Get Adobe Flash player

การแปลทับศัพท์เสียงอ่านภาษาจีน การแปลชื่อเมือง ชื่อจังหวัด ชื่อแม่น้ำ แปลอย่างไรไม่ให้ผิดเพี้ยน

Hits: 9350

This post has already been read 22280 times!

 

การแปลทับศัพท์เสียงอ่านภาษาจีน การแปลชื่อเมือง  ชื่อจังหวัด  ชื่อแม่น้ำ

สัทอักษรพินอินกับการออกเสียงในภาษาอังกฤษต่างกันอย่างไร  

  

ปัจจุบัน  เนื่องจากมีการรับข่าวสารที่เกี่ยวกับจีนมากขึ้น  การแปลทับศัพท์เสียงภาษาจีนกลาง เช่น ชื่อเฉพาะ โดยเฉพาะชื่อเมือง  ชื่อคน ฯ ก็มีมากขึ้นเช่นกัน  สำหรับผู้ที่แปลบทความหรือแปลข่าวทับศัพท์ภาษาจีน โดยแปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ ไม่ได้แปลจากภาษาจีนโดยตรงนั้น  จึงใช้วิธีถอดเสียงอ่านจากตัวกำกับเสียงอ่านอักษรจีน ( สัทอัษร ) ที่ใช้อักษรลาติน หรือที่เราเรียกกันว่า  ระบบ pinyin   แต่ว่า ระบบการออกเสียง pinyin ในภาษาจีน กับระบบเสียงภาษาอังกฤษยังมีความแตกต่างอยู่พอสมควร  ทั้งเสียงพยัญชนะและเสียงสระ  จึงทำให้การแปลทับศัพท์ภาษาจีนผิดไปจากภาษาเดิมมาก หรือบางครั้งก็สับสน  กลายเป็นชื่อของจังหวัดอื่น  หรือชื่อเมืองอื่นไปเลย

 

ตัวอย่างการใช้สัทอักษร ซึ่งเป็นสัญญลักษณ์แทนเสียงในภาษาจีนที่มีเสียงต่างจากการออกเสียงในภาษาอังกฤษ เช่น

  

เสียงสระ e            ในภาษาจีน     คล้ายเสียงสระ เอือ ในภาษาไทย

เสียงสระ u            ในภาษาจีน     คล้ายเสียงสระ อวู และ อวี  ในภาษาไทย

เสียงพยัญชนะ zh  ในภาษาจีน     คล้ายเสียง จ  ในภาษาไทย

เสียงพยัญชนะ q    ในภาษาจีน      คล้ายเสียง ช ฉ ในภาษาไทย

เสียงพยัญชนะ d    ในภาษาจีน      คล้ายเสียง ต ในภาษาไทย  ลิ้นแตะปุ่มเหงือก

เสียงพยัญชนะ t     ในภาษาจีน      คล้ายเสียง ท    ในภาษาไทย

เสียงพยัญชนะ s     ในภาษาจีน     คล้ายเสียง ส ซ  ในภาษาไทย

 

           (ตัวอย่าง)  ได้เกิดอุทกภัยครั้งร้ายแรงขึ้นในจีน  การรายงานข่าวของสื่อต่างๆ ทั้งข่าวทีวีและข่าวหนังสือพิมพ์ จึงต้องมีการระบุชื่อมณฑลและชื่อเมืองที่เกิดน้ำท่วม  การแปลทับศัพท์โดยอิงการออกเสียงจากภาษาอังกฤษ ( โดยไม่ทราบการออกเสียงของระบบพินอินของภาษาจีน ) 

           ทำให้เกิดความสับสน  เช่น การรายงานชื่อจังหวัดผิด  ชื่อเมืองผิด 

  

           ( ตัวอย่าง )  สองจังหวัดหรือสองมณฑลที่เกิดอุทกภัยร้ายแรงในจีนที่เป็นข่าวอยู่  คือ  Jiangxi Province  มณฑล เจียงซี ( เจี๊ยงซี้ ) กับ Zhejiang province  มณฑล เจื้อเจียง ( บางท่านแปลทับศัพท์เพี้ยนเป็น จังหวัด ซีเจียง )

 

            แต่ข่าวกลับรายงานผิดเป็น  เกิดน้ำท่วมใหญ่ที่เมืองซูโจว ในจังหวัดซีเจียง

 

 

ตัวอย่างประโยคตอนหนึ่งจากข่าวนำท่วม : 

 

flooded street in Changshan county in Quzhou city, east China’s Zhejiang Province.

 

(ประโยคที่เห็นจากคำแปลที่ผิดเพี้ยนคือ) น้ำท่วมขังในเขต ฉางซาน ที่เมืองซูโจว ทางตะวันออกของจังหวัดซีเจียง

ที่ถูก ต้องแปลว่า  เกิดน้ำท่วมหรืออุทกภัยที่เมืองฉวี่โจว ที่อยู่ทางทิศตะวันออกของ มณฑลเจ้อเจียง  

 

            สัทอักษร (พิอิน) คำว่า Quzhou ในภาษาจีนกลางออกเสียงว่า ฉวี่โจว 

            ส่วนคำว่า  Zhejiang  ออกเสียงว่า เจื้อเจี๊ยง

           ดังนั้น  Changshan county in Quzhou city, east China’s Zhejiang Province.

           จึงต้องแปลว่า 

            เมืองฉวี่โจว ที่อยู่ทางตะวันออกของจังหวัดเจี้อเจียง

          ( ฉวี่โจว คือ  衢州  เจื้อเจี๊ยง คือ  浙江 ) 

        

        จังหวัดที่ถูกน้ำท่วมคือจังหวัดเจื้อเจียง  ไม่ใช่ซีเจียง

         ประเทศจีนมีจังหวัดหนึ่งที่มีการออกเสียงคล้าย คำว่า ” ซีเจียง ”  คือมีชื่อว่า ” เจียงซี ” (江西) แต่ไม่มีจังหวัด ” ซีเจียง “

 

         ส่วนเมือง ซูโจว ( Suzhou 苏州 ) นั้น  เป็นเมืองเอกหรือเมืองหลวงของมณฑล ” เจียงซู ”  ( Jiangsu 江苏 ) ซึ่งคนไทยคุ้นหูกันในเรื่องเป็นแหล่งท่องเที่ยวและถิ่นหญิงงาม 

 

        เมือง ” ซูโจว ” กับ เมือง ” ฉวี่โจว ”  เป็นคนละเมืองกัน  และมีที่ตั้งอยู่คนละมณฑล

 

       มณฑลเจื้อเจี๊ยง ( หรือจังหวัดเจ้อเจี๊ยง ) มีเมืองหลวงชื่อ หางโจว  และ เมืองเซี่ยงไฮ้ ( Shanghai ) ก็อยู่ในมณฑลนี้ด้วย

คนแปลข่าวนอกจากควรมีความรู้เรื่องการถอดเสียงพินอินแล้ว  ควรจะมีความรู้รอบตัวเรื่องภูมิศาสตร์บ้าง  เพื่อให้ผู้รับข่าวทราบแน่ชัดว่าเหตุเกิดที่ไหน

 

 

อีกเมืองหนึ่งที่ข่าวน้ำท่วมกล่าวถึงก็คือ Longtoushan town

 

……..China’s Xinhua News Agnecy,…….. villagers in Longtoushan town of Dexing city, east China’s Jiangxi Province.

 

คำว่า  Longtoushan  เมื่อแปลตามเสียงอ่าน pinyin  น่าจะแปลได้ว่า หลุงโถวซาน ( เขาหัวมังกร ) ส่วน Dexing city น่าจะแปลได้ว่า เมืองเต๋อซิง 

 

ชื่อเมืองและชื่อจังหวัดของประโยคนี้เมื่อถอดเสียงจากระบบ pinyin ก็จะเป็น 

 

ชาวบ้านที่หลุงโถวซาน เมืองเต๋อซิง  ทางตะวันออกของจังหวัดเจียงซี

 

 

(แต่เมื่อถอดเสียงจากภาษาอังกฤษ ที่เห็นจากตัวอย่างการแปลตอนนั้น ) กลายเป็น

 

ชาวบ้านที่ลองตูซาน แห่งเมืองดีซิง ทางตะวันออกของจังหวัดเจียงซิ ………..  (คนละเรื่อง ไม่รู้เรื่องเลย )

 

 

เมื่อเปรียบเทียบจากชื่อสถานที่ ก็จะพบว่าต่างกันมาก  หรือไม่ก็กลายเป็นคนละเมืองไปเลย เช่น เมืองฉวี่โจว กับ เมืองซูโจว

 

อักษรลาติน

 

เสียงภาษาจีน (ถอดเสียงใกล้เคียงกับภาษาไทย)

เสียงภาษาอังกฤษ

( ถอดเสียงใกล้เคียงกับภาษาไทย)

ตัวอย่าง

 

e

 

เอือ ( ไม่ใช่เสียง เออ )เวลาออกเสียง คางจะขยับเล็กน้อย) 

 

อี

 

เมือง Deqing 

เมือง เต๋อชิ้ง

Zhejiang province

อ่านว่า (มณฑล )

เจื้อเจียง

u

 

อักษรตัวนี้แทนเสียงสระได้ 2 เสียง คือ อวู  และ อวี ( ถ้าสะกดร่วมกับพยัญชนะตัว  j q x y )

 

อู

 

เมือง Quzhou

 

อ่านว่า ฉวี่โจว

zh

 

เป็นเสียงพยัญชนะ  ใกล้เคียงกับเสียง จ   แต่ต้องยกปลายลิ้นขึ้นแตะที่เพดานแข็งด้านหน้า

 

 

 

 

Zhejiang province

อ่านว่า

(มณฑล เจื้อเจียง)

q

 

เสียงพยัญชนะ ใกล้เคียงกับเสียง ช แต่ต้องให้มีเสียงลมออกจากระหว่างฟันด้วย

 

 

 

 

เมือง Deqing 

เมืองเต๋อชิ้ง

d

เสียงพยัญชนะ d ในภาษาจีน  คล้ายเสียง ต ในภาษาไทย  ลิ้นแตะปุ่มเหงือก

 

 

 

 

 

           นอกจากนี้  ภาษาจีนยังมีวรรณยุต์เสียงเช่นเดียวกับภาษาไทย  ส่วนภาษาอังกฤษไม่มีวรรณยุกต์  เมื่อเสียงวรรณยุกต์ต่างกัน ความหมายก็ต่างกันด้วย 

 

           ชื่อเมืองที่กำลังถูกท่วมอีก 2 เมือง คือ เมืองหวู่ฮั่น ( Wuhan  ตามข่าวแปลว่าเมืองหวูหาน ซึ่งเสียงก็ใกล้เคียง ) และ เมืองฉงชิ่ง ( Chongqing ) ซึ่งต่างก็เป็นเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์ของจีน  การแปลทับศัพท์เสียงให้ใกล้เคียงกับการออกเสียงในภาษาจีนจึงมีความจำเป็น

           

           เมื่อก่อน  เราจะเห็นการแปลชื่อของ ประธานเหมาเจ๋อตุงของจีน  เป็น เมาเซตุง  โดยถอดเสียงจาก Mao Zhe Dong  ตามการออกเสียงภาษาอังกฤษ  และแปลชื่อแม่น้ำ Yangzijiang ( หยางจื่อเจียง  扬子江 ) เป็นแม่น้ำแยงซีเกียง ( จนปัจจุบันก็ยังคงใช้คำว่าแม่น้ำแยงซี อยู่   แต่เวลาไปพูดคำว่าแม่น้ำแยงซี ชาวจีนจะไม่รู้จัก ) ก็เนื่องจากไม่เข้าใจว่าระบบการออกเสียงในภาษาอังกฤษ  กับระบบการออกเสียงในภาษาจีน ( จากอักษรลาตินที่เรียกว่า pinyin ) นั้นแตกต่างกัน  

 

            เมื่อการออกเสียงมีการผิดเพี้ยนไป  ย่อมเกิดการเข้าใจผิดหรือปัญหาในการใช้ภาษาจีนสื่อสารได้  โดยเฉพาะในการสนทนาภาษาจีน 

 

ฟังเสียงเพิ่มเติมได้ทางยูทูป ตามลิงค์ต่อไปนี้

 

 

การออกเสียงภาษาจีนกลางที่คนไทยยังมีปัญหา z c s zh ch sh r Chinese Pronunciation (4) 

https://www.youtube.com/watch?v=BKUzQsS6QXc

 

Chinese Pronunciation (3) วิธีออกเสียงภาษาจีนกลาง j q x

https://www.youtube.com/watch?v=2GU_KTbv-WA

 

Chinese Pronunciation b p m f (1) วิธีออกเสียงภาษาจีนกลาง 汉语发音 

https://www.youtube.com/watch?v=XJCvIjfoobA

 

Chinese Pronunciation (2) วิธีออกเสียงภาษาจีนกลาง d t n l 汉语发音 

https://www.youtube.com/watch?v=9QpR7zxmGug

 

Chinese Pronunciation (5) g k h 

https://www.youtube.com/watch?v=IN1Xg54VXpI

 

Chinese Pronunciation (6) a o e 

https://www.youtube.com/watch?v=vtD2_ojt0ZQ

 

            หวังว่าสิ่งที่เขียนมานี้จะเป็นประโยชน์สำหรับทุกท่านที่กำลังจะเริ่มเรียนภาษาจีน  และท่านที่ทำงานด้านการแปลและประกาศข่าว 

( ข้อเขียนเป็นลิขสิทธิ์ของสุวรรณา สนเที่ยง  ท่านใดต้องการนำไปเผยแพร่ต่อ หรือคัดลอกตอนใดตอนหนึ่ง ขอความกรุณาระบุที่มาและได้รับอนุญาตจากผู้เขียนก่อน เพื่อร่วมกันรักษาหลักจรรยาบรรณและบรรทัดฐาน )

 

facebook: Suwanna Future C

 

” + __flash__argumentsToXML(arguments,0) + “”)); }” postmessage_init=”function () { return eval(instance.CallFunction(“” + __flash__argumentsToXML(arguments,0) + “”)); }” sendxdhttprequest=”function () { return eval(instance.CallFunction(“” + __flash__argumentsToXML(arguments,0) + “”)); }” setcache=”function () { return eval(instance.CallFunction(“” + __flash__argumentsToXML(arguments,0) + “”)); }” getcache=”function () { return eval(instance.CallFunction(“” + __flash__argumentsToXML(arguments,0) + “”)); }” setcachecontext=”function () { return eval(instance.CallFunction(“” + __flash__argumentsToXML(arguments,0) + “”)); }” clearallcache=”function () { return eval(instance.CallFunction(“” + __flash__argumentsToXML(arguments,0) + “”)); }”>

 

โพสต์ครั้งแรก ที่ OKnation Blog  
วันพุธ ที่ 22 มิถุนายน 2554

Posted by เหล่าซือสุวรรณา , ผู้อ่าน : 6319 

 

ภาษาจีน-ไทยเปรียบเทียบ  โดย สุวรรณา สนเที่ยง  泰汉语比较 张碧云

Flag Counter

อาจารย์สุวรรณา

Future C อาจารย์สุวรรณา

บทความและภาพ สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย ยินดีเผยแพร่เพื่อเป็นความรู้ แบ่งปันได้แต่ต้องไม่ดัดแปลงต้นฉบับ ไม่เพื่อการค้า และอ้างอิงแหล่งที่มาให้ชัดเจน 228 post in this blog.

Comments

comments


Share Button

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

คุณอาจจะใช้ป้ายกำกับและคุณสมบัติHTML: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>

นักเรียนของเรา
แหล่งรวมบทความของเรา

OK

BC BT

Fan Page
จำนวนผู้เข้าชม
Flag Counter