สำนวนจีนโบราณ เดินทางหมื่นลี้ กับ อ่านหนังสือหมื่นเล่ม 行万里路 读万卷书
This post has already been read 30740 times!
สำนวนจีน 成語 ที่ว่า
เดินทางหมื่นลี้ กับ อ่านหนังสือหมื่นเล่ม
行万里路 和 读万卷书
Xíng wànlǐ lù hé dú wàn juǎn shū
ดิฉันเข้าใจว่า หมายถึง การเรียนรู้จากตำรา จากห้องเรียน ต้องควบคู่และประสานไปกับประสบการณ์จริง
เราจะพบหลายสิ่งหลายอย่าง ที่สัมผัึสไม่ได้จากจอคอมพิวเตอร์และหน้าหนังสือ
การหาความรู้จากการอ่าน กับ การเดินทางเห็นของจริง ต้องคู่กัน
การเดินทางทำให้เราได้เห็นชีวิต อารมณ์ ของผู้คน
แต่การเดินทางอย่างเดียว ก็จะขาดการเรียนรู้จากองค์ความรู้จากคนรุ่นก่อน
ดิฉันยังขยายความหมายตามที่ตัวเองเข้าใจให้ต่ออีกว่า
“การเดินทางหมื่นลี้ 行万里路 ” ในสำนวนจีนนี้รวมไปถึงการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง การเดินทางเป็นแค่ส่วนหนึ่งและนำมาอุปมา
ทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติ
เช่น นักศึกษาที่เรียนสาขาวิชาต่างๆ ต้องหมั่นหาข้อมูลหลายด้านหลายมิติจากเรื่องราวและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงมาประกอบการเรียน เพราะเหตุการณ์หลายๆ อย่างในโลกนี้ไม่ได้พัฒนาหรือเป็นไปตามที่หนังสือเขียนไว้เสมอ
และในหนังสือบางเล่มก็มีทัศนคติส่วนตัวของผู้เขียนรวมอยู่ด้วย ซึ่งก็ใช่ว่าจะถูกต้องสอดคล้องกับความจริงเสมอไป
การติดตามข่าวคราวในทุกๆ ด้าน การนำสองส่วน (การอ่าน กับ การสัมผัสด้วยตนเอง) มาประกอบกันอย่างเหมาะสม
จะช่วยให้เข่าใจและนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับเหตุการณ์จริงได้อย่างถูกต้อง
แต่ทำอย่างไรจึงจัดองค์ความรู้จากสองส่วนนี้ได้อย่างสมดุลย์
ใช่ว่าจะต้องตั้งหน้าตั้งตา “หาประสบการณ์จากการเดินทาง จากสถานการณ์จริงจนมากเกินไป “
行万里路 和 读万卷书 เดิมใช้ว่า 读万卷书 , 行万里路 。
讀万卷書,行萬里路。
แปลว่า อ่านหนังสือหมื่นเล่ม เดินทางหมื่นลี้
สมัยก่อน ไม่มีเครื่องบิน ไม่มีรถยนต์ การเดินทางหมื่นลี้ (ประมาณ 5000 กิโลเมตร)
ก็ต้องผ่านอุปสรรคและอะไรมากมาย
แต่เดี๋ยวนี้ แค่ขับรถไป-กลับภาคใต้ก็เกินครึ่งหนึ่งของคำโบราณคือ 5000 ลี้แล้ว
ขอบคุณภาพประกอบจาก http://wfrxyhxx.kwedu.cn/2011/0615/2232.html
ยังมีสำนวนจีนโบราณซึ่งใช้กันมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น (ประมาณ 2000 ปีที่แล้ว ) ก็คือ คำว่า
百闻不如一见 แปลว่า ฟังร้อยครั้งก็ไม่เท่ากับไปเห็นกับตาหนึ่งครั้ง (ร้อยปากว่าไม่เท่าหนึ่งตาเห็น)
มีการใช้สำนวนไทยในลักษณะคล้ายกัน คือ สิบปากว่าไม่เท่าหนึ่งตาเห็น
百 闻 不 如 一 见
Bǎi wén bùrú yī jiàn
ภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า hundred hear not as one seeing
ดูเรื่องราวที่มาของสำนวนจีนนี้ได้เพิ่มเติมที่ ลิงค์ข้างล่างนี้
http://www.chineselanguage.com/chinese-idioms-slangs-proverbs/t/view/translation/198/bai-wen-bu-ru-yi-jian.aspx