้องเจแปน
จวงเหล่าซือ สวีเหล่าซือ หานเหล่าซือ หลีเหล่าซือ เฉินเหล่าซือ จางเหล่าซือ ฯลฯ
น้องมีน กับ ผลสอบ YCT 3 การฟังได้ 100% การอ่าน 92%
น้อง แพท กับ น้องแพรว (ที่มีความพยายามเป็นเลิศ)
……
น้องกวางตุ้ง ป.4 ผลสอบ YCT2 ได้เต็ม 100% ทั้งการฟังและการอ่าน
ดาวโหลดตัวอย่างข้อสอบ YCT_Level_3 ได้ที่นี่ YCT_Level_3
YCT 中小学生汉语考试 การสอบภาษาจีนระดับประถมและมัธยมศึกษา
ผลงานนักเรียน / กิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมการเรียน
♣ วาดภาพพู่กันจีน เขียนพู่กันจีน เป็นกิจกรรมที่ฟิวเจอร์ซีสอดแทรกอยู่ในหลักสูตร
…………………………………………
♣ Mind Mapping ภาษาจีน เป็นอีกกิจกรรมทีฟิวเจอร์ซีจัดอยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอน
♣ Mind Mapping ภาษาจีน ชุดชื่อวิชา
♣ Mind Mapping ภาษาจีน ชุด ชื่อประเทศ อาชีพการงาน
♣ Mind Map ภาษาจีนชุดดินฟ้าอากาศ
จากคุณแป้น / คุณหมวย
12 ปีนักษัตรของจีน Chinese Zodiac 十二生肖
12 ปีนักษัตร เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง ที่คนจีนคิดขึ้นมาเพื่อช่วยในการคำนวนและจดจำเรื่องปีมาแต่โบราณ
โดยใช้สัตว์ 12 ชนิดเป็นสัญลักษณ์ ภูมิปัญญาและวิธีการอันชาญฉลาดนี้มีหลายชาติได้นำไปใช้ จนกระทั่งถึงปัจจุบัน
เรียงตามลำดับอย่างไร
เหมือนของไทยหรือไม่
เป็นคำถามที่เจอบ่อยๆ ค่ะ
บางคนก็บอกว่าของไทยยังจำไม่ได้เลยว่าเรียงอย่างไร
ก็จำเหมือนของจีนนั่นแหละค่ะ เพราะเรียงเหมือนกัน
เพียงแต่ปีมังกรของจีน ของไทยเราเปลี่ยนเป็นปีมะโรง (งูใหญ่) แค่นั้น ไม่ยากค่ะ
เรื่อง 12 ปีนักษัตร ภูมิปัญญาจีนโบราณซึ่งใช้สัตว์ 12 ชนิดเป็นสัญลักษณ์ในการจำปี
เป็นวัฒนธรรมจีนอย่างหนึ่งที่มีการรับไปใช้ในหลายประเทศ
เรียบเรียงโดย สุวรรณา สนเที่ยง 张碧云
♣ เชงเม้ง วัฒนธรรมจีนที่คนจีนทั่วโลกและคนเรียนภาษาจีนต้องรู้
♣ ประเพณีจีนที่สืบทอดกันมาหลายพันปี ยังไม่ผันเปลี่ยนตามกาลเวลา
♣ เรื่องสำคัญบางแง่มุมเกี่ยวกับ เชงเม้ง ที่หลายคนอาจยังไม่รู้
………………
ได้รับคำถามบ่อยๆ ว่าอักษรจีนบนป้ายบรรพชนที่สุสานนั้น หมายความว่าอะไรบ้าง
ก่อนอื่น ขอเกริ่นเรื่อง “เชงเม้ง” หน่อย
เป็นครั้งแรกที่เขียนเกี่ยวกับเชงเม้ง
………………….
เกร็ดความรู้เรื่อง เทศกาล “เชงเม้ง” 清明节 Qīngmíng jié
เชงเม้ง ที่เราคุ้นหู เป็นเสียงสำเนียงภาษาจีนแต้จิ๋ว
ภาษาจีนกลางเรียกว่า เทศกาลชิงหมิง
เป็นเทศกาลสำคัญของจีนที่เป็นวันหยุดราชการทั่วประเทศ รวมถึงที่เกาะฮ่องกงด้วย
จึงเป็นช่วงการเดินทางกลับภูมิลำเนาทัั่วประเทศของจีน การจราจรคับคั่ง
ผู้เขียนเคยไปเจอช่วงวันหยุดยาวเทศกาลชิงหมิงที่ปักกิ่ง รถติดขัดสองสามชั่วโมงเมื่อ 3 ปีก่อน
สำหรับผู้ที่มีเชื้อสายจีนทั่วโลก และลูกหลานที่ไปทำงานต่างถิ่น
ก็จะเดินทางกลับภูมิลำเนาเพื่อรวมญาติและนัดรวมพลไปทำความสะอาดฮวงจุ้ย (สุสาน) ของบรรพชน
อย่างบ้านเราก็จะทำให้การจราจรคับคั่งแถบจังหวัดที่มีสุสานจีนหนาแน่น เช่น แถบจังหวัดชลบุรี สระบุรี
คนไทยเชื้อสายจีนเป็นหนึ่งในหลายๆ ประเทศที่ยังยึดถือประเพณีเชงเม้งอย่างเคร่งครัด
คนต่างจังหวัดที่มาทำงานในเมืองก็จะเดินทางกลับบ้านเชงเม้งกันทุกปี
อย่างคนเบตง คนหาดใหญ่ เมื่อก่อนจะเหมาตู้รถไฟหลายตู้กลับบ้านพร้อมกัน
เดี๋ยวนี้ส่วนมากก็จะนัดวันแล้วจองนั่งเครื่องกลับไปเชงเม้งกัน
ส่วนคนในเมืองก็นัดญาติพร้อมหน้า ไหว้เสร็จก็กลายเป็นงานสังสรรค์รวมญาติเที่ยว
บางครอบครัวไหว้ที่สระบุรี ก็จองบ้านพักเขาใหญ่ไปกันทั้งครอบครัว
ที่ไปแถวชลบุรีก็จองโรงแรมแถวพัทยา ระยอง บางแสน ไปถึงจันทบุรีก็มี
ส่วนกลุ่มที่ไปเชงเม้งแถวเพชรบุรี ราชบุรี ก็รวมญาติไปพักตากอากาศกินอาหารทะเลที่หัวหิน – ชะอำ
ลูกๆ หลานๆ เด็กๆ ก็ตื่นเต้นที่จะได้ไปเที่ยวเล่น เรื่องต้องตื่นแต่เช้า เรื่องร้อนก็เลยทนได้
ร้านอาหาร โรงแรมก็พลอยคึกคักตั้งแต่หลังวันที่ 20 มีนา จนถึง 5 เมษาของทุกปี
อันนี้เป็นวัฒนธรรมจีนที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน
…………………………..
เกริ่นเรื่องเชงเม้งแล้วก็ย้อนกลับมาเข้าประเด็นตามหัวข้อ
มาดูอักษรจีนที่สลักไว้ที่แผ่นหินหน้าฮวงจุ้ยกัน
ว่า หมายความว่าอะไร
ตัวอักษรจีนบนสุด
” 祖 ” Zǔ แปลว่า บรรพชน บรรพบุรุษ
ล่างลงมา เรียงจากขวาไปซ้าย ตามวิธีเขียนแบบจีนโบราณ
ขวาสุด เป็นส่วนที่ระบุภูมิลำเนาเดิมที่จีนของผู้ที่อยู่ในฮวงจุ้ยหลังนี้ อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน
เช่น ซัวเถา 汕頭 แต้จิ๋ว 潮州 จีนฮากกาเหมยเซี่ยน 梅縣
แถวซ้ายสุด บันทึกปีเดือนวัน ที่ตั้งฮวงจุ้ยนี้ขึ้น
ทั้งหมดสลักด้วยอักษรจีนตัวเต็ม เพราะในยุคของพ่อแม่อากงอาม่า ยังไม่นิยมใช้อักษรจีนตัวย่อ
เดี๋ยวกงม่าอ่านไม่ออก
แถวกลาง อักษรจีนตัวใหญ่
จากขวา “考” kǎo เป็นคำยกย่อง สรรพนามแทนบิดาที่เสียชีวิตแล้ว ตามด้วยชื่อของพ่อ
ซ้ายแถวกลาง “妣” bǐ เป็นคำยกย่อง สรรพนามแทนมารดาที่เสียชีวิตแล้ว ตามด้วยชื่อของแม่
ส่วนแซ่ (นามสกุล) ของพ่อและแม่ จะอยู่ข้างล่างต่อจากชื่อ
แล้วทำไมเห็นมีสีเขียวบ้าง สีแดงบ้าง ?
คนจีนนิยมซื้อหลุมคู่ และสลักชื่อของทั้งพ่อทั้งแม่ไว้ก่อน
ถ้าพ่อเสียชีวิตก่อน ก็ทาสีที่ชื่อเป็นสีเขียว
ส่วนแม่ยังไม่เสียก็เขียนด้วยสีแดง เมื่อแม่เสียแล้ว ก็ทาสีที่ชื่อแม่เป็นสีเขียวด้วย
ครอบครัวดิฉันจะไปเชงเม้งที่สุสานวิสุทธิมรรคคีรี 白雲道山 สระบุรีทุกปี
ไหว้เสร็จก็มาทานข้าวต้มที่โรงทานของสุสาน
อาหารเจที่นั่น มะนาวดอง ไช้โป้วดอง อร่อยมาก เป็นมื้อที่ครอบครัวเราชอบมาก
หยิบทานได้ฟรี ข้าวต้มฟรี ทานเสร็จก็ทำบุญช่วยค่าอาหาร ใครไม่ให้เขาก็ไม่ว่า
ตบท้ายด้วยการซื้อกาหน่าฉ่ายเจ้าอร่อยที่นี่กลับบ้านทุกปี
เชงเม้ง จึงเป็นกิจกรรมที่ได้รักษาประเพณี
สุขใจที่ได้มากวาดบ้านให้พ่อแม่ ทานข้าวต้มอาหารเจ และช็อปปิ้ง
กาน่าฉ่ายสระบุรี (เจ้ใหญ่) นี่ค่ะ ที่บ้านเราต้องไปซื้อที่นั่นทุกปี และซื้อมาปีละหลายๆ โล ซื้อกันมา 24 ปีแล้ว
ปีนี้เจอหม้อนี้อร่อยมาก คงจะหมักำได้ที่ แต่ขึ้นราคาจากปีที่แล้ว เป็นโลละ 220 บาท
มีบ้างที่บางปีเจอไม่ค่อยอร่อย เหมือนยังหมักไม่ได้ที่ หรือ เจอมีทรายบ้าง แต่โดยรวมแล้วก็ถือว่ามีคุณภาพดีกว่าเจ้าอื่นๆ ที่เคยทานมา
เอาเบอร์โทรศัพท์ของร้านกาน่าฉ่ายสระบุรีที่กรุงเทพฯ มาฝาก คือ 02 2152153 081 852 8415
อยู่ในซอยเดียวกันกับออฟฟิตติดต่อกรุงเทพฯ ของสุสานวิสุทธิมรรคคีรี
แต่เราไม่เคยไปซื้อในกรุงเทพฯ เลย
อ่าน เกร็ดวัฒนธรรมจีน
……………………………
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
เขียนเมื่อ วันที่ 22 มีนาคม 2015
คนที่มีเชื้อสายจีนคิดอย่างไร ถึงยังรักษาประเพณี “เชงเม้ง” เอาไว้
Mr. Jeremy Shiu ซึ่งเป็นลูกหลานจีนที่ไม่ได้อยู่ประเทศจีนคนหนึ่ง เขียนถึงทัศนะของเขาที่เกี่ยวกับเชงเม้ง ผ่านคอมเมนท์ในเฟชบุ๊ค CCTV中文 ไว้ ( เหล่าซือขอแปลความเป็นภาษาไทย แต่ขออภัยที่ไม่สามารถถ่ายทอดได้ใจความลึกซึ้งเท่ากับต้นฉบับภาษาจีนที่ท่านเขียนไว้)
…….. ” เชงเม้ง เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาหลายพันปี ปลูกฝังให้ชาวจีนมีความกตัญญูกตเวที ระลึกถึงบุญคุณของบรรพชน เชื่อว่าดวงวิญญาณของพวกเขายังอยู่
มีความหมายลึกซึ้งเกี่ยวกับรากเหง้าที่มาของเรา ” ………………
Jeremy Shiu 先生在 CCTV中文 Facebook 中用中英文写出他对中国人传统节日 “清明节” 的看法。
本人认写得很好,值得后辈华裔思考,故分享到此网页。特此敬谢。
…………..
Jeremy Shiu 先生写道:
清明节,几千年的传统节日。秉持中华孝道,慎重追远,追思祭祖,相信祖先英灵尚在。意义非凡,关系我们的根。
Qing Ming festival is not paganism, and paganism is a term that demonic non monotheistic practice- a fallacy, Qing ming has thousands of years of history, as part of Chinese tradition. It continues the practice of filial piety and the strong belief of the existence of our ancestor spirits. According respect reflects our roots, the very fundamental in life.
分享自:
https://www.facebook.com/CCTV.CH/posts/1160880127332878
อ่านเรื่องเกร็ดภาษาจีน
หวังว่าทุกคลิกของท่านจะได้รับประโยชน์จากบทความเหล่านี้
ขออภัยในข้อบกพร่องใดๆ ขอบคุณที่กรุณาติชมและแสดงความเห็น
สำนวนจีนโบราณ เดินทางหมื่นลี้ กับ อ่านหนังสือหมื่นเล่ม 行万里路 读万卷书
สำนวนจีน 成語 ที่ว่า
เดินทางหมื่นลี้ กับ อ่านหนังสือหมื่นเล่ม
行万里路 和 读万卷书
Xíng wànlǐ lù hé dú wàn juǎn shū
ดิฉันเข้าใจว่า หมายถึง การเรียนรู้จากตำรา จากห้องเรียน ต้องควบคู่และประสานไปกับประสบการณ์จริง
เราจะพบหลายสิ่งหลายอย่าง ที่สัมผัึสไม่ได้จากจอคอมพิวเตอร์และหน้าหนังสือ
การหาความรู้จากการอ่าน กับ การเดินทางเห็นของจริง ต้องคู่กัน
การเดินทางทำให้เราได้เห็นชีวิต อารมณ์ ของผู้คน
แต่การเดินทางอย่างเดียว ก็จะขาดการเรียนรู้จากองค์ความรู้จากคนรุ่นก่อน
ดิฉันยังขยายความหมายตามที่ตัวเองเข้าใจให้ต่ออีกว่า
“การเดินทางหมื่นลี้ 行万里路 ” ในสำนวนจีนนี้รวมไปถึงการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง การเดินทางเป็นแค่ส่วนหนึ่งและนำมาอุปมา
ทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติ
เช่น นักศึกษาที่เรียนสาขาวิชาต่างๆ ต้องหมั่นหาข้อมูลหลายด้านหลายมิติจากเรื่องราวและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงมาประกอบการเรียน เพราะเหตุการณ์หลายๆ อย่างในโลกนี้ไม่ได้พัฒนาหรือเป็นไปตามที่หนังสือเขียนไว้เสมอ
และในหนังสือบางเล่มก็มีทัศนคติส่วนตัวของผู้เขียนรวมอยู่ด้วย ซึ่งก็ใช่ว่าจะถูกต้องสอดคล้องกับความจริงเสมอไป
เหล่าซือพาเด็กๆ น่ารักๆ มาอวยพรตรุษจีนค่ะ 年年有余! 马到功成!
ซิงเจียอยู่อี่ ซิงนี้ฮวกใช้
新正如意 ! 新年发财 !
เหล่าซือพาเด็กๆ มาอวยพรตรุษจีนเพื่อนๆ ผู้อ่าน ผู้ปกครองและญาติมิตรทุกท่าน
ด้วยความเคารพค่ะ ผ่าน Video Clip 5 ชุดนี้นะคะ
ขอให้สุขภาพแข็งแรง มั่งมีศรีสุข คิดสิ่งใดขอให้ได้สิ่งนั้น
โดยเฉพาะปีนี้เป็นปีม้าทอง จึงขอนำสำนวนจีนคำหนึ่งมาใช้อวยพรด้วยค่ะ
นั่นก็คือคำว่า
马到功成 mǎ dào gōng chéng ㄇㄚˇ ㄉㄠˋ ㄍㄨㄙ ㄔㄥˊ
一开始就取得胜利。หมายถึง ประสบความสำเร็จทันทีเมื่อลงมือทำ
คำแปลภาษาอังกฤา The horse reaches the work to succeed!
คำว่า 马 mǎ แปลว่า ม้า
คำว่า 到 dào แปลว่า ถึง
คำว่า 功 gōng ในที่นี้หมายถึง การงาน ภารกิจ ผลงาน
คำว่า 成 chéng สำเร็จ บรรลุเป้าหมาย
สำหรับปีม้าทองนี้ เหล่าซือก็เลยแปลคำว่า 马到功成 mǎ dào gōng chéng นี้ในบริบทของเราเองว่า
เมื่อปีม้ามาถึง เราจะประสบความสำเร็จ เรื่องราวลุล่วงไปด้วยดีทุกประการ
การเกิดสำนวนจีนลักษณะนี้ ก็เนื่องจากชาวจีนถือว่า
ม้า เป็นสัญลักษณ์ของพละกำลัง อำนาจ ความเข้มแข็ง และความคึกคักมีชีวิตชีวา
ม้า เป็นสิ่งที่คู่กับสังคมชาวจีนมาช้านาน ม้าเป็นสิ่งที่คู่กับนักรบ วัฒนธรรมนี้ สะท้อนผ่านภาพวาดรููปม้าที่ีมีชื่อเสียงจากฝีมือของจิตรกรมากมาย ชาวจีนนิยมประดับภาพม้าไว้ในบ้านพักอาศัยและสถานที่ทำงานด้วย
ภาพวาดม้า ที่วาดโดย 徐悲鸿 (สวีเป๊ยหุง หรือ สวีเปยหง ) จิตรกรที่มีชื่อเสียงของจีนยุคใกล้ ปัจจุบันราคาประมูลสูงกว่าราคาตึก จึงมีผู้ (ฝรั่ง) ที่มีความรู้เรื่องภาพเขียนจีนมีอาชีพหาซื้อภาพเขียนจีนโบราณ นำไปขายต่อได้กำไรงาม
อ้าว เหล่าซือเขียนนอกประเด็นคำอวยพรตรุษจีนไปแล้ว…..
………………………………..
春节快乐! Happy Chinese New Year 2014
ตรุษจีน เป็นเทศกาลเฉลิมฉลองที่สำคัญที่สุดของชาวจีนทั่วโลก และมีคำอวยพรมากมายเป็นร้อยคำ
ในขั้นต้นก็เชิญตามทีมเด็กของฟิวเจอร์ซี มาดูคำอวยพรยอดนิยมกันค่ะ
มีหลายชุด ทยอยอัพได้ 5 ชุด สั้นๆ ชุดหนึ่งประมาณ 30 – 40 วินาที ถึงวันตรุษจีนแล้วยังอัพไม่ครบเลยค่ะ
Video Clip ชุดนี้เป็นหนึ่งในโครงการส่งเสริมให้เด็กที่เรียนภาษาจีนกล้าแสดงออกและมีส่วนร่วมปันความรู้ให้สังคม
ชุดที่ 1 ประมาณ 30 วินาทีค่ะ
ภาษาจีนกลาง หมวดอาชีพ ประเทศ ร้านค้าฯ จาก Viedo Clip – Learn Chinese
การสอนภาษาจีน มีหลายวิธี แล้วแต่กลุ่มเป้าหมาย แต่ละกลุ่มแต่ละวัยก็จะใช้วิธีการที่ไม่เหมือนกัน หรือแม้แต่วัยเดียวกันก็ยังต้องใช้วิธีการสอนที่แตกต่างกันตามความเหมาะสม ไม่สามรถใช้วิธีการสอนตายตัวแบบเดียวกันเหมือนแม่พิมพ์ได้ และดิฉันก็ไม่เห็นด้วยกับวิธีการสอนภาษาต่างประเทศแบบเน้นให้ท่องศัพท์ท่องประโยคเป็นหลัก
วิธีการสอนภาษาจีนให้เด็กๆ ของเรา นอกจากจะใช้วิธีการสอนร้องเพลงจีน มีการแสดงบ้าง ออกมาแสดงการพูดคุยด้วยประโยคสนทนาบ้าง อีกวิธีหนึ่งที่ดิฉันและทีมงานใช้ ก็คือ การให้เด็กๆ ทำ Mind Map ภาษาจีน
เด็กๆ ของเรามีความคิดสร้างสรรค์และทำผลงานออกมาได้น่ารักมาก สวยงามได้ความรู้ ดิฉันจึงได้ทยอยคัดบางส่วนมาถ่ายรูปและอัดเสียงทำเป็น Viedo Clip สั้นๆ เพื่อเก็บไว้เป็นสื่อการสอน เผยแพร่ให้เป็นประโยชน์เล็กๆ แก่คนที่สนใจเรียนที่บ้านและคนที่ไม่สามารถมาเรียนกับเราที่กรุงเทพฯ ได้
ขณะเดียวกัน ก็เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กมีความภาคภูมิใจในผลงานตนเองและมีส่วนร่วมเล็กๆ ในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม
เสียงประกอบบาง Cilp เป็นเสียงของดิฉันที่พูดบรรยายผลงานของเด็ก บาง Clip เด็กทำเอง ให้เสียงเอง และเราจะฝึกให้เด็กๆ พูดด้วยเสียงตัวเองเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ค่ะ
Video Clip คำศัพท์จีน ขอบคุณ ขอโทษ ไม่เป็นไร ผ่านเสียงน่ารักๆ ของเด็กๆ
เด็กๆ บ้านเราควรจะเริ่มเรียนภาษาจีนตั้งแต่อายุเท่าไหร่
เป็นคำถามที่ถามกันมามาก
ดิฉันขอตอบตามประสบการณ์การเรียนของตัวเอง และจากการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กนะคะ
สำหรับตัวดิฉันเอง เริ่มเรียนตั้งแต่ 4 ขวบ
ส่วนเด็กๆ ที่เรารับ เล็กสุดที่เคยรับก็ 3 ขวบครึ่งค่ะ (โดยมีคุณครูที่มีความชำนาญในการสอนเด็กเป็นคนสอน)
แต่เด็กก็อาจมีความพร้อมไม่เท่ากัน
แนวการสอนของเหล่าซือ เน้น การปูพื้นฐานทุกทักษะ ฟัง พูด อ่าน เขียน ไม่ใช่เน้นการฟัง – พูดอย่างเดียว เด็กๆ ที่จะมาเรียน จึงต้องนิ่งพอที่จะนั่งเรียนได้ จับดินสอฝึกเขียนได้
แล้วเด็กจะเบื่อมั้ย เด็กเครียดและเหนื่อยไปมั้ย ?
เด็กๆ ของเราสนุกสนานค่ะ หลายคนขอให้ผู้ปกครองพามาเร็วๆ บางคนบอกผู้ปกครองว่าไม่ต้องรีบมารับก็ได้
แนวของเหล่าซือ ให้เด็กเรียนทั้งวิชาการและผ่านกิจกรรมค่ะ ผสมผสานระหว่างวิชาการกับการสร้างความเพลิดเพลิน
บางช่วงจะเข้มวิชาการเพื่อให้เด็กใช้สอบวัดระดับ YCT (การวัดระดับความรู้ภาษาจีนสำหรับนักเรียนระดับประถมและมัธยม)
บางช่วงจะเป็นการเรียนแบบผ่อนคลาย เรียนภาษาจีนผ่านกิจกรรม เช่น ร้องเพลงจีน การเล่นหมากรุกจีน ตัดกระดาษเป็นตัวอักษรจีน แสดงอะไรเล็กๆ น้อยๆ ในเทศกาลต่างๆ เช่น วันเด็ก ฯ
อย่าง Video Clip ที่นำมาโพสต์ไว้นี้ เป็นตัวอย่างของวิธีการเรียนการสอนภาษาจีนสำหรับเด็กวิธีหนึ่งของเราค่ะ
ไม่ค่อยสมบูรณ์นัก เพราะเด็กๆ มีเวลาซ้อมน้อยมากๆ เดิมตั้งใจจะซ้อมไว้เล่นในงานวันเด็ก
แต่เด็กๆ สามารถทำได้ดี มีขำตัวเองบ้าง ลืมบ้าง เป็นไปแบบกันเอง งานเล็กๆ ที่อบอุ่น เหล่าซือเห็นว่าน่ารักดี ก็อยากจะเผยแพร่ อยากส่งเสริมให้เด็กๆ กล้าแสดงออก แต่ไม่มีฝีมือในการทำ Video Clip ขออภัยในส่วนที่บกพร่องด้วยค่ะ
เรียนภาษาจีนจากเพลง 小星星 เด็กๆ น่ารักและภูมิใจมาก
หนึ่งในกิจกรรมส่งเสริมการเรียนภาษาของเรา คือ เรียนภาษาจีนจากเพลงค่ะ
วันเด็กที่ผ่านมา เราได้จัดกิจกรรมให้เด็กๆ ได้สนุกและได้ฝึกทักษะภาษาไปพร้อมกัน
เป็นกิจกรรมเล็กๆ แต่เต็มไปด้วยความอบอุ่น
แบ่งเป็น 2 วัน คือ วันเสาร์ที่ 11 มกราคม และวันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม 2014
โดยมีผู้ปกครองมาร่วมกิจกรรมและได้รับสปอนเซอร์ขนม น้ำส้มคั้น ของขวัญ ฯ มากมาย
การเรียนภาษาจีนสำหรับเด็กจึงเป็นเรื่องสนุกสนานค่ะ
เหล่าซือจะทยอยนำวีดีโอชุด ” ส่งเสริมการกล้าแสดงออกของเด็กๆ และ การเรียนภาษาจีนผ่านกิจกรรม ”
ที่ถ่ายไว้ทั้งสองวันลงในยูทูปค่ะ
…………………………………….
ชุดแรก
เรียนภาษาจีนจากเพลง Xiao Xingxing เด็กน่ารักมาก 学汉语 儿歌: 小星星
http://www.youtube.com/watch?v=e9DOx2LvNWw
เด็กๆ นอกจากมีความรู้แล้ว ยังต้องกล้าแสดงออกด้วย
บัวลอยน้ำขิง เทศกาลตุงจื้อ 冬至 Chinese Winter Solstice
วันที่่ 21 หรือ 22 ธันวาคม ของทุกปี
เป็นวัน 冬至 ตุงจื้อ (ตังโจ่ย) ที่ชาวจีนมีประเพณีทานขนมบัวลอยค่ะ
บัวลอยตามประเพณี จะต้มด้วยน้ำตาล หรือ น้ำขิง เป็นบัวลอยน้ำขิง (เพราะตรงกับช่วงที่จีนมีอากาศหนาวมาก)
แต่ที่เมืองไทย บางครั้งเราก็ประยุกต์เป็น ขนมบัวลอย ใส่กะทิ อย่างที่เห็นในภาพนี้ค่ะ
ปีนี้เหล่าซือไม่ได้ต้มบัวลอยน้ำขิงแบบจีนดั้งเดิม แต่ซื้อบัวลอยน้ำกะทิมา
หล่อฮั้งก้วย 罗汉果 สุดยอดสมุนไพรจีนแก้เจ็บคอ เสียงแห้ง (LUO HAN GUO)
หล่อฮั้งก้วย 罗汉果 (羅漢果) สุดยอดสมุนไพรจีนแก้เจ็บคอ เสียงแห้ง
ช่วงนี้เห็นมีคนรอบตัวไม่สบาย เจ็บคอ เสียงแห้ง กันหลายคน
เลยเอาสมุนไพรจีนที่บ้านเหล่าซือต้มกินเวลาเจ็บคอมาฝาก
แก้ไข้ได้ด้วย ไม่ต้องพึ่งยาแผนปัจจุบัน
เหล่าซือทำงานใช้เสียง เจ็บคอเป็นไข้ก็บ่อย ที่บ้านก็จะมียาสนุนไพรจีนนี้ติดบ้านเสมอ
ราคาไม่แพง 10 ลูก ประมาณ 100 บาท ต้มน้ำทานครั้งละ 2 ลูก
ซื้อตามร้านขายยาจีนทั่วไป หรือข้างถนนแถววัดเล่งเน่ยยี่ (วัดมังกร) เยาวราช บางรัก ฯลฯ
เวลาเลือก ก็เลือกดูสีเข้มๆ หน่อย
…….
หล่อฮั้งก้วย เป็นสมุนไพรจีน จาก มณฑลกวางสี ได้รับการขนานนามว่า “神仙果” (ผลเทวดา)
อุดมไปด้วยวิตามิน C
นอกจากที่แถบเมืองกุ้ยหลินของมณฑลกวางสีแล้ว ยังสามารถปลูกในบางที่ของมณฑลกวางตุ้งได้ด้วย
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพดินและอากาศที่ หล่อฮั้งก้วย ชอบ
ชาวจีนรู้จักใช้ยาตัวนี้มานานแล้ว ชาวตะวันตกตอนนี้ก็สนใจศึกษาสมุนไพรจีนมาก
หล่อฮั้งก้วย มีคุณสมบัติทางยาธาตุเย็น หญิงมีประจำเดือนไม่ควรทาน
เหล่าซือไม่ใช่หมอจีน แต่ก็อยากเอาเกร็ดความรู้เล็กน้อยจากประสบการณ์เรื่องการใช้สมุนไพรจีนมาฝาก
หวังว่าเอนทรี่นี้จะเป็นประโยชน์ค่ะ
หล่อฮั้งก้วย ตอนเป็นลูกอยู่ หน้าตาแบบนี้
ล้างสะอาดแล้วบีบให้แตก หรือทุบให้แตก เปลือกบางๆ
ข้างในจะเป็นลักษณะนี้ค่ะ
ใส่ลงไปต้มได้ทั้งเปลือก
จากเจงกิสข่าน ถึง ก๊วยเจ๋ง ของกิมย้ง เกี่ยวกันอย่างไร แถมเพลง 射雕英雄传
จากเรื่องราวของเจงกิสข่าน มาถึง หนังกำลังภายในยอดฮิต — มังกรหยก
ของ สุดยอดฝีมือนักประพันธ์นวนิยายกำลังภายใน — กิมย้ง
จากการเขียนเรื่องเจงกิสข่านในเอนทรี่ที่แล้ว
ความตั้งใจเดิมจะเอาเพลงประกอบหนังมาเก็บไว้ในบล็อก แต่พอเขียนไปแล้วความคิดมันก็โลดแล่นไปนึกถึงอะไรอีกหลายๆ เรื่อง ตอนนี้ก็นึกถึงเรื่องมังกรหยก นวนิยายกำลังภายในที่อ่านและดูมาตั้งแต่เด็ก และ เพลงประกอบหนังที่ชื่นชอบด้วย
เกี่ยวกันกับเอนทรี่ที่แล้ว เรื่อง เจงกิสข่าน อย่างไร
ลองมาดูกันว่า เจงกิสข่าน ในปลายปากกาของ กิมย้ง ผ่าน ก๊วยเจ๋ง นั้น เป็นอย่างไร
มังกรหยก มีชื่อเป็นภาษาจีน ว่า 射雕英雄传 ( shè diāo yīng xióng zhuàn)
เขียนด้วยอักษรจีนตัวเต็มก็เขียนแบบนี้นะคะ 射鵰英雄傳
แปลว่า ตำนานวีรบุรุษยิงอินทรีย์ บางเวอร์ชั่นของไทย จึงแปลว่า ตอน จอมยุทธอินทรีย์
เพราะก๊วยเจ๋ง พระเอกของเรื่องมีความเชี่ยวชาญในการใช้ธนู
ไม่มีความหมายว่า มังกร เลย
เวอร์ชั่นที่เหล่าซือชื่นชอบที่สุด คือ เวอร์ชั่น ปี 1983
ที่แสดงโดย ฮว๋างยื่อฮว๋า (หวงยื่อหัว 黄日华) และ เวิงเหม่ยหลิง (องเหม่ยหลิง 翁美玲)
เพื่อนๆ ร่วมยุคเหล่าซือ และรุ่นน้องๆ จะคุ้นเคยกับหนังจีนและตัวละครในเรื่องกันมาก
ในเมืองจีน คนจีนรุ่นนี้ก็รู้จักเรื่องนี้เป็นอย่างดี
ผู้ประพันธ์ ท่านกิมย้ง (金庸) เคยรับตำแหน่งเป็นอธิการบดี มหาวิทยาลัยเจ้อเจียง 浙江大学
(ที่เมือง Hangzhou บ้านเกิดของท่าน) ก่อนเกษียณแล้วย้ายไปพักอยู่กับลูกๆ ที่ออสเตรเลีย
เวลาท่านกิมย้งกลับไปเยี่ยมเมืองหังโจว (杭州 เมืองหลวงเก่าราชวงศ์ซ้ง)
มีบรรดาแฟนพันธุ์แท้ของท่าน มาคอยต้อนรับห้อมล้อมขอลายเซ็นมากมายยิ่งกว่าดาราชื่อดังเสียอีก
แต่เวลาเราไปคุยกับคนจีน ถ้าพูดว่า มังกรหยก หรือแปลจากคำในภาษาไทยไปเป็นคำในภาษาจีนแบบตรงตัว
เขาก็จะไม่เข้าใจว่าเราหมายถึงเรื่องอะไร
ท้ายเรื่อง แปะลิงค์เพลงประกอบหนังจีนกำลังภายใน เวอร์ชั่น หวงเยอะหัว ( 黄日华 ภาษาจีนกลางออกเสียงว่า ฮว๋างยื่อฮว๋า)
เอาล่ะ เกริ่นเสียยาว
มาเข้าเรื่องตามหัวข้อเรื่องดีกว่า ว่าเรื่องมังกรหยก เกี่ยวอะไร กับ เจงกิสข่าน ที่เหล่าซือเขียนไปในเอนทรี่ที่แล้ว
อ่านเรื่องเดิม Genghis Khan เจงกิสข่าน จักรพรรดิ์สะท้านแผ่นดิน เพลงประกอบซีรี่ย์ 成吉思汗插曲 : 传说 (คลิกที่นี่ค่ะ)
แนวการเขียนของท่านกิมย้ง มีจุดเด่น คือมักอิงประวัติศาสตร์ แฝงแง่คิด หลักปรัชญาในการแยกแยะความดีความชั่ว
ปลูกฝังเรื่องความรักชาติของชาวจีน ต่อต้านการรุกรานของต่างชาติ
โดยเรื่่องมังกรหยกนี้ ท่านกิมย้งอิงประวัติศาสตร์ในช่วง ยุคปลายราชวงศ์ซ้อง หรือ ราชวงศ์ซ่งใต้
ช่วงปี ค.ศ. 1199 – 1221
เป็นราชวงศ์ที่ปกครองโดยชาวฮั่น ( 汉族 ชาวจีน) ก่อนที่จะพ่ายแพ้กองทัพม้าเหล็กของ เจงกิสข่าน จากทุ่งหญ้าตอนเหนือ
ในช่วงนั้น ราชวงศ์ซ่งตอนปลาย ประชาชนยากลำบาก ขุนนางกังฉินได้ดิบได้ดี ฉ้อราษฎร์บังหลวง กดขี่ข่มเหงชาวบ้าน
กิมย้งสะท้อนเรื่องราวผ่านตัวละครที่ชื่อ ก๊วยเจ๋ง ซึ่งมีบุคลิกซื่อๆ ยึดมั่นในคุณธรรม
เป็นลูกหลานชาวฮั่นที่รักชาติแต่ไปเติบโตในดินแดนมองโกล
ได้รับการช่วยเหลือจากชาวมองโกล รวมถึงได้รับการโปรดปรานจาก เจงกิสข่าน
(อันนี้คือนิยายที่แต่งขึ้น แต่ในนิยายของกิมย้งก็มีตัวละครที่เคยมีอยู่จริงในประวัติศาสตร์ปนอยู่ด้วย เช่น เตมูจิน – เจงกิสข่าน)
เมื่อโตขึ้นก๊วยเจ๋็งได้เดินทางกลับสู่ดินแดนตงง้วน (ประเทศจีน) พบกับอึ้งย้ง
และได้ฝึกวิทยายุทธจากอาจารย์สำนักต่างๆ มากมาย
ต่อมา ก๊วยเจ๋ง กลับไปที่มองโกลอีกครั้ง เพราะแม่ของเขายังอยู่ที่นั่น
และได้อาสาออกรบร่วมกับกองทัพมองโกลที่สู้รบกับกิมก๊ก (ซึ่งเป็นชนเผ่าทางเหนือของจีน และเป็นศัตรูกับจีนและมองโกล)
มีผลงานทางการรบ ได้รับการชื่นชมจากเจงกิสข่าน แต่งตั้งให้เป็น ราชบุตรเขยดาบทอง
โดยหวังจะรับก๊วยเจ๋งเป็นบุตรเขย คิดจะยกองค์หญิงหัวเจิง บุตรสาวที่เติบโตมาพร้อมกับก๊วยเจ๋งให้แต่งงานด้วย
แต่พอก๊วยเจ๋งและแม่รู้ว่าเจงกิสข่านมีแผนการจะยกทัพเข้าตีแผ่นดินจีน
ก๊วยเจ๋งจึงวางแผนพาแม่หนีออกจากดินแดนมองโกล แต่ถูกมองโกลล่วงรู้เสียก่อน
แม่ของก๊วยเจ๋งตัดสินใจฆ่าตัวตายตอนนั้นเพื่อให้ก๊วยเจ๋งหนีไปคนเดียวไม่ต้องห่วงตน
เพื่อกลับไปช่วยส่งข่าวให้แผ่นดินของพ่อแม่ได้
สุดท้ายก๊วยเจ๋งกลายเป็นหนึ่งในแกนนำที่ต่อต้านพวกมองโกลที่ยกทัพมารุกรานแผ่นดินจีน แผ่นดินของชาวฮั่น
เพราะทนดูกองทัพมองโกลที่มาฆ่าฟันย่ำยีคนจีนและยึดครองแผ่นดินจีนไม่ได้
กิมย้ง จึงเขียนถึง เจงกิสข่าน ในมุมมองที่ เจงกิสข่าน คือ ผู้รุกราน ที่ทำให้ชาวจีนต้องล้มตายจำนวนมาก
ในเนื้อเรื่อง ยังมีตัวละครอีกคน คือ เอี้ยคัง มีบุคลิกที่ฉลาด เจ้าเล่ห์
ที่ กิมย้ง ตั้งใจจะสร้างขึ้นเพื่อเปรียบเทียบตัดกับภาพของ ก๊วยเจ๋ง ซึ่งพ่อของคนทั้งสองเป็นพี่น้องร่วมสาบานกัน
ก๊วยเจ๋งจึงถือเอี้ยคังเหมือนพี่น้อง และไม่ยอมฆ่าเอี้ยคัง
ผลจากการปล่อยเอี้ยคัง ปล่อยคนชั่วให้ลอยนวล ทำใ้ห้มีคนดีๆ ต้องตายด้วยน้ำมือของเอี้ยคังอีกจำนวนมาก
เอี้ยคัง ที่ไปเกิดและได้รับการเลี้ยงดูอย่างคุณชายในวังของท่านอ๋องแห่งกิมก๊ก ( ชนเผ่าหนี่เจิน)
ยอมช่วยกิมก๊กรุกรานแผ่นดินจีนและเข่นฆ่าคนจีนด้วยกัน
เอี้ยคัง จึงถูก กิมย้ง เขียนให้เป็นผู้ร้ายของเรื่อง เป็นพวก หลงใหลในลาภยศสรรเสริญ ยอมรับศัตรูเป็นบิดา
( สำนวนจีนใช้คำว่า 认贼作父 แปลว่า นับถือโจรเป็นพ่อ)
อันนี้คนอ่านที่ไม่รู้ประวัติศาสตร์จีน อาจจะงงหน่อย ขยายความหน่อยก็คือ
สมัยก่อน ทั้งชนกิมก๊กของชนเผ่าหนี่เจิน และชนเผ่ามองโกล ต่างก็เป็นชนเผ่าที่อยู่ทางเหนือของจีน สู้รบเก่งทั้งสองเผ่า
และเป็นชนเผ่าที่อยากครอบครองแผ่นดินจีนเนื่องจากอุดมสมบูรณ์กว่ามาก
ดูตามภูมิศาสตร์ก็พอจะเข้าใจได้ว่าทำไมสองชนเผ่านี้ถึงอยากยึดครองและอยากได้แผ่นดินจีน
เพราะมีทรัพยากรณ์มากมาย สมัยนั้นยังไม่รู้ว่ามีถ่านหินหรือมีน้ำมันด้วยซ้ำ
แค่รู้ว่ามีอากาศอบอุ่นสบายๆ ดินดีเหมาะกับการเพาะปลูก ฯลฯ
ชนเผ่าหนี่เจิน อยู่ในดินแดนที่เป็นมณฑลเฮยหลงเจีนง (ฮาร์บิน 黑龙江 — 哈尔滨 ) ปัจจุบัน หนาวสุดยอด แห้งแล้ง
ส่วนมองโกลอยู่ในทุ่งหญ้าและทะเลทราย ก็ปลูกอะไรไม่ได้ ได้แต่เลี้ยงสัตว์
สรุปว่า ทั้งมองโกลและนีเจิน ล้วนเป็นศัตรูผู้รุกรานและต้องการยึดครองแผ่นดินตงง้วนในสมัยนั้น
มังกรหยก เรื่องนี้ กิมย้ง เขียนขึ้นและเผยแพร่ทาง น.ส.พ. จีน 香港商报
ที่ตีพิมพ์ ในฮ่องกง ระหว่างปี ค.ศ. 1957 ถึง 1959 ( พ.ศ. 2500 – 2502 )
โดยมีเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ในจีนช่วงปี ค.ศ. 1199 – 1221 เป็นภูมิหลัง (公元 1199 至 1221 年 )
ซึ่งเป็นช่วงที่เจงกิสข่านกำลังใช้กองทัพม้าเหล็กในการขยายอาณาจักรมองโกล
มาดูเรื่องจริงที่ไม่ใช่นิยายบ้าง
ช่วงราชวงศ์ซ่งตอนปลาย มีเรื่องราวของ ขุนนางตงฉิน (ขุนนางที่ดี ซื่อสัตย์) อย่างเช่น ท่านงักฮุย ( 岳飞 เยว่เฟ๊ย) ด้วย
งักฮุยเป็นคนรักชาติจงรักภักดี ถูกใส่ร้ายจนถูกฮ่องเต้เรียกกลับมาจากแนวหน้าและตายในคุก มีสุสานอยู่ที่หังโจว
เรื่องของงักฮุย ได้รับการสร้างเป็นหนังหลายเรื่อง
รวมถึงหนังจีนฮ่องกงชอร์บราเดอร์ เรื่อง 12 ป้ายทอง (十二金牌)
ที่นำแสดงโดยดารารุ่นใหญ่อย่าง เดวิด เจียง ตี้หลง ฟู่เซิน ฯ
ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเรียกตัวงักฮุยกลับจากการป้องกันประเทศเพื่อนำตัวมาสังหาร
(เอาเป็นว่ายังไม่เขียนเรื่องงักฮุยก่อน เดี๋ยวจะจบไม่ลง)
ตามข้อมูลที่เหล่าซือเคยค้นเจอ มีคนที่ชื่อ ก๊วยเจ๋ง และอึ้งย้ง จริง ทั้งสองตายคาป้อมเมือง ในการศึกที่สู้กับกองทัพมองโกล
เจงกิสข่าน ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นวีรบุรุษจากทุ่งหญ้า
แต่ในปลายปากกาของกิมย้ง เขาคือ ผู้รุกรานที่เข่นฆ่าคนจีนเพื่อแย่งชิงแผ่นดินเกิดของพ่อแม่ก๊วยเจ๋ง
ตัวละครสำคัญในเรื่องมังกรหยก
ก๊วยเจ๋ง จอมยุทธอุดร ยอดวีรบุรุษแห่งตงง้วน
อึ้งย้ง ขงเบ้งหญิง ยอดสตรีศรีต้งง้วน ธิดาแห่งมารบูรพา
จิวแป๊ะทง เฒ่าทารก ศิษย์ผู้น้องแห่งเทพมัชฌิม
เจ็ดประหลาดกังน้ำ หมายเหตุจากเหล่าซือ กังน้ำ เป็นภาษาสำเนียงแต้จิ๋ว กังน้ำ ก็คือดินแดนแุบลุ่มน้ำแยงซีเกียงก่อนไหลลงสู่ทะเล แถวๆ มณฑลเจ้อเจียง เซียงไฮ้ ซูโจว หังโจว ปัจจุบัน เป็นส่วนที่อุดมสมบูรณ์มาก เอี้ยคัง พ่อเอี้ยก้วย
อาวเอี๊ยงฮง พิษประจิม
อางเอี๊ยงเข็ก หลานชายของอาวเอี๊ยงฮง
อ๋องแห่งกิมก๊ก
เจงกิสข่าน ที่แสดงโดย ปาเซิน 巴森 ผู้สืบสายเลือดจากลูกชายคนที่สอง (ชาเหอถาย) ของ เจงกิสข่าน
เป็นนักแสดงคนเดียวกันกับคนที่แสดงเป็น เจงกิสข่าน ในเรื่อง เจงกิสข่าน จักพรรดิ์สะท้านโลก
จบด้วยเพลงนี้ เพลงประกอบหนังจีน เรื่อง มังกรหยก เวอร์ชั่นที่นำแสดงโดย หวงเยอะหัว และ องเหม่ยหลิง
เพลงนี้ถือว่าเป็นเพลงที่เพราะที่สุดเพลงหนึ่งในบรรดาเพลงประกอบหนังจีน เรื่อง มังกรหยก จากทุกเวอร์ชั่น
ขับร้องเป็นภาษาจีนกวางตุ้ง
เขียนโดย สุวรรณา สนเที่ยง 张碧云
วัฒนธรรมจีน 中国文化 Chinese Culture
รีรัน ขนมไหว้พระจันทร์ เทศกาลนี้ในภาษาจีนไม่ได้เรียกว่า วันไหว้พระจันทร์
ก่อนอื่น ทำความเข้าใจกันเรื่องชื่อเทศกาลสักนิด คือ
วันไหว้พระจันทร์ คนจีนไม่ได้มีชื่อเรียกในเชิง “ไหว้พระจันทร์” แต่อย่างใด
ภาษาจีนใช้คำว่า 中秋节 (เทศกาลจุงชิว) ซึ่งแปลว่า เทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง
ภาษาชาวบ้านเรียกว่า เทศกาลกลางเดือน 8
ตรงกับวันเพ็ญเดือน 8 เป็นเทศกาลที่โรแมนติคที่สุดของจีน
แต่แปลเป็นไทยคงเรียกยาก กอร์ปกับคนไทยเชื้อสายจีนสมัยก่อนนิยมไหว้เทพธิดาแห่งดวงจันทร์ (嫦娥) กัน
เราก็เลยเรียกติดปากเป็น “วันไหว้พระจันทร์” และ “ขนมไหว้พระจันทร์” มาจนถึงปัจจุบัน
ทั้งที่ชาวจีนตอนนี้ไหว้พระจันทร์กันน้อยและหายากมากในคนจีนรุ่นใหม่
เทศกาลนี้เป็นเทศกาลใหญ่อันดับสองรองจากตรุษจีน
เขาฉลองเทศกาลไหว้พระจันทร์โดยมีความหมายในการรวมญาติ
เน้นความกลมเกลียวเหมือนดวงจันทร์คืนเดือนเพ็ญในกลางฤดูใบไม้ร่วง
ซึ่งเป็นช่วงสภาพอากาศดีที่สุดของจีน ท้องฟ้าปลอดโปร่ง และกำลังจะเข้าสู่หน้าหนาวที่หฤโหด
ในประเทศจีนปัจจุบัน และ ที่ฮ่องกงซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวกวางตุ้ง
จะมีการเฉลิมฉลองวันเทศกาลจุงชิว เป็นวันหยุดทำงาน เน้นกิจกรรมรวมญาติและให้ของขวัญอวยพรกัน
ขนมไหว้พระจันทร์ เรียกว่า ขนมจันทร์ 月饼 ไม่ได้เรียกว่าขนมไหว้พระจันทร์
ทานพร้อมชาจีน และชมจันทร์พร้อมกัน หรือเดินทางท่องเที่ยวกันทั้งครอบครัว
ป.ล. ลูกเหล่าซือรายงานสดมาจากฮ่องกงตอนสามทุ่มวันนี้ว่า
ที่ฮ่องกง ขณะนี้ มีการทานข้าวรวมญาติ และมีการประดับโคมไฟกันตามสถานที่ต่างๆ อย่างสวยงาม
บรรยากาศคึกคักมาก
ภาพบน ไส้ยอดนิยม บัวไข่
ภาษาไทยกับภาษาจีน มีอะไรที่เหมือนกันบ้าง ?
ทำไมถึงคิดว่า ภาษาไทยกับภาษาจีนเป็นภาษาตระกูลเดียวกัน
ภาษาไทยกับภาษาจีน มีอะไรที่เหมือนกันบ้าง ?
ทำไมเราจึงเรียนภาษาจีนได้เป็นเร็วกว่าคนชาติอื่น
ที่ว่าตระกูลภาษาฮั่น – ธิเบต เป็นรากภาษาไทยนั้น เป็นอย่างไร จริงหรือไม่ (ชาวฮั่น ก็คือ ชาวจีน)
สำนวนไทย มีหลายคำ สร้างขึ้นจากสำนวนจีน
เช่น คำว่า
“ดุจปลาได้น้ำ” มาจาก 如鱼得水 ซึ่งเป็นคำพูดของเล่าปี่ ตอนที่ได้ ขงเบ้งมาช่วย (สามก๊ก)
เพื่อนๆ ว่าใช่หรือไม่ ? มีที่มาอย่างไร ?
คำพังเพยไทย ที่มาจากภาษาจีน ก็มีหลายคำมาก
เช่น 百闻不如一见 ( ฟังคนพูดร้อยครั้งไม่เท่ากับเห็นกับตาตัวเองหนึ่งครั้ง)
เราก็มีคำพัง้เพยไทยที่คล้ายกันมาก เราใช้คำว่า ” สิบปากว่าไม่เท่าหนึ่งตาเห็น “
จากเอนทรี่ก่อนหน้านี้ เรื่อง ภาษาไทยกับภาษาจีน มีอะไรที่เหมือนกันหรือไม่ ?
เอนทรี่นี้ อยากจะเขียนเปรียบเทียบความคล้ายด้านออกเสียงตัวเลขไทยกับตัวเลขจีน
1 – 10 ภาษาไทยกับจีน มีเลขไหนที่เสียงคล้ายกันบ้าง?
เดือนที่แล้ว มีนักศึกษาชาวมาเลย์เชื้อสายจีนสองคนมาเที่ยวเมืองไทย และดิฉันพาเขาไปติดต่อลงทะเบียนเข้าพัก
พนักงานขอเบอร์ติดต่อ ดิฉันก็บอกเป็นภาษาไทยไปว่า 084 936 7256 (เบอร์สมมุติ)
นักศึกษาสองคนนั้นสนใจขึ้นมาทันที เขาถามว่า เมื่อกี้เหล่าซือพูดตัวเลขภาษาไทยเหรอ
ผมเดาได้หลายตัวเลย (ทั้งที่สองคนนี้ไม่มีความรู้ภาษาไทยมาก่อน)
เพราะอะไร ?
เพราะการออกเสียงตัวเลข 1 – 10 ของไทยมีส่วนที่คล้ายกับเสียงในภาษาจีนกลาง จีนแคะ จีนกวางตุ้ง และ จีนแต้จิ๋วนั่นเอง
ตัวเลขในภาษาจีนออกเสียงกันอย่างไรบ้าง เชิญคลิกเข้าไปฟังเสียงเหล่าซือว่าพอจะทนฟังได้ไหม
เทียบ 4 สำเนียง ไทย-จีนกลาง-จีนแคะ-จีนแต้จิ๋ว (เกือบจะแถมสำเนียงกวางตุ้งอีกหนึ่ง)
ฟังคลิปนี้ อาจช่วยให้คุณพูดตัวเลขภาษาจีนได้ 3 สำเนียงในเวลา 6 นาที ส่วนคนจีนที่มาฟังก็จะพูดตัวเลขไทยได้ด้วย
เขียนเรื่องการออกเสียง ก็ต้องมีคลิปเสียงประกอบ
(คลิปนี้เหล่าซือทำขึ้นเอง และเป็นเสียงของตัวเอง)
ไม่ได้มีฝีมือในการทำวีดีโอ ขออภัยที่ออกมาไม่ค่อยดี แต่อยากเอามาฝาก
พอจะฟังได้ว่า เลข 3 คำไทยออกเสียงคล้ายภาษาจีนกลาง (ซ้าน) จีนแคะ (ซาม) และจีนกวางตุ้ง (ซ้าม)
เลข 4 กับเลข 9 คำำไทยออกเสียงเหมือนภาษาแต้จิั๋ว คือ สี่ และ เก้า
ส่วนคำอื่นๆ ก็มีความคล้ายอยู่ เช่น
เลข 2 ยี่ เลข 6 หลก เลข 8 ป๊า ปาด ปัด โป่ย เลข 7 ชี้ ชัด ฉิก เลข 10 สือ สับ
สารทจีน 中元节 เกร็ดวัฒนธรรมจีนฉบับไม่เคร่งพิธีกรรมของเหล่าซือสุวรรณา
เศรษฐกิจถดถอย ภาษาจีนใช้คำว่าอะไร ? ศัพท์สำหรับคนเรียนภาษาจีน
เศรษฐกิจถดถอย ภาษาจีนใช้คำว่าอะไร ?
คำว่า
เศรษฐกิจถดถอย
ภาษาจีนใช้อย่างนี้ค่ะ
经济萎缩
Jīngjì wěisuō
ตัวอย่างการแปลข้อความหรือข่าวเศรษฐกิจเรื่องนี้
สำนักข่าว BBC รายงาน ไทยกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย หลังจากเศรษฐกิจหดตัวในไตรมาสที่สองของปีนี้
英国 BBC 新闻报道:
泰国经济从今年第二期开始进入萎缩状况。
Tàiguó jīngjì cóng jīnnián dì èr qí kāishǐ jìnrù wěisuō zhuàngkuàng.
Thailand’s economy falls into recession
http://www.bbc.co.uk/news/business-23751846
萎 wěi แปลว่า เหี่ยวลง เฉาลง ซบเซา
สำนวนจีน ชักธงรบก็ชนะศึก ชนะตั้งแต่ยกแรก ใช้อย่างไร 成语 : 旗开得胜!
สำนวนจีน มักเป็นคำหรือวลีที่ใช้เปรียบเปรย อุปมา มีความหมายลึกซึ้ง แฝงปรัชญาชีวิต
นำมาประยุกต์ใช้เป็นคติเตือนตน ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตให้ก้าวไปด้วยดีได้
มีสำนวนไทยจำนวนมากที่มีความคล้ายและมีรากมาจากสำนวนจีน
เสน่ห์ของสำนวนจีนอีกอย่างคือ สำนวนจีนมักจะมาจากเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์
คำที่เราเรียกรวมๆ กันว่า “สำนวนจีน” นั้น ความจริงในภาษาจีนยังแบ่งเป็นหลายอย่าง
โดยมีคำรวมเรียกว่า 熟语 หรือ 习惯用语 ในนั้นยังแบ่งออกเป็น 成语 谚语 歇后语 ฯ
ในที่นี้ จะเขียนถึง “สำนวนจีน” ที่เป็น 成语 ซึ่งมีโครงสร้างเป็นอักษรจีน 4 ตัว
ทุกคำจะมีเรื่องราวที่มาในอดีต และไม่สามารถเปลี่ยนคำได้
สำนวนจีน ชักธงรบก็ชนะศึก ประสบความสำเร็จตั้งแต่ก้าวแรก ใช้อย่างไร
เมื่อวาน ได้รับข่าวดีจากนักเรียนคนหนึ่งที่เรียนปี 1 มหาวิทยาลัย และเพิ่งสอบเทอมแรกผ่านไป
เขาโทรมาบอกว่า วิชาแรกประกาศผลสอบแล้ว เขาสอบได้คะแนนดีเป็นที่น่าพอใจ คาดหวังว่าจะได้เกรด A ดิฉันก็เลยชมว่า
เป็นข่าวดีค่ะ ดีใจด้วยค่ะ สอบได้ดีตั้งแต่วิชาแรก ก็จะมีกำลังใจนะคะ อย่างนี้สำนวนจีนเรียกว่า
旗开得胜 !
” 旗开得胜 ? ขอคำแปลด้วยนะคะ “
อ๋อ คำนี้หมายความว่า ” ชนะตั้งแต่ยกแรก ” เมื่อลงมือทำสิ่งใดแล้วประสบความสำเร็จตั้งแต่เริ่มทำ มีผลงานดีตั้งแต่ตอนเริ่มต้น ก็จะเกิดความรู้สึกที่ฮึกเหิม เกิดกำลังใจมหาศาลในการทำสิ่งนั้นต่อไปค่ะ
คำว่า 旗 แปลว่าธง 开 แปลว่าเปิด ในที่นี้หมายถึงชักธงรบ 得胜 แปลว่าได้รับชัยชนะ
เป็นสำนวนจีนที่ใช้กันมาแต่โบราณแล้วค่ะ
แต่หนูก็ต้องหมั่นดูแลสุขภาพ พักผ่อนให้พอ อย่าใช้เน็ตจนดึกดื่น ไม่งั้นร่างกายไม่แข็งแรง
สมองถดถอย แล้วจะเอาแรงกายแรงสมองที่ไหนไป “สู้ศึก” (การเรียน) ได้ล่ะคะ
福到了! เกร็ดวัฒนธรรมจีน อักษรจีนมงคล ฮก
เรียนรู้วัฒนธรรม ควบคู่กับภาษา
วัฒนธรรมจีน 中国文化
Chinese Culture
เป็นอะไรที่ชาวจีนทั่วโลกและชาวต่างชาติสนใจศึกษา
เพื่อความ “เข้าใจจีน” 为了了解中国
เป็นศาสตร์และศิลป์ที่มีความล้ำลึกและน่าสนใจอย่างยิ่ง
มันทั้งสะท้อนจิตวิญญาณ ทัศนคติในการดำเนินชีวิต หลักปรัชญา แพทย์ศาสตร์โบราณที่น่าทึ่ง โหราศาสตร์ที่เร้นลับ อารยธรรม ฯลฯ ของชาวจีนที่มีมาหลายพันปี
การรู้ภาษาอย่างเดียวยังไม่พอที่เราจะ “เข้าใจจีน” และเข้าไม่ถึงจิตวิญญาณของภาษา ฟิวเจอร์ซีเราจึงสอดแทรกการถ่ายทอดเรื่องวัฒนธรรมจีนไปพร้อมๆ กัน
เรียนรู้หลักการดำเนินชีวิต หลักปรัชญา แนวคิดคนจีนดั้งเดิม
ที่เน้นความกตัญญูรู้คุณ ขยันประหยัด อดทน ซื่อสัตย์สุจริต
บทความต่างๆ ที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมจีน อาหารจีน และ เรื่องจีนๆ ในเว็บไซต์นี้
ดิฉันพยายามเขียนรวบรวมขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้ “เข้าใจจีน” (了解中国)
ซึ่งขณะนี้กำลังเป็นกระแสหลักของโลกที่ต้องการติดต่อกับจีน
มีหลายเรื่องเคยโพสต์ใน OKnation Blog และ Google Blog
ที่เอื้อเฟื้อพื้นที่ในการเผยแพร่แบ่งปันความรู้ประสบการณ์
ขอขอบคุณ OKnation Blog และ Google Blog มา ณ ที่นี้
……………………………………………………………………………………
福到了! เกร็ดวัฒนธรรมจีน อักษรจีนมงคล ฮก
“มีบุญ” “บุญวาสนา”
福到了! ตรุษจีน 2012 อักษรจีน 福 ทำไมต้องติดกลับหัว (คว่ำ)
ตรุษจีนปีนี้ อยากจะเขียนถึงอักษรจีนตัวหนึ่งที่พวกเราคุ้นหน้าค้นตากัน นั่นก็คือ
ตัว 福 ซึ่งภาษาจีนแต้จิ๋วออกเสียงว่า “ฮก” ภาษาจีนกลางออกเสียงว่า “ฝู” นั่นเอง
ถือโอกาสพาเด็กๆ มาแสดงความคารวะและมอบอักษรจีน 福 นี้แด่ทุกท่านที่เข้ามาอ่านนะคะ
วิเคราะห์แนวข้อสอบแพทภาษาจีน (PAT 7.4)
บทความนี้ เหล่าซือโพสต์ครั้งแรกที่ โอเคนเชั่นบล็อก
เมื่อวันจันทร์ ที่ 25 กรกฎาคม 2554
Posted by เหล่าซือสุวรรณา , ผู้อ่าน : 53956 http://oknation.nationtv.tv/blog/chineseclub/2011/07/25/entry-2
ยินดีเผยแพร่เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจทั่วไป
**************
วิเคราะห์แนวข้อสอบและตัวอย่างข้อสอบเก่า PAT 7.4 ของปี 2552 และปี 2553
( จะมีการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อสอบ PAT 7.4 ครั้งที่ 1/2555 ตามมาในบล็อกนี้ )
……………….
สำหรับนักเรียน ม.6 ที่เตรียมตัวจะสอบ PAT 7.4 หรือสอบความถนัดทางภาษาจีน ซึ่งปีนี้จะสอบครั้งที่ 1 วันที่ 11 ตุลาคม 2554 นักเรียนจะต้องสมัครสอบภายในสิ้นเดือนกรกฎาคมนี้
ข้อสอบแพทจีน จะมีข้อสอบ 2 ชุดให้เลือกทำชุดใดชุดหนึ่ง ชุดหนึ่งเป็นข้อสอบที่ใช้อักษรจีนตัวย่อ และอีกชุดหนึ่งเป็นข้อสอบอักษรจีนตัวเต็ม
จำนวนข้อสอบ 100 ข้อ ใช้เวลาทำ 3 ชั่วโมง
ผู้เข้าสอบควรมีความรู้ทางภาษาจีนระดับกลางขึ้นไป
เมื่อวิเคราะห์จากข้อสอบเก่าใน 2 ปีหลังนี้ แนวข้อสอบแพตจีน ( PAT 7.4 ) พอจะแบ่งหัวข้อหลักๆ ได้ดังต่อไปนี้ ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยจะสรุปเพิ่มเติมอีกครั้ง
1. หลักไวยากรณ์ นักเรียนจะต้องมีความแม่นยำในหลักไวยากรณ์จีน
1.1 เรียงประโยคได้ถูกต้อง เพราะหลักไวยากรณ์ภาษาจีนที่สำคัญคือการนำเอาคำต่างๆ มาเรียงในประโยคให้ถูกต้อง ไม่มีการผันกริยาหรือเปลี่ยนรูป (ข้อสอบจะมีแบบให้เรียงประโยคด้วย )
1.2 เลือกใช้ลักษนามได้ถูกต้อง ( จะมีข้อสอบแนวนี้ทุกปี )
1.3 ใช้รูปประโยคในบริบทต่างๆ และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตได้ เช่น การใช้ 了 การใช้ 是…………的。 การใช้ 不 / 没(有) การใช้ 再 / 又 ฯลฯ
1.4 เรียงประโยคที่มีคำบุพบทได้ถูกต้อง เช่น 给 向 朝 往 对 对……..感兴趣
1.5 เลือกใช้คำเสริมน้ำเสียงได้ถูกต้อง (คำช่วยน้ำเสียง – ออกสอบบ่อย ) เช่น 呢 吗 嘛 吧 了 阿 ….
1.6 เลือกใช้คำสันธาน (คำเชื่อม) ให้สอดคล้องกับบริบทในประโยคความรวมได้
ตัวอย่างข้อสอบของปี 2553 ที่เกี่ยวกับคำเชื่อม
ข้อ 23. 这道题_______老师_______不会,我怎么会做呢!
1. 虽然 …….都…… 2. 不管……. 也 …….
3. 无论……. 也……. 4. 连……. 都 ……….
ข้อ 24. 你说_______时候就_______时候, 我没意见。
1. 什么…….什么……..
2. 哪个…….. 那个……..
3. 那么……. 那么 …….
4. 什么……. 那个……….
25. 大批留学生到国外留学,________促进了中国科技事业的发展, ________加深了中外文化的交流。
1. 尽管 …….. 但是 …….
2. 一边…… 一边……..
3. 不但…….. 而且 ……..
4. 或者……..或者 ………
1.7 หลักการใช้อื่นๆ เช่น การใช้คำกริยาวิเศษณ์ (副词)เช่น 当然、一定、常常、经常、总是、究竟、终于…… บางท่านแปลคำชนิดนี้ว่า “คำวิเศษณ์” แต่ผู้เขียนเรียกว่า “คำกริยาวิเศษณ์” เป็นคำที่ใช้ขยายคำกริยาและคำวิเศษณ์ ( คำคุณศัพท์ )
2. คลังคำศัพท์
2.1 นักเรียนควรมีความรู้ด้านคำศัพท์ประมาณ 1200 คำหรือมากกว่า
2.2 สามารถแยกแยะและใช้คำศัพท์ที่มีความหมายใกล้เคียงกันหรือคำสับสนจีน(近义词 ) ในระดับต้น -กลางได้ เช่น 会 能 可以 / 当然 一定 / 常常 经常 总是 / …….
ตัวอย่างจากข้อสอบปี 2553 ข้อที่ 86 – 89 เป็นข้อสอบที่ให้นักเรียกเลือกใช้คำศัพท์ที่มีความหมายใกล้เคียงกัน โดยจะมีคำตอบ 4 คู่ให้เลือก (ดูในข้อสอบปี 2553 ประกอบ)
ข้อ 86 1. 充足 2. 很多 3. 必须 4. 充要
ข้อ 87. 1. 提高 2. 增多 3. 增长 4. 增大
ข้อ 88. 1. 消失 2. 除去 3. 失去 4. 消除
ข้อ 89. 1. 损伤 2. 损害 3. 伤心 4. 受伤
2.3 นักเรียนจะต้องมีความเข้าใจและใช้สำนวนจีนได้บางส่วน ฯลฯ เช่น 碰壁 喝西北风 …….
3. นักเรียนต้องมีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับจีนและวัฒนธรรมจีน เช่น ประวัติศาสตร์จีนโดยสังเขป ศิลปวัฒนธรรม วันเทศกาล สถานที่สำคัญ ภูมิศาสตร์ ฯ
ปี 2553 มีข้อสอบเกี่ยวกับส่วนนี้ 10 กว่าข้อ ( ข้อ 46 – 55 ) และแทรกอยู่ในส่วนที่เป็นการสอบความเข้าใจภาษา-ทักษะการอ่านอีกหลายข้อ เช่น ในหัวข้อเรื่อง ” ทำไมคนจีนต้องติดอักษรจีน 福 กลับหัวลง ” ฯลฯ จะเห็นว่าส่วนนี้มีสัดส่วนมากกว่า 1 ส่วน 10
ในที่นี้จะยกมาเพียงบางข้อให้ดูประกอบเพื่อความเข้าใจ
ข้อ 46. 元宵节中国人有什么习俗? 1. 吃汤圆 2. 吃粽子 3. 吃月饼 4. 吃饺子
ข้อ 47. 中国的四大名著有《三国演义》、《西游记》、《红楼梦》和 ________。
1.《封神演义》 2.《包青天》 3.《水浒传》 4.《还珠格格》
ข้อ 48. 下列哪项不是中国的四大发明?
1. 印刷术 2. 指南针 3. 造纸术 4. 针灸术
ข้อ 49. 中国著名绿茶龙井茶产自___________。
1. 福州 2. 杭州 3. 广州 4. 郑州
…………………
วิเคราะห์และรวบรวมโดย สุวรรณา สนเที่ยง (张碧云)
ศูนย์ภาษาจีนฟิวเจอร์ซี
25 กรกฎาคม 2554
ข้อสอบ ปี 2552 ดาวน์โหลดได้ที่
http://pics.unigang.com/box/exam/pat-mar/pat74.pdf
ข้อสอบปี 2553 ดาวน์โหลดได้ที่
http://www.teacherooh.com/sites/teacherooh.com/files/gatpat531/PAT7.4.pdf
(ขอขอบคุณเจ้าของเว็บไซต์ทั้งสองลิงค์ที่นำข้อสอบเก่ามาโพสไว้)
ดาวน์โหลดข้อสอบเก่ามาฝึกทำนะคะ ขอให้ทุกคนมีความพยายามและประสบความสำเร็จค่ะ
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
“20 หัวข้อ แนวข้อสอบ PAT จีนที่ต้องรู้” (คลิกที่นี่)
และรวมบทความเกี่ยวกับสอบแพทจีน
http://www.futurec-cn.com/category/ความรู้สอบ-hsk-pat/ความรู้สอบ-pat/
คลิกอ่านเพิ่มเติมได้ที่
http://suwannas.blogspot.com/2016/10/20-pat.html
http://www.futurec-cn.com/20-หัวข้อแนวข้อสอบ-patจีนที่/
……
ติดตามได้ที่
Facebook fanpage : Suwanna future C
https://www.facebook.com/SuwannaFutureC?ref=hl
***************
บทวิเคราะห์นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของสุวรรณา สนเที่ยง
ยินดีเผยแพร่เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจทั่วไป
แต่ไม่ยินดีให้ผู้หนึ่งผู้ใดนำไปหาประโยชน์ส่วนตัวด้วยการอ้างเป็นเจ้าของข้อเขียน
เนื่องจากสิงหาคม 2554 พบว่ามีคนนำบทวิเคราะห์นี้ไปโพสต์ในเวปไซต์ Dek-D.com โดยระบุในบล็อกดังกล่าวว่าผู้แต่งคือ “เชวาไลย์ & ด.ญ.ตัวอักษร”
รวมทั้งได้ตัดข้อความที่ระบุชื่อผู้เขียน(สุวรรณา) และชื่อสถาบันฟิวเจอร์ซีออกไป
และยังพบว่ามีการนำไปโพสต์ในเว็บไซต์สอนภาษาจีนบางเว็บ โดยการตัดชื่อผู้เขียนออกแล้วโพสต์ในลักษณะที่ทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่าเจ้าของเว็บไซต์นั้นเป็นคนเขียนอีกด้วย
ดังนั้น เพื่อหลักจรรยาบรรณและเพื่อให้เกิดบรรทัดฐานร่วมกันในเรื่องการเคารพลิขสิทธิ์ซึ่งกันและกัน
ท่านใดต้องการนำไปเผยแพร่ต่อ หรือคัดลอกส่วนใดส่วนหนึ่งไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวม ขอความกรุณาให้เกียรติตัวเองด้วยการระบุที่มาให้ชัดเจนหรือติดต่อกับผู้เขียนก่อน
….
ศูนย์ภาษาจีนฟิวเจอร์ซี ขอแสดงความยินดีกับนักเรียนทุกคน
ที่สอบติดหลายคณะของมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ เช่น
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ติดนิเทศศาสตร์ รัฐศาสตร์สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะนิติศาสตร์)
มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ฯลฯ
น้องยิ้ม สอบติดคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ โดยยื่นคะแนนสอบแพทจีน 267 คะแนน
(จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา)
น้องแบม อดีตประธานนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ สายวิทย์
เลือกเรียนคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(ติดคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะพาณิชศาสตร์และการบัญชี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ )
น้องมีน สอบติดคณะมนุษยศาสตร์ ม.เกษตร โดยยื่นคะแนนสอบแพทจีน 237
เลือกเรียนเอกวิชาภาษาจีนเป็นอันดับหนึ่ง (จากโรงเรียนเซนต์ฟรังค์ ฯ สายวิทย์)
น้องปาล์ม สอบติดคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ โดยใช้คะแนนสอบแพทจีนยื่น
(จากโรงเรียนสตรีวิทยา)
น้องนุ่น เลือกเรียนสาขาเอกภาษาจีน มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
(จากโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี)
อ่านเรื่องเกร็ดภาษาจีน หวังว่าทุกคลิกของท่านจะได้รับประโยชน์จากบทความเหล่านี้
……..
ขออภัยในข้อบกพร่องใดๆ และขอความกรุณาช่วยชี้แนะด้วยค่ะ
ตัวอย่างข้อสอบ HSK Level 5 汉语水平考试 5 级
เรียบเรียงโดย สุวรรณา สนเที่ยง (张碧云)
ในเรื่องนี้
ระดับความยากง่ายของ PAT จีน เมื่อเทียบกับ HSK
ลิงก์ดาวน์โหลดข้อสอบ ทำข้อสอบออนไลน์ การเตรียมตัวสอบ
ผลสอบ HSK ระดับ 5 ใช้ทำอะไรได้บ้าง ?
การสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีน 汉语水平考试 HSK
เหล่าซือเคยโพสต์ตารางคำศัพท์ภาษาจีน 300 คำ
ที่ใช้ในชีวิตประจำวันและใช้เป็นเกณฑ์ในการสอบ HSK level 2 มาแล้ว
แต่ไม่ได้โพสต์ตารางคำศัพท์ที่มีระดับสูงขึ้น เนื่องจากมีจำนวนมาก โพสต์ลำบาก
คำศัพท์ที่เป็นเกณฑ์ใช้สอบ HSK level 3 ตามมาตรฐานของ ฮั่นปั้น ก็คือ 600 คำ
HSK level 4 คำศัพท์ 1200 คำ
HSK level 5 คำศัพท์ 2500 คำ และหลักไวยากรณ์ที่สัมพันธ์กัน
ในเอนทรี่นี้จะขอข้ามคำศัพท์ของระดับ 3 – 4 ไปก่อน
แต่จะเอาตัวอย่างข้อสอบระดับ 5 มาให้ดูเป็นแนวเล็กน้อย
เพราะช่วงนี้มีน้องๆ ที่สอบผ่านระดับ 4 และน้อง ม.6 หลายคนสอบถามเข้ามาว่า
“ถ้าจะสอบแพท 7.4 ต้องมีความรู้ภาษาจีนระดับไหนถึงจะมีความมั่นใจ ? ”
เหล่าซือก็ตอบว่า ต้องประมาณ ระดับ 4 และ ระดับ 5 ต้นๆ
และต้องรู้สำนวนจีน ประวัติศาสตร์จีน วัฒนธรรมจีน และความรู้รอบตัวเกี่ยวกับจีนด้วย (ออกประมาณ 20 ข้อ)
ตัวอย่างข้อสอบ แพท 7.4 เหล่าซือเคยโพสต์ไว้แล้ว
ดูได้ที่ วิเคราะห์แนวข้อสอบ PAT 7.4 วิชาภาษาจีน (คลิกที่นี่)
วันนี้จึงเอาตัวอย่าง HSK5 มาโพสต์ให้ดูพอเป็นแนวทาง
ตัวอย่างนักเรียนคนหนึ่งของเหล่าซือ ที่สอบ HSK4 และ PAT 7.4 ในเวลาไล่เลี่ยกัน
คือเอาความรู็ที่มีอยู่ไปสอบทั้งสองอย่าง
ผลปรากฏว่า
เขาสอบผ่าน HSK 4 ด้วยคะแนนเกิน 250 ( คะแนนเต็ม 300)
แต่สอบ PAT 7.4 ได้ประมาณ 218 ( คะแนนเต็ม 300)
ซึ่งเมื่อเอาคะแนน HSK4 ( 250 คะแนน) ไปเทียบตามเกณฑ์ของ HANBAN แล้วก็เท่ากับผ่าน HSK ระดับ 5 ต้นๆ
( คะแนน 240 ของ HSK4 จะเทียบเท่ากับคะแนน 180 ของ HSK5 ซึ่งผ่านเกณฑ์ระดับ 5 พอดี)
เหล่าซือจึงอนุมานว่า ความยากของข้อสอบ PAT จีนจะอยู่ระดับ HSK4 – HSK5 ต้นๆ
แต่ความยากของคำศัพท์ PAT 7.4 มีมากกว่า HSK4
และมีคำศัพท์จำนวนหนึ่งที่ไม่อยู่ในตาราง HSK1-6 เช่น สำนวนจีน ชื่อคน ชื่อสถานที่ ฯลฯ
เมื่อนักเรียนคนนี้ใช้คะแนนภาษาจีนรวมกับผลการเรียนจากโรงเรียน คะแนน ONET คะแนน GAT
ยื่นแอดมิชชั่นเข้าคณะรัฐศาสตร์ วิชาการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ได้อันดับคะแนนสูงสุดต้นๆ ของคณะในระบบแอดมิชชั่น
………………….
มาดูตัวอย่างข้อสอบระดับ 5 กัน
ข้อสอบ HSK5 แบ่งเป็น 3 ส่วน รวม 300 คะแนน
1. ทักษะการฟัง 100 คะแนน 45 ข้อ ให้เวลา 30 นาที
2. ทักษะการอ่าน 100 คะแนน 45 ข้อ ให้เวลา 45 นาที
3. ทักษะการเขียน 100 คะแนน 10 ข้อ ให้เวลา 40 นาที
ข้อควรสนใจ
ให้เวลาในการทำข้อสอบน้อยมาก ผู้เข้าสอบจะต้องใช้ความไวในการคิด ทำและเขียน
ไม่มีเวลาให้ค่อยๆ คิด และจะไม่มีเลาให้ย้อนกลับไปทำข้อสอบที่ผ่านไปแล้ว
ส่วนมากจะทำข้อสอบไม่ทัน โดยเฉพาะในส่วนของการอ่านและการเขียน
การเตรียมตัวและเทคนิค ดูจากลิงก์ท้ายเรื่อง
ภาพล่าง
ตัวอย่างข้อสอบข้อที่ 61 เป็นเรื่องของพลังงาน 能源
ข้อ 62 เป็นเรื่องเกี่ยวกับแผ่นดินไหว 地震
อ่านแล้วตอบคำถามภายในเวลากำหนด ให้เวลาทำเฉลี่ยข้อละ 1 นาที
รวมเวลาอ่าน ( 45 ข้อ 45 นาที)
ก็ถือว่าหินพอสมควร
ตัวอย่างข้อสอบข้อที่ 61 และ 62 ของข้อสอบจากอีกชุดหนึ่ง
ข้อ 61 เป็นเรื่องเปรียบเทียบระหว่างเมืองกับชนบท
ข้อ 62 เป็นเรื่องเกี่ยวกับ 甲骨文
ถ้าเรามีความรู้เรื่อง 甲骨文 เป็นพื้นเดิม เราก็จะทำข้อสอบข้อนี้ได้เร็วขี้น
แต่ถ้าเราไม่มีความรู้เกี่ยวกับ 甲骨文 อยู่ในหัวมาก่อนเลย กว่าจะทำความเข้าใจกับเรื่องที่อ่าน ก็อาจทำให้ทำข้อหลังไม่ทัน
♣ ข้อสอบ HSK5 จะทดสอบความเร็วในการทำด้วย
♣ เกร็ดความรู้
คืออักษรจีนโบราณที่แกะสลักบนกระดงเต่าและกระดูกสัตว์
- ภาพล่าง เป็นตัวอย่างส่วนหนึ่งของข้อสอบทักษะการเขียน
- ให้เรียงประโยคให้ถูกต้อง
- ส่วนนี้ทดสอบความสามารถของคำศัพท์และการเรียงประโยคให้ถูกต้องตามหลักภาษา
ส่วนสุดท้ายของข้อสอบเขียน
1. ให้เขียนข้อความสั้นโดยบังคับให้ใช้คำศัพท์ที่ข้อสอบให้มาทุกคำ ภายในเวลากำหนด
2. ให้เขียนข้อความสั้นเกี่ยวกับภาพที่ให้มา ขั้นต่ำ 80 ตัวอักษร ภายในเวลากำหนด
……………………………….
มาดูตัวอย่างข้อสอบเพิ่มเติมอีกเล็กน้อย
ตัวอย่างข้อ 34 – 36 เป็นตัวอย่างข้อสอบ HSK5 ที่แฝงคติสอนใจ ลองอ่านดูค่ะ
ถ้าให้เลือกได้แค่อย่างเดียว ระหว่าง 财富 ทรัพย์สมบัติ 成功 ความสำเร็จ กับ 爱 ความรัก
คุณจะเลือกอะไร ?
ตัวอย่างข้อสอบ #HSK5 真题 ข้อ 71 – 73 ที่ให้แง่คิดดีมาก อ่านแล้วได้ประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต
ลองอ่านและนึกตามว่าสมองของเรามีแต่เรื่องเล็กหยุมหยิมเต็มไปหมดจนไม่สามารถใส่เรื่องใหญ่ๆ ที่สำคัญลงไปได้หรือเปล่า ?
ตัวอย่างข้อสอบ HSK5 真题 ข้อ 70 ที่สอดแทรกอารมณ์ขันไว้ ลองอ่านและตอบคำถาม
* ข้อนี้เป็นข้อที่ไม่สามารถใช้วิธีหาคำตอบจาก key word หรือหาคำที่มีความสัมพันธ์กันแล้วเดา
แต่ต้องอาศัยความเข้าใจบริบทของภาษา
สอบ HSK HSKK
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
เทคนิคการเตรียมตัวสอบ http://www.futurec-cn.com/5-เทคนิคการสอบ-hsk-การเตรียม/
วิเคราะห์แนวข้อสอบ PAT 7.4 วิชาภาษาจีน (คลิกที่นี่)
คำศัพท์ 300 คำ HSK2 vocabulary list http://www.futurec-cn.com/ภาษาจีนขั้นต้น-คำศัพท์-300/
ฟังคำอธิบายจากคลิปเสียง คำศัพท์-hsk4-บางส่วน
http://www.futurec-cn.com/คำศัพท์-hsk4-级词语(อธิบายด้วยภาษาไทย/
http://suwannas.blogspot.com/2016/03/hsk4.html
ดูเพิ่มเติม
http://www.futurec-cn.com/เกร็ดความรู้/เกร็ดความรู้ภาษาจีน/
http://www.futurec-cn.com/หลักสูตร/หลักสูตรทั่วไป/
ดาวน์โหลดตัวอย่างข้อสอบ และ ทดลองทำข้อสอบออนไลน์ได้ในเว็บไซต์ของ สำนักงาน 汉办
汉语考试服务网 http://www.chinesetest.cn/index.do
Download Centre : http://www.chinesetest.cn/godownload.do
………………………………………
ศิลปะการเขียนพู่กันจีน 中國書法
ศิลปะการเขียนพู่กันจีน 中國書法
เป็นมรดกทางวัฒนธรรมจีนอย่างหนึ่งค่ะ
ถ้าเห็นการเขียนพู่กันจีน หรือ ภาพวาดพู่กันจีน ก็จะนึกถึงภาพของความเป็นจีนทันทีเลยค่ะ
ภาพวาดจีน กับ ภาพวาดสำน้ำมันแบบตะวันตก แตกต่างกันอย่างไร
中國畫 跟 西方油彩畫 有什麽不同 ?
แตกต่างกันอย่างนี้ค่ะ
ภาพวาดจีน วาดด้วยหมึกดำกับน้ำ ภาพสีน้ำมัน วาดด้วยสี
ภาพวาดจีน ในภาพมักจะมีที่ว่างเปล่า ภาพสีน้ำมัน จะต้องระบายสีเต็มไม่เหลือที่ว่าง
ภาพวาดจีน มักจะเขียนบนผ้า ส่วนภาพวาดตะวันตก มักจะเขียนบนกระดาษ
ภาพวาดจีนแบบใช้พู่กันจุ่มหมึกดำเขียน
ข้อความบนเป็นชื่อจีนของสถาบันฟิวเจอร์ซี ถ้าเขียนด้วย font คอมพิวเตอร์ก็จะหน้าตาเป็นอย่างนี้นะคะ
อักษรจีนตัวเต็ม 銘中漢語中心 และ อักษรจีนตัวย่อ 铭中汉语中心
จะเห็นว่าความสวยงามของตัวอักษรมันคนละเรื่องกันเลย
ที่สถาบันสอนภาษาจีนของดิฉัน จะไม่สอนภาษาอย่างเดียว และจะไม่สอนให้เด็กท่องจำด้วยค่ะ
เพราะถือว่านั่นยังเข้าไม่ถึงแก่นของวัฒนธรรม เข้าไม่ถึงแก่นของภาษา
แต่จะมีกิจกรรมวัฒนธรรมจีนอื่นๆ เสริมด้วย ที่เคยเอามาลงบล็อกก็มีการสอนร้องเพลงจีนบ้าง
แต่เราไม่ได้ร้องเพลงจีนอย่างเดียวนะคะ เรายังมีการเขียนและวาดรูปพู่กันจีนด้วยค่ะ
เมื่อวันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน ที่ผ่านมา เราก็มีกิจกรรมพู่กันจีนอีก
(ไม่ได้มีบ่อยนะคะ เพราะกิจกรรมนี้มักทำให้โต๊ะตัวสวยที่เหล่าซือไปเลือกหาตั้งนานนั้นเลอะหมึกดำค่ะ 55 )
แต่พอเห็นผลงานที่เด็กๆ ตั้งใจทำออกมา ภายในเวลาชั่วโมงกว่าๆ แล้วชื่นใจมากจนต้องขออนุญาตนำมาโชว์ในบล็อก
ไม่ว่ากันนะคะ
เหล่าซือไม่ได้สอนเอง
คนสอนเขาก็ไม่ใช่นักเขียนพู่กันมืออาชีิพ
เพียงแต่ใจรัก ก็เลยสอนให้เด็กๆ พอได้พื้นฐานเล็กๆ ได้ความเพลิดเพลิน และเด็กๆ ก็ชอบให้เขาสอนค่ะ
ดูผลงานเด็กๆ กันดีกว่า
ภาพบนทั้งหมดเป็นภาพที่ถ่ายเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาค่ะ
…………………………………………..
แต่ภาพล่างๆ ต่อไปนี้ไปหาภาพเก่ามาลงเพิ่มค่ะ
ส่วนนี้เป็นภาพที่ไม่ได้เขียนด้วยหมึก แต่เขียนด้วยน้ำ
ใช้พู่กันจุ่มน้ำ แล้วเขียนบนกระดาษเขียนน้ำ (ที่เหล่าซือไปหาซื้อเองบ้าง ฝากนักเรียนซื้อจากเซี่ยงไฮ้บ้าง)
พอน้ำแห้งก็เขียนได้อีก อย่างนี้ประหยัดและไม่เลอะ แต่กระดาษหาซื้อยากหน่อย
เหล่าซือก็เลยหวงกระดาษมาก แต่แจกให้เด็กๆ คนละใบ พู่กันคนละด้าม เอากลับบ้านไปฝึกต่อ
ตอนไปออกงานอาเซียนที่สีลม มีคนมาขอซื้อ บอกไม่ขายค่ะ
ภาพล่างนี้เป็นนักเรียนเด็กรุ่นแรกๆ ที่มาเรียนที่ฟิวเจอร์ซี ท่าพระค่ะ
ถ่ายไว้เมื่อเดือนตุลาคม 2005 คนในภาพตอนนี้โตหมดแล้วค่ะ
เป็นภาพนี้
…………………….
สถาบันสอนภาษาจีนฟิวเจอร์ซี มีโอกาสต้อนรับทีมถ่ายทำของเครือเนชั่น 2 ครั้งนะคะ
ครั้งแรกก็ปี 2007 (2550) โน้นค่ะ
สองภาพที่เห็นพื้นกระดาษโปสเตอร์สีแดงนี้ เป็นภาพที่เหล่าซือถ่ายไว้ตอนทีมงานของรายการชีพจรโลก
มาถ่ายภาพนักเรียนเขียนพู่กันจีนที่ ฟิวเจอร์ซี ท่าพระ
เพื่อนำไปใช้ประกอบรายการชีพจรโลก ในหัวข้อ การเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย แพร่ภาพช่อง 9 (สมัยนั้น)
และต่อมาสองภาพนี้ก็ได้รับการตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ เป็นภาพประกอบข่าวที่นักข่าว น.ส.พ. ฉบับนี้สัมภาษณ์เหล่าซือตอนเจอกันในงานแถลงข่าวเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยปัญหาการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย
ซึ่งนำทีมวิจัยโดย ดร. เขียน ธีระวิทย์ ศูนย์จีนศึกษา จุฬาฯ
(ตอนนั้น อาจารย์เขียนท่านให้โอกาสเหล่าซือมีส่วนร่วมเล็กๆ ในงานวิจัยนั้นด้วย)
และต่อมาอีก ก็มีอาจารย์ท่านหนึ่งจากเทคโนบางมดฯ มาบอกเหล่าซือว่ามีคนนำสองภาพนี้ไปโพสต์ในเน็ต แต่ไม่ได้อ้างอิงว่าภาพจากที่ไหน
……………………………………
ครั้งที่สอง ฟิวเจอร์ซี มีโอกาสได้ต้อนรับทีมงานจากรายการการศึกษา ของ แมงโกทีวี เครือเนชั่น อีกครั้ง
เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2010 ( 2553)
ภาพบน คือ พิธีกรคนเก่งของแมงโกทีวีค่ะ
ส่วนภาพนี้ คือ ทีมถ่ายทำระดับมือโปร ต่อหน้ากล้องแบบนี้ เหล่าซือเลยพูดอะไรผิดๆ ถูกๆ (โทษกล้อง)
หัวหน้าทีมถ่ายอารมณ์ดี ก็ทำให้บรรยากาศเป็นไปอย่างสบายๆ
จ้องแบบนี้ เด็กก็เกร็งสิคะ
พิธีกรมองตามมือน้องด้วยความสนใจ
ดูสีหน้าของพิธีกร กับ น้องคนนี้นะคะ
น้องมองพิธีกรด้วยความสนใจ แต่คงตื่นเต้นจนยิ้มไม่ออก
คนเสื้อสีฟ้าที่ยืนข้างหลังก็คือคนสอนเขียนพู่กันนะคะ
……………………………………………
ทีมถ่ายทำของแมงโกทีวี ตอนนั้นมาถ่ายทำอะไรหรือคะ
เขามาทำสกรู๊ปสัมภาษณ์นักเรียนเหล่าซือที่ได้ทุนรัฐบาลจีนไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่ประเทศจีน
ซึ่งในปีนั้น ได้พร้อมกันสองคน และเป็นนักเรียนดีทั้งคู่ด้วยค่ะ
คนกลางเสื้อลาย คือ คุณปึ๊ง เกียรตินิยมจากรัฐศาสตร์ IR จุฬาฯ ได้รับทุนไปเรียนต่อสาขาเศรษฐศาสตร์
ที่มหาวิทยาลัยฟู่ตั้น (复旦大学) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของนครเซี่ยงไฮ้
คนริมเสื้อลายน้ำตาล คือ คุณโจ้ เกียรตินิยมจากวิศวเคมี จุฬาฯ ได้รับทุนไปศึกษาต่อสาขาบริหารอุตสาหการ
ที่มหาวิทยาลัยชิงฮว๋า (清华大学) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งสายวิทย์ของจีน
ขอบคุณ พื้นที่ของ OKnation Blog
ขอบคุณกอง บก. ที่กรุณาให้เรื่องนี้เป็นเรื่องแนะนำจาก กอง บก. โอเคเนชั่น
วันที่ 11 มิถุนายน 2013 ค่ะ
ขอบคุณบล็อกเกอร์และผู้อ่าน และขอบคุณสำหรับทุกความคิดเห็นค่ะ
วัฒนธรรมจีน 中国文化 Chinese Culture