Get Adobe Flash player

ของขวัญต้องห้ามของคนจีน มอบนาฬิกา 送钟 เรื่องที่ถ้าไม่รู้อาจ “เป็นเรื่อง”

Hits: 9699

This post has already been read 23206 times!

 

กรณีศึกษา

จากการที่ นางซูซาน แครมเมอร์ รัฐมนตรีคมนาคมอังกฤษ ได้มอบนาฬิกาเป็นของขวัญแก่นาย เคอ เหวิน เจ๋อ ( 柯文哲) นายกเทศมนตรีนครไทเป ของไต้หวัน เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2015 ที่ผ่านมา  (เรื่องนี้เกิดที่ไต้หวัน ไม่ใช่เกิดที่จีนแผ่นดินใหญ่)

โดยไม่ทราบว่า การให้นาฬิกาเป็นสิ่งต้องห้ามในธรรมเนียมจีน 

ซึ่งนาย เคอ เหวิน เจ๋อ ( 柯文哲) ถึงกับกล่าวว่า นาฬิกาที่ได้รับมานี้  เขาอาจเอาไปชั่งกิโลขายเป็นเศษเหล็กก็ได้ เพราะว่ามันไม่มีประโยชน์สำหรับเขา

( 柯文哲表示,至於外賓送的懷錶,柯則笑說他會轉送給別人,不然可以拿去破銅爛鐵賣點錢,「因為那個對我來說沒有用」。)

 

จึงกลายเป็นข่าวไปทั่วโลก 

แม้ในเวลาต่อมา นางซูซาน แครมเมอร์  ได้กล่าวขอโทษในความผิดพลาดครั้งนี้ และ นายเคอ เหวิน เจ๋อ ก็ให้สัมภาษณ์ว่า เขาแค่พูดเล่น ไม่ได้จริงจัง เนื่องจากครอบครัวเขาเป็นหมอ ไม่ถือสาเรื่องแบบนี้ และภรรยาของท่านก็บอกว่า ของขวัญนี้เขามอบให้กับนครไทเป ไม่ใช่มอบให้ส่วนบุคคล … 

แต่ก็เป็นอุทาหรณ์บทเรียนด้านกลับสำหรับคนทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้นำประเทศและนักการทูต

เรื่องธรรมเนียม  เรื่องต้องห้ามของแต่ละชาติ  เป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่จำเป็นต้องเรียนรู้  ตั้งแต่ระดับการคบเพื่อนต่างชาติ การติดต่อค้าขาย จนกระทั่งถึงระดับชาติ ระดับประเทศ  ถ้าไม่รู้ก็อาจ “เป็นเรื่อง” ได้ 

เรื่องการมอบนาฬิกาให้ เป็นเรื่องหนึ่งที่ต้องบอกนักเรียนเสมอๆ  เพราะยังมีคนจำนวนมากไม่รู้ว่ามีคนจีนถือเรื่องนี้

เนื่องจากคำว่า  送钟 พ้องเสียงกับ 送终 Sòngzhōng ที่หมายถึง “การที่ลูกหลานน้อมส่งญาติผู้ใหญ่ขณะสิ้นใจ”  ดังนั้น การให้นาฬิกา ในสำนวนไทยๆ ก็อาจคล้ายกับ แช่ง 

ในคลาสของเหล่าซือ  จะเรียนเรื่องวัฒนธรรมควบคู่ไปกับการเรียนภาษา

เพราะการเรียนภาษาอย่างเดียว แต่ไม่รู้ธรรมเนียม ไม่รู้มารยาท

อาจไปทำอะไรที่ขัดใจหรือสร้างความไม่พอใจให้กับอีกฝ่ายโดยไม่รู้ตัวก็ได้ 

 

     

        เหล่าซือเคยทำงานในสถานทูต (ประเทศยุโรปชาติหนึ่ง) มาก่อน ทราบว่าปกตินักการทูตและที่ปรึกษาแต่ละกระทรวงที่จะส่งมาประจำในเมืองไทย ต้องมีการศึกษาวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีไทยก่อนที่จะเดินทางมารับตำแหน่ง 

         และจะมีเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น (คนไทย) คอยให้ข้อมูลด้านต่างๆ  ตอนนั้นเหล่าซือทำหน้าที่เป็นล่ามภาษาจีนและให้ข้อมูลเรื่องวัฒนธรรม แนวคิดและอะไรที่เกี่ยวกับจีนๆ 

         แม้ว่ายุคนี้อาจมีคนจำนวนมากไม่ถือเรื่องต้องห้าม หรือ ความเชื่อเรื่องตัวเลข กันแล้ว 

         แต่อย่างไรก็ตาม  เราก็ยังน่าจะหลีกเลี่ยงสิ่งที่อาจทำให้เกิดความไม่สบายใจได้  เช่น  ตึกและคอนโดในไทยส่วนใหญ่ไม่มีชั้นที่ 13   บางตึกและบางอาคารในจีนไม่มีชั้น 4 ….

         คนไทยถือว่าดอกหน้าวัวเป็นดอกไม้อัปมงคล  ใช้ในงานศพ  ไม่เหมาะที่จะมอบให้ในงานวันเกิด

         แม้ยุคสมัยจะเปลี่ยนไป ดอกหน้าวัวกลายเป็นพืชเศรษฐกิจ  แต่ก็ควรจะหลีกเลี่ยงในการให้ในงานมงคล

………………………….

 

ขออ้างอิงบางตอนจากบทความชิ้นหนึ่งของบีบีซีภาษาไทยหลังเหตุกาณ์มอบนาฬิกา เกิดขึ้นที่ไต้หวัน 

บทความเขียนไว้ว่า


…… นายวิลเลียม แฮนสัน ผู้เชี่ยวชาญด้านมารยาทกล่าวว่าของขวัญทางการทูตนั้น มักจะเป็นที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้าก่อน และไม่ว่าอย่างไรก็ตาม “ควรจะต้องศึกษาธรรมเนียมไว้ล่วงหน้า”

….. ในเกือบทุก ๆ วัฒนธรรม จะมีข้อห้ามที่เกี่ยวข้องกับเรื่องความตาย เลข 4 เป็นสัญลักษณ์ของความโชคร้ายในจีน เพราะคำนี้มีเสียงพ้องกับคำว่าความตาย ขณะที่เลข 8 เป็นสัญลักษณ์ของความโชคดี เพราะมีเสียงที่พ้องกับคำว่าความร่ำรวย

ในอังกฤษ คนมักจะไม่ให้มีดเป็นของขวัญ เพราะถือเป็นลางว่ามิตรภาพจะถูกตัดรอน เช่นเดียวกันกับประเทศญี่ปุ่น ที่การให้มีดแก่เพื่อนร่วมงานอาจถูกตีความได้ว่าแนะนำให้คนนั้นไปฆ่าตัวตายเสีย

……………………………………….

 

ความเห็นส่วนตัวเหล่าซือ

เรื่องการมอบของขวัญที่เป็นทางการต้องแยกเป็น 2 ฝ่าย  คือ ฝ่ายผู้รับ กับ ฝ่ายผู้ให้

ฝ่ายผู้รับ เหล่าซือคิดเองว่าคนจีนส่วนใหญ่คงให้อภัย “ผู้ที่ไม่รู้ธรรมเนียม” แต่ความไม่สบายใจคงจะมี ถ้าในระดับการค้า ก็อาจกระทบต่อการติดต่อค้าขาย กระทบความสัมพันธ์ในอนาคต 

ฝ่ายผู้ให้  ไม่ว่าจะระดับเพื่อนหรือระดับติดต่อธุรกิจ  ก็เป็นเรื่องที่ควรสนใจเรียนรู้ธรรมเนียมของอีกฝ่าย

   

ถึงแม้ที่บ้านเหล่าซือไม่ค่อยได้ถืออะไรมาก  แต่ในคลาสเรียนของเหล่าซือ  จะสอดแทรกวิธีคิด และขนบธรรมเนียมของคนจีนไว้ด้วย  เพื่อความ “เข้าใจจีน”  แต่เหล่าซือไม่ได้เน้นแนวพิธีกรรมไหว้เจ้าอะไรมากมาย

 

บทความนี้เขียนโดย สุวรรณา สนเที่ยง

28 มกราคม 2015

สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์

ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย.

……………….

 

หมายเหตุ

บทความนี้ได้โพสต์ที่  โอเคเนชั่นบล็อก เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2558 (2015)

Posted by เหล่าซือสุวรรณา , ผู้อ่าน : 43973 , 20:07:56 น.

 

ขอขอบคุณ ท่านผู้อ่านที่แชร์และร่วมแสดงความเห็นในเฟชบุ๊คของ Nation Channel เกี่ยวกับบทความนี้

เสียดายที่ดิฉันไม่สามารถตามไปอ่านได้ทุกคอมเมนท์  จึงได้เพิ่มช่องทางให้ท่านแสดงความเห็นผ่านเฟชบุ๊คในบล็อกนี้ไว้ด้วย

………………………………………………

ขอขอบคุณ

กองบรรณาธิการโอเคเนชั่นบล็อก ที่กรุณาแนะนำเรื่องนี้ในหน้าหนึ่ง

 

ขอขอบคุณ

เฟชบุ๊ค Nation Channel ที่กรุณาช่วยเผยแพร่บทความนี้ วันที่ 29 มกราคม 2558

Nation Channel rec 20.00 29 Jan 2015

 

บทความนี้ บางตอนอ้างอิงจากข่าวและภาพประกอบ จาก บีบีซี ภาษาจีน

http://www.bbc.co.uk/zhongwen/simp/china/2015/01/150126_taibei_mayor_gift

 

ข้อเขียนนี้บางตอนอ้างอิงคำให้สัมภาษณ์ของนายเคอเหวินเจ๋อ ใน 苹果时报 ไต้หวัน

http://www.appledaily.com.tw/realtimenews/article/new/20150126/548843/

และ เพจ บีบีซีไทย – BBC Thai https://www.facebook.com/BBCThai?pnref=story

วันที่ 28 มกราคม 2015  08.00

 

#คำพ้องเสียง #谐音字 #送终 #ธรรมเนียมจีน วัฒนธรรมจีน

 

 

อ่านเรื่องเกร็ดภาษาจีน  หวังว่าทุกคลิกของท่านจะได้รับประโยชน์จากบทความเหล่านี้

Flag Counter

อาจารย์สุวรรณา

Future C อาจารย์สุวรรณา

บทความและภาพ สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย ยินดีเผยแพร่เพื่อเป็นความรู้ แบ่งปันได้แต่ต้องไม่ดัดแปลงต้นฉบับ ไม่เพื่อการค้า และอ้างอิงแหล่งที่มาให้ชัดเจน 228 post in this blog.

Comments

comments


Share Button

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

คุณอาจจะใช้ป้ายกำกับและคุณสมบัติHTML: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>

นักเรียนของเรา
แหล่งรวมบทความของเรา

OK

BC BT

Fan Page
จำนวนผู้เข้าชม
Flag Counter