Get Adobe Flash player

“ไก่” เป็นคำไทยแท้ หรือเป็นคำยืมภาษาจีนตอนใต้ การออกเสียงภาษาไทยคล้ายภาษาจีนมากที่สุด (ตอนที่ 2)

Hits: 19758

This post has already been read 32244 times!

 

  ” ไก่ ” เป็นคำไทยแท้ หรือ เป็นคำยืม (เสียง) จากภาษาจีน

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา  นักเรียนคนหนึ่งที่เดินทางมาเรียนจากจังหวัดจันทบุรี พูดขึ้นในห้องเรียนภาษาจีนของดิฉันว่า

“ พ่อหนูบอกว่า คำว่า ไก่ ในภาษาไทย น่าจะมาจากคำว่า “ ก๊าย “ ในภาษาจีนกวางตุ้ง ค่ะ”  

เหล่าซือก็เข้าใจทำนองนั้น

เหล่าซือชอบเปรียบเทียบภาษาไทยกับภาษาจีน ว่ามีส่วนที่เหมือนกันและต่างกันอย่างไรบ้าง เพื่อประกอบการสันนิฐานของตัวเอง

อย่างคำว่า “ไก่” นี้  ในวิชาภาษาไทย เราเรียนกันมาว่า  ไก่  เป็นคำไทยแท้

ลักษณะของคำไทยแท้  คำไทยแท้ เป็นคำที่มีใช้ดั้งเดิมอยู่ในภาษาไทย คำไทยแท้มีลักษณะสำคัญที่เป็นเอกลักษณ์   ของตัวเองที่ไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใคร

เหล่าซือลองทำตารางเปรียบเทียบการออกเสียงของคำว่า “ ไก่ ” ในภาษาจีนสำเนียงต่างๆ ขึ้นมา 4 เสียง

 

ตารางข้างบนนี้เหล่าซือทำขึ้นเองเพื่อให้เห็นชัด

 

ลองเปรียบเทียบการออกเสียง ไก่ กับภาษาอื่นๆ จากตารางข้างล่างนี้ ซึ่งเป็นตารางที่ได้จาก วิกิพีเดีย  (บรรทัดสุดท้าย)

คำว่า ไก่  ภาษาบาลีออกเสียงว่า กุกกุฎ, กุกกุฏ

จะเห็นได้ว่า คำว่า ไก่ ในภาษาไทย ออกเสียงคล้ายภาษาจีนมากที่สุด 

 

 

ภาษาจีนสำเนียงถิ่นของชาวจีน  เป็นภาษาที่ใช้กันมานานกว่าพันปี  โดยเฉพาะภาษาจีนฮากกา และ ภาษาจีนกวางตุ้ง ที่นักวิจัยภาษาศาสตร์ โบราณคดีและประวัติศาสตร์จีนสันนิฐานว่า เป็นภาษาทางการหรือภาษากลางของจีนในสมัยโบราณ

ยังมีคำไทยแท้คำอื่นๆ อีก …

 

ลักษณะพิเศษของภาษาตระกูลฮั่น – ธิเบต (汉藏语系)  ภาษาฮั่น ก็คือ ภาษาจีนนั่นเอง เพราะชาวจีนเรียกตัวเองว่า ชาวฮั่น

          1.  เป็นคำโดด 

          2.  มีเสียงวรรณยุกต์ (有声调)

          3.  หลักไวยากรณ์หลักคือการเรียงลำดับคำ  เมื่อเรียงลำดับคำต่างกัน ความหมายก็เปลี่ยน

          4.  รูปประโยคหลักๆ คือ ประธาน + กริยา + กรรม  

          ………….

ท่านที่มีความรู้ภาษาจีนสำเนียงอื่นๆ เช่น ฮกเกี้ยน ไหหลำ  กวางสี ยูนาน  มาร่วมกันแชร์ความเห็นนะคะ

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านและร่วมแสดงความเห็นค่ะ

หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับคนเรียนภาษาศาสตร์และท่านที่สนใจค่ะ 

หมายเหตุ เรื่องนี้โพสต์ครั้งแรกใน OKnation Blog  โดยใช้นามปากกาว่า “เหล่าซือสุวรรณา” 

และได้รับเกียรติจากกอง บก.โอเคเนชั่นบล็อก เลือกให้เป็น ” เรื่องแนะนจากกอง บก. 5 เมษายน 2013 “

รวมทั้งได้รับเกียรติจากบล็อกเกอร์ใน เว็บไซต์ชมรมคนฮากกา มาขออนุญาตนำไปช่วยเผยแพร่ต่อ

 

สงวนลิขสิทธิ์โดย สุวรรณา สนเที่ยง 

5 เมษายน 2013

Facebook : Suwanna Future C

https://www.facebook.com/SuwannaFutureC

 

 หลังโพสต์  คุณ ” ประสิทธิ์” ที่กรุณาแสดงความเห็นไว้ว่า
….
คำว่าไก่อย่างที่อาจารย์ว่ามา ก็น่าจะใช่นะครับ
ผมมีอีกคำจะถาม คำว่า บ่ เป็นคำปฏิเสธในภาษาไทยภาคเหนือและอีสานแต่กลับใช้เหมือนภาษาจีนแต้จิ๋ว ,ไหหลำที่อยู่เมืองไทย ใช่ไหมครับ ถามเล่นๆ นะครับ และคงมีอีกหลายคำครับ
….
Commnet from reader Thai - CN words

ผู้เขียนตอบคุณประสิทธิ์ว่า

…… เป็นคำถามที่เหล่าซืออยากแสดงความเห็นมากค่ะ

คำนี้เหล่าซือก็เคยเอามาบอกกับนักเรียนเหมือนกัน (และยังมีอีกหลายๆ คำอย่างที่คุณประสิทธิ์ให้ความเห็นไว้ค่ะ)

เอาคำจีนก่อนนะคะ เดี๋ยวค่อยเปรียบเทียบกับคำไทย

คำจีนที่ออกเสียงว่า ” บ่ ” “บ๊อ” ที่ใช้ในภาษาจีนสำเนียงแต้จิ๋ว (潮州话)
และคำจีนที่ออกเสียงว่า “ม่อ” ในภาษาจีนสำเนียงฮากกา (客家话 ภาษาแคะ)
มาจากอักษรจีนตัวนี้ค่ะ 无 (無)= 没有 แปลว่า “ไม่มี”
ภาษาจีนกลางจะออกเสียงว่า หวู

อักษรจีนตัวนี้เป็นภาษาโบราณ (ปัจจุบันยังใช้อยู่)

เหล่าซือก็คิดว่า คำว่า บ่ ในภาษาไทยเดิม ที่แปลว่า ไม่มี ก็น่าจะรับหรือยืมมาจากภาษาจีนเดิมเมื่อนานมาแล้วค่ะ

เป็นอีกคำที่น่าสนใจ ไว้เหล่าซือจะเอาไปเขียนเพิ่มอีก 1 คำนะคะ

ขอบคุณค่ะ

สุวรรณา

 Comment reply Thai CN word

ภาษาจีน-ไทยเปรียบเทียบ  泰汉语比较

Flag Counter

อาจารย์สุวรรณา

Future C อาจารย์สุวรรณา

บทความและภาพ สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย ยินดีเผยแพร่เพื่อเป็นความรู้ แบ่งปันได้แต่ต้องไม่ดัดแปลงต้นฉบับ ไม่เพื่อการค้า และอ้างอิงแหล่งที่มาให้ชัดเจน 228 post in this blog.

Comments

comments


Share Button

2 Responses to “ไก่” เป็นคำไทยแท้ หรือเป็นคำยืมภาษาจีนตอนใต้ การออกเสียงภาษาไทยคล้ายภาษาจีนมากที่สุด (ตอนที่ 2)

  • ประสิทธิ์ says:

    คำว่าไก่อย่างที่อาจารย์ว่ามา ก็น่าจะใช่นะครับ ผมมีอีกคำจะถาม คำว่า บ่ เป็นคำปฏิเสธในภาษาไทยภาคเหนือและอีสานแต่กลับใช้เหมือนภาษาจีนแต้จิ๋ว ,ไหหลำที่อยู่เมืองไทย ใช่ไหมครับ ถามเล่นๆนะครับ และคงมีอีกหลายคำครับ

    • สวัสดีค่ะคุณประสิทธิ์
      ขอโทษที่ตอบช้า เพิ่งเห็นคอมเมนท์ค่ะ

      เป็นคำถามที่เหล่าซืออยากแสดงความเห็นมากค่ะ
      คำนี้เหล่าซือก็เคยเอามาบอกกับนักเรียนเหมือนกัน (และยังมีอีกหลายๆ คำอย่างที่คุณประสิทธิ์ให้ความเห็นไว้ค่ะ)

      เอาคำจีนก่อนนะคะ เดี๋ยวค่อยเปรียบเทียบกับคำไทย

      คำจีนที่ออกเสียงว่า ” บ่ ” “บ๊อ” ที่ใช้ในภาษาจีนสำเนียงแต้จิ๋ว (潮州话)
      และคำจีนที่ออกเสียงว่า “ม่อ” ในภาษาจีนสำเนียงฮากกา (客家话 ภาษาแคะ)
      มาจากอักษรจีนตัวนี้ค่ะ 无 (無)= 没有 แปลว่า “ไม่มี”
      ภาษาจีนกลางจะออกเสียงว่า หวู

      อักษรจีนตัวนี้เป็นภาษาโบราณ (ปัจจุบันยังใช้อยู่)

      เหล่าซือก็คิดว่า คำว่า บ่ ในภาษาไทยเดิม ที่แปลว่า ไม่มี ก็น่าจะรับหรือยืมมาจากภาษาจีนเดิมเมื่อนานมาแล้วค่ะ

      เป็นอีกคำที่น่าสนใจ ไว้เหล่าซือจะเอาไปเขียนเพิ่มอีก 1 คำนะคะ

      ขอบคุณค่ะ

      สุวรรณา

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

คุณอาจจะใช้ป้ายกำกับและคุณสมบัติHTML: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>

นักเรียนของเรา
แหล่งรวมบทความของเรา

OK

BC BT

Fan Page
จำนวนผู้เข้าชม
Flag Counter