Get Adobe Flash player

The 24 solar terms of Chinese weather 二十四节气

Hits: 9717

This post has already been read 22153 times!

       ทราบหรือไม่  ภูมิปัญญาจีนโบราณที่ล้ำลึกอย่างหนึ่ง ก็คือการแบ่งช่วงพยากรณ์อากาศของแต่ละปีไว้อย่างละเอียดยิบ  

       โดยแบ่งสภาพอากาศเป็น 二十四节气 ( The 24 solar terms 24 ช่วงการเปลี่ยนแปลงดินฟ้าอากาศ หรือที่เรียกว่า 24 ฤดูลักษณ์)

ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงอารยธรรมลุ่มน้ำฮว๋างเหอ (ฮวงโห) เมื่อหลายพันปีก่อน

       二十四节气 นี้  เกิดจากการสังเกตและบันทึกดินฟ้าอากาศของชาวจีนนับร้อยนับพันปี  

จนสามารถคำนวนวัน – การตั้งฉากของดวงอาทิตย์ และคาดการณ์สภาพอากาศได้ค่อนข้างแม่นยำ 

เป็นสถิติที่เป็นประโยชน์ต่อการวางแผนเพาะปลูกในสังคมเกษตรตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน  

และยังเป็นประโยชน์ต่อการพยากรณ์อากาศและชีวิตประจำวันของชาวจีนปัจจุบันด้วย


ตัวอย่างเช่น เมื่อวันนี้ 7 สิงหาคม 2014 ที่ผ่านมา  เป็นวัน 立秋 (Start of Autumn ตั้งแต่เวลา 22 時 2 分 เท่ากับ 22.02 นาที – ละเอียดยิบจริงๆ )

ตามปฎิทินจันทรคติจีน  ถือว่าเป็นวันแรกที่สภาพอากาศในจีนเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง

นับจากนี้ไปอีก 1 เดือนเศษ ( 8 กันยายน) ก็จะถึงวันที่เรียกว่า 中秋节 (วันสารทกลางฤดูใบไม้ร่วง)

หรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อว่า “วันไหว้พระจันทร์” นั่นเอง

 

 

(感谢图片来源: 知乎  ภาพประกอบจาก  https://zhuanlan.zhihu.com/p/338838166)

………

วันสำคัญที่มีความหมายด้านสภาพอากาศอีกวันคือ วัน 春分 (วันชุนเฟิน วันวสันตวิษุวัต) ตาม 24 节气 (24 ฤดูลักษณ์ของจีน) เป็นวันที่กลางวันกับกลางคืนยาวเท่ากัน ต่อจากวันนี้สภาพอากาศในจีนจะอุ่นขึ้น (กลางวันยาวกว่ากลางคืน)
วัน 春分 (วันชุนเฟิน) ตรงกับวันที่ 20 หรือ 21 มีนาคมของทุกปี ถือว่าอากาศในจีนเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิแล้ว มวลดอกไม้จะเบ่งบาน อากศไม่หนาวเกิน เหมาะกับการเดินทาง ชาวจีนจะเริ่มนัดญาติ ๆ ไปทำความสะอาดสุสานและเซ่นไหว้บรรพชน จนกระทั่งถึง เชงเม้ง (清明节)
****ในทางความเชื่อ
ชาวจีนโบราณถือวัน 春分 เป็นวันเริ่มต้นที่ดวงวิญญาณของผู้ล่วงลับจะออกมาได้ จนถึงกลางเดือน 3 ตามปฏิทินจันทรคติจีน
ลูกหลานจึงเริ่มไปทำความสะอาดฮวงจุ้ย เซ่นไหว้บรรพชนได้ เป็นการเริ่มต้นเทศกาลเชงเม้ง
ภาพประกอบจาก CCTV.com
May be a closeup of flower and nature

 

…..

อัพเดทเพิ่มเติม วันที่ 24 กันยายน 2014

วันที่ 23 กันยายน 2014 ที่ผ่านมา  เป็นวัน 秋分  หมายถึงฤดูชิวเทียน (ใบไม้ร่วง) ได้ผ่านมาแล้วครึ่งหนึ่ง

วัน  秋分 มักจะตรงกับวันที่ 22  23 หรือ 24  กันยายนของทุกปี  

วันนี้เป็นวันที่ประเทศจีนมีช่วงกลางวันและกลางคืนยาวเท่ากัน  หลังจากนี้ช่วงกลางคืนจะยาวกว่ากลางวัน  

อากาศจะเริ่มเย็นลงเรื่อยๆ  ใบไม้เริ่มเปลี่ยนเป็นสีแดงและสีเหลืองก่อนที่จะร่วงลงตามชื่อ  “ฤดูใบไม้ร่วง”


秋分,农历二十四节气中的第十六个节气,时间一般为每年的 9 月 22 日 ~ 24 日。秋分之 “分” 是 “半” 的意思.
二十四节气之秋分 Autumn Equinox in 24 Solar Terms

 

เรื่องและภาพโดย สุวรรณา สนเที่ยง

สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย.

 

…………………….

อัพเดทเพิ่มเติม (ข้อความจาก facebook fanpage ของ  Suwanna Future C 21 มิถุนายน 2016 / 2559)
วันนี้เป็นวัน《夏至》Summer Solstice  

ซึ่งเป็น 1 ใน 24 (二十四节气)ของการเปลี่ยนแปลงสภาพดินฟ้าอากาศของประเทศจีน ที่มาจากการสังเกตดินฟ้าอากาศและดาราศาสตร์มาแต่โบราณจนกลายเป็นองค์ความรู้
โดยปี 2016 ตรงกับวันที่ 21 มิถุนายน   ตามปฏิทินจันทรคติของจีนตรงกับ 农历 2016 年五月十七日

นับตั้งแต่วัน《夏至》นี้ ในประเทศจีนจะเข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการ 
จากบันทึก ชาวจีนยังพบว่า ในวัน《夏至》ของทุกปี มักจะมีฝนตกด้วย


วัน《夏至》เป็นวันที่ช่วงกลางวันยาวที่สุดของจีน

บางเมืองเช่นเมืองอู่ฮั่น ช่วงกลางวันจะยาวถึง 14 ชั่วโมง 8 นาที ที่ปักกิ่งกลางวันยาวถึง 15 ชั่วโมงเลยทีเดียว

 

Photo 夏至

……….

บันทึกเพื่อจำเป็นสถิติ

ในเมืองไทย ไม่มีวัน《夏至》แต่วันนี้ วันที่ 21 มิถุนายน 2559 ที่กรุงเทพฯ ก็เป็น
“วันฝนตกหนัก”
“วันน้ำท่วม กทม.”
“วันรถติดหนักสุดแห่งปี”
“วันรอรถนานสุดแห่งปี”
“วันใช้เวลาเดินทางนานสุดแห่งปี”

เนื่องจากมีฝนตกหนักทั่วพื้นที่กรุงเทพมหานครตั้งแต่บ่ายวันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน และเช้ามืดของวันอังคารที่ 21 มิถุนายน

ทำให้เกิดน้ำท่วมตามพื้นที่และถนนต่างๆ 

………………

เกร็ดความรู้วัฒนธรรมจีน ภูมิปัญญาจีน

ยอดอ่าน เกร็ดวัฒนธรรมจีนจากฟิวเจอร์ซี

Flag Counter

อาจารย์สุวรรณา

Future C อาจารย์สุวรรณา

บทความและภาพ สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย ยินดีเผยแพร่เพื่อเป็นความรู้ แบ่งปันได้แต่ต้องไม่ดัดแปลงต้นฉบับ ไม่เพื่อการค้า และอ้างอิงแหล่งที่มาให้ชัดเจน 228 post in this blog.

Comments

comments


Share Button

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

คุณอาจจะใช้ป้ายกำกับและคุณสมบัติHTML: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>

นักเรียนของเรา
แหล่งรวมบทความของเรา

OK

BC BT

Fan Page
จำนวนผู้เข้าชม
Flag Counter