Get Adobe Flash player

เชงเม้ง 清明节 อักษรจีนบนป้ายที่ฮวงจุ้ยหมายถึงอะไร

Hits: 130985

This post has already been read 419771 times!

Rating:

♣ เชงเม้ง วัฒนธรรมจีนที่คนจีนทั่วโลกและคนเรียนภาษาจีนต้องรู้

♣ ประเพณีจีนที่สืบทอดกันมาหลายพันปี  ยังไม่ผันเปลี่ยนตามกาลเวลา 

♣  เรื่องสำคัญบางแง่มุมเกี่ยวกับ เชงเม้ง ที่หลายคนอาจยังไม่รู้

การไหว้เชงเม้ง เชื่อเป็นสิริมงคลแก่ลูกหลาน คนจีนนิยมเอาป้ายบรรพชนตั้งไว้ที่เห็นชัดในร้านค้า  เหล่าซือจึงถือว่าโพสต์นี้เป็นบุญกุศล เป็นสิริมงคลแก่ตนเองและผู้พบเห็น 
♣ อักษรจีนที่สลักไว้ที่แผ่นหินหน้าฮวงจุ้ย หมายถึงอะไร?
♣ “考” kǎo กับ “妣” bǐ หมายถึงอะไร
♣ แล้วทำไมเห็นมีสีเขียวบ้าง สีแดงบ้าง ?
เรียบเรียงโดย สุวรรณา สนเที่ยง 张碧云老师

………………

ได้รับคำถามบ่อยๆ ว่าอักษรจีนบนป้ายบรรพชนที่สุสานนั้น หมายความว่าอะไรบ้าง

ก่อนอื่น ขอเกริ่นเรื่อง “เชงเม้ง” หน่อย

เป็นครั้งแรกที่เขียนเกี่ยวกับเชงเม้ง

………………….
เกร็ดความรู้เรื่อง เทศกาล “เชงเม้ง” 清明节 Qīngmíng jié 
เชงเม้ง ที่เราคุ้นหู เป็นเสียงสำเนียงภาษาจีนแต้จิ๋ว
ภาษาจีนกลางเรียกว่า เทศกาลชิงหมิง
ประเพณีที่สืบทอดกันมาหลายพันปี
……มีความหมายลึกซึ้งเกี่ยวกับรากเหง้าที่มาของคนเชื้อสายจีนทั่วโลก….
ปลูกฝังให้ชาวจีนระลึกถึงบุญคุณของบรรพชน

เป็นเทศกาลสำคัญของจีนที่เป็นวันหยุดราชการทั่วประเทศ รวมถึงที่เกาะฮ่องกงด้วย

จึงเป็นช่วงการเดินทางกลับภูมิลำเนาทัั่วประเทศของจีน การจราจรคับคั่ง

ผู้เขียนเคยไปเจอช่วงวันหยุดยาวเทศกาลชิงหมิงที่ปักกิ่ง รถติดขัดสองสามชั่วโมงเมื่อ 3 ปีก่อน

สำหรับผู้ที่มีเชื้อสายจีนทั่วโลก  และลูกหลานที่ไปทำงานต่างถิ่น

ก็จะเดินทางกลับภูมิลำเนาเพื่อรวมญาติและนัดรวมพลไปทำความสะอาดฮวงจุ้ย (สุสาน) ของบรรพชน

อย่างบ้านเราก็จะทำให้การจราจรคับคั่งแถบจังหวัดที่มีสุสานจีนหนาแน่น  เช่น แถบจังหวัดชลบุรี สระบุรี

คนไทยเชื้อสายจีนเป็นหนึ่งในหลายๆ ประเทศที่ยังยึดถือประเพณีเชงเม้งอย่างเคร่งครัด

คนต่างจังหวัดที่มาทำงานในเมืองก็จะเดินทางกลับบ้านเชงเม้งกันทุกปี

อย่างคนเบตง คนหาดใหญ่ เมื่อก่อนจะเหมาตู้รถไฟหลายตู้กลับบ้านพร้อมกัน

เดี๋ยวนี้ส่วนมากก็จะนัดวันแล้วจองนั่งเครื่องกลับไปเชงเม้งกัน

ส่วนคนในเมืองก็นัดญาติพร้อมหน้า  ไหว้เสร็จก็กลายเป็นงานสังสรรค์รวมญาติเที่ยว

บางครอบครัวไหว้ที่สระบุรี ก็จองบ้านพักเขาใหญ่ไปกันทั้งครอบครัว

ที่ไปแถวชลบุรีก็จองโรงแรมแถวพัทยา ระยอง บางแสน ไปถึงจันทบุรีก็มี

ส่วนกลุ่มที่ไปเชงเม้งแถวเพชรบุรี ราชบุรี ก็รวมญาติไปพักตากอากาศกินอาหารทะเลที่หัวหิน – ชะอำ

ลูกๆ หลานๆ เด็กๆ  ก็ตื่นเต้นที่จะได้ไปเที่ยวเล่น เรื่องต้องตื่นแต่เช้า เรื่องร้อนก็เลยทนได้

ร้านอาหาร โรงแรมก็พลอยคึกคักตั้งแต่หลังวันที่ 20 มีนา จนถึง 5 เมษาของทุกปี

อันนี้เป็นวัฒนธรรมจีนที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน 

…………………………..

เกริ่นเรื่องเชงเม้งแล้วก็ย้อนกลับมาเข้าประเด็นตามหัวข้อ

มาดูอักษรจีนที่สลักไว้ที่แผ่นหินหน้ฮวงจุ้ยกัน

ว่า หมายความว่าอะไร

ตัวอักษรจีนบนสุด

” 祖 ”     แปลว่า  บรรพชน บรรพบุรุษ

ล่างลงมา  เรียงจากขวาไปซ้าย ตามวิธีเขียนแบบจีนโบราณ

ขวาสุด เป็นส่วนที่ระบุภูมิลำเนาเดิมที่จีนของผู้ที่อยู่ในฮวงจุ้ยหลังนี้ อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน

เช่น ซัวเถา 汕頭 แต้จิ๋ว 潮州  จีนฮากกาเหมยเซี่ยน 梅縣

แถวซ้ายสุด  บันทึกปีเดือนวัน ที่ตั้งฮวงจุ้ยนี้ขึ้น

ทั้งหมดสลักด้วยอักษรจีนตัวเต็ม เพราะในยุคของพ่อแม่อากงอาม่า ยังไม่นิยมใช้อักษรจีนตัวย่อ

เดี๋ยวกงม่าอ่านไม่ออก

 แถวกลาง อักษรจีนตัวใหญ่  

จากขวา “考”  kǎo  เป็นคำยกย่อง  สรรพนามแทนบิดาที่เสียชีวิตแล้ว ตามด้วยชื่อของพ่อ

ซ้ายแถวกลาง “妣”  bǐ  เป็นคำยกย่อง  สรรพนามแทนมารดาที่เสียชีวิตแล้ว  ตามด้วยชื่อของแม่

ส่วนแซ่ (นามสกุล) ของพ่อและแม่ จะอยู่ข้างล่างต่อจากชื่อ

แล้วทำไมเห็นมีสีเขียวบ้าง สีแดงบ้าง ?

คนจีนนิยมซื้อหลุมคู่  และสลักชื่อของทั้งพ่อทั้งแม่ไว้ก่อน

ถ้าพ่อเสียชีวิตก่อน ก็ทาสีที่ชื่อเป็นสีเขียว

ส่วนแม่ยังไม่เสียก็เขียนด้วยสีแดง  เมื่อแม่เสียแล้ว ก็ทาสีที่ชื่อแม่เป็นสีเขียวด้วย

ครอบครัวดิฉันจะไปเชงเม้งที่สุสานวิสุทธิมรรคคีรี 白雲道山 สระบุรีทุกปี

ไหว้เสร็จก็มาทานข้าวต้มที่โรงทานของสุสาน

อาหารเจที่นั่น มะนาวดอง ไช้โป้วดอง อร่อยมาก  เป็นมื้อที่ครอบครัวเราชอบมาก

หยิบทานได้ฟรี ข้าวต้มฟรี ทานเสร็จก็ทำบุญช่วยค่าอาหาร  ใครไม่ให้เขาก็ไม่ว่า

ตบท้ายด้วยการซื้อกาหน่าฉ่ายเจ้าอร่อยที่นี่กลับบ้านทุกปี

เชงเม้ง จึงเป็นกิจกรรมที่ได้รักษาประเพณี

สุขใจที่ได้มากวาดบ้านให้พ่อแม่  ทานข้าวต้มอาหารเจ และช็อปปิ้ง

 กาน่าฉ่ายสระบุรี (เจ้ใหญ่) นี่ค่ะ ที่บ้านเราต้องไปซื้อที่นั่นทุกปี และซื้อมาปีละหลายๆ โล  ซื้อกันมา 24 ปีแล้ว

       ปีนี้เจอหม้อนี้อร่อยมาก  คงจะหมักำได้ที่ แต่ขึ้นราคาจากปีที่แล้ว เป็นโลละ 220 บาท
       มีบ้างที่บางปีเจอไม่ค่อยอร่อย  เหมือนยังหมักไม่ได้ที่ หรือ เจอมีทรายบ้าง  แต่โดยรวมแล้วก็ถือว่ามีคุณภาพดีกว่าเจ้าอื่นๆ ที่เคยทานมา

       เอาเบอร์โทรศัพท์ของร้านกาน่าฉ่ายสระบุรีที่กรุงเทพฯ มาฝาก คือ 02 2152153  081 852 8415  

อยู่ในซอยเดียวกันกับออฟฟิตติดต่อกรุงเทพฯ ของสุสานวิสุทธิมรรคคีรี
แต่เราไม่เคยไปซื้อในกรุงเทพฯ เลย

 

 

 

อ่าน เกร็ดวัฒนธรรมจีน

Flag Counter

……………………………

 

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

เขียนเมื่อ วันที่ 22 มีนาคม 2015

คนที่มีเชื้อสายจีนคิดอย่างไร ถึงยังรักษาประเพณี “เชงเม้ง” เอาไว้

 

Mr. Jeremy Shiu  ซึ่งเป็นลูกหลานจีนที่ไม่ได้อยู่ประเทศจีนคนหนึ่ง เขียนถึงทัศนะของเขาที่เกี่ยวกับเชงเม้ง ผ่านคอมเมนท์ในเฟชบุ๊ค  CCTV中文 ไว้  ( เหล่าซือขอแปลความเป็นภาษาไทย  แต่ขออภัยที่ไม่สามารถถ่ายทอดได้ใจความลึกซึ้งเท่ากับต้นฉบับภาษาจีนที่ท่านเขียนไว้)

…….. ” เชงเม้ง เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาหลายพันปี   ปลูกฝังให้ชาวจีนมีความกตัญญูกตเวที  ระลึกถึงบุญคุณของบรรพชน   เชื่อว่าดวงวิญญาณของพวกเขายังอยู่  

มีความหมายลึกซึ้งเกี่ยวกับรากเหง้าที่มาของเรา ” ………………

 

Jeremy Shiu 先生在  CCTV中文  Facebook 中用中英文写出他对中国人传统节日 “清明节” 的看法。

本人认写得很好,值得后辈华裔思考,故分享到此网页。特此敬谢。

…………..

Jeremy Shiu 先生写道:

清明节,几千年的传统节日。秉持中华孝道,慎重追远,追思祭祖,相信祖先英灵尚在。意义非凡,关系我们的根。

Qing Ming festival is not paganism, and paganism is a term that demonic non monotheistic practice- a fallacy, Qing ming has thousands of years of history, as part of Chinese tradition. It continues the practice of filial piety and the strong belief of the existence of our ancestor spirits. According respect reflects our roots, the very fundamental in life.

分享自:

https://www.facebook.com/CCTV.CH/posts/1160880127332878

 

 

อ่านเรื่องเกร็ดภาษาจีน

หวังว่าทุกคลิกของท่านจะได้รับประโยชน์จากบทความเหล่านี้

ขออภัยในข้อบกพร่องใดๆ ขอบคุณที่กรุณาติชมและแสดงความเห็น

Flag Counter

อาจารย์สุวรรณา

Future C อาจารย์สุวรรณา

บทความและภาพ สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย ยินดีเผยแพร่เพื่อเป็นความรู้ แบ่งปันได้แต่ต้องไม่ดัดแปลงต้นฉบับ ไม่เพื่อการค้า และอ้างอิงแหล่งที่มาให้ชัดเจน 228 post in this blog.

Comments

comments


Share Button

One Response to เชงเม้ง 清明节 อักษรจีนบนป้ายที่ฮวงจุ้ยหมายถึงอะไร

นักเรียนของเรา
แหล่งรวมบทความของเรา

OK

BC BT

Fan Page
จำนวนผู้เข้าชม
Flag Counter