Get Adobe Flash player

ขี่ม้า มาจากคำว่า 骑马 (ฉีหม่า) ภาษาไทยออกเสียงคล้ายภาษาจีนมากที่สุด (ตอนที่ 1)

Hits: 11946

This post has already been read 21250 times!

 

ภาษาที่มีความคล้ายกับภาษาแม่ ย่อมเรียนได้ง่ายกว่าภาษาที่ต่างกับภาษาแม่

ภาษาไทยมีคำที่ออกเสียงคล้ายภาษาจีนมากถึง 2000 กว่าคำ มีคำไหนบ้าง

เอาคำที่ท่านรู้มาแชร์กันในเอนทรี่นี้บ้างนะคะ

 

 “ ขี่ ”  “ ม้า ”  เป็นคำไทยแท้ หรือ คำยืม (เสียง) ภาษาจีน เกือบจะเหมือนกันเป๊ะ 

หลังจากที่ดิฉันโพสต์เรื่อง

ไก่ เป็นคำไทยแท้ หรือ เป็นคำยืม (เสียง) จากภาษาจีน

Posted by เหล่าซือสุวรรณา , ผู้อ่าน : 412  เมื่อ วันศุกร์ ที่ 5 เมษายน 2556

ก็ได้รับความเห็นที่น่าสนใจจากหลายๆ ท่าน  เป็นความเห็นที่สร้างสรรค์ ให้แง่คิด และเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาภาษาและวัฒนธรรม แต่เนื่องจากมีจำนวนมาก จึงขอเชิญท่านผู้อ่านคลิกกลับไปอ่านในเอนทรี่เดิม เพื่อจะได้บริบทและถ้อยคำที่ครบถ้วน ( อ่านความเห็น  คลิกดูที่นี่ แล้วเลื่อนไปข้างล่าง)

ตัวอย่างเช่น  บล็อกเกอร์ wanderer เขียนว่า

สวัสดีคะ เหล่าซือสุวรรณา
ดิฉันเองก็เคยสงสัยคำนี้เหมือนกันคะว่า จะมาจากภาษากวางตุ้ง เนื่องจากเสียงออกมาเกือบ เป๊ะ เลยนะคะ
แต่จะว่าไป คนไทยก็มีเลี้ยงไก่กินไก่มาแต่โบราณเหมือนกันนี่นะ ตกลงใครยืมใครกันละนี่

วันนี้ เหล่าซือมีอีกสองคำนะคะ ที่สังเกตว่า เสียงภาษาไทยคล้ายเสียงภาษาจีนมาก คือคำว่า “ม้า” กับ “ขี่” ในภาษาไทยค่ะ

ชาวจีนฮากกาเรียก ม้า ว่า ” มา ” มาแต่โบราณ  ส่วนภาษาจีนกลาง (แมนดาริน) เรียก ม้า ว่า หม่า

คำว่า ” ขี่ ” ในภาษาไทย  ชาวจีนฮากกาก็พูดว่า “ขี่” ตั้งแต่โบราณเหมือนกัน  จีนกลางพูดว่า “ฉี”

คำว่า ขี่มา หรือ ฉีหม่า ในภาษาจีน ก็เกือบจะเหมือนกันเป๊ะกับคำไทย “ขี่ม้า”     

 

 คำนิยาม ลักษณะของคำไทยแท้ 

คำไทยแท้ เป็นคำที่มีใช้ดั้งเดิมอยู่ในภาษาไทยคำไทยแท้มีลักษณะสำคัญที่เป็นเอกลักษณ์   ของตัวเองที่ไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใคร

 

 

ลองเปรียบเทียบการออกเสียง คำว่า ” ม้า”  กับภาษาอื่นๆ จากตารางข้างล่างนี้ (บรรทัดสุดท้าย)

คำว่า  ม้า  ภาษาบาลีออกเสียงว่า  ดุรงค, อัสส, อัสดร

จะเห็นได้ว่า คำว่า  ม้า  มะเมีย  ในภาษาไทย ออกเสียงคล้ายภาษาจีนมากที่สุด 

                                                  ตารางที่มีชื่อสัตว์เป็นภาษาต่างๆ ข้างบนนี้ได้จาก วิกิพีเดีย 

 

อย่างนี้  เวลาคนไทยพูดคำว่า “ม้า”   คนเกือบครึ่งโลก (รวมคนชาติต่างๆ ที่เรียนภาษาจีนด้วย) ก็เข้าใจแล้วสิคะว่าเราหมายถึงอะไร

  

ในตำราจีนบอกว่า ภาษาจีนเป็นภาษาในตระกูลฮั่น – ธิเบต  และภาษาไทยจัดอยู่ในกิ่งภาษาของตระกูลนี้

ภาษาฮั่น ก็คือ ภาษาจีนนั่นเอง เนื่องจากชาวฮั่นเป็นคนชาติพันธุ์ 95 % ของประเทศจีน

เรื่องตัวเขียน ไม่เหมือนกัน แต่เรื่องการออกเีสียงและการสร้างคำ การสร้างประโยค มีส่วนคล้ายกันมาก

ภาษาไทยเป็นกิ่งภาษาของภาษาตระกูลฮั่น-ธิเบต

ลักษณะพิเศษของภาษาตระกูลฮั่น – ธิเบต (汉藏语系)
1. เป็นคำโดด 
2. มีเสียงวรรณยุกต์ (有声调)
3. หลักไวยากรณ์สำคัญ คือ การเรียงลำดับคำ 
4. รูปประโยคหลักๆ คือ ประธาน + กริยา + กรรม

      ………………………………

ทั้งหมดนี้เป็นข้อสังเกตส่วนตัวของ สุวรรณา สนเที่ยง 

8 เมษายน 2013

Facebook : Suwanna Future C

https://www.facebook.com/SuwannaFutureC

 

เรื่องเกี่ยวข้อง

ภาษาไทยกับภาษาจีน มีอะไรที่เหมือนกันหรือไม่ ? (คลิกอ่าน)

Posted by เหล่าซือสุวรรณา , ผู้อ่าน : 5386

  

ข้อมูลประกอบจากเว็บไซต์อื่นๆ   

การพิจารณาว่าคำใดเป็นคำไทยแท้

เขียนโดย ภาษาสยาม   
วันพุธที่ 10 กันยายน 2008 เวลา 21:32 น.
          ปัจจุบันนั้นมีคำศัพท์ใหม่เกิดขึ้นมากมาย  จึงเป็นที่กังขากันว่าเราจะทราบได้อย่างไรว่าคำไหนคือคำไทยแท้ 

         –  ภาษาไทยเป็นคำโดด  ซึ่งหมายถึง คำที่ใช้ได้โดยอิสระ   คือแต่ละคำใช้ได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนรูปคำ

        –   คำภาษาไทยโดยมากเป็นคำพยางค์เดียว ส่วนเหตุที่มีคำไทยหลายคำที่มีหลายพยางค์นั้น  เพราะ

            คำเหล่านั้นเกิดขึ้นในชั้นที่สอง  ไม่ใช่คำไทยเดิม  คำไทยแท้เริ่มจากคำมูล ( คำที่มีความหมายในตัวสมบูรณ์

            และไม่อาจแยกพยางค์ออกไปโดยให้มีความหมายได้อีก ) ซึ่งมักมีพยางค์เดียว  คือ เปล่งเสียงออกมาครั้งเดียว

       –    คำที่ใช้เรียกเครือญาติมาแต่เดิม  เช่น  พ่อ  แม่  พี่  น้อง  พี่  ป้า  น้า  อา

       –    คำที่เป็นสรรพนาม  เช่น  มึง กู  สู  เรา  เขา  แก  เอ็ง  อี

       –    คำที่บอกกิริยาอาการโดยทั่วๆไปซึ่งใช้มาก่อน เช่น  นั่ง  นอน  คลาน  ย่าง  ย่ำ  ก้ม  เงย  เกิด  ตาย

       –    คำที่บอกจำนวน  เช่น  อ้าย  ยี่  ร้อย  เอ็ด  ล้าน  จ้าน  จัง

       –    คำที่ใช้เรียกเครื่องมือเครื่องใช้ หรือสัตว์สิ่งของที่ใช้ประกอบอาชีพมาแต่โบราณ  เช่น  บ้าน  เรือน  ครัว  วัว  ควาย  หม้อ  เสา  

      –     คำเรียกชื่อธรรมชาติซึ่งมีมานาน  เช่น คลอง  ห้วย  หนอง  ไฟ  ดิน  หิน  ฝน

      –     คำที่ใช้เรียกสีที่รู้จักกันโดยทั่วไป  เช่น  ดำ  ด่าง  ม่วง  เขียว  มอ  ฟ้า

      –     คำที่เป็นคุณศัพท์เก่าแก่ เช่น  ใหญ่  หนัก  แบน  กลม  เกลียด  ลืม   หลง  อ้วน  ซูบ

   ที่มา   หนังสือหลักภาษา  ไวยากรณ์ไทย

ขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์

http://www.pasasiam.com/home/index.php/general/pasathai-principle/199-2008-09-10-14-32-26

…………………………

ลักษณะของคำไทยแท้

๑.  คำไทยมักเป็นคำพยางค์เดียว
ภาษาไทยจัดอยู่ในตระกูลภาษาคำโดด (Isolating Language) หรือคำพยางค์เดียวโดดๆ (Monosyllabic Language) ลักษณะของคำโดดนั้น ส่วนมากมักเป็นคำพยางค์เดียวโดยพิจารณาจากคำดังเดิม หรือคำพื้นฐานของภาษาอันได้แก่ ถ้อยคำที่มนุษย์ใช้กันเป็นประจำมักเป็นคำที่ใช้เรียกสิ่งต่างๆ อันได้แก่ คำนาม และคำกริยาที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์หรือคำขยายที่ใช้ธรรมดาสามัญทั่วๆไป
๒. ภาษาไทยที่มีระบบเสียงสูงต่ำ
ภาษาไทยที่มีระบบเสียงสูงต่ำ ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีลักษณะเหมือนเสียงดนตรี วรรณยุกต์จึงมีประโยชน์แล้วจำเป็นในภาษาไทยมาก เพราะคำเดียวกัน ถ้าออกเสียงวรรณยุกต์ผิดไป ระดับเสียงก็ผิดไป ความหมายก็ผิดไปด้วย
๓. คำไทยแท้มักใช้ตัวสะกดตรงตามมาตรา

 ขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ http://buka.freeoda.com/?p=9

…………………

คำยืมภาษาจีนที่มีใช้ในภาษาไทย

ไทยและจีนเป็นมิตรประเทศที่ติดต่อเจริญสัมพันธไมตรี และค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าและศิลปะ วัฒนธรรมอันดีงามมาช้านาน ชาวจีนที่มาค้าขายได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ภาษาจีนจึงเข้ามาสู่ไทยโดยทางเชื้อชาติ นอกจากนี้ภาษาจีนและภาษาไทยยังมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน จึงทำให้มีคำภาษาจีนเข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยจนแทบแยกกันไม่ออก 

การยืมคำภาษาจีนมาใช้ในภาษาไทยนั้น เราได้มาจากภาษาพูดไม่ใช่ภาษาเขียน เพราะระบบการเขียนภาษาจีนต่างกับภาษาไทยมาก ภาษาจีนเขียนอักษรแทนคำเป็นตัว ๆ ไม่มีการประสมสระ พยัญชนะ คำภาษาจีนที่มีใช้ในภาษาไทย นำมาเป็นคำเรียกชื่อ เครื่องใช้แบบจีน ยาสมุนไพร สัตว์ อาหาร เครื่องแต่งกาย ธุรกิจการค้า มหรสพ และอื่น ๆ 

ภาษาจีนมีลักษณะคล้ายคลึงกับภาษาไทยมาก คือ เป็นภาษาคำโดด มีเสียงวรรณยุกต์ย เมื่อนำคำภาษาจีนมาใช้ในภาษาไทยซึ่งมีวรรณยุกต์และสระประสมใช้จึงทำให้สามารถออกเสียงวรรณยุกต์และสระตามภาษาจีนได้อย่างง่ายดาย คำภาษาจีนยังมีคำที่บอกเพศในตัวเช่นเดียวกับภาษาไทยอีกด้วย เช่น เฮีย (พี่ชาย) ซ้อ (พี่สะใภ้) เจ๊ (พี่สาว) นอกจากนี้การสะกดคำภาษาจีนในภาษาไทยยังใช้ตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกดทั้ง 8 มาตราและมีการใช้ทัณฑฆาต หรือตัวการันต์ด้วย 

หลักการสังเกตคำภาษาไทยที่มาจากภาษาจีน

  1. นำมาเป็นชื่ออาหารการกิน เช่น ก๋วยเตี๋ยว เต้าทึง แป๊ะซะ เฉาก๊วย จับฉ่าย เป็นต้น
  2. เป็นคำที่เกี่ยวกับสิ่งของเครื่องใช้ที่เรารับมาจากชาวจีน เช่น ตะหลิว ตึก เก้าอี้ เก๋ง ฮวงซุ้ย
  3. เป็นคำที่เกี่ยวกับการค้าและการจัดระบบทางการค้า เช่น เจ๋ง บ๋วย หุ้น ห้าง โสหุ้ย เป็นต้น
  4. เป็นคำที่ใช้วรรณยุกต์ตรี จัตวา เป็นส่วนมาก เช่น ก๋วยจั๊บ กุ๊ย เก๊ เก๊ก ก๋ง ตุ๋น เป็นต้น

วิธีนำคำยืมภาษาจีนมาใช้ในภาษาไทย

ไทยนำคำภาษาจีนมาใช้ โดยมากไทยเลียนเสียงจีนได้ใกล้เคียงกว่าชาติอื่น ๆ เช่น เกาเหลา ตั้งฉ่าย เต้าทึง เต้าหู้ เต้าฮวย บะฉ่อ พะโล้ แฮ่กึ้น เป็นต้น มีบางคำที่นำมาตัดทอนและเปลี่ยนเสียง เช่น เตี้ยะหลิว ตะหลิว บ๊ะหมี่ บะหมี่ ปุ้งกี ปุ้งกี๋ 

ตัวอย่างคำยืมที่มาจากภาษาจีน 
กงสี กงฉิน กงไฉ่ กงเต็ก ก๋วยเตี๋ยว ก๋วยจั๊บ เกาหลา กุ๊ย เก๊ เก๊ก เกี้ยว เกี๊ยว เกี๊ยะ กุยเฮง เก๊ก ก๋ง เก้าอี้ ขาก๊วย เข่ง จับกัง จับฉ่าย จับยี่กี จันอับ เจ๊ง เจี๋ยน เจ เฉาก๊วย เซ้ง เซียน แซ่ แซยิด เซ็งลี้ ซาลาเปา ซิ้ม ตะหลิว เต๋า ตุน ตุ๋น แต๊ะเอีย เต้าหู้ เต้าฮวย เต้าเจี้ยว โต๊ะ ไต้ก๋ง ตังเก บ๊วย บะฉ่อ บะหมี่ บู๊ ปุ้งกี๋ ปอเปี๊ยะ แป๊ะเจี๊ยะ พะโล้ เย็นตาโฟ หวย ยี่ห้อ ลิ้นจี่ ห้าง หุ้น เอี๊ยม โสหุ้ย เฮงซวย ฮวงซุ้ย ฮ่องเต้ อั้งโล่ 

ตัวอย่างคำยืมที่มาจากภาษาจีน 
ก๋วยเตี๋ยวเกี๊ยวบะหมี่ พะโล้นี้ช่างน่าสน 
เกาเหลาจับฉ่ายปน ตะหลิวคนตักเฉาก๊วย 
อาหารจานเด็ดนี้ ล้วนมากมีสีสันสวย 
คนไทยใช้มากด้วย สื่อกันมาภาษาจีน

ขอบคุณเว็บไซต์  

http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-1/loanwords/07.html

 

ป.ล.  ข้อเขียนเรื่องนี้ดิฉันโพสต์ครั้งแรกใน OKnation Blog เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2013

โดยใช้นามปากกาว่า “เหล่าซือสุวรณา” 

และได้รับเกียรติจาก กอง บก. โอเคเนชั่นบล็อก  เลือกให้เรื่องนี้เป็น เรื่องแนะนำจาก กองบก. วันที่ 8 เมษายน 2013

สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย

 

ภาษาจีน-ไทยเปรียบเทียบ  泰汉语比较

Flag Counter

อาจารย์สุวรรณา

Future C อาจารย์สุวรรณา

บทความและภาพ สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย ยินดีเผยแพร่เพื่อเป็นความรู้ แบ่งปันได้แต่ต้องไม่ดัดแปลงต้นฉบับ ไม่เพื่อการค้า และอ้างอิงแหล่งที่มาให้ชัดเจน 228 post in this blog.

Comments

comments


Share Button

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

คุณอาจจะใช้ป้ายกำกับและคุณสมบัติHTML: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>

นักเรียนของเรา
แหล่งรวมบทความของเรา

OK

BC BT

Fan Page
จำนวนผู้เข้าชม
Flag Counter