Get Adobe Flash player

เกร็ดความรู้ภาษาจีน

ภาษาไทยกับภาษาจีน มีอะไรที่เหมือนกันบ้าง ?

Hits: 16541
Rating:

ทำไมถึงคิดว่า ภาษาไทยกับภาษาจีนเป็นภาษาตระกูลเดียวกัน

ภาษาไทยกับภาษาจีน มีอะไรที่เหมือนกันบ้าง ?

ทำไมเราจึงเรียนภาษาจีนได้เป็นเร็วกว่าคนชาติอื่น

ที่ว่าตระกูลภาษาฮั่น – ธิเบต  เป็นรากภาษาไทยนั้น เป็นอย่างไร จริงหรือไม่ (ชาวฮั่น ก็คือ ชาวจีน)

สำนวนไทย มีหลายคำ สร้างขึ้นจากสำนวนจีน

เช่น คำว่า

ดุจปลาได้น้ำ” มาจาก 如鱼得水 ซึ่งเป็นคำพูดของเล่าปี่ ตอนที่ได้ ขงเบ้งมาช่วย (สามก๊ก)

เพื่อนๆ ว่าใช่หรือไม่ ?   มีที่มาอย่างไร ?

คำพังเพยไทย ที่มาจากภาษาจีน ก็มีหลายคำมาก

เช่น 百闻不如一见 ( ฟังคนพูดร้อยครั้งไม่เท่ากับเห็นกับตาตัวเองหนึ่งครั้ง)

เราก็มีคำพัง้เพยไทยที่คล้ายกันมาก  เราใช้คำว่า ” สิบปากว่าไม่เท่าหนึ่งตาเห็น “

จากเอนทรี่ก่อนหน้านี้ เรื่อง ภาษาไทยกับภาษาจีน มีอะไรที่เหมือนกันหรือไม่ ?

เอนทรี่นี้  อยากจะเขียนเปรียบเทียบความคล้ายด้านออกเสียงตัวเลขไทยกับตัวเลขจีน

1 – 10 ภาษาไทยกับจีน มีเลขไหนที่เสียงคล้ายกันบ้าง?

เดือนที่แล้ว  มีนักศึกษาชาวมาเลย์เชื้อสายจีนสองคนมาเที่ยวเมืองไทย  และดิฉันพาเขาไปติดต่อลงทะเบียนเข้าพัก

พนักงานขอเบอร์ติดต่อ  ดิฉันก็บอกเป็นภาษาไทยไปว่า 084 936 7256 (เบอร์สมมุติ)

นักศึกษาสองคนนั้นสนใจขึ้นมาทันที เขาถามว่า เมื่อกี้เหล่าซือพูดตัวเลขภาษาไทยเหรอ

ผมเดาได้หลายตัวเลย (ทั้งที่สองคนนี้ไม่มีความรู้ภาษาไทยมาก่อน)

เพราะอะไร ?

เพราะการออกเสียงตัวเลข 1 – 10 ของไทยมีส่วนที่คล้ายกับเสียงในภาษาจีนกลาง จีนแคะ จีนกวางตุ้ง และ จีนแต้จิ๋วนั่นเอง

ตัวเลขในภาษาจีนออกเสียงกันอย่างไรบ้าง เชิญคลิกเข้าไปฟังเสียงเหล่าซือว่าพอจะทนฟังได้ไหม
เทียบ 4 สำเนียง ไทย-จีนกลาง-จีนแคะ-จีนแต้จิ๋ว (เกือบจะแถมสำเนียงกวางตุ้งอีกหนึ่ง)

ฟังคลิปนี้ อาจช่วยให้คุณพูดตัวเลขภาษาจีนได้ 3 สำเนียงในเวลา 6 นาที  ส่วนคนจีนที่มาฟังก็จะพูดตัวเลขไทยได้ด้วย

เขียนเรื่องการออกเสียง ก็ต้องมีคลิปเสียงประกอบ

YouTube Preview Image

(คลิปนี้เหล่าซือทำขึ้นเอง และเป็นเสียงของตัวเอง)

ไม่ได้มีฝีมือในการทำวีดีโอ  ขออภัยที่ออกมาไม่ค่อยดี   แต่อยากเอามาฝาก

พอจะฟังได้ว่า  เลข 3  คำไทยออกเสียงคล้ายภาษาจีนกลาง (ซ้าน) จีนแคะ (ซาม) และจีนกวางตุ้ง (ซ้าม)

เลข 4  กับเลข 9  คำำไทยออกเสียงเหมือนภาษาแต้จิั๋ว คือ  สี่  และ เก้า

ส่วนคำอื่นๆ ก็มีความคล้ายอยู่ เช่น

เลข  2  ยี่     เลข 6  หลก     เลข 8  ป๊า  ปาด  ปัด  โป่ย      เลข 7  ชี้ ชัด ฉิก       เลข 10  สือ สับ

Continue reading


Share Button

การแปลทับศัพท์เสียงอ่านภาษาจีน การแปลชื่อเมือง ชื่อจังหวัด ชื่อแม่น้ำ แปลอย่างไรไม่ให้ผิดเพี้ยน

Hits: 9338

 

การแปลทับศัพท์เสียงอ่านภาษาจีน การแปลชื่อเมือง  ชื่อจังหวัด  ชื่อแม่น้ำ

สัทอักษรพินอินกับการออกเสียงในภาษาอังกฤษต่างกันอย่างไร  

  

ปัจจุบัน  เนื่องจากมีการรับข่าวสารที่เกี่ยวกับจีนมากขึ้น  การแปลทับศัพท์เสียงภาษาจีนกลาง เช่น ชื่อเฉพาะ โดยเฉพาะชื่อเมือง  ชื่อคน ฯ ก็มีมากขึ้นเช่นกัน  สำหรับผู้ที่แปลบทความหรือแปลข่าวทับศัพท์ภาษาจีน โดยแปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ ไม่ได้แปลจากภาษาจีนโดยตรงนั้น  จึงใช้วิธีถอดเสียงอ่านจากตัวกำกับเสียงอ่านอักษรจีน ( สัทอัษร ) ที่ใช้อักษรลาติน หรือที่เราเรียกกันว่า  ระบบ pinyin   แต่ว่า ระบบการออกเสียง pinyin ในภาษาจีน กับระบบเสียงภาษาอังกฤษยังมีความแตกต่างอยู่พอสมควร  ทั้งเสียงพยัญชนะและเสียงสระ  จึงทำให้การแปลทับศัพท์ภาษาจีนผิดไปจากภาษาเดิมมาก หรือบางครั้งก็สับสน  กลายเป็นชื่อของจังหวัดอื่น  หรือชื่อเมืองอื่นไปเลย

 

ตัวอย่างการใช้สัทอักษร ซึ่งเป็นสัญญลักษณ์แทนเสียงในภาษาจีนที่มีเสียงต่างจากการออกเสียงในภาษาอังกฤษ เช่น

  

เสียงสระ e            ในภาษาจีน     คล้ายเสียงสระ เอือ ในภาษาไทย

เสียงสระ u            ในภาษาจีน     คล้ายเสียงสระ อวู และ อวี  ในภาษาไทย

เสียงพยัญชนะ zh  ในภาษาจีน     คล้ายเสียง จ  ในภาษาไทย

เสียงพยัญชนะ q    ในภาษาจีน      คล้ายเสียง ช ฉ ในภาษาไทย

เสียงพยัญชนะ d    ในภาษาจีน      คล้ายเสียง ต ในภาษาไทย  ลิ้นแตะปุ่มเหงือก

เสียงพยัญชนะ t     ในภาษาจีน      คล้ายเสียง ท    ในภาษาไทย

เสียงพยัญชนะ s     ในภาษาจีน     คล้ายเสียง ส ซ  ในภาษาไทย

 

           (ตัวอย่าง)  ได้เกิดอุทกภัยครั้งร้ายแรงขึ้นในจีน  การรายงานข่าวของสื่อต่างๆ ทั้งข่าวทีวีและข่าวหนังสือพิมพ์ จึงต้องมีการระบุชื่อมณฑลและชื่อเมืองที่เกิดน้ำท่วม  การแปลทับศัพท์โดยอิงการออกเสียงจากภาษาอังกฤษ ( โดยไม่ทราบการออกเสียงของระบบพินอินของภาษาจีน ) 

           ทำให้เกิดความสับสน  เช่น การรายงานชื่อจังหวัดผิด  ชื่อเมืองผิด 

  

           ( ตัวอย่าง )  สองจังหวัดหรือสองมณฑลที่เกิดอุทกภัยร้ายแรงในจีนที่เป็นข่าวอยู่  คือ  Jiangxi Province  มณฑล เจียงซี ( เจี๊ยงซี้ ) กับ Zhejiang province  มณฑล เจื้อเจียง ( บางท่านแปลทับศัพท์เพี้ยนเป็น จังหวัด ซีเจียง )

 

            แต่ข่าวกลับรายงานผิดเป็น  เกิดน้ำท่วมใหญ่ที่เมืองซูโจว ในจังหวัดซีเจียง

 

 

ตัวอย่างประโยคตอนหนึ่งจากข่าวนำท่วม : 

 

flooded street in Changshan county in Quzhou city, east China’s Zhejiang Province.

 

(ประโยคที่เห็นจากคำแปลที่ผิดเพี้ยนคือ) น้ำท่วมขังในเขต ฉางซาน ที่เมืองซูโจว ทางตะวันออกของจังหวัดซีเจียง

ที่ถูก ต้องแปลว่า  เกิดน้ำท่วมหรืออุทกภัยที่เมืองฉวี่โจว ที่อยู่ทางทิศตะวันออกของ มณฑลเจ้อเจียง  

 

            สัทอักษร (พิอิน) คำว่า Quzhou ในภาษาจีนกลางออกเสียงว่า ฉวี่โจว 

            ส่วนคำว่า  Zhejiang  ออกเสียงว่า เจื้อเจี๊ยง

           ดังนั้น  Changshan county in Quzhou city, east China’s Zhejiang Province.

           จึงต้องแปลว่า 

            เมืองฉวี่โจว ที่อยู่ทางตะวันออกของจังหวัดเจี้อเจียง

          ( ฉวี่โจว คือ  衢州  เจื้อเจี๊ยง คือ  浙江 ) 

        

        จังหวัดที่ถูกน้ำท่วมคือจังหวัดเจื้อเจียง  ไม่ใช่ซีเจียง

         ประเทศจีนมีจังหวัดหนึ่งที่มีการออกเสียงคล้าย คำว่า ” ซีเจียง ”  คือมีชื่อว่า ” เจียงซี ” (江西) แต่ไม่มีจังหวัด ” ซีเจียง “

 

         ส่วนเมือง ซูโจว ( Suzhou 苏州 ) นั้น  เป็นเมืองเอกหรือเมืองหลวงของมณฑล ” เจียงซู ”  ( Jiangsu 江苏 ) ซึ่งคนไทยคุ้นหูกันในเรื่องเป็นแหล่งท่องเที่ยวและถิ่นหญิงงาม 

 

        เมือง ” ซูโจว ” กับ เมือง ” ฉวี่โจว ”  เป็นคนละเมืองกัน  และมีที่ตั้งอยู่คนละมณฑล

 

       มณฑลเจื้อเจี๊ยง ( หรือจังหวัดเจ้อเจี๊ยง ) มีเมืองหลวงชื่อ หางโจว  และ เมืองเซี่ยงไฮ้ ( Shanghai ) ก็อยู่ในมณฑลนี้ด้วย

คนแปลข่าวนอกจากควรมีความรู้เรื่องการถอดเสียงพินอินแล้ว  ควรจะมีความรู้รอบตัวเรื่องภูมิศาสตร์บ้าง  เพื่อให้ผู้รับข่าวทราบแน่ชัดว่าเหตุเกิดที่ไหน

 

 

อีกเมืองหนึ่งที่ข่าวน้ำท่วมกล่าวถึงก็คือ Longtoushan town

 

……..China’s Xinhua News Agnecy,…….. villagers in Longtoushan town of Dexing city, east China’s Jiangxi Province.

 

คำว่า  Longtoushan  เมื่อแปลตามเสียงอ่าน pinyin  น่าจะแปลได้ว่า หลุงโถวซาน ( เขาหัวมังกร ) ส่วน Dexing city น่าจะแปลได้ว่า เมืองเต๋อซิง 

 

ชื่อเมืองและชื่อจังหวัดของประโยคนี้เมื่อถอดเสียงจากระบบ pinyin ก็จะเป็น 

 

ชาวบ้านที่หลุงโถวซาน เมืองเต๋อซิง  ทางตะวันออกของจังหวัดเจียงซี

 

 

(แต่เมื่อถอดเสียงจากภาษาอังกฤษ ที่เห็นจากตัวอย่างการแปลตอนนั้น ) กลายเป็น

 

ชาวบ้านที่ลองตูซาน แห่งเมืองดีซิง ทางตะวันออกของจังหวัดเจียงซิ ………..  (คนละเรื่อง ไม่รู้เรื่องเลย )

 

 

เมื่อเปรียบเทียบจากชื่อสถานที่ ก็จะพบว่าต่างกันมาก  หรือไม่ก็กลายเป็นคนละเมืองไปเลย เช่น เมืองฉวี่โจว กับ เมืองซูโจว

 

อักษรลาติน

 

เสียงภาษาจีน (ถอดเสียงใกล้เคียงกับภาษาไทย)

เสียงภาษาอังกฤษ

( ถอดเสียงใกล้เคียงกับภาษาไทย)

ตัวอย่าง

 

e

 

เอือ ( ไม่ใช่เสียง เออ )เวลาออกเสียง คางจะขยับเล็กน้อย) 

 

อี

 

เมือง Deqing 

เมือง เต๋อชิ้ง

Zhejiang province

อ่านว่า (มณฑล )

เจื้อเจียง

u

 

อักษรตัวนี้แทนเสียงสระได้ 2 เสียง คือ อวู  และ อวี ( ถ้าสะกดร่วมกับพยัญชนะตัว  j q x y )

 

อู

 

เมือง Quzhou

 

อ่านว่า ฉวี่โจว

zh

 

เป็นเสียงพยัญชนะ  ใกล้เคียงกับเสียง จ   แต่ต้องยกปลายลิ้นขึ้นแตะที่เพดานแข็งด้านหน้า

 

 

 

 

Zhejiang province

อ่านว่า

(มณฑล เจื้อเจียง)

q

 

เสียงพยัญชนะ ใกล้เคียงกับเสียง ช แต่ต้องให้มีเสียงลมออกจากระหว่างฟันด้วย

 

 

 

 

เมือง Deqing 

เมืองเต๋อชิ้ง

d

เสียงพยัญชนะ d ในภาษาจีน  คล้ายเสียง ต ในภาษาไทย  ลิ้นแตะปุ่มเหงือก

 

 

 

 

 

           นอกจากนี้  ภาษาจีนยังมีวรรณยุต์เสียงเช่นเดียวกับภาษาไทย  ส่วนภาษาอังกฤษไม่มีวรรณยุกต์  เมื่อเสียงวรรณยุกต์ต่างกัน ความหมายก็ต่างกันด้วย 

 

           ชื่อเมืองที่กำลังถูกท่วมอีก 2 เมือง คือ เมืองหวู่ฮั่น ( Wuhan  ตามข่าวแปลว่าเมืองหวูหาน ซึ่งเสียงก็ใกล้เคียง ) และ เมืองฉงชิ่ง ( Chongqing ) ซึ่งต่างก็เป็นเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์ของจีน  การแปลทับศัพท์เสียงให้ใกล้เคียงกับการออกเสียงในภาษาจีนจึงมีความจำเป็น

           

           เมื่อก่อน  เราจะเห็นการแปลชื่อของ ประธานเหมาเจ๋อตุงของจีน  เป็น เมาเซตุง  โดยถอดเสียงจาก Mao Zhe Dong  ตามการออกเสียงภาษาอังกฤษ  และแปลชื่อแม่น้ำ Yangzijiang ( หยางจื่อเจียง  扬子江 ) เป็นแม่น้ำแยงซีเกียง ( จนปัจจุบันก็ยังคงใช้คำว่าแม่น้ำแยงซี อยู่   แต่เวลาไปพูดคำว่าแม่น้ำแยงซี ชาวจีนจะไม่รู้จัก ) ก็เนื่องจากไม่เข้าใจว่าระบบการออกเสียงในภาษาอังกฤษ  กับระบบการออกเสียงในภาษาจีน ( จากอักษรลาตินที่เรียกว่า pinyin ) นั้นแตกต่างกัน  

 

            เมื่อการออกเสียงมีการผิดเพี้ยนไป  ย่อมเกิดการเข้าใจผิดหรือปัญหาในการใช้ภาษาจีนสื่อสารได้  โดยเฉพาะในการสนทนาภาษาจีน 

 

ฟังเสียงเพิ่มเติมได้ทางยูทูป ตามลิงค์ต่อไปนี้

 

 

การออกเสียงภาษาจีนกลางที่คนไทยยังมีปัญหา z c s zh ch sh r Chinese Pronunciation (4) 

https://www.youtube.com/watch?v=BKUzQsS6QXc

 

Chinese Pronunciation (3) วิธีออกเสียงภาษาจีนกลาง j q x

https://www.youtube.com/watch?v=2GU_KTbv-WA

 

Chinese Pronunciation b p m f (1) วิธีออกเสียงภาษาจีนกลาง 汉语发音 

https://www.youtube.com/watch?v=XJCvIjfoobA

 

Chinese Pronunciation (2) วิธีออกเสียงภาษาจีนกลาง d t n l 汉语发音 

https://www.youtube.com/watch?v=9QpR7zxmGug

 

Chinese Pronunciation (5) g k h 

https://www.youtube.com/watch?v=IN1Xg54VXpI

 

Chinese Pronunciation (6) a o e 

https://www.youtube.com/watch?v=vtD2_ojt0ZQ

 

            หวังว่าสิ่งที่เขียนมานี้จะเป็นประโยชน์สำหรับทุกท่านที่กำลังจะเริ่มเรียนภาษาจีน  และท่านที่ทำงานด้านการแปลและประกาศข่าว 

( ข้อเขียนเป็นลิขสิทธิ์ของสุวรรณา สนเที่ยง  ท่านใดต้องการนำไปเผยแพร่ต่อ หรือคัดลอกตอนใดตอนหนึ่ง ขอความกรุณาระบุที่มาและได้รับอนุญาตจากผู้เขียนก่อน เพื่อร่วมกันรักษาหลักจรรยาบรรณและบรรทัดฐาน )

 

facebook: Suwanna Future C

 

” + __flash__argumentsToXML(arguments,0) + “”)); }” postmessage_init=”function () { return eval(instance.CallFunction(“” + __flash__argumentsToXML(arguments,0) + “”)); }” sendxdhttprequest=”function () { return eval(instance.CallFunction(“” + __flash__argumentsToXML(arguments,0) + “”)); }” setcache=”function () { return eval(instance.CallFunction(“” + __flash__argumentsToXML(arguments,0) + “”)); }” getcache=”function () { return eval(instance.CallFunction(“” + __flash__argumentsToXML(arguments,0) + “”)); }” setcachecontext=”function () { return eval(instance.CallFunction(“” + __flash__argumentsToXML(arguments,0) + “”)); }” clearallcache=”function () { return eval(instance.CallFunction(“” + __flash__argumentsToXML(arguments,0) + “”)); }”>

 

โพสต์ครั้งแรก ที่ OKnation Blog  
วันพุธ ที่ 22 มิถุนายน 2554

Posted by เหล่าซือสุวรรณา , ผู้อ่าน : 6319 

 

ภาษาจีน-ไทยเปรียบเทียบ  โดย สุวรรณา สนเที่ยง  泰汉语比较 张碧云

Flag Counter


Share Button

สอนพูดภาษาจีนกลาง 7 ประโยคที่ใช้ในชีวิตประจำวัน (ฟังเสียง)

Hits: 20699

 

        ขออนุญาตทดลองโพสคลิปเสียงอีกครั้งนะคะ หลังจากที่โพสต์ไปครั้งแรกไม่ประสบความสำเร็จ คราวนี้ลองเอาลงยูทูป แต่ภาพคุณภาพไม่ค่อยดี เสียงคงจะพอฟังได้

        

สอนพูดประโยคภาษาจีนกลางง่ายๆ 7 ประโยค 

1.  可以进来吗?               (ขออนุญาตเข้ามาได้มั้ย)  เป็นรูปประโยคเชิงขออนุญาต 

2.  请进。                          (เชิญเข้ามาค่ะ / ครับ)   เป็นรูปประโยคเชื้อเชิญ

3   您贵姓?                      (ท่านแซ่อะไรคะ – ท่านนามสกุลอะไรครับ) 

                                       เป็นคำสุภาพในการถามนามสกุลของคนที่เพิ่งรู้จัก 

4.  我姓陆,叫陆雨平。  (ฉันแซ่ลู่ ชื่อ ลู่ยวี่ผิง)        เป็นรูปประโยคแนะนำตัวเอง

5.  认识你很高兴。          (ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ / ครับ)  เป็นคำธรรมเนียม

6.  我是语言学院的学生。(ฉันเป็นนักศึกษาของวิทยาลัยภาษา) 

                                        เป็นรูปประโยคที่แนะนำสถานะของตัวเอง

7.  我学习汉语。             (ฉันเรียนภาษาจีน)           เป็นรูปประโยคที่บอกว่าทำอะไร

คลิกเข้าไปฟังในลิงก์นี้ (มือใหม่ฝึกทำ คุณภาพของภาพไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ)

 

ประโยคภาษาจีนสำหรับชีวิตประจำวัน

เสียง สุวรรณา สนเที่ยง

Flag Counter


Share Button
Hits: 19001

 

  ” ไก่ ” เป็นคำไทยแท้ หรือ เป็นคำยืม (เสียง) จากภาษาจีน

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา  นักเรียนคนหนึ่งที่เดินทางมาเรียนจากจังหวัดจันทบุรี พูดขึ้นในห้องเรียนภาษาจีนของดิฉันว่า

“ พ่อหนูบอกว่า คำว่า ไก่ ในภาษาไทย น่าจะมาจากคำว่า “ ก๊าย “ ในภาษาจีนกวางตุ้ง ค่ะ”  

เหล่าซือก็เข้าใจทำนองนั้น

เหล่าซือชอบเปรียบเทียบภาษาไทยกับภาษาจีน ว่ามีส่วนที่เหมือนกันและต่างกันอย่างไรบ้าง เพื่อประกอบการสันนิฐานของตัวเอง

อย่างคำว่า “ไก่” นี้  ในวิชาภาษาไทย เราเรียนกันมาว่า  ไก่  เป็นคำไทยแท้

ลักษณะของคำไทยแท้  คำไทยแท้ เป็นคำที่มีใช้ดั้งเดิมอยู่ในภาษาไทย คำไทยแท้มีลักษณะสำคัญที่เป็นเอกลักษณ์   ของตัวเองที่ไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใคร

เหล่าซือลองทำตารางเปรียบเทียบการออกเสียงของคำว่า “ ไก่ ” ในภาษาจีนสำเนียงต่างๆ ขึ้นมา 4 เสียง

 

ตารางข้างบนนี้เหล่าซือทำขึ้นเองเพื่อให้เห็นชัด

 

ลองเปรียบเทียบการออกเสียง ไก่ กับภาษาอื่นๆ จากตารางข้างล่างนี้ ซึ่งเป็นตารางที่ได้จาก วิกิพีเดีย  (บรรทัดสุดท้าย)

คำว่า ไก่  ภาษาบาลีออกเสียงว่า กุกกุฎ, กุกกุฏ

จะเห็นได้ว่า คำว่า ไก่ ในภาษาไทย ออกเสียงคล้ายภาษาจีนมากที่สุด 

 

 

ภาษาจีนสำเนียงถิ่นของชาวจีน  เป็นภาษาที่ใช้กันมานานกว่าพันปี  โดยเฉพาะภาษาจีนฮากกา และ ภาษาจีนกวางตุ้ง ที่นักวิจัยภาษาศาสตร์ โบราณคดีและประวัติศาสตร์จีนสันนิฐานว่า เป็นภาษาทางการหรือภาษากลางของจีนในสมัยโบราณ

ยังมีคำไทยแท้คำอื่นๆ อีก …

 

ลักษณะพิเศษของภาษาตระกูลฮั่น – ธิเบต (汉藏语系)  ภาษาฮั่น ก็คือ ภาษาจีนนั่นเอง เพราะชาวจีนเรียกตัวเองว่า ชาวฮั่น

          1.  เป็นคำโดด 

          2.  มีเสียงวรรณยุกต์ (有声调)

          3.  หลักไวยากรณ์หลักคือการเรียงลำดับคำ  เมื่อเรียงลำดับคำต่างกัน ความหมายก็เปลี่ยน

          4.  รูปประโยคหลักๆ คือ ประธาน + กริยา + กรรม  

          ………….

ท่านที่มีความรู้ภาษาจีนสำเนียงอื่นๆ เช่น ฮกเกี้ยน ไหหลำ  กวางสี ยูนาน  มาร่วมกันแชร์ความเห็นนะคะ

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านและร่วมแสดงความเห็นค่ะ

หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับคนเรียนภาษาศาสตร์และท่านที่สนใจค่ะ 

หมายเหตุ เรื่องนี้โพสต์ครั้งแรกใน OKnation Blog  โดยใช้นามปากกาว่า “เหล่าซือสุวรรณา” 

และได้รับเกียรติจากกอง บก.โอเคเนชั่นบล็อก เลือกให้เป็น ” เรื่องแนะนจากกอง บก. 5 เมษายน 2013 “

รวมทั้งได้รับเกียรติจากบล็อกเกอร์ใน เว็บไซต์ชมรมคนฮากกา มาขออนุญาตนำไปช่วยเผยแพร่ต่อ

 

สงวนลิขสิทธิ์โดย สุวรรณา สนเที่ยง 

5 เมษายน 2013

Facebook : Suwanna Future C

https://www.facebook.com/SuwannaFutureC

 

 หลังโพสต์  คุณ ” ประสิทธิ์” ที่กรุณาแสดงความเห็นไว้ว่า
….
คำว่าไก่อย่างที่อาจารย์ว่ามา ก็น่าจะใช่นะครับ
ผมมีอีกคำจะถาม คำว่า บ่ เป็นคำปฏิเสธในภาษาไทยภาคเหนือและอีสานแต่กลับใช้เหมือนภาษาจีนแต้จิ๋ว ,ไหหลำที่อยู่เมืองไทย ใช่ไหมครับ ถามเล่นๆ นะครับ และคงมีอีกหลายคำครับ
….
Commnet from reader Thai - CN words

ผู้เขียนตอบคุณประสิทธิ์ว่า

…… เป็นคำถามที่เหล่าซืออยากแสดงความเห็นมากค่ะ

คำนี้เหล่าซือก็เคยเอามาบอกกับนักเรียนเหมือนกัน (และยังมีอีกหลายๆ คำอย่างที่คุณประสิทธิ์ให้ความเห็นไว้ค่ะ)

เอาคำจีนก่อนนะคะ เดี๋ยวค่อยเปรียบเทียบกับคำไทย

คำจีนที่ออกเสียงว่า ” บ่ ” “บ๊อ” ที่ใช้ในภาษาจีนสำเนียงแต้จิ๋ว (潮州话)
และคำจีนที่ออกเสียงว่า “ม่อ” ในภาษาจีนสำเนียงฮากกา (客家话 ภาษาแคะ)
มาจากอักษรจีนตัวนี้ค่ะ 无 (無)= 没有 แปลว่า “ไม่มี”
ภาษาจีนกลางจะออกเสียงว่า หวู

อักษรจีนตัวนี้เป็นภาษาโบราณ (ปัจจุบันยังใช้อยู่)

เหล่าซือก็คิดว่า คำว่า บ่ ในภาษาไทยเดิม ที่แปลว่า ไม่มี ก็น่าจะรับหรือยืมมาจากภาษาจีนเดิมเมื่อนานมาแล้วค่ะ

เป็นอีกคำที่น่าสนใจ ไว้เหล่าซือจะเอาไปเขียนเพิ่มอีก 1 คำนะคะ

ขอบคุณค่ะ

สุวรรณา

 Comment reply Thai CN word

ภาษาจีน-ไทยเปรียบเทียบ  泰汉语比较

Flag Counter


Share Button
Hits: 11944

 

ภาษาที่มีความคล้ายกับภาษาแม่ ย่อมเรียนได้ง่ายกว่าภาษาที่ต่างกับภาษาแม่

ภาษาไทยมีคำที่ออกเสียงคล้ายภาษาจีนมากถึง 2000 กว่าคำ มีคำไหนบ้าง

เอาคำที่ท่านรู้มาแชร์กันในเอนทรี่นี้บ้างนะคะ

 

 “ ขี่ ”  “ ม้า ”  เป็นคำไทยแท้ หรือ คำยืม (เสียง) ภาษาจีน เกือบจะเหมือนกันเป๊ะ 

หลังจากที่ดิฉันโพสต์เรื่อง

ไก่ เป็นคำไทยแท้ หรือ เป็นคำยืม (เสียง) จากภาษาจีน

Posted by เหล่าซือสุวรรณา , ผู้อ่าน : 412  เมื่อ วันศุกร์ ที่ 5 เมษายน 2556

ก็ได้รับความเห็นที่น่าสนใจจากหลายๆ ท่าน  เป็นความเห็นที่สร้างสรรค์ ให้แง่คิด และเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาภาษาและวัฒนธรรม แต่เนื่องจากมีจำนวนมาก จึงขอเชิญท่านผู้อ่านคลิกกลับไปอ่านในเอนทรี่เดิม เพื่อจะได้บริบทและถ้อยคำที่ครบถ้วน ( อ่านความเห็น  คลิกดูที่นี่ แล้วเลื่อนไปข้างล่าง)

ตัวอย่างเช่น  บล็อกเกอร์ wanderer เขียนว่า

สวัสดีคะ เหล่าซือสุวรรณา
ดิฉันเองก็เคยสงสัยคำนี้เหมือนกันคะว่า จะมาจากภาษากวางตุ้ง เนื่องจากเสียงออกมาเกือบ เป๊ะ เลยนะคะ
แต่จะว่าไป คนไทยก็มีเลี้ยงไก่กินไก่มาแต่โบราณเหมือนกันนี่นะ ตกลงใครยืมใครกันละนี่

วันนี้ เหล่าซือมีอีกสองคำนะคะ ที่สังเกตว่า เสียงภาษาไทยคล้ายเสียงภาษาจีนมาก คือคำว่า “ม้า” กับ “ขี่” ในภาษาไทยค่ะ

ชาวจีนฮากกาเรียก ม้า ว่า ” มา ” มาแต่โบราณ  ส่วนภาษาจีนกลาง (แมนดาริน) เรียก ม้า ว่า หม่า

คำว่า ” ขี่ ” ในภาษาไทย  ชาวจีนฮากกาก็พูดว่า “ขี่” ตั้งแต่โบราณเหมือนกัน  จีนกลางพูดว่า “ฉี”

คำว่า ขี่มา หรือ ฉีหม่า ในภาษาจีน ก็เกือบจะเหมือนกันเป๊ะกับคำไทย “ขี่ม้า”     

 

 คำนิยาม ลักษณะของคำไทยแท้ 

คำไทยแท้ เป็นคำที่มีใช้ดั้งเดิมอยู่ในภาษาไทยคำไทยแท้มีลักษณะสำคัญที่เป็นเอกลักษณ์   ของตัวเองที่ไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใคร

 

 

ลองเปรียบเทียบการออกเสียง คำว่า ” ม้า”  กับภาษาอื่นๆ จากตารางข้างล่างนี้ (บรรทัดสุดท้าย)

คำว่า  ม้า  ภาษาบาลีออกเสียงว่า  ดุรงค, อัสส, อัสดร

จะเห็นได้ว่า คำว่า  ม้า  มะเมีย  ในภาษาไทย ออกเสียงคล้ายภาษาจีนมากที่สุด 

                                                  ตารางที่มีชื่อสัตว์เป็นภาษาต่างๆ ข้างบนนี้ได้จาก วิกิพีเดีย 

 

อย่างนี้  เวลาคนไทยพูดคำว่า “ม้า”   คนเกือบครึ่งโลก (รวมคนชาติต่างๆ ที่เรียนภาษาจีนด้วย) ก็เข้าใจแล้วสิคะว่าเราหมายถึงอะไร

  

ในตำราจีนบอกว่า ภาษาจีนเป็นภาษาในตระกูลฮั่น – ธิเบต  และภาษาไทยจัดอยู่ในกิ่งภาษาของตระกูลนี้

ภาษาฮั่น ก็คือ ภาษาจีนนั่นเอง เนื่องจากชาวฮั่นเป็นคนชาติพันธุ์ 95 % ของประเทศจีน

เรื่องตัวเขียน ไม่เหมือนกัน แต่เรื่องการออกเีสียงและการสร้างคำ การสร้างประโยค มีส่วนคล้ายกันมาก

ภาษาไทยเป็นกิ่งภาษาของภาษาตระกูลฮั่น-ธิเบต

ลักษณะพิเศษของภาษาตระกูลฮั่น – ธิเบต (汉藏语系)
1. เป็นคำโดด 
2. มีเสียงวรรณยุกต์ (有声调)
3. หลักไวยากรณ์สำคัญ คือ การเรียงลำดับคำ 
4. รูปประโยคหลักๆ คือ ประธาน + กริยา + กรรม

      ………………………………

ทั้งหมดนี้เป็นข้อสังเกตส่วนตัวของ สุวรรณา สนเที่ยง 

8 เมษายน 2013

Facebook : Suwanna Future C

https://www.facebook.com/SuwannaFutureC

 

เรื่องเกี่ยวข้อง

ภาษาไทยกับภาษาจีน มีอะไรที่เหมือนกันหรือไม่ ? (คลิกอ่าน)

Posted by เหล่าซือสุวรรณา , ผู้อ่าน : 5386

  

ข้อมูลประกอบจากเว็บไซต์อื่นๆ   

การพิจารณาว่าคำใดเป็นคำไทยแท้

เขียนโดย ภาษาสยาม   
วันพุธที่ 10 กันยายน 2008 เวลา 21:32 น.
          ปัจจุบันนั้นมีคำศัพท์ใหม่เกิดขึ้นมากมาย  จึงเป็นที่กังขากันว่าเราจะทราบได้อย่างไรว่าคำไหนคือคำไทยแท้ 

         –  ภาษาไทยเป็นคำโดด  ซึ่งหมายถึง คำที่ใช้ได้โดยอิสระ   คือแต่ละคำใช้ได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนรูปคำ

        –   คำภาษาไทยโดยมากเป็นคำพยางค์เดียว ส่วนเหตุที่มีคำไทยหลายคำที่มีหลายพยางค์นั้น  เพราะ

            คำเหล่านั้นเกิดขึ้นในชั้นที่สอง  ไม่ใช่คำไทยเดิม  คำไทยแท้เริ่มจากคำมูล ( คำที่มีความหมายในตัวสมบูรณ์

            และไม่อาจแยกพยางค์ออกไปโดยให้มีความหมายได้อีก ) ซึ่งมักมีพยางค์เดียว  คือ เปล่งเสียงออกมาครั้งเดียว

       –    คำที่ใช้เรียกเครือญาติมาแต่เดิม  เช่น  พ่อ  แม่  พี่  น้อง  พี่  ป้า  น้า  อา

       –    คำที่เป็นสรรพนาม  เช่น  มึง กู  สู  เรา  เขา  แก  เอ็ง  อี

       –    คำที่บอกกิริยาอาการโดยทั่วๆไปซึ่งใช้มาก่อน เช่น  นั่ง  นอน  คลาน  ย่าง  ย่ำ  ก้ม  เงย  เกิด  ตาย

       –    คำที่บอกจำนวน  เช่น  อ้าย  ยี่  ร้อย  เอ็ด  ล้าน  จ้าน  จัง

       –    คำที่ใช้เรียกเครื่องมือเครื่องใช้ หรือสัตว์สิ่งของที่ใช้ประกอบอาชีพมาแต่โบราณ  เช่น  บ้าน  เรือน  ครัว  วัว  ควาย  หม้อ  เสา  

      –     คำเรียกชื่อธรรมชาติซึ่งมีมานาน  เช่น คลอง  ห้วย  หนอง  ไฟ  ดิน  หิน  ฝน

      –     คำที่ใช้เรียกสีที่รู้จักกันโดยทั่วไป  เช่น  ดำ  ด่าง  ม่วง  เขียว  มอ  ฟ้า

      –     คำที่เป็นคุณศัพท์เก่าแก่ เช่น  ใหญ่  หนัก  แบน  กลม  เกลียด  ลืม   หลง  อ้วน  ซูบ

   ที่มา   หนังสือหลักภาษา  ไวยากรณ์ไทย

ขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์

http://www.pasasiam.com/home/index.php/general/pasathai-principle/199-2008-09-10-14-32-26

…………………………

ลักษณะของคำไทยแท้

๑.  คำไทยมักเป็นคำพยางค์เดียว
ภาษาไทยจัดอยู่ในตระกูลภาษาคำโดด (Isolating Language) หรือคำพยางค์เดียวโดดๆ (Monosyllabic Language) ลักษณะของคำโดดนั้น ส่วนมากมักเป็นคำพยางค์เดียวโดยพิจารณาจากคำดังเดิม หรือคำพื้นฐานของภาษาอันได้แก่ ถ้อยคำที่มนุษย์ใช้กันเป็นประจำมักเป็นคำที่ใช้เรียกสิ่งต่างๆ อันได้แก่ คำนาม และคำกริยาที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์หรือคำขยายที่ใช้ธรรมดาสามัญทั่วๆไป
๒. ภาษาไทยที่มีระบบเสียงสูงต่ำ
ภาษาไทยที่มีระบบเสียงสูงต่ำ ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีลักษณะเหมือนเสียงดนตรี วรรณยุกต์จึงมีประโยชน์แล้วจำเป็นในภาษาไทยมาก เพราะคำเดียวกัน ถ้าออกเสียงวรรณยุกต์ผิดไป ระดับเสียงก็ผิดไป ความหมายก็ผิดไปด้วย
๓. คำไทยแท้มักใช้ตัวสะกดตรงตามมาตรา

 ขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ http://buka.freeoda.com/?p=9

…………………

คำยืมภาษาจีนที่มีใช้ในภาษาไทย

ไทยและจีนเป็นมิตรประเทศที่ติดต่อเจริญสัมพันธไมตรี และค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าและศิลปะ วัฒนธรรมอันดีงามมาช้านาน ชาวจีนที่มาค้าขายได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ภาษาจีนจึงเข้ามาสู่ไทยโดยทางเชื้อชาติ นอกจากนี้ภาษาจีนและภาษาไทยยังมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน จึงทำให้มีคำภาษาจีนเข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยจนแทบแยกกันไม่ออก 

การยืมคำภาษาจีนมาใช้ในภาษาไทยนั้น เราได้มาจากภาษาพูดไม่ใช่ภาษาเขียน เพราะระบบการเขียนภาษาจีนต่างกับภาษาไทยมาก ภาษาจีนเขียนอักษรแทนคำเป็นตัว ๆ ไม่มีการประสมสระ พยัญชนะ คำภาษาจีนที่มีใช้ในภาษาไทย นำมาเป็นคำเรียกชื่อ เครื่องใช้แบบจีน ยาสมุนไพร สัตว์ อาหาร เครื่องแต่งกาย ธุรกิจการค้า มหรสพ และอื่น ๆ 

ภาษาจีนมีลักษณะคล้ายคลึงกับภาษาไทยมาก คือ เป็นภาษาคำโดด มีเสียงวรรณยุกต์ย เมื่อนำคำภาษาจีนมาใช้ในภาษาไทยซึ่งมีวรรณยุกต์และสระประสมใช้จึงทำให้สามารถออกเสียงวรรณยุกต์และสระตามภาษาจีนได้อย่างง่ายดาย คำภาษาจีนยังมีคำที่บอกเพศในตัวเช่นเดียวกับภาษาไทยอีกด้วย เช่น เฮีย (พี่ชาย) ซ้อ (พี่สะใภ้) เจ๊ (พี่สาว) นอกจากนี้การสะกดคำภาษาจีนในภาษาไทยยังใช้ตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกดทั้ง 8 มาตราและมีการใช้ทัณฑฆาต หรือตัวการันต์ด้วย 

หลักการสังเกตคำภาษาไทยที่มาจากภาษาจีน

  1. นำมาเป็นชื่ออาหารการกิน เช่น ก๋วยเตี๋ยว เต้าทึง แป๊ะซะ เฉาก๊วย จับฉ่าย เป็นต้น
  2. เป็นคำที่เกี่ยวกับสิ่งของเครื่องใช้ที่เรารับมาจากชาวจีน เช่น ตะหลิว ตึก เก้าอี้ เก๋ง ฮวงซุ้ย
  3. เป็นคำที่เกี่ยวกับการค้าและการจัดระบบทางการค้า เช่น เจ๋ง บ๋วย หุ้น ห้าง โสหุ้ย เป็นต้น
  4. เป็นคำที่ใช้วรรณยุกต์ตรี จัตวา เป็นส่วนมาก เช่น ก๋วยจั๊บ กุ๊ย เก๊ เก๊ก ก๋ง ตุ๋น เป็นต้น

วิธีนำคำยืมภาษาจีนมาใช้ในภาษาไทย

ไทยนำคำภาษาจีนมาใช้ โดยมากไทยเลียนเสียงจีนได้ใกล้เคียงกว่าชาติอื่น ๆ เช่น เกาเหลา ตั้งฉ่าย เต้าทึง เต้าหู้ เต้าฮวย บะฉ่อ พะโล้ แฮ่กึ้น เป็นต้น มีบางคำที่นำมาตัดทอนและเปลี่ยนเสียง เช่น เตี้ยะหลิว ตะหลิว บ๊ะหมี่ บะหมี่ ปุ้งกี ปุ้งกี๋ 

ตัวอย่างคำยืมที่มาจากภาษาจีน 
กงสี กงฉิน กงไฉ่ กงเต็ก ก๋วยเตี๋ยว ก๋วยจั๊บ เกาหลา กุ๊ย เก๊ เก๊ก เกี้ยว เกี๊ยว เกี๊ยะ กุยเฮง เก๊ก ก๋ง เก้าอี้ ขาก๊วย เข่ง จับกัง จับฉ่าย จับยี่กี จันอับ เจ๊ง เจี๋ยน เจ เฉาก๊วย เซ้ง เซียน แซ่ แซยิด เซ็งลี้ ซาลาเปา ซิ้ม ตะหลิว เต๋า ตุน ตุ๋น แต๊ะเอีย เต้าหู้ เต้าฮวย เต้าเจี้ยว โต๊ะ ไต้ก๋ง ตังเก บ๊วย บะฉ่อ บะหมี่ บู๊ ปุ้งกี๋ ปอเปี๊ยะ แป๊ะเจี๊ยะ พะโล้ เย็นตาโฟ หวย ยี่ห้อ ลิ้นจี่ ห้าง หุ้น เอี๊ยม โสหุ้ย เฮงซวย ฮวงซุ้ย ฮ่องเต้ อั้งโล่ 

ตัวอย่างคำยืมที่มาจากภาษาจีน 
ก๋วยเตี๋ยวเกี๊ยวบะหมี่ พะโล้นี้ช่างน่าสน 
เกาเหลาจับฉ่ายปน ตะหลิวคนตักเฉาก๊วย 
อาหารจานเด็ดนี้ ล้วนมากมีสีสันสวย 
คนไทยใช้มากด้วย สื่อกันมาภาษาจีน

ขอบคุณเว็บไซต์  

http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-1/loanwords/07.html

 

ป.ล.  ข้อเขียนเรื่องนี้ดิฉันโพสต์ครั้งแรกใน OKnation Blog เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2013

โดยใช้นามปากกาว่า “เหล่าซือสุวรณา” 

และได้รับเกียรติจาก กอง บก. โอเคเนชั่นบล็อก  เลือกให้เรื่องนี้เป็น เรื่องแนะนำจาก กองบก. วันที่ 8 เมษายน 2013

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย

 

ภาษาจีน-ไทยเปรียบเทียบ  泰汉语比较

Flag Counter


Share Button

รีรัน วิธีพิมพ์ตัวอักษรจีนในคอมพิวเตอร์ วิธีตั้งค่าภาษาจีนในเครื่อง

Hits: 10868

         

                                     ขอนำเรื่องเก่ามาฉายซ้ำอีกเรื่อง  ซึ่งเป็นเรื่องที่เหล่าซือเคยเขียนไว้นานมากแล้ว 

ในหัวข้อ วิธีพิมพ์ตัวอักษรจีนในคอมพิวเตอร์ วิธีตั้งค่าภาษาจีนเครื่องคอม

ปัจจุบันความต้องการที่จะใช้ภาษาจีนในโซเชียลเน็ตเวิร์คมีมากขึ้นเรื่อยๆ  

ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับท่านที่สนใจจะติดตั้งการใช้งานอักษรจีนในคอมพ์ 

 

 


        ตอนเหล่าซือเริ่มเขียนใหม่ๆ  รู้สึกจะเป็นคนแรกๆ เลยหรือเปล่าที่พิมพ์ภาษาจีนในนี้  ตอนนี้เห็นมีการพิมพ์ภาษาจีนประกอบเอนทรี่เพิ่มขึ้นมาก  ทั้งเรื่องท่องเที่ยว  ข่าว  และอื่นๆ  

        เห็นมีโฆษณาภาษาจีนมาแปะด้วย  (เมื่อก่อนก็ไม่เห็น) เป็นเรื่องดี อยากให้มาโฆษณาที่บ้านโอเคกันมากๆ ค่ะ

 

………………………………………………………………….

 

จาก  Entry เดิม 29 พฤศจิกายน 2553

วิธีพิมพ์ตัวอักษรจีนในคอมพิวเตอร์ วิธีตั้งค่าภาษาจีนเครื่องคอม 

           ช่วงนี้ยังมีผู้สนใจสอบถามวิธีการตั้งค่าภาษาจีนในคอมพิวเตอร์มา  ดิฉันจึงขออนุญาตนำคำแนะนำของ 

คุณสรารี ชาญอุไร(金利同学)จากเขตอุตสาหกรรมซอฟแวร์ ประเทศไทย (ซอฟแวร์ปาร์ค) สวทช. ที่ได้กรุณาเขียนแนะนำวิธีติดตั้งภาษาจีนบนเครื่องคอมพิวเตอร์มาให้เพื่อนๆ ที่สถาบันสอนภาษาจีนฟิวเจอร์ซี อย่างละเอียด  เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2009  

มาโพสไว้ในบล็อกของ OK Nation  หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาทุกท่าน 

 

        และขอขอบคุณ คุณสรารี มาอีกครั้งในโอกาสนี้ค่ะ

 

 

วิธี set ภาษาเครื่องคอมพิวเตอร์

คลิก Start มุมซ้าย

  1. เลือก Control Panel
  2. เลือก Regional and Language Options
  3. เลือก Tab Languages
  4. คลิก Details
  5. คลิก Add
  6. Input Language เลือก Chinese (PRC)   ช่อง Keyboard layout/ IME จะเปลี่ยนอัตโนมัติ
  7. คลิก OK

โดยปกติแล้วจะมี font ภาษาจีนและภาษาอื่นๆ ให้เลือกอยู่แล้วค่ะ แต่หากยังไม่มีหรือต้องการ font อื่น มากกว่าที่มีในเครื่องก็ลองโหลด font ที่ชอบมาเก็บไว้เพื่อเลือกใช้ดูนะคะ

  • Font Chinese (PRC) จะเป็นแบบที่เราคุ้นตากันอยู่แล้วค่ะ  ตัวอย่างนะคะ  

你好,   同学。 

 

今天 你们    ? 

 

สำหรับวิธีการเรียกใช้

ให้ใช้ ~ เปลี่ยนภาษาเหมือนกับเปลี่ยนอังกฤษ-ไทย ที่เคยใช้ค่ะ  เมื่อเห็นไอคอนภาษาเปลี่ยนเป็น ch   ก็ทำดังนี้

 พิมพ์ pinyin เช่น ni จะปรากฎแถบสี่เหลี่ยมเล็กๆ ตรงมุม > กด enter > ก็จะเป็นตัวหนังสือจีน

                แต่เนื่องจากว่ามีคำพ้องเสียงไม่พ้องรูปรวมอยู่ด้วยกัน บางทีจะปรากฎตัวอื่นที่ออกเสียงเดียวกัน แต่คนละความหมายออกมา  ดังนั้นหากไม่ใช่ตัวที่ต้องการสามารถคลิกเลือกตัวอักษรได้ โดยจะมีตัวอักษรอื่นที่ออกเสียงเดียวกันให้เลือกโดยใช้เครื่องหมายลูกศรข้างล่างแถบตัวเลขที่คีย์บอร์ดเลื่อนและคลิกเลือกตัวที่ต้องการ 

คือบางทีอธิบายอาจงงๆ นะคะ ลองใช้ดูค่ะ   

 

**************************

updated : April 27, 2012

จะเรียกแป้นพิมพ์ภาษาจีนอย่างไร ? (ขั้นตอนต่อจากติดตั้งภาษาจีนในเครื่องได้แล้ว) 

อธิบายแล้วไม่เข้าใจ  ต้องขอโทษมากๆ ค่ะ  วันนี้ลองอธิบายเพิ่มเติมนะคะ

-  คลิกที่แท็บ EN-TH-CH จะเห็นบรรทัดล่างสุดเขียนว่า show language bar คลิกตรงนั้น

-  จะเห็นมี  language bar แถบภาษาขึ้นมาอยู่บนจอในตำแหน่งที่สูงขึ้นมา  จากนั้นคลิกที่ CH …

-   language bar จะเปลี่ยนเป็น  CH Chinese (PRC)

-   ด้านขวาสุดของ language bar หลังเปลี่ยนเป็น CH Chinese (PRC)  จะมีช่องสามเหลี่ยมเล็กๆ (อยู่ปลายขวาสุด)คลิกสามเหลี่ยมล่างที่มุมชี้ลง (option)

 -   คลิกตรงสามเหลี่ยมชี้ลง เข้าไปใน option  แล้วเลือกติ๊กเครื่องหมายถูกที่  conversion mode ถ้ามีเครื่องหมายถูกอยู่แล้วก็ไม่ต้องติ๊คค่ะ 

-    บน language bar  จะปรากฏช่องที่ให้เลือก ( อังกฤษ) และ (จีน) คลิก 1 ที ก็จะเปลี่ยนเป็น / 英 สลับกัน คลิกให้อยู่ที่  

-   แต่ถ้าเป็นคำว่า  อยู่แล้ว  ก็ลงมือพิมพ์ตัวพินอิน อักษรลาตินลงไป เช่น พิมพ์ คำว่า nihao  ติดกัน  พิมพ์เสร็จ

กด enter 

-   จอก็จะขึ้นอักษรจีนมาให้   ถ้าไม่ใช่อักษรจีนตัวที่ตัวการ  ก็กดเครื่องหมายลูกศรที่ชี้เลื่อนไปทางขวา (ลูกศรบนคีย์บอร์ดแถวกลางล่างที่เป็นรูปลูกศรชี้ขึ้นลงซ้ายขวา)  กดแล้วจะเห็นมีแถบอักษรจีนที่ออกเสียงเดียวกันขึ้นมาให้เลือกหลายตัว     

-   ถ้าใช่อักษรจีนตัวที่ต้องการ เช่น ขึ้นว่า 你好 แต่มีเส้นไข่ปลาอยู่ใต้อักษร 

-    ก็กด enter เป็นการยืนยันการเลือก  เส้นไข่ปลาจะหายไป  แต่ถ้าไม่กด  enter  แล้วไปคีย์ตัวพินอินอื่นๆ 

ตัวอักษรจีนนี้ก็จะหายไป  เพราะเครื่องคิดว่าเราไม่เลือกค่ะ 

 

Flag Counter


Share Button

สำนวนจีนโบราณ เดินทางหมื่นลี้ กับ อ่านหนังสือหมื่นเล่ม 行万里路 读万卷书

Hits: 12520
Rating:

สำนวนจีน 成語 ที่ว่า

เดินทางหมื่นลี้ กับ อ่านหนังสือหมื่นเล่ม

行万里路  和  读万卷书

Xíng wànlǐ lù    hé    dú wàn juǎn shū

ดิฉันเข้าใจว่า หมายถึง การเรียนรู้จากตำรา จากห้องเรียน ต้องควบคู่และประสานไปกับประสบการณ์จริง

เราจะพบหลายสิ่งหลายอย่าง  ที่สัมผัึสไม่ได้จากจอคอมพิวเตอร์และหน้าหนังสือ
การหาความรู้จากการอ่าน กับ การเดินทางเห็นของจริง ต้องคู่กัน
การเดินทางทำให้เราได้เห็นชีวิต อารมณ์ ของผู้คน

แต่การเดินทางอย่างเดียว ก็จะขาดการเรียนรู้จากองค์ความรู้จากคนรุ่นก่อน

ดิฉันยังขยายความหมายตามที่ตัวเองเข้าใจให้ต่ออีกว่า

“การเดินทางหมื่นลี้ 行万里路 ”  ในสำนวนจีนนี้รวมไปถึงการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง การเดินทางเป็นแค่ส่วนหนึ่งและนำมาอุปมา

ทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติ

เช่น นักศึกษาที่เรียนสาขาวิชาต่างๆ  ต้องหมั่นหาข้อมูลหลายด้านหลายมิติจากเรื่องราวและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงมาประกอบการเรียน  เพราะเหตุการณ์หลายๆ อย่างในโลกนี้ไม่ได้พัฒนาหรือเป็นไปตามที่หนังสือเขียนไว้เสมอ

และในหนังสือบางเล่มก็มีทัศนคติส่วนตัวของผู้เขียนรวมอยู่ด้วย  ซึ่งก็ใช่ว่าจะถูกต้องสอดคล้องกับความจริงเสมอไป

Continue reading


Share Button

เศรษฐกิจถดถอย ภาษาจีนใช้คำว่าอะไร ? ศัพท์สำหรับคนเรียนภาษาจีน

Hits: 8681

เศรษฐกิจถดถอย ภาษาจีนใช้คำว่าอะไร ?

คำว่า

เศรษฐกิจถดถอย

ภาษาจีนใช้อย่างนี้ค่ะ

经济萎缩

Jīngjì wěisuō

 

ตัวอย่างการแปลข้อความหรือข่าวเศรษฐกิจเรื่องนี้

สำนักข่าว BBC รายงาน ไทยกำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย หลังจากเศรษฐกิจหดตัวในไตรมาสที่สองของปีนี้

英国 BBC 新闻报道:

泰国经济从今年第二期开始进入萎缩状况

Tàiguó jīngjì cóng jīnnián dì èr qí kāishǐ jìnrù wěisuō zhuàngkuàng.

Thailand’s economy falls into recession

http://www.bbc.co.uk/news/business-23751846

萎  wěi แปลว่า  เหี่ยวลง เฉาลง ซบเซา

 

 

Continue reading


Share Button
นักเรียนของเรา
แหล่งรวมบทความของเรา

OK

BC BT

Fan Page
จำนวนผู้เข้าชม
Flag Counter